บทที่ 2

ระบบราชการด้านการแพทย์และสาธารณสุข

ของประเทศไทย

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ถนอม บรรณประเสริฐ

 

บทนี้เรียบเรียงจากการศึกษาวิเคราะห์เอกสารชั้นต้น สมัยรัชกาลที่ 5 - 9 ตามที่อ้างอิงไว้ในภาค 2 ร่วมกับฐานข้อมูลหนังสือหายากของสำนักงานวิทยทรัพยากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฐานข้อมูลจดหมายเหตุและห้องสมุดของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สำนักงานใหญ่ ณ นครเจนีวา ฐานข้อมูลอินเทอร์เน็ตขององค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ และฐานข้อมูลอื่น ๆ ดังลำดับต่อไปนี้

- ประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ

- นิยามศัพท์สำคัญ

- ระบบราชการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย

1. ยุคโบราณ ประมาณ พ.. 1893 - 1998 (ประมาณ 1 ศตวรรษ)

2. ยุคกรมหมอหลวง ประมาณ พ.. 1998 - 2435 (ประมาณ 4 ศตวรรษ)

3. ยุคการแพทย์และสาธารณสุขแบบตะวันตก พ.. 2430 - 2561 (ประมาณ 1 ศตวรรษ)

3.1 ระบบราชการด้านการแพทย์ทหาร

3.2 ระบบราชการด้านการแพทย์และสาธารณสุขพลเรือน

(1) โรงพยาบาลหลวง (โรงพยาบาลของรัฐ)

(2) โรงเรียนสอนวิชาแพทย์แผนปัจจุบัน

(3) ระบบสาธารณสุข

3.3 สภากาชาดไทยและกาชาดระหว่างประเทศ

 

58 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

ประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ

การแพทย์ของโลกถือกำเนิดขึ้นเมื่อราว 2,400 ปี โดยฮิปโปเครติส - Hippocrates แพทย์ชาวกรีกโบราณคนแรกของโลก (ราว 460 - 370 ปีก่อนคริสตกาล) ฮิปโปเครติสเป็นผู้แยกการแพทย์ออกจากการศาสนา” (Separated the Discipline of Medicine from Religion) ให้กำเนิดการแพทย์ขึ้นครั้งแรกในโลก ฮิปโปเครติสจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการแพทย์ของโลก - Father of Medicine”

อีกราว 200 ปีต่อมา กาเลน - Galen of Pergamon แพทย์ชาวกรีกโบราณรุ่นหลัง (ราว 216 - 129 ปีก่อนคริสตกาล) ได้ปฏิรูปการแพทย์แบบฮิปโปเครติส (Hippocratic Medicine) ให้ก้าวหน้าขึ้นด้วยการทดลองศึกษาโรคและร่างกายของสัตว์ เช่น ลิง เพื่อเปรียบเทียบและนำมาประยุกต์ใช้กับมนุษย์ ประกอบกับการเดินทางศึกษาความรู้ต่าง ๆ และธรรมชาติวิทยาพัฒนาเป็น การแพทย์แบบกาเลน (Galen Medicine) ซึ่งได้รับการยอมรับและใช้กันอย่างกว้างขวางตลอดยุคกลางของยุโรปอีกเป็นเวลานานถึง 1,400 ปี จนถึงจุดปฏิวัติครั้งใหญ่ในศตวรรษที่ 16

ต้นศตวรรษที่ 16 พาราเซลซัส (Paracelsus) ได้ปฏิเสธความรู้ของกาเลน Galen Medicine และไม่ยอมรับการใช้เวทมนตร์และการเล่นแร่แปรธาตุรักษาโรคและปฏิเสธการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติแบบกาเลน พาราเซลซัสเป็นผู้บุกเบิกเรื่องสารเคมีการเกิดโรค เขาเชื่อว่า กำมะถัน ปรอท และเกลือที่ Galen’s Medicine ใช้รักษาโรคในยุคกลางมีความเป็นพิษทำให้เกิดโรคในมนุษย์ sulphur, mercury, and salt พาราเซลซัสเชื่อว่าในร่างกายมนุษย์ต้องมีแร่ธาตุบางอย่าง และความเจ็บป่วยบางอย่างของร่างกายมนุษย์มีวิธีการรักษาทางเคมี พาราเซลซัสเป็นผู้ให้กำเนิดการวินิจฉัยทางคลินิก (Clinical Diagnosis) และการให้ยาแบบเฉพาะ (The Administration of Highly Specific Medicines) การเสนอทฤษฎีเชื้อโรค The Germ Theory พัฒนางานเภสัชวิทยาในยุโรปและกำหนดขนาดยาที่ถูกต้องเพื่อรักษาภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และใช้ธาตุเหล็กรักษาภาวะเลือดจางเลือดไม่ดีและเป็นผู้คิดนิยามศัพท์ chemistry, gas, และ alcohol พาราเซลซัส (Paracelsus) จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาการแพทย์แผนปัจจุบันของโลก - Father of Modern Medicine”

กลางศตวรรษที่ 16 Andreas Vesalius แห่งมหาวิทยาลัยปาดัว อิตาลี The University of Padua, Italy ปฏิวัติการศึกษากายวิภาคศาสตร์แบบใหม่ด้วยการชำแหละศพมนุษย์ที่ระเบียงทางเดินในมหาวิทยาลัยปาดัว และนำมาเขียนเป็นหนังสือกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ 7 เล่ม ซึ่งเดิมการแพทย์แบบกาเลน (Galen Medicine) ได้ศึกษาจากสัตว์ เช่น ลิง เป็นต้น การปฏิวัติวิชากายวิภาคศาสตร์จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติการแพทย์แบบกาเลนด้วยการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ขยายไปยังวิทยาศาสตร์ปรีคลินิกสาขาต่าง ๆ เช่น สรีรวิทยา เภสัชวิทยา แบคทีเรียวิทยา เป็นต้น อีก 50 ปีต่อมา มหาวิทยาลัยปาดัวได้สร้างสถานที่ศึกษากายวิภาค-ศาสตร์มนุษย์ขนาดใหญ่ เรียกว่า Padua Anatomical Theatre, The Bo Palace of Padua University มหาวิทยาลัยปาดัว อิตาลี จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นสถานที่กำเนิดการแพทย์แผนปัจจุบัน - The Birth Place of Modern Medicine” การแพทย์แผนปัจจุบันจึงค่อยพัฒนาสะสมองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่ผ่านการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16

 

59 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

จนถึงปลายศตวรรษที่ 18 เมื่อเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.. 1789 (5 พฤษภาคม ค.. 1789 - 9 พฤศจิกายน ค.. 1799) จึงเกิดการปฏิรูปการแพทย์แผนปัจจุบันครั้งสำคัญ

ปลายศตวรรษที่ 18การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.. 1789ทำให้เกิดการเปลี่ยนครั้งใหญ่ในฝรั่งเศส มีการปฏิรูปในทุก ๆ ด้าน ส่งอิทธิพลกระทบไปทั่วยุโรป การปฏิรูปการแพทย์แผนปัจจุบันในฝรั่งเศสเกิดขึ้นด้วยการออกกฎหมายที่เรียกว่า The Law of 1794 ทำให้การแพทย์แผนปัจจุบันพัฒนาองค์ประกอบสำคัญได้ครบสมบูรณ์เป็น A New Wave of New Medical and Healthcare Professionals มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่

1. การตั้งโรงเรียนแพทย์คลินิก (Clinical School) คือ จัดสอนนักเรียนแพทย์ข้างเตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาล

2. การตั้งโรงพยาบาลสมัยใหม่ (Modern Hospital) ที่มีการแบ่งแยกผู้ป่วยเป็นแผนกต่าง ๆ ผู้ป่วยติดเชื้อแยกออกต่างหาก รักษาความสะอาดในโรงพยาบาล

3. การตั้งวิทยาศาสตร์คลินิก (Clinical Science) ขึ้น เริ่มต้นการตรวจร่างกายด้วยวิธีดู คลำ เคาะ ฟัง และการใช้หูฟังสำหรับตรวจโรค (Laennec’s Stethoscope) ครั้งแรกในโลก ระบบการแพทย์แผนปัจจุบันที่ได้รับการปฏิรูปในฝรั่งเศสได้แพร่ขยายไปทั่วยุโรป และหลังสิ้นสุดสงครามไครเมีย

กลางศตวรรษที่ 19 (The Crimean War ช่วง ค.. 1853 - 1856 หรือ พ.. 2396 - 2399 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4) ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้บุกเบิกวิชาการพยาบาลสมัยใหม่ (The Modern Profession of Nursing) ได้ปรับปรุงการจัดการเครื่องมือเครื่องใช้ ความสะอาดและสุขอนามัย (Improving Sanitation Standards) ปรับปรุงภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลสมัยใหม่ กลายเป็นมาตรฐานยอมรับทั่วทั้งยุโรป การแพทย์แผนปัจจุบันจึงเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

การแพทย์แผนปัจจุบันเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า-เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยกลุ่มมิชชันนารีชาวอเมริกัน มีหมอบรัดเลย์เป็นผู้นำเข้ามาราวปี พ.. 2378 หรือ ค.. 1835 ต่อมาการแพทย์แผนปัจจุบันเข้าสู่ระบบราชการครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ให้เป็นแบบตะวันตก ให้การแพทย์แผนปัจจุบันกำเนิดขึ้นในระบบราชการ ณ โรงพยาบาลศิริราช เป็นแห่งแรกของไทย เมื่อ พ.. 2431 ตรงกับ ค.. 1888 หรือปลายศตวรรษที่ 19 ต่อมาได้เจริญขึ้นเป็นระบบราชการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของไทยนับแต่นั้นมา

ระบบราชการด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานกำเนิดขึ้นใหม่มี 2 ระบบ คือ

1. ระบบราชการด้านการแพทย์ เริ่มต้นจากการจัดตั้งกอมมิตตีจัดการโรงพยาบาลเมื่อ พ.. 2430 ดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลของรัฐที่เรียกว่าโรงพยาบาลหลวงแบบตะวันตกแห่งแรก คือ โรงศิริราชพยาบาล (โรงพยาบาลศิริราช) ที่เป็นต้นแบบของโรงพยาบาลทั่วประเทศ ต่อมาจึงจัดตั้งโรงเรียนแพทยากรเป็นโรงเรียนแพทย์ในโรงศิริราชพยาบาลเมื่อ พ.. 2433 (ต่อมาเป็นโรงเรียนราชแพทยาลัย และปัจจุบันคือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) ที่เป็นต้นแบบ

 

60 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ของโรงเรียนแพทย์ทั่วประเทศ ส่วนกอมมิตตีจัดการโรงพยาบาลได้เปลี่ยนเป็นกรมพยาบาลในกระทรวงธรรมการ นับเป็นปฐมภูมิของกระทรวงสาธารณสุข

2. ระบบราชการด้านการสาธารณสุข เริ่มต้นจากการจัดตั้งกรมสุขาภิบาล (Local Sanitary Department) ในกระทรวงนครบาลเมื่อ พ.. 2440 และยุบกรมพยาบาลในกระทรวงธรรมการเข้ามารวมไว้ใน พ.. 2449 โดยการสุขาภิบาลจัดเป็นระบบสาธารณสุขแบบเก่าของประเทศตะวันตก ส่วนการสาธารณสุขแบบใหม่เรียกว่า Public Health เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานและเริ่มแพร่หลายไปทั่วโลกในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนระบบจาก Sanitary เป็น Public Health โดยรวบรวมงานที่เกี่ยวข้องและจัดใหม่ (Reorganization) ตั้งขึ้นเป็นกรมหนึ่งในกระทรวงมหาดไทย พระราชทานนามว่า กรมสาธารณสุข (Department of Public Health) .. 2461 ส่วนประเทศอังกฤษก็เพิ่งจัดตั้งกระทรวงสาธารณสุขครั้งแรก พ.. 2463(1) และประเทศไทยได้ยกกรมสาธารณสุขขึ้นเป็นกระทรวงการสาธารณสุข พ.. 2485 ตามหลังประเทศตะวันตกไม่นาน จึงพัฒนาเป็นรากฐานการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทยที่เข้มแข็งและทันสมัยมาจนถึงปัจจุบัน

นิยามศัพท์สำคัญ

โรงพยาบาลในสมัยโบราณเรียก “Hospital” ว่า โรงหมอ โรงรักษาคนไข้ ตึกยา ตึกรักษาคนป่วยไข้ส่วนคำว่าโรงพยาบาลเพิ่งบัญญัติขึ้นครั้งแรกตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่องแต่งตั้งกอมมิตตีจัดการโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.. 2430(2) โดยรายงานประชุมกอมมิตตีโรงพยาธิบาล ครั้งที่ 1 - 4 ของปีเดียวกัน เรียก “Hospital” ว่า โรงพยาธิบาลทั้งหมด(3) และเริ่มเปลี่ยนคำเรียกในรายงานประชุมกอมมิตตีโรงพยาธิบาล ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.. 2430(4) ได้เรียก “Hospital” ว่าโรงพยาบาลสลับกับเรียกว่าโรงพยาธิบาลต่อมาในรายงานประชุมกอมมิตตีโรงพยาธิบาล ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.. 2430(5) เป็นต้นไป ใช้คำว่าโรงพยาบาลเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นคำว่าโรงพยาบาลจึงย่อมาจากคำว่าโรงพยาธิบาลซึ่งหมายถึง โรงรักษาคนไข้ พยาบาล

คำว่าพยาบารหรือพยาบาลเป็นคำในสมัยโบราณตั้งแต่สมัยอยุธยา บัญญัติไว้ในกฎหมายตราสามดวง ส่วนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏคำว่าคนพยาบาลเมื่อ พ.. 2436 ว่า

...สภาได้จัดที่อาไศรยโรงศิริราชพยาบาลบริบูรณแล้ว ก็ได้ไปรับคนเจ็บเหล่านี้ มาจ้างแพทย์แล คนพยาบาล อยู่ที่โรงศิริราชพยาบาล 6 คน...(6)

 

61 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ไม่ใช่แพทย์ เรียกว่า คนพยาบาล ภายหลังเรียกว่า พยาบาล มีทั้งหญิงและชาย

แพทย์คำว่าแพทย์หรือหมอเป็นคำโบราณตั้งแต่สมัยอยุธยา บัญญัติไว้ในกฎหมายตราสามดวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำว่าแพทย์ตามแบบโบราณ จึงใช้เรียกทั้งแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนปัจจุบันมาถึงปัจจุบัน

โอสถสภาโอสถสภา หมายถึง โรงงานผลิตยาของรัฐบาล ดังประกาศตั้งโอสถสภา(7) ความว่า

...ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า ทุกวันนี้ยารักษาโรคที่เปนยาดีมีคุณก็มีมากหลายขนาน แต่หากว่ายาเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายออกไปถึงราษฎรที่อยู่ตามบ้านป่าเมืองไกล ความเจ็บไข้ในท้องที่เหล่านั้น จึงเปนเหตุให้ถึงอันตรายได้มาก ทรงพระราชดำริห์ฉนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง โอสถสภา แลโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตร์วัฒโนดมเปนประธานจัดการประกอบโอสถ ซึ่งเปนของเคยเห็นคุณปรากฏในการระงับโรคต่าง ๆ ส่งออกไปจำหน่ายตามหัวเมืองโดยราคาอย่างถูก แต่พอคุ้มทุนที่ได้จำหน่ายไป...

โอสถศาลา

โอสถศาลา หรือโอสถศาลารัฐบาล มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Government Medical Depot หมายถึง ร้านขายยาหรือโรงขายยาของรัฐบาล

...สมเด็จกรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มีหนังสือกราบบังคมทูลถวายความเห็นเรื่องควรดำเนินการตั้งโอสถศาลาเพื่อจำหน่ายยาตามหัวเมือง...(8)

 

62 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

62_การปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่

 

63 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ระบบราชการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย

วิวัฒนาการของระบบราชการด้านการแพทย์ของประเทศไทยจากสมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน อาจแบ่งได้ 3 ยุค ดังนี้

1. ยุคโบราณ พ.. 1893 - 1998 (ประมาณ 1 ศตวรรษ)

2. ยุคกรมหมอหลวง พ.. 1998 - 2435 (ประมาณ 4 ศตวรรษ)

3. ยุคการแพทย์และสาธารณสุขแบบตะวันตก พ.. 2430 - 2561 (ประมาณ 1 ศตวรรษ)

1. ยุคโบราณ

การแพทย์ในยุคนี้ ปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดาร กฎหมายตราสามดวง และในบันทึกของชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา นับตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าอู่ทองจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) .. 1893 - 1998 ขณะนั้นมีหมอแผนไทยอยู่แล้วในกรุงศรีอยุธยา แบ่งเป็นหมอประจำราชสำนักหรือหมอหลวง และหมอชาวบ้านหรือหมอเชลยศักดิ์ หมอแผนไทยในสมัยโบราณมีหลายประเภท เช่น หมอสมุนไพร หมอน้ำมนต์ หมอนวดรักษาโรค หมอผี หมอพระ เป็นต้น

2. ยุคกรมหมอหลวง (กรมแพทยาโรงพระโอสถ)

ในยุคนี้ ระบบราชการแพทย์เป็นหน้าที่รับผิดชอบของกรมหมอหลวง” (กรมแพทยาโรงพระโอสถ) กรมเดียว กรมหมอหลวงจัดตั้งขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ราว พ.. 1998 ในช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนกลางและสิ้นสุดในรัชกาลที่ 5 ราว พ.. 2435 จึงยุติบทบาท ด้วยมีระบบการแพทย์และสาธารณสุขแบบตะวันตกจัดตั้งขึ้นแทนที่

การจัดตั้งกรมหมอหลวง สันนิษฐานว่าเริ่มจากการที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ทรงยกทัพไปตีเมืองพระนครของกัมพูชาได้ใน พ.. 1975 การกวาดต้อนเชลยศึกขุนนางเขมรจำนวนมากกลับมากรุงศรีอยุธยา นับเป็นการเคลื่อนย้ายภูมิปัญญาสรรพวิทยานานาของอาณาจักรขอมเข้ามาที่กรุงศรีอยุธยาครั้งใหญ่ ต่อมาใน พ.. 1998 พระราชโอรสของพระองค์ คือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิรูประบบราชการแบบใหม่ ด้วยการตรากฎหมายโครงสร้างระบบราชการสำคัญ 2 ฉบับ สันนิษฐานว่าน่าจะได้แบบอย่างมาจากระบบราชการของอาณาจักรขอมยุคเมืองพระนคร คือพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมืองและพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนจึงมีการจัดตั้งกรมราชการต่าง ๆ ตลอดจนทำเนียบขุนนางที่ใช้ต่อเนื่องมาถึงรัชกาลที่ 5

กฎหมายพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนบัญญัติให้มีการจัดตั้งกรมแพทยาโรงพระโอสถ (กรมหมอหลวง) แบ่งออกเป็นกรมย่อยต่าง ๆ แบ่งงานตามลักษณะหน้าที่ ดังนี้

1) หน้าที่หลัก ได้แก่กรมแพทยามีหน้าที่เป็นกรมหมอรักษาโรค และโรงพระโอสถคือสถานที่ปรุงยาและเก็บยา

2) หน้าที่ฝ่ายทหารพลเรือน ได้แก่กรมแพทยาหน้ามีหน้าที่เป็นกรมหมอฝ่ายทหาร และกรมแพทยาหลังมีหน้าที่เป็นกรมหมอฝ่ายพลเรือน

 

64 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

3) หน้าที่กรมแพทย์เฉพาะโรค เช่น กรมหมอยา กรมหมอนวด กรมหมอวัณโรค กรมหมอยาตา

4) หน้าที่รักษาโรคตามฐานะศักดินา ได้แก่หมอโรงในคือ หมอให้การรักษาเฉพาะภายในวังหลวง และหมอศาลาคือ หมอให้การรักษานอกวังหลวงให้แก่ขุนนางและประชาชน

5) หน้าที่พิจารณาคดี ได้แก่ปลัดนั่งศาลของกรมแพทยาหน้าและกรมแพทยาหลัง มีหน้าที่เป็นผู้พิพากษาของศาลกรมแพทยาโรงพระโอสถ

ส่วนกรมหมอฝรั่งเป็นกรมที่จัดตั้งเพิ่มเติมในภายหลัง ไม่มีบัญญัติไว้ในกฎหมายตราสามดวงแต่แรก สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เป็นกรมย่อยในกรมแพทยาโรงพระโอสถ หมอฝรั่งที่เคยรับราชการในกรมนี้คงเป็นแพทย์ตะวันตกแผนเก่า (Renaissance Medicine) ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 - 18 เพราะแพทย์ตะวันตกแผนปัจจุบันที่เรียกว่า Modern Medicine เพิ่งเข้าสู่ประเทศไทยในภายหลังในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 หรือตรงกับสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

กรมหมอฝรั่งยังคงดำรงอยู่จนถึง พ.. 2426 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะยังคงปรากฏในหนังสือสารบาญชี จ.. 1245 (.. 2426) ซึ่งเป็นหนังสือรวมรายชื่อและที่อยู่สำหรับส่งไปรษณีย์ กรมนี้เป็นกรมขนาดเล็ก มีขุนนางไทยรับราชการเป็นแพทย์แผนไทยประเภทหนึ่งที่ใช้ยาฝรั่งปนกับยาไทยรักษาโรค

 

65 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

65_พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

66 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

66_สมัยรัชกาลที่ 6

 

67 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

67_สมัยรัชกาลที่ 7 - 9

 

68 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

3. ยุคการแพทย์และสาธารณสุขแบบตะวันตก

เริ่มต้นขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ โดยเปลี่ยนรูปแบบการปกครองประเทศจากระบบราชการแบบโบราณให้เป็นระบบราชการแบบตะวันตก ใช้ระยะเวลาเปลี่ยนแปลงราว 27 ปี ตั้งแต่ พ.. 2413 ถึง พ.. 2440 ระบบราชการแบบโบราณจึงถูกยกเลิกไปทั้งหมดโดยสมบูรณ์

ระบบราชการด้านการแพทย์ในสมัยโบราณ คือ กรมแพทยาโรงพระโอสถ หรือกรมหมอหลวง เป็นการรักษาเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่ระบบราชการด้านการสาธารณสุข มีขนาดเล็ก อยู่ในเมืองหลวง รับผิดชอบเฉพาะงานรักษาภายในราชสำนักเป็นหลัก ไม่รักษาทั่วไป ประชาชนจึงต้องหาหมอเชลยศักดิ์หรือหมอเอกชนในท้องที่รักษาโรคกันเอง

กรมแพทยาโรงพระโอสถแบ่งหน้าที่เป็น 2 ส่วนสำคัญ คือ กรมแพทยา (กรมหมอ) มีหน้าที่รักษาโรค และโรงพระโอสถ มีหน้าที่เก็บสมุนไพรและปรุงยาจากสมุนไพร แพทย์แผนไทยในสมัยโบราณไม่สามารถผ่าตัดใหญ่แบบแพทย์ฝรั่งซึ่งเป็นที่ต้องการในราชการทัพ รวมถึงกิจการหลายอย่างในขณะนั้น ที่พ้นสมัยไม่ตอบสนองความต้องการของประเทศ ดังพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า

...การปกครองอย่างเก่านั้นก็ยิ่งไม่สมกับความต้องการของบ้านเมืองหนักขึ้นทุกที จึงได้มีความประสงค์อันยิ่งใหญ่ ที่จะแก้ไขธรรมเนียมการปกครองให้สมกับเวลา ให้เป็นทางที่จะเจริญแก่บ้านเมือง...(9)

ต่อมามีการจัดตั้งระบบราชการด้านการแพทย์และสาธารณสุขแบบใหม่ตามแบบตะวันตกขึ้นแทน ซึ่งมีขนาดใหญ่และซับซ้อน ครอบคลุมงานราชการด้านการแพทย์และด้านการสาธารณสุขเพื่อให้บริการแก่ประชาชนทั่วทั้งประเทศเป็นครั้งแรก

ทรงจัดตั้งสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามและเข้าร่วมกับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เป็นประเทศภาคีของอนุสัญญาเจนีวา ทำให้สยามเป็นที่รู้จักในเวทีโลก เพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หากประเทศไทยต้องเผชิญกับภัยสงครามรุนแรง เช่น สงครามล่าอาณานิคม นับเป็นนโยบายการต่างประเทศที่สำคัญในรัชกาลของพระองค์

ระบบราชการแบบตะวันตก (Bureaucracy System) หมายถึง ระบบการจัดการภาครัฐแบบตะวันตก ด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Public Management for Medicine and Public Health) ทรงจัดตั้งโรงพยาบาลแบบตะวันตกและรับหมอต่างชาติเข้ารับราชการ จึงเริ่มให้บริการการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน (Modern Medicine) ขึ้นในระบบราชการครั้งแรกในรัชสมัยของพระองค์ มีการจัดตั้งโรงเรียนสอนวิชาแพทย์แบบตะวันตก” (Medical School) เพื่อจัดสอนวิชาแพทย์แผนปัจจุบัน (Modern Medicine) และผลิตแพทย์แผนปัจจุบันรุ่นใหม่ ๆ เข้าสู่ระบบราชการที่ทรงปฏิรูปใหม่ กำเนิดการแพทย์แผนปัจจุบัน (Modern Medicine Science) ของไทย เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5

 

69 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ในขณะนั้น แพทย์ไทยแผนโบราณที่รับราชการก็ย้ายมารับราชการในระบบใหม่ร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบันที่จบการศึกษาจากโรงเรียนราชแพทยาลัย

ระบบราชการแพทย์และสาธารณสุขแบบตะวันตกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไว้แบ่งเป็น 3 ระบบ ได้แก่

3.1 ระบบราชการด้านการแพทย์ทหาร

3.2 ระบบราชการด้านการแพทย์และสาธารณสุขพลเรือน

3.3 สภากาชาดไทย

 

 

70 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

3.1 ระบบราชการด้านการแพทย์ทหาร

ระบบราชการด้านการแพทย์ทหารแบ่งเป็น 2 ยุค คือ ระบบราชการแพทย์ทหารสมัยโบราณและระบบราชการแพทย์ทหารสมัยใหม่ ดังนี้

แพทย์สำหรับการทหารในสมัยโบราณ

ในสมัยโบราณไม่มีระบบราชการแพทย์ประจำกรมทหารไว้เป็นการเฉพาะ เนื่องจากตำแหน่งขุนนางทหารทั้งหมดตราไว้ในกฎหมายตราสามดวงฉบับพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมืองมีเฉพาะตำแหน่งขุนนางทหาร ส่วนตำแหน่งขุนนางหมอเป็นตำแหน่งขุนนางในกรมแพทยาโรงพระโอสถ ซึ่งเป็นกรมพลเรือน ในกรณีที่เกิดสงคราม กรมแพทยาหน้าซึ่งเป็นกรมย่อยในกรมแพทยาโรงพระโอสถจะส่งขุนนางหมอเข้าร่วมในราชการทัพแบบเฉพาะกิจ

กองทัพไทยในสมัยโบราณ(10)

ลักษณะกองทัพไทยสมัยโบราณนั้นมีเพียงกำลังพลแบบเดียวทั้งกองทัพ ไม่แบ่งเป็นทหารบกหรือทหารเรือ หากยกทัพไปทางบกจะเรียกทัพบก แต่ถ้ายกทัพไปในทางเรือจะเรียกทัพเรือส่วนกำลังทางเรือนั้นใช้กำลังพลเป็นทั้งฝีพายและพลรบ ได้รับแบบอย่างมาจากตำราพิไชยสงครามฮินดูโบราณ ซึ่งกำหนดกำลังทัพออกเป็น 4 เหล่า เรียกว่า จตุรงคเสนา ประกอบด้วย เหล่าพลช้าง (ทหารช้าง) เหล่าพลม้า (ทหารม้า) เหล่าพลรถ (ทหารรถ) และเหล่าพลราบ (ทหารราบ) รวมทั้งหมด 9 กอง ในแต่ละกองต้องประกอบด้วยพลรบหน่วยต้นจำนวนอย่างน้อย คือ รถ 1 ช้าง 1 ม้า 3 และพลราบ 5 แล้วเพิ่มจำนวนพลอีก 3 เท่าในกองต่อ ๆ ไปเป็นลำดับจนถึงกองที่ 8 และเพิ่มเป็น 10 เท่าสำหรับกองที่ 9 ซึ่งจำนวนพลรบนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความจำเป็น

การจัดกำลังพลในจตุรงคเสนาของไทยนั้น อย่างน้อยที่สุดจะต้องมีจำนวนกองช้าง 3 ช้าง คนประจำ 36 คน กองม้า 3 ม้า คนประจำ 9 คน กองรถ 3 คัน คนประจำ 12 คน และพลเดินเท้าพร้อมอาวุธ 32 คน ซึ่งในหมู่พลเดินเท้านี้จะต้องมีพลช่างรวมอยู่ด้วย เพื่อทำหน้าที่ขุดคูสร้างประตูค่าย หอรบ สะพาน และพลับพลาที่ประทับ แบ่งออกเป็น 7 แผนก คือ แผนกพล แผนกช่าง แผนกทาง แผนกม้า แผนกเรือ แผนกอาวุธ และแผนกตำหนัก

ราชการทัพในสมัยโบราณเป็นการรบด้วยกำลังทางบกเป็นส่วนใหญ่ การรบที่เดินทางทางน้ำส่วนใหญ่โดยเรือในแม่น้ำ ลำคลอง และเพื่อเป็นการสนับสนุน ลำเลียงเคลื่อนย้ายกำลังพล หรือช่วยการรบมากกว่า และไม่ใช่การรบกันตรง ๆ ทางทะเล ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (.. 2091 - 2111) มีบันทึกเรื่องการรบโดยใช้เรือในทางทะเลเพื่อเรียนรู้การใช้อาวุธปืนใหญ่ และเริ่มใช้เรือในการรบทางทะเล ตามแบบอย่างของเรือสินค้าที่ติดอาวุธของชาติโปรตุเกส

การจัดกำลังกองทัพตามแบบจตุรงคเสนาเริ่มเปลี่ยนแปลงไป เมื่อมีการฝึกหัดทหารแบบใหม่และยุทธวิธีตามแบบตะวันตกตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(11)

 

71 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

จตุรงคเสนายกเลิกไปเมื่อมีการจัดตั้งกองทหารแบบใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว11 โดยตั้งกรมยุทธนาธิการบังคับบัญชากรมทหารบก 7 กรม คือ กรมทหารกรมช้าง กรมทหารปืนใหญ่ กรมทหารหน้า กรมทหารล้อมวัง กรมทหารรักษาพระองค์ กรมทหารมหาดเล็ก และกรมทหารฝีพาย รวมทั้งทหารเรืออีก 2 กรม คือ กรมทหารเรือพระที่นั่งเวสาตรี(12) และกรมอรสุมพล (คือกรมทหารเรือรบสมัยใหม่)(13)

ระบบราชการแพทย์ทหารสมัยใหม่แบบตะวันตก

ระบบการแพทย์ทหารสมัยใหม่ที่ปรากฏในปัจจุบัน เป็นระบบการแพทย์ทหารแบบตะวันตกกำเนิดขึ้นจากการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งระบบราชการแพทย์ขึ้นสำหรับทหารเป็นการเฉพาะ มีลำดับการจัดตั้งดังนี้

(1) ตั้งตำแหน่งเซอเยน (Surgeon - แพทย์ทหาร) .. 2414

เมื่อ พ.. 2414 มีประกาศแต่งตั้งตำแหน่งแพทย์ประจำกอมปนีทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ตามแบบกองทหารของประเทศตะวันตก หม่อมเจ้าสายในกรมหลวงวงศาธิราชสนิท (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์) ดำรงตำแหน่งเป็นเซอเยน (Surgeon) แพทย์ทหารประจำกรมทหารมหาดเล็ก นับเป็นแพทย์ประจำกรมทหาร หรือแพทย์ทหารพระองค์แรก(14)

(2) ตั้งตำแหน่งฮอสปิเติลซายัน” (Hospital Sergeant - นายสิบพยาบาล) และ ตั้งโรงพยาบาลทหารมหาดเล็ก (ใช้ชื่อเดิมว่า โรงหมอในโรงทหารมหาดเล็ก) .. 2420

เมื่อ พ.. 2420 มีประกาศพระราชบัญญัติเป็นข้อบังคับสำหรับกรมทหารมหาดเล็ก จ.. 1239บัญญัติให้มีตำแหน่งแพทย์ประจำกรมทหารมหาดเล็กจำนวน 2 ตำแหน่งคือเซอเยน” (Surgeon) 1 ตำแหน่ง และฮอสปิเติลซายัน” (Hospital Sergeant) 1 ตำแหน่ง

จากโครงสร้างตำแหน่งกระทรวงยุทธนาธิการ พ.. 2433(15) ตำแหน่ง เซอเยน” (Surgeon) ตรงกับตำแหน่งนายแพทย์ใหญ่ทหารบก ประจำกรมยกกระบัดทหารบกใหญ่ และตำแหน่งนายแพทย์ ประจำโรงพยาบาลทหารบก ส่วนตำแหน่งฮอสปิเติลซายัน” (Hospital Sergeant) ตรงกับตำแหน่งนายสิบพยาบาล ประจำโรงพยาบาลทหารบก

เซอเยน (Surgeon) และฮอสปิเติลซายัน (Hospital Sergeant) มีหน้าที่ตรวจรักษาทหารป่วยและผลัดเปลี่ยนเวรกันนอนโรง (หมายถึงโรงทหาร) คนละ 7 วัน และข้อความตอนหนึ่งในพระราชบัญญัติเป็นข้อบังคับสำหรับกรมทหารมหาดเล็ก จ.. 1239(16) บัญญัติไว้ว่า

ทหารป่วยเจบ

...ข้อ 22 บันดาทหารซึ่งเข้าเวรป่วยไข้ ฤๅถึงเวรแล้ว บอกป่วยจะเข้ามารับราชการไม่ได้ ให้ผู้รับพระบรมราชโองการจัดหมอคนหนึ่ง แลนอนกอมิชันออฟฟิเซอ(17) นาย 1 ไปตรวจอาการมาแจ้งความต่อผู้รับพระบรมราชโองการ ถ้าทหารปรัยเวศ ฤๅนอนกอมิชันออฟฟิเซอ ป่วยไข้ไปประการใด ถ้ามีหมอรักษาอยู่แล้วก็แล้วไป ถ้าไม่มีหมอรักษา ให้ผู้รับ

 

72  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

พระบรมราชโองการ แลนายกัมปนี(18) ช่วยเปนธุระขวนขวายที่จะให้ได้หมอรักษา ถ้าเจ็บอยู่กับบ้าน อย่าให้ หมอในโรง ไปอยู่ เปนแต่ให้ไปตรวจเปนเวลา ถ้าเจ็บใน โรงหมอในโรง พิทักษรักษาให้จงดี ถ้าเปนกอมิชันออฟฟิเซอ(19) ให้นำอาการขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หาหมอไปช่วยพิทักษรักษาตามสมควรที่จะต้องการ ถ้าออฟฟิเซอก็ดี ทหารปรัยเวศ(20) ก็ดี ไม่ป่วยแกล้งบอกว่าป่วยบิดเบือนต่อราชการ ควรจะทำโทษ ฤๅนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาก็ให้ทำโทษ ฤๅนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาตามสมควร...

คำว่า หมอในโรงหมายถึง เซอเยน (Surgeon) และฮอสปิเติลซายัน (Hospital Sergeant) สำหรับคำว่าโรงหมอในโรงหมายถึง โรงหมอ (Hospital) ในโรงทหารมหาดเล็ก (ที่พักของทหารมหาดเล็ก) หลังจากการบัญญัติศัพท์ว่า โรงพยาบาล (Hospital) ใน พ.. 2430 แล้ว จึงเรียกโรงหมอในโรงทหารมหาดเล็กว่าโรงพยาบาลทหารมหาดเล็กซึ่งตั้งอยู่ในโรงทหารมหาดเล็กภายในพระบรมมหาราชวัง

โรงพยาบาลทหารมหาดเล็กจึงมีลักษณะเป็นการจัดสรรพื้นที่บางส่วนของโรงทหารให้เป็นพื้นที่สำหรับการรักษาเฉพาะทหารเจ็บป่วย ไม่ได้ให้บริการรักษาราษฎรทั่วไป(21)

(3) ตั้งโรงพยาบาลทหารหน้า พ.. 2423(22)

เมื่อ พ.. 2423 มีประกาศพระราชบัญญัติทหารหน้าเป็นการปฏิรูปกรมทหารหน้าให้เป็นกรมทหารแบบตะวันตก โดยยุบรวม 4 กรมย่อยในกรมทหารหน้า ได้แก่ กองทหารอย่างยุโรป กองทหารมหาดไทย กองทหารกลาโหม และกองทหารเกณฑ์หัด รวมไว้ในกรมทหารหน้ากรมเดียว และปฏิรูประบบบริหารจัดการใหม่ ให้แบ่งเป็นหมวด หมวดละ 100 - 200 คน ในแต่ละหมวด มีตำแหน่งคณารักษ์ คณานุรักษ์ สมุหบาญชี รองสมุหบาญชี นายหมวด รองหมวด ผู้ช่วยหมวด และให้สิบเหล่า รวมเป็นหนึ่งแสนยากร (หรือกองพัน) ในหนึ่งแสนยากรให้มีแสนยาธิบดี แสนยานุบดี พลารักษ์ ถือกฎหมาย ถือบาญชี เก็บเงิน เก็บสรรพยุทธ ตระลาการสารวัด เป็นต้น ที่สำคัญคือ พระราชบัญญัติทหารหน้าฉบับแรก พ.. 2423 นี้ กำหนดให้มีตำแหน่งหมอ 2 คนในแต่ละกองพัน

72_ตาราง กำหนดตำแหน่งยศ

 

73  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

กรมทหารหน้าจึงมีตำแหน่งนายแพทย์ทหารและนายสิบพยาบาล ประจำโรงหมอทหารหน้า(โรงพยาบาลทหารหน้า) ตั้งแต่ พ.. 2423 สันนิษฐานว่ามีการจัดตั้งโรงหมอทหารหน้าในโรงทหารหน้า พ.. 2423 ต่อมามีการสร้างตึกโรงทหารหน้าขึ้นใหม่ (อาคารกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง) .. 2425 มีการกำหนดตำแหน่งโรงพยาบาลไว้ในแผนผังโรงทหารหน้า เมื่อสร้างเสร็จใน พ.. 2427 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.. 2427 โรงพยาบาลทหารหน้าจึงตั้งอยู่

73_1_โรงพยาบาลทหารหน้าจึงตั้งอยู่

73_2_อยู่บริเวณมุมซ้ายบน

ผังพื้นชั้นล่างของโรงทหารหน้า

เขียนใหม่จากแผนผังในหนังสือ

ประวัติการของจอมพล

เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี

สันนิษฐานว่าส่วนของห้องนายแพทย์และโรงพยาบาลทหารน่าจะอยู่บริเวณมุมซ้ายบน

 

74 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

ในโรงทหารหน้าแห่งใหม่นี้ ดังแบบแปลนโรงทหารหน้าระบุว่า...อาคารด้านขวา ชั้นล่างเก็บปืนใหญ่ ชั้นบนเป็นที่อยู่ของทหารปืนใหญ่...โรงใหญ่ข้างขวาแบ่งเป็น ห้องนายแพทย์ทหาร และโรงพยาบาลทหาร...

(4) เลิกโรงพยาบาลทหารมหาดเล็ก เหลือโรงพยาบาลทหารหน้า พ.. 2430

เมื่อ พ.. 2430 มีประกาศพระราชบัญญัติสำหรับตั้งกรมทหาร จ.. 1248เพื่อจัดตั้งกรมยุทธนาธิการ ประกอบด้วยกรมทหารบก 1 กรม และกรมทหารเรือ 1 กรม เป็นการแยกการทหารบกและการทหารเรือออกจากกันตามแบบตะวันตกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ซึ่งแต่เดิมมีหน้าที่ปนกัน กรมทหารบกในอดีตมีเรือเป็นของตนเองจึงทำหน้าที่ส่วนหนึ่งเหมือนกับทหารเรือ ส่วนกรมทหารเรือในอดีตมีที่ตั้งบนบกจึงมีหน้าที่ส่วนหนึ่งเหมือนกับทหารบก(23) การจัดระบบใหม่ตั้งเป็นกรมทหารบก 1 กรม ประกอบด้วย 7 กรมย่อย คือ กรมทหารมหาดเล็ก กรมทหารรักษาพระองค์ กรมทหารล้อมวัง กรมทหารหน้า กรมทหารฝีพาย กรมทหารปืนใหญ่ กรมทหารช้าง และตั้งเป็นกรมทหารเรือ 1 กรม ประกอบด้วย 2 กรมย่อย คือ กรมทหารเรือพระที่นั่งเวสาตรี กรมอรสุมพล การจัดตั้งกรมยุทธนาธิการจึงเป็นการทดลองจัดระบบราชการระดับกรมที่ใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรก ต่อมาภายหลังจึงเรียกชื่อกรมใหญ่นี้ว่า กระทรวง ดังนั้น การจัดตั้งกรมยุทธนาธิการจึงเป็นการทดลองจัดตั้งระบบกระทรวงแบบตะวันตกหน่วยงานแรกของไทย

ต่อมาเปลี่ยนนามโรงทหารหน้าเป็นศาลายุทธนาธิการและมีการย้ายกรมทหารมหาดเล็กจากพระบรมมหาราชวังออกมารวมกับกรมทหารหน้าในศาลายุทธนาธิการในปี พ.. 2430 สันนิษฐานว่า ได้เลิกโรงพยาบาลทหารมหาดเล็กไปหลังจากที่ย้ายมาอยู่รวมกัน เหลือเฉพาะโรงพยาบาลทหารหน้าในศาลายุทธนาธิการเพียงแห่งเดียว อาจเป็นไปได้ว่าโรงพยาบาลทหารหน้าเปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลทหารกลางสำหรับทหารเจ็บป่วยทุกคนที่พักอาศัยอยู่ในโรงทหารขนาดใหญ่ราว 2,000 นายภายในศาลายุทธนาธิการ

ระหว่าง พ.. 2428 - 2431 ทหารสังกัดกรมทหารหน้าเดินทางไปปราบฮ่อหลายครั้ง โรงทหารหน้าจึงมีทหารประจำอยู่ไม่มาก กิจการโรงพยาบาลทหารหน้าในระยะนี้อาจไม่ประสบผล ประกอบกับเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งคณะกรรมการจัดการโรงพยาบาลขึ้นใน พ.. 2430 เพื่อจัดสร้างโรงพยาบาลสำหรับฝ่ายพลเรือน คือ โรงศิริราชพยาบาล การดำเนินการได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก จึงใช้เป็นต้นแบบสำหรับโรงพยาบาลทุกแห่ง รวมทั้งโรงพยาบาลทหารในยุคหลังโรงพยาบาลทหารหน้าเช่นกัน

(5) ตั้งโรงพยาบาลทหารเรือ พ.. 2433

เมื่อ พ.. 2433 มีประกาศพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมแบบแผนราชการของทหารบกและทหารเรือชื่อว่าพระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ ร.. 109(24) ยกกรมยุทธนาธิการขึ้นเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ” (Ministry of War and Marine) ใน พ.. 2433 เพื่อทดลองการจัดราชการทหารโครงสร้างราชการของกระทรวง (Bureaucratic Structure) แบบใหม่โดยแบ่งกรมกองต่าง ๆ ตามประเทศตะวันตก มีตำแหน่งแพทย์ทหารและโรงพยาบาลโครงสร้างราชการของกระทรวงแบบใหม่ ดังนี้

 

75  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ตำแหน่งแพทย์ในกระทรวงยุทธนาธิการ พ.. 2433

กรมทหารบก

1. กรมยกกระบัดทหารบกใหญ่ มีตำแหน่งนายแพทย์ใหญ่ทหารบก 1 และผู้ช่วยนายแพทย์ใหญ่ทหารบก 1

2. โรงพยาบาลทหารบก มีตำแหน่งสารวัตรใหญ่ 1/รองสารวัตรใหญ่ 1/นายแพทย์ 1/ผู้ช่วยนายแพทย์ 1/นายสิบพยาบาล 1/นายสิบภัณฑ์กิจ 1

3. กรมคุกทหารบก มีตำแหน่งนายแพทย์ 1 คน

กรมทหารเรือ

1. กรมทหารเรือ มีตำแหน่งนายแพทย์ใหญ่ทัพเรือ 1(25)

2. โรงพยาบาลทหารเรือ มีตำแหน่งสารวัดใหญ่ 1/รองสารวัดใหญ่ 1/นายแพทย์ 1/ผู้ช่วยนายแพทย์ 1/นายสิบพยาบาล 1/นายสิบภัณฑ์กิจ 1

3. กรมคุกทหารเรือ มีตำแหน่งนายแพทย์ 1

การจัดตั้งโครงสร้างระบบราชการแพทย์ทหารเรือเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อ พ.. 2433 เป็นงานส่วนหนึ่งของกรมทหารเรือ กระทรวงยุทธนาธิการ ในปี พ.. 2433 กรมทหารเรือย้ายที่ทำการต่าง ๆ ไปอยู่ฝั่งธนบุรี จัดตั้งอู่เรือหลวง (กรมอู่เรือ - Dockyard บริเวณพื้นที่ของอู่แห้งลำดับที่ 1 ของกรมอู่ทหารเรือ ธนบุรีในปัจจุบัน) อู่เรือหลวงเป็นอู่ซ่อมเรือขนาดใหญ่ อยู่ติดกับที่ทำกาของกองบัญชาการกรมทหารเรือ รวมทั้งเรือรบต่าง ๆ ของทหารเรือจะจอดโยงอยู่ตลอด

75_ภาพแสดงของอาคารของเรือนไม้

ภาพแสดงของอาคารของเรือนไม้ของโรงเรียนสตรีวัดระฆังของอาคารเรียนชุดแรกที่รับต่อจากโรงพยาบาลทหารเรือเดิม

(ไม่ทราบปีที่ถ่าย แต่ใช้งานเป็นอาคารสอนตั้งแต่ พ.. 2457 ถึง พ.. 2494) โดยเปลี่ยนจากหลังมุงจากเป็นสังกะสี

เรือนไม้สองชั้นเดิมใช้เป็นส่วนของสถานที่การรักษาของโรงพยาบาลทหารเรือกลาง สังเกตจะเห็นตัวปืนใหญ่

ทั้งซ้ายและขวาของรูปที่เคยตั้งอยู่มาตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นโรงพยาบาลทหารเรือ โดยปืนใหญ่ที่อยู่ด้านขวาของรูป

เป็นปืนใหญ่ Armstrong ขนาดปากกระบอกเก้านิ้ว เคยประจำในเรือหลวงหาญหักศัตรู

โดยในวิกฤต ร.. 112 (.. 2436) เคยยิงและหยุดยั้งเรือรบฝรั่งเศสชื่อเรือ Jean Baptisl Say จนแล่นต่อไปไม่ได้

ปัจจุบันปืนใหญ่กระบอกนี้ย้ายไปตั้งอยู่ในฐานทัพเรือสัตหีบ ชลบุรี

ที่มา : 100 ปี สตรีวัดระฆัง

 

76  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

76

ที่มา : แผนที่กรุงธนบุรีโดยสำนักพิมพ์ต้นฉบับ ชี้ตำแหน่งและคำบรรยายสถานที่โดยผู้เรียบเรียง

 

77  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

สองข้างและร่องกลางตลอดแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณนี้มากที่สุด กำลังพลทหารเรือส่วนใหญ่จึงรวมอยู่ในบริเวณนี้ กรมทหารเรือจึงยืมใช้พื้นที่ของวัดระฆังโฆสิตารามสร้างโรงพยาบาลทหารเรือ สำหรับเป็นโรงพยาบาลกลางสำหรับทหารเรือเป็นแห่งแรก สามารถเดินไปมาระหว่างโรงพยาบาลทหารเรือ อู่เรือหลวง และที่ทำการกรมทหารเรือได้สะดวก

โรงพยาบาลทหารเรือยุคแรกนี้เป็นเรือนไม้ชั่วคราว หลังคาจาก 3 หลังติดกัน เรือนชั้นเดียวหนึ่งหลังสำหรับเป็นที่ทำการของหน่วยบังคับการของนายแพทย์และพยาบาล กับเรือนไม้สองชั้นอีกสองหลังเพื่อเป็นโรงพยาบาล โดยมีพื้นที่รวมประมาณ 500 - 600 ตารางวา กั้นอาณาเขตด้วยรั้วสังกะสีโดยรอบ แยกจากพื้นที่ของวัด

ต่อมาใน ปี พ.. 2443 ที่ทำการของหน่วยบังคับการของนายแพทย์และพยาบาลย้ายไปอยู่ในพื้นที่กรมยุทธโยธาทหารเรือ (กองบัญชาการของกองเรือลำนำ กองเรือยุทธการในปัจจุบัน) เป็นตึกยาวสองชั้นและคลังเก็บยาและพัสดุอีกหนึ่งหลัง รวมทั้งจัดตั้งโอสถศาลา กองแพทย์ทหารเรือเพิ่มขึ้นมาในบริเวณใกล้กับวัดวงมูล (วัดทรงประมูลหรือวัดวงศมูลวิหารในปัจจุบัน) ส่วนโรงพยาบาลทหารเรือกลางยังคงใช้ที่เดิมของพื้นที่ของวัดระฆังพลางก่อน

(6) เลิกโรงพยาบาลทหารหน้าในศาลายุทธนาธิการ

เมื่อ พ.. 2435 จัดตั้งกระทรวงกลาโหม โดยประกาศตั้งตำแหน่งเสนาบดี(26) ตั้ง 12 เสนาบดี 12 กระทรวง โครงสร้างระบบราชการของแพทย์ทหารและโรงพยาบาลทหารในกระทรวงกลาโหมยึดตามแบบที่กระทรวงยุทธนาธิการจัดไว้ตั้งแต่ พ.. 2433

ในการจัดตั้งกระทรวงกลาโหม พ.. 2435 ได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการให้เป็นกรมยุทธนาธิการอีกครั้ง และรวมไว้เป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงกลาโหม ศาลายุทธนาธิการจึงเปลี่ยนเป็นที่ว่าการของกระทรวงกลาโหม งานราชการของกระทรวงกลาโหมมีขนาดใหญ่ ครอบคลุมทหารทั้งประเทศ จึงต้องการพื้นที่มากขึ้น และจำเป็นต้องย้ายโรงพยาบาลทหารบกออกไปตั้งในที่ใหม่เป็นการชั่วคราว คือ บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) หลังจาก พ.. 2435

(7) ตั้งโรงพยาบาลกรมกลาง ณ พระราชวังบวรฯ (วังหน้า) ไม่ทราบปี พ..

สันนิษฐานว่ามีการย้ายโรงพยาบาลทหารหน้าออกจากศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม ไปตั้งอยู่ชั่วคราวในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) น่าจะอยู่บริเวณริมคลองหลอดปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามโรงพยาบาลทหารบก ปัจจุบันคือที่ตั้งของกองการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลทหารบกชั่วคราวตั้งอยู่ในพื้นที่ของพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) บริเวณที่จะสร้างเป็นโรงทหารราบที่ 3 ฝีพาย ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือกราบบังคมทูลพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดช กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.. 2444 ดังนี้

...โรงพยาบาลกรมกลาง ซึ่งบัดนี้ตั้งอยู่ที่พระราชวังบวรฯ ชั่วคราวหนึ่ง และอยู่ในที่ซึ่งจะสร้างเป็นโรงทหารราบที่ 3 ฝีพาย สถานที่อยู่มีไม่พอกับคนไข้ ยังจัดให้ลงระเบียบดีทีเดียวไม่ได้ เป็นที่ไม่สมควรกับจะจัดให้เป็นโรงพยาบาลในที่นั้นโดยเป็นหลักถานยืนยาว...(27)

 

78  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ในหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ 13 ตำนานวังน่า พบว่ามีโรงหมอในวังหน้าด้วย สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นโรงหมอของกรมหมอวังหน้า ซึ่งถูกรื้อออกทำเป็นพื้นสนามหลวงด้านทิศเหนือ พ.. 2440 ไม่ใช่โรงพยาบาลกรมกลางทหารบกซึ่งยังคงมีอยู่ในวังหน้าถึง พ.. 2444 และแผนที่วังหน้าในหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ 13 เป็นแผนที่วังหน้ายุคสุดท้ายราว พ.. 2428 ก่อนการเลิกวังหน้า ในตำนานวังหน้ากล่าวถึงโรงหมอไว้ดังนี้

...ในกำแพงพระราชวังบวรฯ มีเขตรกั้นเปนชั้นในอิกชั้นหนึ่ง เขตรที่กั้นทำเปนเขื่อนเพ็ชร หันน่าเข้าข้างในทั้งสี่ด้าน จะเปนของเดิม สร้างครั้งรัชกาลที่ 1 เพียงใด สร้างใหม่ในรัชกาลที่ 4 เพียงใดทราบไม่ได้แน่ ภายในเขื่อนเพ็ชรเปนลานพระราชวังชั้นกลางที่ผู้ชายอยู่ แต่ตอนข้างตวันออกเฉียงเหนือ ประมาณสักเสี้ยวของวังใน นอกจากนั้นเปนพระราชวังชั้นในที่ผู้หญิงอยู่ทั้งนั้น เขื่อนเพ็ชรด้านตวันออกตอนเหนือเปนทิมดาบตำรวจแลโรงทหาร ปืนใหญ่ 2 ตอน ต่อมาข้างใต้เปนคลังราชการแลคลังเครื่องสรรพยุทธ มีตึกดินอยู่ในนั้นด้วย เขื่อนเพ็ชรด้านเหนือเปนโรงม้ารวางใน แลโรงหมอ...(28)

จากหนังสือกราบบังคมทูลพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดช กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.. 2444(29) ความว่า สถานที่อยู่มีไม่พอกับคนไข้ ยังจัดให้ลงระเบียบดีทีเดียวไม่ได้แสดงให้เห็นว่าในปี พ.. 2444 ยังคงมีโรงพยาบาลกรมกลางตั้งอยู่ที่พระราชวังบวรฯ และมีพระดำริว่า เป็นที่ไม่สมควรกับจะจัดให้เป็นโรงพยาบาลในที่นั้นโดยเป็นหลักถานยืนยาวจึงกราบบังคมทูลฯ ขอย้ายไปสร้างในที่แห่งใหม่

ส่วนตำแหน่งที่ตั้งของโรงพยาบาลกรมกลางทหารบกในพระราชวังบวรฯ นั้น กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดชกราบบังคมทูลว่า โรงพยาบาลกรมกลาง ซึ่งบัดนี้ตั้งอยู่ที่พระราชวังบวรฯ ชั่วคราวหนึ่ง และอยู่ในที่ซึ่งจะสร้างเป็นโรงทหารราบที่ 3 ฝีพายหมายความว่า จะต้องรื้อโรงพยาบาลกรมกลางออกไปก่อน จึงจะสร้างโรงทหารราบที่ 3 ฝีพาย หรือกรมทหารราบที่ 3 ได้ โดยจะต้องรื้อโรงพยาบาลกรมกลางออกไปนับตั้งแต่ พ.. 2444 จึงจะสร้างแทนที่กันได้

มีโรงทหารเพียงแห่งเดียวที่ถูกสร้างขึ้นในพระราชวังบวรฯ ในปี พ.. 2448 สอดคล้องกับลำดับเหตุการณ์ดังกล่าวและอ้างถึงกรมทหารราบที่ 3 (คือ โรงทหารราบที่ 3 ฝีพาย) ด้วยในหนังสือกราบบังคมทูลพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดช กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ลงวันที่ 4 สิงหาคม พ.. 2448(30) ดังนี้

สำเนาที่ 17/5899 ศาลายุทธนาธิการ

วันที่ 4 สิงหาคม รัตนโกสินทรศก 124

ขอเดชะฝ่าลอองธุลีพระบาทปกเกล้าฯ

ด้วยเมื่อปีรัตนโกสินทรศก 123 ข้าพระพุทธเจ้าได้ทูลเกล้าฯ ถวายรายงานวิธีจัดการปกครองและระเบียบการทหารบกในแพนกกรมยุทธนาธิการ

 

79  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

กลาง เพื่อทราบฝ่าลอองธุลีพระบาท ตามการที่ดำเนินการนั้น บัดนี้ข้าพระ-พุทธเจ้าขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายรายงานการทหารในมณฑลกรุงเทพฯ แลความดำริในการต่อไป เพื่อจะได้ทรงพระราชดำริอีกชั้นหนึ่ง

1. ทหารบกมณฑลกรุงเทพฯ ตามที่เปนอยู่ ณ บัดนี้ จัดตั้งขึ้นเปนกรมบัญชาการมณฑล 1 มีกรมทหาร คือ

(1) กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

(2) กรมทหารม้าที่ 1

(3) กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1

(4) กรมทหารช่างที่ 1

(5) กรมทหารราบที่ 1

(6) กรมทหารราบที่ 2

(7) กรมทหารราบที่ 3

(8) กองโรงเรียนนายสิบมณฑลกรุงเทพฯ

(9) กองพยาบาลมณฑลกรุงเทพฯ

ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ

กองพยาบาลมณฑลกรุงเทพฯ

กองพยาบาลมณฑลกรุงเทพฯ จัดตั้งขึ้นที่ โรงพยาบาลใหญ่ของทหารบกใกล้ปากคลองหลอด จัดการรักษาพยาบาลโดยใช้ยาแลตำราแพทย์ฝรั่ง รับคนป่วยได้โดยปรกติประมาณ 200 คน ถ้าเปนเวลาฉุกเฉินจะรับคนป่วยได้ในระหว่าง 300 - 400 คน ในขณะนี้คงมีคนป่วยประจำอยู่ 200 เศษ ๆ เสมอ คือ เปนคนป่วยที่จะรักษาที่โรงทหารไม่ได้ภายใน 14 วัน เปนต้น หรือคนป่วยที่ต้องรักษาโดยตำราฝรั่ง เพราะแพทย์ที่ประจำตามกรมแลกองล้วนเปนแพทย์ที่ใช้ยาไทยทั้งสิ้น ในโรงพยาบาลนี้คนป่วยที่ต้องรักษาโดยมาก คือ โรคเหน็บชา ซึ่งแพทย์ฝรั่งแลแพทย์ไทยไม่ทราบว่าจะบำบัติได้โดยทางใดเปนแน่แท้ อาไสรยทดลองแก้กันอยู่ แต่โรคนี้ที่ถึงอันตรายมีน้อยมักจะหายได้โดยมาก สถานที่แลการพยาบาลได้สร้างโดยประนีตและเรียบร้อย แลเปนเครื่องเชิดชูอวดชาวต่างประเทศได้แห่งหนึ่ง โรงพยาบาลนี้ยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ดีแท้ ยังกำลังก่อสร้างเพิ่มเติมอยู่บ้าง แต่กระนั้นก็ดีนับว่าใช้ได้แล้ว และในเดือนกันยายนคงจะสำเร็จบริบูรณ์...

5. การก่อสร้าง...

(2) สร้างโรงทหารใหม่หลังพระราชวังบวรฯ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาระหว่างท่าพระจันทร์ด้านใต้ถึงโรงพักกองตระเวน ท่าช้างวังน่าด้านเหนือ คือ ในปีนี้สร้างโรงทหารเปนตึกสองชั้น 2 หลัง จุคน 2 กองร้อย ที่ว่าการ 1 หลัง

 

80  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

โรงเลี้ยง 1 หลัง โรงประกอบอาหาร 1 หลัง รวมเปนเงิน 120,000 บาท กับใช้เงินค่าซ่อมแซมซึ่งจะกระเบียดกระเสียนในเงินเหลือใช้ซ่อมศาลายุทธนาธิการชั้นล่างทำเป็นคลังไว้เครื่องสรรพยุทธโดยรอบ กับศาลายิงเป้า 2 หลัง แลรื้อเรือนแถวสร้างเปนกำแพงโรงพยาบาลให้เสร็จ...

โรงทหารไม่ปรากฏชื่อนี้ สันนิษฐานว่าอาจหมายถึง กรมทหารราบที่ 3 หรือโรงทหารราบที่ 3 ฝีพาย สร้างขึ้นด้านหลังพระราชวังบวรฯ ด้านติดแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ระหว่างท่าพระจันทร์กับท่าช้างวังหน้า

(8) ตั้งโรงพยาบาลทหารบกกลาง ณ ปากคลองหลอด พ.. 2444

หนังสือกราบบังคมทูลของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดช กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน ร.. 120(31) มีความตอนหนึ่งเกี่ยวกับโรงพยาบาลกรมกลาง ว่า

...โรงพยาบาลกรมกลาง ซึ่งบัดนี้ตั้งอยู่ที่พระราชวังบวรฯ ชั่วคราวหนึ่ง และอยู่ในที่ซึ่งจะสร้างเป็นโรงทหารราบที่ 3ฝีพายสถานที่อยู่มีไม่พอกับคนไข้ ยังจัดให้ลงระเบียบดีทีเดียวไม่ได้ เป็นที่ไม่สมควรกับจะจัดให้เป็นโรงพยาบาลในที่นั้นโดยเป็นหลักถานยืนยาว ข้าพระพุทธเจ้าได้ไปตรวจที่ตำบลประทุมวัน ในที่ซึ่งกระทรวงนครบาลได้จัดปลูกสร้างอะไรไว้แต่ก่อนบ้างนั้น บัดนี้ไม่มีอะไรแล้วเป็นที่รกอยู่ทั้งสิ้น ถ้าจะจัดทำแต่จำเภาะที่เป็นเกาะกลางอยู่ ก็ไม่พอกับความต้องการในเรื่องที่ ๆ จะตั้งโรงพยาบาลนี้ ยังรับพระราชดำริห์อยู่ต่อไป...

พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดช กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ กระทรวงกลาโหม มีพระดำริจะย้ายโรงพยาบาลกรมกลาง (ทหารบก) ออกจากพระราชวังบวรฯ ในตอนแรกจะสร้างที่ตำบลปทุมวัน แต่สุดท้ายก็ได้สร้าง ณ ปากคลองหลอด ด้านทิศเหนือ ตึกโรงพยาบาลทหารบกกลาง ณ ปากคลองหลอด มีจารึกที่หน้าตึกว่าปีมโรง รัตนโกสินทรศก 123ซึ่งน่าจะเป็นปีที่สร้างเสร็จ พ.. 2447 และโรงพยาบาลทั้งหมดน่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกันยายน พ.. 2448 ตามหลักฐานในหนังสือกราบบังคมทูลพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดช กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช(32) ลงวันที่ 4 สิงหาคม พ.. 2448 ต่อมาว่า...โรงพยาบาลนี้ยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ดีแท้ ยังกำลังก่อสร้างเพิ่มเติมอยู่บ้าง แต่กระนั้นก็ดีนับว่าใช้ได้แล้ว และในเดือนกันยายนคงจะสำเร็จบริบูรณ์...(33)

(9) ตั้งกรมแพทย์ทหารบก พ.. 2447

พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดช กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการทหาร มีหนังสือกราบบังคมทูลที่ 9/780 ลงวันที่ 27 เมษายน ร.. 123 เรื่องขอพระบรมราชานุญาตตั้งกรมสรรพยุทธ์และกรมแพทย์(34) ดังนี้

 

81  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

81_พระเจ้าบรมวงศ์เธอ

จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ

กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช

ทรงได้รับการถวาย

พระราชสมัญญานามว่า

พระบิดาแห่งกองทัพบกไทย

ด้วยในราชการทหารบกตามที่ได้จัดขยายการยิ่งขึ้นเป็นลำดับมาแล้วนั้น ในศกนี้สมควรจัด กรมสรรพยุทธ แล กรมแพทย์ เพิ่มขึ้นอีก 2 กรม ตามซึ่งการ 2 แพนกนี้ยังบกพร่องอยู่ คือ...

2. การแพทย์พยาบาล ตามที่เป็นมาแล้วมีแต่น่าที่การสำหรับโรงพยาบาล แลตามที่ได้จัดการขยายการทหารมาแล้ว ยังขาดการแพทย์ที่จะต้องจัดระเบียบการแลการทั้งปวงสำหรับราชการสนาม เพราะฉนั้น กรมแพทย์จึ่งเป็นการจำเป็นที่จะต้องตั้งขึ้นมีน่าที่ดังกล่าวมานี้ กับทั้งมีน่าที่ในการตรวจตราบังคับบัญชาการพยาบาลทั่วไป

3. ถ้าทรงพระราชดำริห์เห็นสมควร จัดตั้งกรมสรรพยุทธแลกรมแพทย์ขึ้นใหม่ในศกนี้แล้ว...นายแพทย์ใหญ่ทรัมป์ สมควรรับตำแหน่งเป็นหัวน่าแพทย์ ส่วนเงินตามงบประมาณที่จะจัดตั้ง 2 กรมนี้ขึ้นในศกนี้ มีจำนวนพอ ถ้าทรงพระราชดำริห์เห็นสมควรพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว ข้าพระพุทธเจ้า จะได้รับพระราชทานจัดการต่อไป

 

(82)  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

82

วันที่ 28 เมษายน ร.. 123 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราช-หัตถเลขาตอบที่ 9/121 ดังนี้

วันที่ 28 เมษายน รัตนโกสินทร์ศก 123

ถึง กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช

ด้วยได้รับหนังสือที่ 9/780 ลงวันวานนี้ว่า ราชการทหารบกได้จัดการขยายยิ่งขึ้น สมควรจะจัดตั้งกรมสรรพยุทธและกรมแพทย์ให้มีขึ้นในศก 123...ให้นายแพทย์ใหญ่ทรัมป์ รับตำแหน่งเปนหัวหน้ากรมแพทย์ ว่าการที่จะจัดตั้งกรมทั้งสองนี้ขึ้น มีจำนวนเงินในงบประมาณศก 123 แล้ว ถ้าเหนชอบด้วย จะได้จัดต่อไปนั้น ทราบแล้ว อนุญาต

วันที่ 18 พฤษภาคม ร.. 123 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งกรมแพทย์ (ทหารบก) ขึ้นในกรมยุทธนาธิการ ให้นายแพทย์ทรัมป์รับราชการตำแหน่งนายแพทย์ใหญ่ หัวหน้ากรมแพทย์

(10) ตั้งโรงพยาบาลค่ายทหารบก พ.. 2449

.. 2449 มีการจัดสร้างโรงพยาบาลทหาร ประจำมณฑลทหารบกจังหวัดนครสวรรค์ เป็นแห่งแรก เป็นโรงพยาบาลค่ายทหารในมณฑลทหารบก(35)

(11) ตั้งกองบังคับการของหน่วยแพทย์ทหารเรือและโรงพยาบาลทหารเรือ

 

83  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ณ ปากคลองมอญ พ.. 2455

จัดสร้างโรงพยาบาลทหารเรือ ณ ปากคลองมอญ ด้านเหนือ ตรงกันข้ามกับท่าราชวรดิษฐ์เมื่อ พ.. 2455 เพื่อเป็นโรงพยาบาลและกองบังคับการของหน่วยแพทย์ทหารเรือเป็นการถาวรแห่งแรก รองรับการขยายโครงสร้างของกรมทหารเรือ โดยในปีก่อนหน้านั้น สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ กราบบังคมทูลถวายรายงานต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ 19 มกราคม พ.. 2454 เพื่อจัดตั้งกระทรวงทหารเรือ(36) ความสำคัญบางตอนว่า

...มาตรา 8 การพยาบาล

ข้อ 1 ในเมื่อข้าพระพุทธเจ้ามารับตำแหน่ง การแพทย์และการพยาบาลรวมอยู่ในบังคับบัญชานายแพทย์ซึ่งเป็นทหารฝรั่ง มีแพทย์อยู่ในบังคับบัญชาแต่ล้วนเป็นแพทย์ที่รู้ด้วยคุ้นเคยกับการแพทย์ยาไทยเท่านั้น ตามกองทหารไม่มีแพทย์ประจำ มีแต่ประจำอยู่ที่โรงพยาบาล ถ้ามีคนเจ็บในเรือ ก็ชักธงสัญญาขึ้น แพทย์ลงไปตรวจ เห็นควรรักษาในโรงพยาบาลก็พาลงเรือมาไว้ที่โรงพยาบาล ส่วนคนเจ็บตามกองที่อยู่บก ก็แล้วแต่จะส่งไปโรงพยาบาลหรือไม่ส่ง ส่วนตามป้อม มีแพทย์ลงไปตรวจอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ตามกองทหารหัวเมืองให้หมอเชลยศักดิ์

ข้อ 2 ต่อมาได้จัดขยายกว้างขวางขึ้น ได้รับแพทย์ประกาศนียบัตรจากโรงเรียนแพทยาลัยมาสู่ราชการ จัดให้มีแพทย์ประจำตามกองทหารหัวเมือง ส่วนการในกรุงเทพฯ เห็นว่าจัดแพทย์ประจำทุกลำเรือแลกองทหาร งานก็ไม่สู้จะมีมากในน่าที่แพทย์คนหนึ่ง ๆ ทั้งกองทหารทั้งปวงก็รวมอยู่ใกล้กัน จึงได้จัดให้มีแพทย์ประจำแต่ที่โรงเรียนนายเรือ นอกจากนั้น จัดสถานที่ขึ้นแห่งหนึ่งเรียกว่า โอสถศาลา มีแพทย์ประจำสำหรับทำการตรวจโรค ที่แจกยาตามใบสั่งของแพทย์มีที่ตึกยากับเครื่องมืออย่างใหม่พร้อม แลมีกำหนดเวลาที่เรือแลกองทหารทั้งปวงจะส่งคนเจ็บมาให้แพทย์ในที่นั้นทุกวัน คนเจ็บคนใดอาการน้อย แพทย์ก็ให้ยาส่งกลับไปกอง...มีใบตรวจประจำตัวถือไปส่งกองทหารกำหนดให้ทราบว่าคนเจ็บนั้นควรปฏิบัติอย่างใด ให้ส่งไปตรวจอีกเมื่อใด ถ้าเป็นอาการเจ็บถึงล้มนอนเสื่อ หรือเป็นโรคติดต่อกันได้ โอสถศาลาก็ส่งไปรักษาที่โรงพยาบาล เว้นไว้ถ้าเรือจะไปราชการ ก็จัดแพทย์ลงประจำพร้อมด้วยพลพยาบาลออกไปด้วย นอกจากนี้ ส่วนในกรุงถ้าคนเจ็บขึ้นในเวลาค่ำคืนเป็นอาการมาก ก็ให้เรียกแพทย์ซึ่งอยู่เวรจากสถานพยาบาลได้ทุกเวลา

ข้อ 3 สถิติโรคต่าง ๆ

ข้อ 4 การอดฝิ่น

84  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ข้อ 5 ส่วนของโรงพยาบาลทหารเรือ กรุงเทพฯ นี้ ของเดิมเป็นเรือนไม้ แลไม่กว้างขวางพอแก่การ บัดนี้ได้ซื้อที่ ที่จะปลูกใหม่ริมคลองมอญ สำเร็จลงแล้ว จะได้ลงมือการก่อสร้างในศกน่าต่อไป

ข้อ 6 การหาตัวแพทย์เข้าประจำการ ถ้าจะว่าด้วยจำนวนเสียส่วนง่าย แค่ในวิชาความรู้ยังหย่อนมาก ถ้าหากหลักสูตรราชแพทย์วิทยาลัยยังหย่อนอยู่ตราบใด ก็ยังจะต้องใช้แพทย์ชาวยุโรปอยู่อีกไม่ต่ำกว่านายหนึ่งเสมอไป เว้นแต่จะได้แพทย์ไทยที่ได้เล่าเรียนความรู้อย่างบริบูรณ์มาแต่ที่อื่น

ข้อ 7 การรักษาความสะอาดในสถานที่...อาหารและเครื่องบริโภคของอาหารทั่วไป ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้าเข้ามาได้จัดให้มีแพทย์...ประจำตรวจตราอย่างกวดขันทุกแห่ง ยังหาได้เคยมีโรคอันใดเกิดขึ้นในทางโสโครกไม่...

หมายเหตุ

คำอธิบายเพิ่มเติมข้อต่าง ๆ มีดังนี้

ข้อ 1 ในเมื่อข้าพระพุทธเจ้ามารับตำแหน่งหมายถึง เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ทรงเป็นผู้บัญชาการกรมทหารเรือ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.. 2447

ข้อ 2 ต่อมาได้จัดขยายกว้างขวางขึ้น ได้รับแพทย์ประกาศนียบัตรจากโรงเรียนแพทยาลัยมาสู่ราชการ จัดให้มีแพทย์ประจำตามกองทหารหัวเมืองหมายถึง การจัดตั้งกองทหารเรือชายฝั่งทะเลตะวันออกที่ประจำสถานีชายทะเลต่าง ๆ เช่น ที่ชลบุรี บางพระ บางละมุง เกาะเสม็ด ระยอง จันทบุรี ขลุง ตราด เกาะกง และเกาะเสม็ดนอก (ตอนนั้นยังขึ้นกับสยาม) ซึ่งภายหลังได้พัฒนาเป็นกองโรงเรียนพลทหารเรือ คือ กองที่ 1 ในจังหวัดสมุทรสงคราม กองที่ 2 ในจังหวัดสมุทรสาคร กองที่ 3 ในนครเขื่อนขันธ์ กองที่ 4 ในจังหวัดสมุทรปราการ กองที่ 5 บางพระ ในจังหวัดชลบุรี กองที่ 6 ในจังหวัดระยอง กองที่ 7 ในจังหวัดจันทบุรี รวมกับกองทหารเรือที่ประจำป้อมหลักของปากแม่น้ำเจ้าพระยาสี่แห่ง คือ ป้อมแผลงไฟฟ้า ป้อมผีเสื้อสมุทร ป้อมเสือซ่อนเล็บ และป้อมพระจุลจอมเกล้า

จึงได้จัดให้มีแพทย์ประจำแต่ที่โรงเรียนนายเรือ นอกจากนั้น จัดสถานที่ขึ้นแห่งหนึ่งเรียกว่า โอสถศาลาหมายถึง การจัดให้มีแพทย์ประจำโรงเรียนนายเรือ ซึ่งตอนนั้นโรงเรียนนายเรือตั้งอยู่ในพระ-ราชวังเดิม ฝั่งธนบุรี และโอสถศาลาตั้งอยู่ใกล้กองบังคับการกองแพทย์ทหารเรือ ในพื้นที่เขตของกรมยุทธโยธาทหารเรือ บริเวณด้านข้างวัดวงมูล (ปัจจุบันชื่อวัดวงศมูลวิหารหรือวัดทรงประมูล มีแต่พระอุโบสถ ไม่มีพระสงฆ์ประจำพรรษา ตั้งในบริเวณกรมอู่ทหารเรือธนบุรี)

ข้อ 6 ระหว่าง ปี พ.. 2433 - 2457 มีแพทย์ชาวต่างประเทศ 4 ท่านที่ทำงานหรือเคยร่วมงานกับกองทัพเรือ ได้แก่ Dr. Peter Gowan, นาวาเอก โทมัส เฮเวิด เฮส์ (Thomas Heyward Heys), นาวาโท เบอร์เมอร์ (A.H. Boehmer), นายแพทย์เอ็ด อาร์ดัมซัน (พระบำบัดสรรพโรค)

เวลานั้นมีแพทย์ทหารเรือจบการศึกษาจากต่างประเทศจำนวน 2 ท่าน คือ พลเรือตรี หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ M.R.C.S. (England) L.R.C.P. (London) Diploma of School of Tropical Medicine (London) และพลเรือตรี นายแพทย์เล็ก สุมิตร M.R.C.S. (England) L.R.C.P. (London) Diploma of School of Tropical Medicine (London) ทั้ง 2 ท่านเป็นบุคคลสำคัญในการวางรากฐานการแพทย์ทหารเรือให้มั่นคงมาถึงปัจจุบัน(37)

 

85  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

(12) ย้ายโรงพยาบาลทหารบกกลางไปอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดสยามพ.. 2457

มีคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 3/135 ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2457 โดยเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (...อรุณ ฉัตรกุล) เสนาบดี(38)ความว่า

ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สภากาชาดสยาม มอบโรงพยาบาลซึ่งได้จัดสร้างขึ้นใหม่ด้วยเงินซึ่งได้ทรงพระมหากรุณาบริจาคพระราชทรัพย์แลพระภาดา, พระภคินีได้ทรงบริจาครวมกัน เพื่อเป็นอนุสาวรีย์ฉลองพระเดช-พระคุณในสมเด็จพระบรมชนกนารถพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ให้แก่กระทรวงกระลาโหม สำหรับจัดขึ้นเปนโรงพยาบาลทหารบกกลาง เพราะฉนั้น

1) ให้จัดตั้งกองพยาบาลทหารบกกลางขึ้น มีระเบียบการตามที่ปรากฏในข้อบังคับซึ่งตราขึ้นไว้นั้น

2) ให้หมอเชเฟอร์ที่ปฤกษากรมแพทย์ทหารบกเปนผู้บังคับกิจการในกองพยาบาลนี้ มีนามแทนตำแหน่งว่า ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารบกกลาง อยู่ในความดูแลบังคับบัญชาของนายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ เสนาธิการทหารบก ให้เปนผู้อำนวยการสภากาชาดอีกส่วนหนึ่งด้วย แลให้หมอเชเฟอร์คงเปนที่ปฤกษากรมแพทย์ทหารบกอยู่ตามเดิม

3) ให้หมอออตโตออร์นชไตน์ และนายร้อยโท ชื่น แพทย์ประจำกรมแพทย์ทหารบก พแนกยาฝรั่ง ไปประจำกองพยาบาลทหารบกกลาง...

ข้อบังคับว่าด้วยกองพยาบาลทหารบกกลาง

ข้อ 1 กองพยาบาลทหารบกกลาง ขึ้นตรงต่อกระทรวงกระลาโหม แต่อยู่ในความดูแลของเสนาธิการทหารบก เพราะฉนั้นเมื่อผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารบกกลางมีกิจการจะต้องเสนอกระทรวงกระลาโหม ให้เสนอต่อเสนาธิการทหารบกเสียก่อน แลถ้ากิจการที่จะต้องกระทำไปนั้น ไม่เกี่ยวกับการที่จะต้องออกเงินเกินกว่างบประมาณที่กำหนดไว้ หรือไม่จำเป็นแท้ที่เสนาบดีกระทรวงกระลาโหมจะต้องสั่งการเองแล้ว ให้เสนาธิการทหารบกเปนผู้สั่งการในนามของเสนาบดีกระทรวงกระลาโหมแลเจ้าน่าที่ทั้งปวงต้องปฏิบัติตาม ฉะเพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับกองพยาบาลนี้

ข้อ 2 กองพยาบาลนี้ มีผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารบกกลาง เปนผู้รับผิดชอบบังคับบัญชากิจการทั่วไป แลผู้อำนวยการมีอำนาจวางข้อบังคับซึ่งเนื่องในกิจการภายในของกองพยาบาลได้โดยตามสมควร

 

86  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ข้อ 9 กองพยาบาลทหารบกกลาง ตั้งทำการอยู่ในสถานที่โรงพยาบาลถาวรซึ่งสภากาชาด ได้สร้างขึ้นที่ทำเลมุมถนนสนามม้ากับถนนหัวลำโพงต่อกันนั้น มีน่าที่แบ่งเปนประเภทต่าง ๆ กล่าวโดยกว้างขวางดังต่อไปนี้

) ประเภทสั่งสอนเพิ่มพูนความรู้แลฝึกฝนความชำนาญของแพทย์ทหารบก

) ประเภทตรวจแลรักษาพยาบาลทหารบกซึ่งป่วย

) ประเภทตรวจแลรักษาพยาบาลคนทั่วไป

) ประเภทตรวจเชื้อโรคแลบำรุงวิชาแพทย์

ข้อ 10 ประเภทการสั่งสอนเพิ่มพูนความรู้แลฝึกฝนความชำนาญของนายแพทย์ทหารบกนั้น ยังแบ่งออกเปน 2 ชนิด คือ

) การฝึกหัดสั่งสอนริมที่นอนคนป่วย

) การสั่งสอนโดยวิธีเลกเชอร์

ระเบียบการละเอียดนั้น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารบกกลางเปนผู้กำหนด

ข้อ 11 ผู้ที่จะรับความสั่งสอนแลฝึกฝนนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

) นายแพทย์ทหารบกชั้นผู้น้อยที่อยู่ประจำโรงพยาบาลทหารบกกลาง

ในประเภทนี้กระทรวงกระลาโหมจะได้สั่งให้นายแพทย์ซึ่งออกจากโรงเรียนแพทย์ใหม่ ๆ แลที่จะมารับราชการทหารบกนั้น ไปประจำโรงพยาบาลทหารบกกลาง เพื่อรับความสั่งสอนแลฝึกฝนความชำนาญให้ดีจริงแล้ว จึ่งจะย้ายไปรับราชการตามกรมกองทหารในที่อื่นต่อไป นายแพทย์ชนิดนี้จะต้องประจำอยู่ที่กองพยาบาลทหารบกกลางไม่ต่ำกว่า 2 ปี แลเมื่อผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารบกกลางเห็นว่ามีความรู้ความชำนาญพอสมควรแล้ว จึงให้ทำรายงานกระทรวงกระลาโหม เพื่อสั่งการย้าย และส่งนายแพทย์อื่นไปประจำโรงพยาบาลทหารบกกลางต่อไป

) นายแพทย์ทหารบกซึ่งประจำอยู่ตามกรมกองในกรุงเทพฯ ซึ่งไปดูการผ่าตัดและฟังเลกเชอร์เปนครั้งเปนคราว

ในประเภทนี้ คือบรรดานายแพทย์ทหารบกซึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ ถ้าไม่ติดราชการตามน่าที่ของตนแล้ว ให้ไปดูการตัดผ่าที่โรงพยาบาลทหารบกกลางตามที่กองพยาบาลทหารบกจะได้บอกไปยังกรมแพทย์ทหารบกให้นัดแนะเวลา...

) นายแพทย์ทหารบกซึ่งอยู่นอกกรุงเทพฯ

ในประเภทนี้จะได้มีการฝึกหัดสั่งสอนฉเพาะคราว 1 ใน ปี 1 มีกำหนดเวลา 3 เดือน ให้เปนน่าที่ของกรมแพทย์ทหารบกเลือกคัดนายแพทย์

 

87  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ซึ่งอยู่นอกกรุงเทพฯ เปนจำนวน 10 นาย ส่งรายนามมายังกระทรวงกระลาโหม แล้วกระทรวงกระลาโหมจะได้ออกคำสั่งให้นายแพทย์นั้นมารับความฝึกฝนที่กองพยาบาลทหารบกกลาง เปนกำหนดเวลา 3 เดือน...

ต่อมา พ.. 2459 กระทรวงกลาโหมได้ย้ายกองพยาบาลทหารบกกลางและโรงพยาบาลทหารบกกลางออกไปจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดสยาม ตามข้อผูกพันตามอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125

...Geneva Convention, 1906 : Article 10 of the Geneva Red Cross Convention of the 6th July 1906 provides that each contracting State shall notify to the others the names of the Voluntary Aid Societies which it has authorized, under its own responsibilities, to render assistance to the regular Medical Service of its Armies...

อนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 ข้อ 10 ให้แต่ละประเทศภาคีสมาชิกจัดตั้ง National Red Cross Society (The Voluntary Aid Societies) ที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินการด้วยตนเอง (which it has authorized, under its own responsibilities) กล่าวคือ เป็นองค์กรอิสระภายใต้กฎหมาย จึงมีพระบรมราชโองการประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยาม พุทธศักราช 2461 จัดตั้งสภากาชาดสยามขึ้นเป็นองค์กรอิสระถาวร ฝ่ายทหารบกจึงเหลือ โรงพยาบาลทหารบก ณ ปากคลองหลอด คือ โรงพยาบาลของกองพยาบาลที่ 1 (รักษาพระองค์) เพียงแห่งเดียวในกรุงเทพฯ อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดสยาม ยังคงเป็นโรงเรียนแพทย์ทหาร และตำแหน่งแพทย์และพยาบาลของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ก็ยังคงเป็นตำแหน่งข้าราชการของกรมแพทย์ทหารบก รับเงินเดือนจากกระทรวงกลาโหมไปจนถึง พ.. 2475 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงแยกแพทย์ทหารออกจากสภากาชาดในปี พ.. 2475 ตามที่กระทรวงกลาโหมได้ออกคำสั่งสำหรับทหาร 65/5392 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2475 (ดูหัวข้อที่ 18)

(13) โรงพยาบาลทหารบก ณ ปากคลองหลอด เปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลของกองพยาบาลที่ 1 (รักษาพระองค์) .. 2457

เมื่อสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ให้อยู่ในกำกับของกระทรวงกลาโหม โรงพยาบาลทหารบกกลางและกองพยาบาลทหารบกกลางจึงย้ายไปตั้งที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ส่วนโรงพยาบาลทหารบก ณ ปากคลองหลอด ได้เปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลของกองพยาบาลที่ 1 (รักษาพระองค์) จึงมีความเกี่ยวข้องกันระหว่างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และกองพยาบาลที่ 1 (รักษาพระองค์)(39) ดังนี้

 

88  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ความเกี่ยวข้องกับกองพยาบาลที่ 1 (รักษาพระองค์)

เมื่อโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้เปิดแล้ว คนที่เจ็บเป็นโรคอย่างร้ายจะส่งจากกองพยาบาลที่ 1 (รักษาพระองค์) มาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ก็ได้ แต่อย่าเข้าใจเสียว่าใครมีโรคอย่างร้ายหรือหนักแล้วจะต้องถ่ายมาที่โรงพยาบาลนี้เสมอไป คนเจ็บที่จะส่งมาโรงพยาบาลนี้ได้ก็คือผู้ที่จะต้องการรักษาพยาบาลเปนพิเศษโดยวิธียุโรปแท้ ๆ กับผู้ที่จะต้องถูกทำการตัดผ่าอย่างสำคัญ

การตัดผ่านายทหารแลพลทหารควรจะทำได้ดีในกองพยาบาลที่ 1 (รักษาพระองค์) แต่ต้องอยู่ในการตรวจตราดูแลของหมอเชเฟอร์ เว้นไว้แต่การตัดผ่าที่ยากแลสำคัญ จึงจำเปนต้องทำที่โรงพยาบาลใหม่นี้ เพราะว่าในโรงพยาบาลใหม่นี้มีที่จำกัดรับคนเจ็บให้มาอยู่ในโรงพยาบาลได้เพียง 40 คนเท่านั้นในเวลานี้...

แพนกโรคที่ติดต่อกันได้

กองพยาบาลที่ 1 (รักษาพระองค์) ไม่มีที่สำหรับแยกคนเปนโรคที่ติดต่อกัน...เมื่อประมาณ 5 ปีมาแล้ว ได้คิดกันว่าจะขยายโรงพยาบาลกองพยาบาลที่ 1 (รักษาพระองค์) ให้กว้างออกไป โดยมีแพนกโรคติดต่อกันได้ แต่ความคิดอันนี้ก็หาได้สำเร็จไม่ด้วยว่าหาที่เหมาะใกล้กับกองพยาบาลที่ 1 (รักษาพระองค์) ไม่ได้...

วิธีการจัดยาแลเครื่องใช้

...ถ้าหมอเชเฟอร์ ยกที่ทำการส่วนตัวไปโรงพยาบาลใหม่แล้วจะมีห้องว่างอีก 2 ห้องที่กรมแพทย์ แต่ถึงกระนั้นก็ดี ยังเป็นการคับแคบสำหรับกรมแพทย์อยู่นั่นเอง แต่ถ้าจะสร้างที่ทำการกรมแพทย์ขึ้นใหม่แล้วควรจะสร้างขึ้นใกล้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์...

สรุปได้ว่า กรมแพทย์ทหารบกยังคงมีที่ตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลของกองพยาบาลที่ 1 (รักษาพระองค์) ณ ปากคลองหลอด หรือเรียกว่ากรมแพทย์ทหารบก ปากคลองหลอด พระนครโดยหมอเชเฟอร์ เแพทย์ใหญ่ทหารบกมีห้องทำงานส่วนตัว 2 ห้อง และจะย้ายห้องทำงานส่วนตัวไปอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่กระนั้นกรมแพทย์ทหารบกยังคงมีสถานที่คับแคบและยังคงอยู่ที่เดิม

(14) กรมแพทย์ทหารบกย้ายไปอยู่ที่พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ วังหน้า พ.. 2460

สันนิษฐานว่า สถานที่ทำการของกรมแพทย์ทหารบก ปากคลองหลอด คับแคบ จึงจำเป็นต้องย้ายที่ทำการออกไปตั้งในที่ใหม่ คือ พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ เป็นการชั่วคราว เพราะเป็นที่กว้างขวางกว่าเดิม

 

89  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

89_วังพญาไท

วังพญาไท

(15) กรมแพทย์ทหารบกย้ายไปบ้านคุณหญิงทรามสงวนอภัยรณฤทธิ์ ริมท่าน้ำวัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า พ.. 2461

กรมแพทย์ทหารบกย้ายออกจากพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ไปอยู่ที่บ้านคุณหญิงทรามสงวน-อภัยรณฤทธิ์ ริมท่าน้ำวัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ที่กว้างขวางกว่าเดิม ส่วนโรงพยาบาลทหารบกยังคงอยู่ที่ปากคลองหลอด

(16) เปิดโฮเต็ลพญาไท พ.. 2468

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงปรับปรุงวังพญาไทเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งสำหรับให้ชาวต่างประเทศพัก เปิดเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ พ.. 2468

(17) กรมแพทย์สุขาภิบาลทหาร พ.. 2474

เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการเงินของประเทศและเศรษฐกิจโลกตกต่ำ จึงมีการลดค่าใช้จ่ายในภาครัฐ มีการปรับลดควบรวมโครงสร้างของหน่วยราชการต่าง ๆ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมแพทย์สุขาภิบาลทหารบกกับกรมแพทย์พยาบาลทหารเรือเป็นกรมเดียวกันในชื่อว่า กรมแพทย์สุขาภิบาลทหาร ตามคำสั่งสำหรับทหารที่ 43/12103 ลงวันที่ 1 มกราคม พ.. 2474(40) โดยให้ พล... หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ นายแพทย์ใหญ่ทหารเรือ ย้ายไปรับราชการที่กระทรวงวังในตำแหน่งแพทย์ประจำพระองค์ และให้ พล.. พระยาวิบุลอายุรเวท นายแพทย์ใหญ่ทหารบกเป็นนายแพทย์ใหญ่ทหาร

 

90  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

มีหน้าที่กำกับดูแลและบังคับบัญชากรมแพทย์สุขาภิบาลทหาร และให้นาวาโท พระชัยสิทธิเวช (เชย ชัยสิทธิเวช) ดำรงตำแหน่งแทนหม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์

กรมแพทย์พยาบาลทหารเรือซึ่งย้ายไปรวมอยู่ในกรมสุขาภิบาลทหาร เรียกใหม่ว่ากรมเสนารักษ์ราชนาวี” (1 มกราคม พ.. 2474 - 28 มกราคม พ.. 2475) ต่อมาต้องลดขนาดหน่วยงานเป็นระดับกองแล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็นกองเสนารักษ์ราชนาวี” (28 มกราคม พ.. 2475 - .. 2479)(41)

(18) แยกแพทย์ทหารออกจากสภากาชาด พ.. 2475

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.. 2475 กระทรวงกลาโหมได้ออกคำสั่งสำหรับทหารที่ 65/5392 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2475(42) ความว่า

...1. พล.. พระยาวิบุลอายุรเวท นายแพทย์ใหญ่ทหารบก กับ พล.. พระยาดำรงแพทยาคุณ ผู้อำนวยการแผนกโรงเรียนแพทย์ทหาร ซึ่งให้ยืมไปทำการทางสภากาชาดสยาม ออกจากประจำการเพื่อรับพระราชทานบำนาญ

2. อำมาตย์โท พระศัลยเวทย์วิศิษฎ์ ซึ่งรับราชการอยู่ในกระทรวงมหาดไทย เป็นนายแพทย์ใหญ่ทหาร ว่าที่พันโทแต่งเครื่องหมายทหาร ได้รับเงินเดือนอัตรา พ.. 1 ทั้ง 3 นายนี้ ตั้งแต่ สิงหาคม 2475...

พลตรี พระยาวิบุลอายุรเวทและ พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ เป็นผู้มีความเกี่ยวข้องกับสภากาชาดสยามอย่างแน่นแฟ้น เพราะทั้ง 2 ท่านนี้เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ การให้ออกจากราชการทหารนับเป็นการตัดความเชื่อมโยงระหว่างแพทย์ทหารบกกับสภากาชาดสยาม สันนิษฐานว่าได้ยกเลิกตำแหน่งข้าราชการกลาโหมที่สภากาชาดยืมไปทั้งหมดเช่นกัน เพื่อแยกทั้ง 2 ระบบออกจากกัน กระทรวงกลาโหมไม่ต้องรับผิดชอบเงินเดือนแพทย์และพยาบาลของสภากาชาดสยามอีก และสภากาชาดสยามจำต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงได้ออกลอตเตอรี่กาชาดครั้งแรกเมื่อ พ.. 2476 เพื่อระดมทุนสนับสนุนการดำเนินงาน และต่อมาวันที่ 22 พฤษภาคม พ.. 2490 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้อยู่ในสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข ต่อมาเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.. 2495 จึงได้มีการโอนย้ายอาจารย์แพทย์ในสังกัดสภากาชาด ไปรับราชการกินเงินเดือนจากกระทรวงสาธารณสุข เป็นการแบ่งเบาภาระทางการเงินให้แก่สภากาชาดสยาม(43)

(19) กรมแพทย์สุขาภิบาลทหารบกย้ายกลับมาอยู่ที่โรงพยาบาลทหารบก ณ ปากคลองหลอด พ.. 2475

หลังจากที่พระศัลยเวทย์วิศิษฎ์โอนย้ายมาจากกระทรวงมหาดไทยมาเป็นนายแพทย์ใหญ่ทหารบก ก็ได้ย้ายกรมแพทย์สุขาภิบาลทหารบกจากบ้านคุณหญิงทรามสงวนอภัยรณฤทธิ์ ริมท่าน้ำวัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า กลับมาอยู่ที่โรงพยาบาลทหารบก ณ ปากคลองหลอดเช่นเดิม(44)

 

91  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

กรมแพทย์ทหารบกในยุคพระศัลยเวทย์วิศิษฎ์ยังคงแบ่งโครงสร้างตามแบบเดิมที่ พล..พระยาวิบุลอายุรเวทจัดไว้ คือ มีกองบังคับการ (รวมสมุหบัญชี) และแผนกที่ 1, 2, 3

(20) ตั้งกองเสนารักษ์จังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ พ.. 2475 ย้ายกรมแพทย์สุขาภิบาลทหาร

ทางราชการทหารได้เจรจาขอวังพญาไทซึ่งในขณะนั้นเป็นโฮเต็ลพญาไท เพื่อเป็นที่ตั้งของกองเสนารักษ์จังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ (รวมกองเสนารักษ์ที่ 1 และ 2 เข้าด้วยกัน) ซึ่งต่อมาเรียกว่ากองเสนารักษ์ มณฑลทหารบกที่ 1 ดังนั้นโฮเต็ลพญาไทจึงเลิกกิจการไปเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2475

เนื่องจากกองเสนารักษ์ มณฑลทหารบกที่ 1 มีหน้าที่รักษาพยาบาลทหารเจ็บไข้ พระศัลยเวทย์วิศิษฎ์ แพทย์ใหญ่ทหารบก มีความประสงค์จะควบคุมดูแลกิจการทางเทคนิคที่เกี่ยวกับรักษาพยาบาลทหารเจ็บไข้ของกองเสนารักษ์ มณฑลทหารบกที่ 1 โดยใกล้ชิด หรือถ้ามีคนเจ็บไข้ที่จะต้องได้รับการผ่าตัดใหญ่หรือมีอาการร้ายแรง ท่านจะได้อำนวยการรักษาหรือทำการผ่าตัดให้เสียเอง

พระศัลยเวทย์วิศิษฎ์เห็นว่าตัวตึกที่เป็นปีกด้านตะวันออกของวังพญาไทยังว่างอยู่ พอจะใช้เป็นที่ทำงานบางส่วนของกรมแพทย์สุขาภิบาลทหารได้ ต่อมาท่านจึงได้ตกลงใจย้ายกองบังคับการกรมแพทย์ทหารบก และแผนกที่ 2 ของกรมแพทย์ทหารบก (แผนกอำนวยการรักษาพยาบาล) ส่วนแผนกที่ 1 และแผนกที่ 3 ยังคงอยู่ที่ปากคลองหลอดตามเดิม

(21) เพิ่มศักยภาพของกองเสนารักษ์ มณฑลทหารบกที่ 1 พ.. 2477 - 2488

พระศัลยเวทย์วิศิษฎ์ นายแพทย์ใหญ่ทหารบก เสนอต่อผู้บัญชาการทหารบกและเสนาบดีกลาโหม ขอโอนนายแพทย์ชั้นเยี่ยมที่มีชื่อเสียง จากคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้น มารับราชการในกองเสนารักษ์ มณฑลทหารบกที่ 1 จึงได้มา 3 ท่าน คือ หลวงวาจวิทยาวัฑฒน์ จากแผนกอายุรกรรม นายแพทย์สงวน โรจนวงศ์ จากแผนกศัลยกรรม นายแพทย์เจือ ปุญโสนี จากแผนกสูตินรีเวชวิทยา ทั้ง 3 ท่านนี้ได้มาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการวางรากฐานการรักษาพยาบาลทหารให้ขยับสู่ระดับที่ทันสมัย(45)

(22) แยกแพทย์ทหารเรือออกจากกรมสุขาภิบาลทหาร พ.. 2479 และเปลี่ยนชื่อกรมสุขาภิบาลทหารเป็นกรมแพทย์ทหารบกอีกครั้ง

ในปี พ.. 2479 กระทรวงกลาโหมได้แยกเอาส่วนของกองเสนารักษ์ราชนาวีออกมาเป็นอิสระก่อนที่จะกลับไปอยู่ในสังกัดกองทัพเรือและเปลี่ยนชื่อเป็นกองแพทย์ทหารเรือในปี พ.. 2485 ต่อมาในปี พ.. 2486 กองแพทย์ทหารเรือได้ขยายกิจการขึ้นเป็นกรมแพทย์ทหารเรือโดยมีนาวาเอก เล็ก สุมิตร เป็นแพทย์ใหญ่ทหารเรือ ท่านได้รับพระราชทานยศเป็นพลเรือตรีเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.. 2487 ก่อนที่ท่านจะออกจากราชการเพื่อไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข

ในปี พ.. 2487 มีการเวนคืนที่ดินในพื้นที่บุคคโลจำนวนเริ่มต้นทั้งหมด 250 ไร่ เพื่อจัดการก่อสร้างโรงพยาบาลทหารเรือขนาด 1,000 เตียง แต่กองทัพเรือประสบปัญหาในเรื่องงบประมาณ และถูกฟ้องร้องขอคืนที่ดินบางส่วนจากเจ้าของที่ดินเดิมบ้าง เหลือพื้นที่ในปัจจุบัน

 

92  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

จำนวน 181 ไร่ สร้างเป็นโรงพยาบาลทหารเรือบุคคโล หรือโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าในปัจจุบัน

หลังจากปี พ.. 2479 เป็นต้นไป กรมสุขาภิบาลทหารเปลี่ยนชื่อเป็นกรมแพทย์ทหารบกและเปลี่ยนตำแหน่งของนายแพทย์ใหญ่ทหารกลับมาเป็นนายแพทย์ใหญ่ทหารบกมีพันเอก พระศัลยเวทย์วิศิษฎ์เป็นนายแพทย์ใหญ่ทหารบก(46)

(23) ตั้งโรงเรียนนายสิบเสนารักษ์ พ.. 2479

พระศัลยเวทย์วิศิษฎ์ นายแพทย์ใหญ่ทหารบก ดำริว่า บรรดาทหารชั้นประทวนจำพวกเสนารักษ์ที่รับราชการอยู่ตามหน่วยเสนารักษ์ต่าง ๆ ในกองทัพบกเหลืออยู่น้อย นายสิบกองประจำการที่สมัครรับราชการต่อจนได้เลื่อนยศสูงขึ้น ความรู้พื้นฐานไม่ได้มาตรฐาน จึงตั้งโรงเรียนนายสิบเสนารักษ์เมื่อ พ.. 2479 รับผู้จบการศึกษาตั้งแต่ชั้นมัธยม 6(47) (ในสมัยนั้นชั้นมัธยม 8 เป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนสามัญ)

(24) ตั้งโรงพยาบาลอานันทมหิดล พ.. 2481

จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ต้องการขยายกิจการแพทย์ทหารไปยังภูมิภาคจึงตั้งโรงพยาบาลอานันทมหิดลขึ้น ณ จังหวัดลพบุรี เพราะรัฐบาลกำหนดให้จังหวัดลพบุรีเป็นเมืองทหาร เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.. 2481(48)

(25) ตั้งโรงเรียนนายทหารเสนารักษ์ พ.. 2482

พลตรี พระศัลยเวทย์วิศิษฎ์ นายแพทย์ใหญ่ทหารบก ตั้งโรงเรียนนายทหารเสนารักษ์เพื่อผลิตแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งให้มีจำนวนเพียงพอที่จะเป็นกำลังหนุนของกองทัพในยามสงคราม กำหนดรับนักเรียน 4 รุ่น รุ่นละ 120 นาย คาดว่าจะผลิตได้ 400 นาย แต่ผลิตได้จริงรวมทั้งหมด 167 นาย ขาดไปจำนวน 313 นาย จึงไม่ประสบความสำเร็จ แต่ได้ประโยชน์บางประการ(49)

(26) โรงพยาบาลทหารบกที่วังพญาไท พ.. 2491

พลโท หลวงชาตินักรบมีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.. 2491(50) เพื่อขอขยายพื้นที่วังพญาไท ทิศเหนือถนนราชวิถี ทิศตะวันตกจรดถนนพระราม 6 ทิศตะวันออกจรดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ตั้งเป็นโรงพยาบาลทหารบกเต็มรูปแบบ ปัจจุบันคือ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

สรุป 3.1 ระบบราชการด้านการแพทย์ทหาร

ระบบราชการด้านการแพทย์ทหารเป็นระบบราชการทหารแบบใหม่ตามแบบประเทศตะวันตก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานกำเนิดขึ้น เป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน พระองค์พระราชทานต้นแบบระบบราชการของแพทย์ทหารไว้ในกรมทหารบกเป็นอันดับแรก ถือเป็นระบบหลักของฝ่ายแพทย์ทหาร จากนั้นจึงจัดในทหารเรือ ส่วนทหารอากาศมีขึ้นภายหลัง และพัฒนาแตกต่างกันไปตามความต้องการของหน่วยงานตนเอง รวมทั้งการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ทหาร โรงเรียนทหารเสนารักษ์ก็เป็นวิวัฒนาการต่อยอดไปจากรากฐานการแพทย์ทหารตามที่กล่าวมาแล้ว

93  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีจุดกำเนิดจากทหารพลตระเวนในกรมทหารหน้าและโอนย้ายมาอยู่กระทรวงนครบาล ซึ่งเป็นระบบราชการฝ่ายพลเรือน จึงพัฒนาเติบโตขึ้นในกระทรวงนครบาล มีการจัดตั้งโรงพยาบาลกลางให้เป็นโรงพยาบาลตำรวจ (Police Hospital) สำหรับการตรวจพิสูจน์ทางคดี ผู้ต้องหาและผู้เสียหาย ดังจะกล่าวแยกไว้ในตอนหลัง

รากฐานของระบบราชการด้านการแพทย์ทหารเป็นระบบราชการแบบใหม่ตามแบบประเทศตะวันตกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานกำเนิดไว้ มี 4 ระบบ ได้แก่

1) แพทย์ประจำกองทหาร ทำหน้าที่ดูแลทหารเจ็บป่วยบาดเจ็บต่าง ๆ ในกองทหารส่วนหน้าหรือหน่วยทหารที่อยู่แนวการรบ

2) โรงพยาบาลค่ายทหาร เช่น โรงพยาบาลประจำค่ายทหารประจำมณฑลทหารบก กองทัพภาคต่าง ๆ หรือทัพเรือภาคต่าง ๆ

3) โรงพยาบาลทหารกลาง เป็นโรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของแต่ละกองทัพ

4) กรมแพทย์ทหาร คือ กรมแพทย์ทหารบก และกรมแพทย์ทหารเรือ เป็นส่วนบัญชาการกลาง มีหน้าที่บังคับบัญชา สั่งการ บริหารควบคุมกำกับข้าราชการในสังกัดแพทย์ทหาร หน่วยแพทย์ทหาร โรงพยาบาลทหาร เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำกับผู้บัญชาการเหล่าทัพในสายการแพทย์พยาบาล และสั่งการบังคับบัญชาหน่วยแพทย์พลเรือนที่เข้ามาร่วมในกองกำลังทหาร หากมีการระดมสรรพกำลังเมื่อมีการสงคราม

 

94  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

3.2 ระบบการแพทย์และสาธารณสุขแบบตะวันตกสำหรับพลเรือน

การจัดตั้งระบบราชการด้านการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับราษฎรทั่วทั้งประเทศ ภายใต้อำนาจปกครองของระบบราชการฝ่ายพลเรือนมี 3 ระบบ ได้แก่ โรงพยาบาลหลวง (โรงพยาบาลรัฐ) โรงเรียนสอนวิชาแพทย์แผนปัจจุบัน ระบบสาธารณสุข

เนื่องจากระบบการแพทย์และสาธารณสุขแบบตะวันตกสำหรับพลเรือนเป็นระบบราชการด้านสุขภาพของประชาชนทั้งประเทศ จึงมีความสำคัญและมีขนาดใหญ่ ประกอบด้วย 47 เหตุการณ์สำคัญดังต่อไปนี้

(1) หนังสือกราบบังคมทูลของกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ - ต้นคิดเรื่องการจัดตั้งโรงพยาบาลแบบตะวันตก

วันที่ 13 สิงหาคม พ.. 2428 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร(51) ผู้บัญชาการกรมทหารมหาดเล็ก กราบบังคมทูลเรื่องการทหารและการโรงเรียนที่กรมทหารมหาดเล็กรับผิดชอบ รวมถึงการฝึกหัดวิชาหมอ และวิชาเซอเยอรี และโรงรักษาคนไข้ ความสำคัญบางตอน ดังนี้

...อนึ่งหมอวิลลิศที่สำนักราชทูตอังกฤษ ได้ขึ้นมารับพระราชทานอาหารเย็นกับข้าพระพุทธเจ้าวันหนึ่ง ได้พูดจากันถึงเรื่องฝึกหัดวิชาหมอ หมอวิลลิศแจ้งความว่า เมื่ออยู่ที่เมืองยี่ปุ่นได้เคยฝึกหัดคนยี่ปุ่นรู้ไปเปนหลายคน ข้าพเจ้าจึ่งถามว่า หมอวิลลิศเข้ามาอยู่ในเมือง คิดจะหัดคนไทยบ้างฤๅไม่ หมอบอกว่าถ้ามีโอกาสก็จะรับหัดได้บ้าง ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้ปฤกษากับพระวิภาคภูวดลพร้อมกับเหนด้วยเกล้าฯ ว่า วิชาหมอเปนวิชาสำคัญ ควรจะให้แพร่หลายไปในพื้นบ้านพื้นเมือง แต่ที่จะคิดอ่านการฝึกหัดวิชาหมอแท้ก่อนที่ได้มีโรงรักษาคนไข้ตั้งขึ้นนั้นก็ไม่ได้ แต่เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า วิชาหมอในส่วนหนึ่งคือเซอยอรี ที่จะตัดผ่ารักษาบาดแผลเข้าเฝือกเหล่านี้เปนของที่จะเรียนได้ง่ายและเปนที่ต้องการในราชการเหมือนดังทัพฮ่อ ฤๅไปทำแผนที่ป่าฎงดังนี้มาก ถ้าได้คิดอ่านให้มีขึ้นได้ก็คงจะเปนประโยชน์แก่ราชการมาก ข้าพระพุทธเจ้าจึ่งให้พระวิภาคภูวดลพูดจาปฤกษากับหมอวิลลิศ ในความเหนอันนี้ หมอวิลลิศก็เหนชอบด้วย ว่าถ้าข้าพระพุทธเจ้าจะจัดคนให้สัก 8 คน หมอวิลลิศจะรับฝึกสอนวิชาเยอรีให้แก่คนเหล่านั้นในเวลาตั้งแต่บ่าย 2 โมง จนบ่าย 4 โมง ทุก ๆ วันแลจะสอนให้เปล่า ๆ ไม่คิดเอาค่าฝึกสอนด้วย การเปนดังนี้ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า ถ้าได้ฝึกหัดคนไทยให้เข้าใจในวิชานี้ได้หลายคน ก็จะเปนประโยชน์ดังที่คิดนั้นได้มาก...(52)

 

95  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหัตถเลขาตอบว่า

ออกไม่ใคร่เชื่อว่าจะสอนสำหรับเปล่าทำไม แต่ที่สอนไว้นั้นดีมาก

วันที่ 15 ธันวาคม พ.. 2429 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ผู้บัญชาการกรมทหารมหาดเล็ก กราบบังคมทูลเรื่องการฝึกหัดวิชาหมอของหมอวิลลิศ ดังนี้

...ด้วยหมอวิลเลียม วิลลิศ ซึ่งเป็น หมอรับราชการ ณ สำนักราชทูตอังกฤษ ขึ้นมาหาข้าพระพุทธเจ้า แล้วมอบจดหมายขอให้ข้าพระพุทธเจ้านำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายฉบับ 1 ใจความว่า หมอวิลลิศจะยอมรับฝึกสอนผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งเคาเวอนเมนต์สยามจะจัดให้เล่าเรียนวิชาหมอให้ชำนิชำนาญ...(ต้นฉบับเลือน)...พระราชทานเป็นเงินเดือนค่าฝึกสอนตามสมควร เนื้อความแจ้งอยู่ในต้นจดหมายของหมอวิลลิศซึ่งพระพุทธเจ้าได้สอดผนึกทูลเกล้าฯ ถวายแล้วนั้น

การเรื่องนี้ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าว่า ซึ่งจะได้ฝึกหัดให้ไทยชำนิ-ชำนาญวิชาหมอฝรั่งนั้น เป็นการประกอบด้วยประโยชน์เป็นอันมากโดยไม่ต้องสงไสยเลย เว้นแต่จะฝึกหัดตามเช่นหมอวิลลิศรับนี้ ฤๅจะฝึกหัดได้ด้วยอย่างอื่นประการใดนั้น ไม่เป็นกำหนด สักแต่ว่าได้ฝึกหัดแล้วคงเป็นคุณอย่างยิ่ง...(53)

จดหมายแนบของหมอวิลเลียม วิลลิศ

16 December 1886

For many reasons it appears to the under signed desirable that His Majesty’s Government should afford facilities to the young Doctors of Siam to gain an insight into the essentials of modern Medical and Surgical Science. Everyone knows that competent surgeons form an indispensable element of a really efficient Army or Navy.

In these days of machinery and traveling by stream everyone from high to low is liable to accident, and life or limb may depend upon the surgical and medical skill available.

Of a truth it may be said that the more a Country advances in knowledge and civilization the more need is there for carefully trained Surgeons and Physicians.

Young men of this country about the age twenty, and as far as possible with some knowledge of English should be induced to undertake the study of modern Surgical and Medical Science

 

96  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

in the hope of future has usable and profitable employment in the service of their Country.

The undersigned begs to offer his services as a Teacher of Medical and Surgical Science at a salary of Two hundred Dollars a month.

He would give instruction for two hours daily. He is object would be to impart as much practical knowledge as possible and his pupils useful doctors with all possible speed.

Should the Siamese Authorities see fit to gage the services of the Undersigned as a Fear of Medical and Surgical Science, it would be of to them at any time to discontinue the services, the undersigned by giving him three months’ notice of their intention to annual his engagement.

All questions of detail such as the number of Pupils, the place of instruction, the most suitable hours for tuition could be discussed and arranged.

The Undersigned begs to say that he had an extensive experience as a teacher of medical and surgical science, and that the possesses the highest qualifications in the different Department of his Profession.

(Signed) William Willis

Doctor of Medicine of the University of Edinburgh

Fellow of the Royal College of Surgeons of England

Member of the Royal College of Physicians of London

Licentiable of the Society of Apothecaries of London

Licentiable in Midwifery, Rotunda Dublin

วันที่ 25 ธันวาคม พ.. 2431 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงคอมมิตตีจัดการโรงพยาบาล พระราชทานมรดกของเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ให้กับโรงพยาบาล ณ วังหลัง และ ทรงขอบใจกรมหมื่นดำรงราชานุภาพที่เป็นต้นคิดเรื่องจัดตั้งโรงพยาบาล มีความสำคัญบางตอนว่า

...โรงพยาบาลนี้ได้คิดมาช้านาน อยากจะให้มีขึ้นได้ในทันใด แต่การนั้นไม่สำเร็จไปได้ตลอด...การที่คิดไว้นี้ได้ทดลองจะจัดการบ้างก็ยังไม่เห็นว่าจะเป็นการถาวรมั่นคงได้ ภายหลังเกิดวิบัติเคราะห์ร้ายลูกเราซึ่งเป็นที่รักตาย

 

97  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

เป็นที่สลดใจด้วยการที่รักษาไข้เจ็บ เห็นว่าแต่ลูกเราพิทักษ์รักษาเพียงนี้ ยังได้ความทุกข์เวทนาแสนสาหัส ลูกราษฎรอนาถาทั้งปวงจะได้ความลำบากทุกข์เวทนายิ่งกว่านี้ประการใด ยิ่งทำให้มีความปรารถนาที่จะให้มีโรงพยาบาลยิ่งขึ้น ภายหลังกรมหมื่นดำรงราชานุภาพคิดการที่จะตั้งโรงพยาบาลทำความเห็นมายื่น เห็นว่าเป็นทางที่จะจัดการตลอดได้ จึ่งได้ตั้งท่านทั้งหลายเป็นคอมมิตตีจัดการ แลได้ปรึกษากับแม่เล็กเสาวภาผ่องศรี มีความชื่นชมในการที่จะสงเคราะห์คนที่ได้ความลำบากด้วยป่วยไข้นี้ด้วย ยอมยกทรัพย์สมบัติของลูกที่ตายให้เป็นส่วนในการทำโรงพยาบาลนี้เป็นต้นทุน...ขอขอบใจกรมหมื่นดำรงราชานุภาพซึ่งเป็นต้นคิด แลคอมมิตตีทั้งปวงอันได้พร้อมใจกันช่วยจัดการให้ตลอดสมประสงค์ได้ดังนี้...

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริจัดตั้งการแพทย์แบบตะวันตกมาตั้งแต่ พ.. 2414 โดยทรงทดลองจัดระบบการแพทย์ทหารแบบตะวันตกขึ้นครั้งแรกในกรมทหารมหาดเล็ก ให้มีตำแหน่งแพทย์ประจำกองทหารครั้งแรก คือ หม่อมเจ้าสายในกรมหลวงวงศาธิราชสนิท (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์) ดำรงตำแหน่งเป็นเซอเยน (Surgeon)

ในปี พ.. 2420 ตราพระราชบัญญัติเป็นข้อบังคับสำหรับกรมทหารมหาดเล็ก จ.. 1239กำหนดให้ตำแหน่งแพทย์มี 2 ตำแหน่ง คือเซอเยน” (Surgeon) 1 ตำแหน่ง และฮอสปิเติลซายัน” (Hospital Sergeant) 1 ตำแหน่ง มีหน้าที่ตรวจรักษาทหารป่วยและผลัดเปลี่ยนเวรกันนอนโรง (หมายถึงโรงทหาร) คนละ 7 วัน ถ้าเจ็บอยู่กับบ้าน อย่าให้หมอในโรง(54) ไปอยู่ เปนแต่ให้ไปตรวจเปนเวลา ถ้าเจ็บในโรงหมอในโรงพิทักษรักษาให้จงดีคำว่าโรงหมอในโรงหมายถึงโรงหมอในโรงทหารมหาดเล็ก

ในปี พ.. 2423 ตราพระราชบัญญัติทหารหน้า(55) กำหนดให้มีตำแหน่งแพทย์ทหารลักษณะเดียวกับกรมทหารมหาดเล็ก ในปี พ.. 2425 มีการสร้างโรงทหารหน้า” (ปัจจุบันคือศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม เลขที่ 7 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร) ได้ออกแบบให้มีโรงหมอในโรงทหารหน้า

ภายหลังเมื่อมีการบัญญัติศัพท์ว่าโรงพยาบาลในปี พ.. 2430 จึงเรียกโรงหมอในโรงทหารมหาดเล็กว่าโรงพยาบาลทหารมหาดเล็กและเรียกโรงหมอในโรงทหารหน้าว่าโรงพยาบาลทหารหน้า

ระบบราชการแพทย์ทหารในระยะแรกนี้ไม่ประสบความสำเร็จเจริญขึ้นเป็นระบบราชการที่มั่นคงถาวรได้ ดังพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฉบับนี้ที่ว่า “...โรงพยาบาลนี้ได้คิดมาช้านาน อยากจะให้มีขึ้นได้ในทันใด แต่การนั้นไม่สำเร็จไปได้ตลอด...การที่คิดไว้นี้ได้ทดลองจะจัดการบ้างก็ยังไม่เห็นว่าจะเป็นการถาวรมั่นคงได้..”

ในปี พ.. 2428 และ พ.. 2429 กรมหมื่นดำรงราชานุภาพกราบบังคมถวายความเห็น

 

98  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

เรื่องการจัดสอนวิชาแพทย์แบบตะวันตกจะต้องมีการจัดตั้งโรงพยาบาลก่อน ดังคำกราบบังคมทูลว่า “...แต่ที่จะคิดอ่านการฝึกหัดวิชาหมอแท้ ก่อนที่ได้มีโรงรักษาคนไข้ตั้งขึ้นนั้นก็ไม่ได้...” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่ากอมมิตตีจัดการโรงพยาบาลในปี พ.. 2430 ดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลใหญ่ ณ วังหลัง ตามแบบตะวันตกแห่งแรกของประเทศ ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับพระราชทานนามว่าโรงพยาบาลศิริราชจึงใช้เป็นต้นแบบของการจัดตั้งโรงพยาบาลสมัยใหม่อื่น ๆ ของประเทศไทย

หลังจากจัดตั้งโรงพยาบาลศิริราชสำเร็จแล้ว จึงให้กอมมิตตีจัดการโรงพยาบาลยุบเลิกเพื่อจัดตั้งเป็นกรมพยาบาลทดแทน และกรมพยาบาลได้วิวัฒนาการเรื่อยมาจนพัฒนาเป็นกระทรวงสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 8 และให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์แบบตะวันตกแห่งแรกขึ้นในโรงพยาบาลศิริราช ชื่อว่าโรงเรียนแพทยากรต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนแพทยาลัยและโรงเรียนราชแพทยาลัยตามลำดับ ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการย้ายไปรวมอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสมัยรัชกาลที่ 8 ได้แยกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกไปเป็นคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และในสมัยรัชกาลที่ 9 เปลี่ยนเป็นคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ถือเป็นต้นฉบับของโรงเรียนแพทย์แบบตะวันตกของไทยที่สามารถผลิตแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถเทียบเท่าตะวันตก เป็นผลให้ระบบการแพทย์และสาธารณสุขแผนปัจจุบันของประเทศไทยเจริญก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบัน ดังลำดับเหตุการณ์ถัดไป

(2) ตั้งกอมมิตตีจัดการโรงพยาบาล : มีนาคม พ.. 2430

ประชุมกอมมิตตีจัดการโรงพยาบาล 13 ครั้ง ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.. 2430 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.. 2431 เพื่อจัดสร้างโรงพยาบาลศิริราช (รายงานการประชุมอยู่ในภาค 3)

วันที่ 22 มีนาคม พ.. 2430 และ วันที่ 29 มีนาคม พ.. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานลายพระราชหัตถเลขา ร. ที่ 1061/48 ให้จัดตั้งกอมมิตตีจัดการตั้งโรงพยาบาลให้มีขึ้นสำหรับพระนคร ตามกระแสพระราชดำริห์โดยตรง(56)

วันที่ 22 มีนาคม พ.. 2430 มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่าด้วยกอมมิตตีผู้จัดการโรงพยาบาลดังความต่อไปนี้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระมหากรุณาแด่อาณาประชาราษฎร ซึ่งอยู่ในพระราชอาณาจักร แลชนที่ได้เข้ามาพึ่งบรมโพธิสมภารอยู่ในสยามประเทศ พระองค์ได้ทรงพระราชดำริห์ ที่จะแก้อันตรายอันใหญ่ยิ่งของชนทั้งปวง คือ พยาธิแห่งคนจนอนาถาหาญาติที่จะอุปการะมิได้ จะโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาล มีหมอผู้ชำนาญในการโรค แลผู้พยาบาลแลอาหารเลี้ยงแก่คนที่ป่วยไข้นั้นมาช้านานแล้ว แต่พระราชกิจจานุกิจอื่น ๆ

 

99  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

มีมาก การจึ่งมิได้จัดตั้งขึ้น แต่ถึงดังนั้นก็ได้ทรงพระราชดำริห์ในการเรื่องนี้เสมอ บัดนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงษานุวงษแลข้าราชการ ผู้ที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นกอมมิตตีผู้จัดการโรงพยาบาล รักษาคนป่วยไข้ ให้เปนทานแก่อาณาประชาราษฎร ไม่เลือกว่าผู้ใดจะรักษาโรคให้ทั่วกัน...(57)

(3) ตั้งโรงพยาบาลใหญ่ ณ วังหลัง โรงศิริราชพยาบาล : เมษายน พ.. 2431

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.. 2431 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เรื่องบอกเปิดโรงพยาบาล

บอกเปิดโรงพยาบาล

โรงพยาบาล ซึ่งพระบาทสมเดจพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดให้กอมมิตตีปฤกษากันจัดการขึ้นเปนมหาทานแก่อเนกชนนิกร ที่อาไศรยอยู่ในพระราชอาณาเขตรกรุงสยามนั้น บัดนี้ได้จัดการทั้งปวง แล้วเสรจภอสมควรที่จะเปิดรักษาโรคในชั้นแรกนี้ได้แล้ว ได้จัดให้มีเรือนหมอเรือนคนป่วยไข้อยู่ มีหมอรักษาโรคแลคนพยาบาลพร้อมแล้ว โรงพยาบาลนั้นได้ตั้งอยู่ที่พระราชวังหลังริมแม่น้ำฝั่งตวันตก มีปริเวณที่อาไศรยสอาดเรียบร้อย ภอสมควรกับการชั้นแรก กำหนดจะได้เปิดรับรักษาโรคต่าง ๆ ไม่ว่าโรคอย่างใด ในวัน 5 เดือน 6 แรมค่ำ 1 ปีชวด สัมฤทธิศก 1250 ถ้าผู้ใดป่วยไข้จะมาอยู่ในโรงพยาบาลนี้ ฤๅผู้คนข้าทาสป่วยเจบจะมาส่งยังโรงพยาบาลนี้ ก็จะรับรักษาให้ ไม่ต้องมีค่าธรรมเนียมอันใด...

โรงพยาบาลนี้ เปนส่วนพระราชกุศล ทรงสละพระราชทรัพยให้ตั้งขึ้นเปนทาน ในการรักษาโรคแลป้องกันความทุกขยากของชนทั้งหลาย ที่จะเกิดจากพยาธิ มิให้หมอฤๅคนพยาบาล เรียกค่ายาค่ารักษาแก่คนไข้เลยเปนอันขาด ยกไว้แต่ผู้ที่มีสัทธาในส่วนพระราชกุศลนี้ ฤๅมีจิตรกรุณาต่อเพื่อนมนุศยด้วยกัน จะออกเงินเข้าในส่วนพระราชกุศลมหาทานนี้ได้ไม่ห้ามปราม...(58)

(4) ตั้งโรงพยาบาลบูรพา (โรงพยาบาลสาขาแห่งแรก) : มิถุนายน พ.. 2431

วันที่ 24 มิถุนายน พ.. 2431 กอมมิตตีโรงพยาบาลกราบบังคมทูล ความว่า

...ด้วยการโรงพยาบาลที่วังหลังทุกวันนี้ กำลังเจริญขึ้นเสมอทุกเดือน มีคนไข้ที่ได้เข้ามารักษาอยู่ใน 20 - 30 คน...ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 6 มาจนเดือน 7 ปีชวดสัมฤทธิศก มีคนที่ได้หายโรคออกไปจากโรงพยาบาล 18 คน ที่ตายด้วยอหิวาตกโรคที่มาอยู่เมื่ออาการมากแล้ว 2 คน ตายด้วยวรรณโรคภายใน 1 คน รวมที่ตายภายในโรงพยาบาลเดือน 7 เพียง 3 คน เห็นว่าเปนการเจริญขึ้นมาก

 

100  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า คนที่จนอนาถาไม่มีกำลังจะมายังโรงพยาบาลที่วังหลังได้จะมีอยู่โดยมาก ควรจะมีโรงพยาบาลช่วงอีกแห่งหนึ่ง เพื่อที่จะได้รับรักษาโรคเล็กน้อยแลคนจนที่มีกำลังน้อย เมื่อเปนโรคมากมายให้ส่งคนเจ็บไปยังโรงใหญ่...(59)

(5) ขยายจัดตั้งโรงพยาบาลสาขาและแพพยาบาล : พฤศจิกายน พ.. 2431

วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.. 2431 ประชุมกอมมิตตีจัดการโรงพยาบาล เรื่องโรง-พยาบาลหลวง ณ วันที่ 4 แรม 3 ค่ำ เดือน 12 ปีชวดสัมฤทธิศก มีความโดยย่อดังนี้

...ตั้งแต่ปีกุนยังเป็นอัฐศกจนบัดนี้ ได้จัดตั้งโรงพยาบาลเปิดรับรักษาพยาบาลคนไข้ได้แล้ว 2 ตำบล คือ โรงพยาบาลใหญ่ที่วังหลัง ได้รับรักษาพยาบาลคนไข้มาตั้งแต่เดือน 6 ปีชวดสัมฤทธิศกนี้ตำบล 1 โรงพยาบาลริมป้อมมหาไชย ได้รับรักษาพยาบาลคนไข้ในเดือน 12 ปีชวดสัมฤทธิศกนี้ตำบล 1 โรงพยาบาลที่จะได้เปิดในเร็ว ๆ นี้อีก 2 ตำบล คือ โรงพยาบาลที่ริมวัดเทพศิรินทราวาศ ตำบล 1 แพพยาบาลจะออกไปรักษาพยาบาลคนไข้ตามหัวเมือง แพ 1 ยังการที่ได้คิดตกลงแล้วจะจัดได้ต่อไปตามเวลาที่สมควรอีกหลายอย่าง คือ โรงพยาบาลรักษาคนเสียจริต โรงพยาบาลเลี้ยงเด็ก โรงเลี้ยงคนชรา โรงเรียนหัดวิชาแพทย์ เปนต้น...(60)

(6) ตั้งโรงพยาบาลหลวงหัวเมือง : พฤศจิกายน พ.. 2431

เดือนพฤศจิกายน พ.. 2431 มีประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่องพระอินทรประสิทธิ์ศรผู้ว่าราชการเมือง รายงานจำนวนผู้ป่วยที่มารับยารักษาจากหมอที่โรงพยาบาลที่เมืองอินทรบุรี มีจำนวน 165 คน โดยได้รับการอุดหนุนจากกระทรวงธรรมการ เรื่องยาฝรั่งและเครื่องมือปลูกฝี(61)

รายงานกราบบังคมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวของพระยามหาอำมาตย์ (เส็ง วิริยศิริ) รองเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 5 เดือนกุมภาพันธ์ พ.. 2457 ความว่า

...การรักษาโรคภัยไข้เจ็บตามหัวเมืองนั้น แต่เดิมมีแต่แพทย์ไทยในท้องที่ เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการในกรุงเทพฯ ออกไปรับราชการตามหัวเมืองมากขึ้น ข้าราชการเหล่านั้น จึงจัดจ้างแพทย์กรุงเทพฯ ออกไปด้วยสำหรับรักษาตนเองและครอบครัว แล้วมีใบบอกมาขอให้แพทย์เหล่านั้นรับพระราชทานเงินเดือนหลวงนับว่าเป็นพนักงานในราชการ ครั้นต่อมาราวพุทธศักราช 2436 ศิริราชพยาบาล ณ วังหลัง ได้จัดตั้งโรงเรียนราชแพทย์ฝึกหัดแพทย์ได้บ้าง ผู้ว่าราชการเมืองบางเมือง จึงได้มาจ้างแพทย์จากโรงเรียนนั้นไปไว้รับราชการ...(62) 

 

 101  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

(7) ตั้งโรงพยาบาลคนเสียจริต : ธันวาคม พ.. 2431

วันที่ 11 ธันวาคม พ.. 2431 แจ้งความโรงพยาบาลในราชกิจจานุเบกษา ประกาศเชิญชวนหมอที่ชำนาญในการรักษาคนเสียจริตว่า เจ้าพนักงานใหญ่ในโรงพยาบาลขอแจ้งความประสงค์ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพนักงานจัดการโรงพยาบาล และได้จัดการตั้งโรงพยาบาลขึ้นแล้ว 2 แห่ง

...บัดนี้เจ้าพนักงานใหญ่ คิดที่จะตั้งโรงพยาบาลรับเลี้ยงรักษาคนที่เสียจริต มีสัญญาวิบัติ...จึงแจ้งความมายังท่านผู้ที่ชำนาญการพยาบาลรักษาคนเช่นกล่าวแล้วให้ทราบ ถ้ามีความปรารถนาที่จะรับการนั้นแล้ว เชิญมาหาพระประสิทธิวิทยาที่โรงพยาบาลใหญ่ ตำบลวังหลัง เพื่อที่จะได้ปฤกษาการที่จะตกลงกันให้ตลอด...เมื่อได้ทราบความนี้แล้ว ท่านเห็นว่าผู้ใดชำนิชำนาญ การรักษาโรคอย่างนั้น จงแนะนำมารับการ ฤๅมาปฤกษาตามกำหนดตำบลที่ก็จะเปนผลดีแก่ท่านมีจิตร์เมตตากรุณาแก่ชนทั้งหลาย ถึงมาทว่าในบ้านเมืองของเรามีคนที่เปนบ้าน้อยไม่เหมือนบางประเทศก็ดี ถ้าได้ตั้งโรงรักษาขึ้นก็คงมีประโยชน์พอแก่การจะทำให้คนที่เปนบ้า ซึ่งควรจะหาย หายได้มากดีกว่าจะทิ้งทอดไว้...(63)

(8) ตั้งกรมพยาบาล : ธันวาคม พ.. 2431

วันที่ 25 ธันวาคม พ.. 2431 จัดตั้งกรมพยาบาลและตั้งชื่อโรงศิริราชพยาบาล

การโรงพยาบาลซึ่งกอมมิตตีได้จัดการให้เจริญขึ้นได้ถึงเวลากาลบัดนี้ เปนการที่กอมมิตตีได้จัดบริบูรณ์ ตามพระบรมราชประสงค์แล้ว สมควรที่จะตั้งเปนกรมพยาบาลขึ้นกรมหนึ่ง มีพนักงานบังคับบัญชาการต่อไปได้

จึ่งมีพระบรมราชโองการให้พระบรมวงษานุวงษ์แลข้าราชการซึ่งเปนกอมมิตตีจัดการโรงพยาบาลนี้ออกจากน่าที่เปนผู้จัดการโรงพยาบาล โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเปนกรมพยาบาลขึ้นกรมหนึ่ง แลโรงพยาบาลใหญ่ที่วังหลัง ให้เรียกว่า โรงศิริราชพยาบาล...

ประกาศมา ณ วันที่ 3 เดือน 1 แรม 7 ค่ำ ปีชวด สัมฤทธิศก ศักราช 1250(64)

(9) พระดำริจัดตั้งโรงเรียนแพทย์” : พฤษภาคม พ.. 2432

วันที่ 9 พฤษภาคม พ.. 2432 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ อธิบดีกรมพยาบาล มีหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่ากรมพยาบาลนี้ก็มิได้คิดแต่จะรักษาโรคอย่างเดียว คิดจะบำรุงวิชาแพทย์ศาสตร จะมีโรงเรียนแพทย์ด้วยดังนี้

 

102  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

โรงศิริราชพยาบาล

วันที่ 9 พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก(22) 108

พระราชกระแสรับสั่ง

โปรดเกล้าฯ พระราชทาน

พระบรมราชานุญาตแล้ว

พระองค์เจ้าศรีว่าไปทูลกรมหลวงเทวะวงษ(65) ไม่ได้ตอบ

ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบ ฝ่าลอองธุลีพระบาท

ด้วยจำเดิมแต่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าพระพุทธเจ้าเปนกอมมิตตีจัดการโรงพยาบาล กอมมิตตีทั้งปวงได้มอบน่าที่ให้ข้าพระพุทธเจ้าเปนผู้จัดแพทย์ดูแลการรักษาพยาบาลคนไข้ ข้าพระพุทธเจ้าได้ตั้งใจตรวจการรักษาได้พิจารณาอาการแลเหตุผลความป่วยไข้ของประชาราษฎรมาโดยละเอียด จนถึงทรงพระกรุณาโปรดให้ตั้งกรมพยาบาลขึ้นเปนพนักงานของข้าพระพุทธเจ้าตลอดมาจนบัดนี้

ข้าพระพุทธเจ้าได้ตรวจเห็นลักษณโรคเปนอันมากที่เกิดแต่ภายในร่างกายได้รักษาด้วยยาของหมอไทย ก็ถูกโรคแก้ไขได้มากแลเปนที่ยินดีของราษฎรเปนพื้น มีโรคบางอย่างฤๅบางชนิดที่ชอบใช้ยาอย่างยุโรปก็ได้ให้ใช้บ้างตามความปรารถนาคนจำพวกนั้น โรคที่ต้องใช้ยายุโรปก็มีน้อย เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าการที่รักษาพยาบาลโรคภายใน เช่น วรรณโรคฤๅธาตุพิการ ไข้จับแลอื่น ๆ ด้วยแพทย์สยาม เปนที่นับถือเห็นประโยชน์ได้มาก แต่ส่วนการจะเซอเยอรี ผ่าตัดเย็บผูกบาดแผลหักโค่นก็ดี วรรณโรคภายนอกต่าง ๆ ที่จะต้องผ่าเจาะก็ดี โรคเหล่านี้รักษาด้วยวิธีแลยาอย่างยุโรปดีกว่าเรวกว่าทางหมอไทยหลายสิบเท่า แลวิธีรักษาพยาบาลการเช่นนี้ หมอไทยก็อ้อมแอ้มรวมรวมเพราะไม่ใคร่มีผู้ใดสันทัด ต้องใช้หมอยุโรปทำโดยมาก ในบัดนี้ โรงพยาบาลยังมีน้อยแห่งก็พอแก่กำลังหมอกาวัน แลหมอไทยที่ทำได้มีอยู่บ้าง ส่วนราษฎรที่ทราบเกล้าฯ ว่าโรงพยาบาลรับรักษาโรคที่เกิดอันตรายประจุบัน เช่น หักโค่นฤๅแผลที่จะต้องผูกเย็บผ่าเจาะฝีต่าง ๆ ได้ ก็มีผู้มาให้รักษามากขึ้น ๆ จนถึงคนที่อยู่หัวเมืองก็เข้ามารักษา เพราะโรคอย่างนี้หาหมอผู้รักษายากที่สุด จะให้หมอชาวยุโรปรักษาก็เรียกค่ารักษาแรง จึงนิยมยินดีมารักษาที่โรงพยาบาล เปนต้นว่าคิดจะเปิดโรงพยาบาลที่ใดขึ้น มีที่กรุงเก่าเปนต้น ผู้ที่ทราบเกล้าฯ ก็ถามถึงหมอบาดแผลเย็บผูกก่อน ดูต้องการมากกว่าอื่น เมื่อเปนดังนี้แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดให้หมอไทยที่มีอยู่ในโรงพยาบาลฝึกหัดกับหมอกาวัน เพื่อจะได้แพร่หลาย ก็ขัดข้องด้วยจะหาหมอที่ไม่หัวเห็ดได้น้อยที่สุด หมอมีอายุแก่แล้ว มักจะอ้อแอ้ ฤๅไว้ตัวเสียแทบทั้งสิ้น หมอกาวันก็ร้องว่าสอนยากเปนความเดือดร้อนกับแกอยู่ ถ้าจะให้เปนการยืดยาวดีแล้ว ให้ข้าพระพุทธเจ้าคิด

 

103  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ส่งเด็กไปเรียนวิชาหมออย่างยุโรปมาใช้แล้วแนะนำกันดีกว่า ถึงจะช้าหน่อยก็คงมีเวลาเห็นประโยชน์ภายน่า

ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้รับคำนั้นมาตริตรองดู เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า กรมพยาบาลก็มิได้คิดแต่จะรักษาโรคอย่างเดียว คิดจะบำรุงวิชาแพทย์สาตร์ จะมีโรงเรียนแพทย์ด้วย ส่วนการรักษาโรคอย่างหมอสยามก็ชำนาญแก่โรคภายในดังกราบบังคมทูลแล้ว แลวิธีที่สอนก็เรียนตามตำราเก่า ยาก็ปรุงตามตำรา ถ้าจะเหลียวไปถามถึงร่างกายภายในก็มักจะโก๋ไปตามคัมภีร์โรคนิทาน เพราะมิได้เคยผ่าร่างกายตรวจตราให้เห็น จึ่งเปนการยากที่สุดที่จะหาหมอดี ๆ ใช้ได้ นอกจากหมอหลวง หมอเชลยศักดิแล้ว มักเหลวไหลมีแต่ตำราพาไปตามตำราเปนพื้น ส่วนการเซอเยอรีเล่าก็กันดารอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น ถึงจะตั้ง - สอนวิชาแพทย์สยามขึ้นบัดนี้ ก็คงจะไม่ได้ดีแลเจริญขึ้นอย่างไรนัก ถ้าจะจัดก็คงต้องสอนทั้งวิชาแพทย์สยามแลอย่างยุโรปด้วย จึ่งจะเปนประโยชน์เจริญได้ดีขึ้น นักเรียนก็คงจะมีผู้สมัคเรียนมาก แต่การที่จะสอนวิชาอย่างหมอยุโรป จะเรียกหมอฝรั่งมาเปนครูสอนคนไทยที่ไม่ทราบภาษาอังกฤษแล้ว คงไม่ดีเหมือนคนไทยสอนอธิบายกันเองเปนแน่ เพราะความอธิบายในภาษาไทย ครูฝรั่งคงไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ ทั้งเงินเดือนก็คงจะเรียกเอาแรงมาก ข้าพระพุทธเจ้าได้พูดกับหมอกาวัน หมอวิลลิศ ก็ร้องว่าลำบากจริงตามที่ข้าพระพุทธเจ้าคิดเห็น

ด้วยเหตุทั้งปวงนี้ ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความมุ่งหมายที่จะขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ได้ส่งเด็กชาวสยามไปเรียนวิชาหมออย่างยุโรปพอมาเปนเชื้อสายสั่งสอนกันต่อไป หมอกาวันขอให้ส่งคนอายุเพียง 12 ปี 13 ปี ออกไปเรียนประมาณ 10 ปี เปนอย่างช้า ก็คงจะได้กลับมารับราชการ ในเวลาที่นักเรียนเหล่านี้ยังไม่ได้กลับมา ก็จะให้หมอกาวันสอนไปอย่างเตี้ย ๆ พอใช้การพลาง ข้าพระพุทธเจ้าปฤกษากับกรมหมื่นดำรงราชานุภาพก็เห็นชอบด้วย แล้วข้าพระพุทธเจ้าจึงลองกราบทูลหาฤๅกรมหลวงเทวะวงษวโรประการตามความที่เห็น ก็ทรงเห็นด้วยในการนี้

การเรื่องนี้ ถ้าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานจัดเด็กที่ทราบหนังสือไทย ฤๅนักเรียนมีประโยคแล้ว อย่างมาก 6 คน อย่างน้อย 8 คน ส่งไปเรียนวิชาหมออย่างยุโรป ขอพระราชทานให้ราชทูตสยามเปนธุระที่จะจัดการต่อไป ข้าพระพุทธเจ้าก็จะหมั่นตักเตือนสอบสวนออกไปเนือง ๆ ไม่ช้านานนัก คงจะได้รับประโยชน์ตามต้องการเปนแน่

การจะควรมิควรประการใด ขอพระบารมีเปนที่พึ่ง ควรมิควรสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า ศรีเสาวภางค์(66)

 

104  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

(10) จัดตั้งโรงเรียนแพทยากร” : กันยายน พ.. 2433

วันที่ 4 ตุลาคม ร.. 110 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกรมธรรมการ มีหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายงานกรมศึกษาธิการ มีความย่อดังนี้

รายงานกรมศึกษาธิการ ร.. (109) (.. 2433)

...ในรายงานฉบับนี้ เปนรายงานประจำปีที่ 4 หรือเป็นรายงานครั้งที่ 20 ของรายงานกรมศึกษาธิการทั้งสิ้น ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายมาโดยลำดับมานั้น...

...อนึ่งการโรงพยาบาล ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้น แลมีหมอมีพนักงาน คนพยาบาลสำหรับรักษาพยาบาลคนไข้เจ็บทั้งปวงตามสมควร การก็ได้ตั้งมาเรียบร้อยโดยลำดับ จนถึงได้ตั้งโรงพยาบาลขึ้นเปน หลายตำบล การพยาบาลก็แพร่หลายออกไปทุกที จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าพระพุทธเจ้าจัดการตั้งโรงเรียนวิชาแพทย์ขึ้นที่โรงศิริราชพยาบาล ได้ชื่อว่าโรงเรียนแพทยากรนั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้รับพระราชทานจัดที่เรือนเหลือง สำหรับรับแขกของศิริราชพยาบาล เปนที่อาไศรยเล่าเรียนไปก่อน เมื่อวันที่ 5 กันยายน ได้รับพระราชทานเปิดโรงเรียนสอนวิชา ครูที่ฝึกสอนนั้นได้รับพระราชทานให้หมอเฮส ซึ่งเปนหมออยู่ในกรมพยาบาลแล้วนั้นเปนผู้ฝึกสอน แลส่วนนักเรียนที่จะรับเข้าโรงเรียนนั้น ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี แลเมื่อแรกจะเข้าโรงเรียนนั้น ต้องมาทำสัญญาไว้ต่อเจ้าพนักงานกรมศึกษาธิการก่อนทุกคนแล้วจึงจะรับเข้าเรียนในโรงเรียนแพทยากรได้ แลที่ทำสัญญาต่อกันนั้น ก็เพื่อจะมิให้นักเรียนบิดพลิ้วไปได้ด้วยเหตุต่าง ๆ แลจะได้ตั้งหน้าเรียนไปให้เปนการสดวก เพราะบางทีนักเรียน ๆ ไปยังไม่ทันรู้ก็จะออกเสีย เมื่อรู้แล้วก็จะไม่เปนคุณเปนประโยชน์แก่ราชการ จะไปเที่ยวรับรักษาหารับพระราชทานตามลำพังบ้าง จึงต้องทำสัญญา ความในสัญญาว่า นักเรียนต้องเรียนไปจนรู้ได้ประกาศนิยบัตร เมื่อเรียนรู้ได้ประกาศนิยบัตรแล้ว ต้องอยู่รับราชการเปนหมอในกรมพยาบาลไปอีก 3 ปี ส่วนเงินเดือนนั้น ในชั้นต้นนับตั้งแต่วันที่ลงชื่อในหนังสือสัญญาไปจนได้ประกาศนิยบัตรเปนหมอ จะได้รับพระราชทานเงินเดือนตั้งแต่ 12 บาทจนถึง 20 บาท เปนอย่างสูง ถ้าบิดพลิ้วหรือมีเหตุไม่มาเรียนวิชา ก็ต้องลดเงินเดือนนั้นตามสมควร แลต่อไปถ้าได้เปนหมอรับราชการในกรมพยาบาลจนครบ 3 ปีแล้ว ก็จะได้รับพระราชทานเงินเดือนตั้งแต่ 25 บาทจน 40 บาท เปนอย่างสูง นักเรียนในโรงเรียนแพทยากรนี้ ถ้าจะออกในระหว่างกำหนดสัญญาด้วยเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกรมศึกษาธิการไม่ยอมให้ออก แลจะออกให้ได้ ก็ต้องให้คืนเงินเดือนเท่าที่ได้รับ นับไปแต่วันลงชื่อในสัญญาจนวันที่จะออกมาให้ครบแล้ว จึงออกจากนักเรียนได้(66)

 

105  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

(11) ยกร่างพระราชกำหนดสุขาภิบาล : .. 2437

.. 2437 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีพระนิพนธ์ตอนหนึ่งว่า เมื่อเจ้าพระยาอภัยราชากราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า พวกชาวต่างประเทศมักจะติเตียนกรุงเทพฯ ยังสกปรกและไม่มีถนนหนทางสำหรับประชาชน จึงถวายข้อแนะนำให้จัดมูนิสิเปอล (Municipal - เทศบาล) ทรงปรึกษาความเห็นเรื่องดังกล่าวในที่ประชุมเสนาบดี ที่ประชุมฯ เสนอว่า จะยังจัดไม่ได้เพราะติดหนังสือสัญญากับต่างประเทศ ถ้ารัฐบาลไทยจะตั้งกฎหมายใดที่มีผลบังคับถึงชาวต่างประเทศ จะต้องแจ้งให้รัฐบาลต่างประเทศผ่านทางกงสุลทราบก่อน ถ้าชาวต่างประเทศละเมิดกฎหมายก็ต้องไปฟ้องที่ศาลกงสุล เนื่องจากมีชาวต่างประเทศอยู่ในกรุงเทพฯ จำนวนมาก ถ้าจะจัดให้มีมูนิสิเปอล ก็จะติดขัดด้วยกงสุลต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องกับคนในบังคับของตน คงมีข้อโต้แย้ง ยากที่จะจัดการให้สำเร็จ แต่ทรงมีพระราชปรารภว่า ที่เขาติเตียนนั้น เป็นความจริงเสียโดยมาก เรามัวแต่จะโทษหนังสือสัญญา ไม่ทำอะไรให้ดีขึ้นเสียเลย หาควรไม่ จึงดำรัสสั่งให้ตั้งกรมสุขาภิบาลขึ้นสำหรับกรุงเทพฯ และการยกร่างพระราชกำหนดสุขาภิบาลขึ้น(68)

เจ้าพระยาอภัยราชายกร่างเป็นภาษาอังกฤษในชั้นแรก เมื่อเห็นว่าสมบูรณ์แล้วจึงแปลเป็นภาษาไทย เนื่องจากปฏิรูประบบราชการให้ทันสมัย เป็นการประยุกต์ระบบบริหารจัดการแบบตะวันตก จึงนำศัพท์ภาษาอังกฤษของระบบแบบใหม่มาใช้ ในตอนแรกเริ่มมักจะเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษไปพลางก่อน เมื่อเห็นว่าจะนำเข้าใช้ในระบบราชการได้แล้ว จึงหาคำแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งศัพท์ไทยเหล่านี้ก็มักจะเป็นศัพท์บัญญัติใหม่ไม่เคยมีมาก่อน ในเรื่องการสุขาภิบาลนี้ มีศัพท์แปลจากภาษาอังกฤษที่สำคัญ คือ

พระราชกำหนดสุขาภิบาล The Social Sanitation Decree 116

(Decree หมายถึง พระราชกฤษฎีกา)

กรมสุขาภิบาล Local Sanitary Department

เจ้าพนักงานแพทย์สุขาภิบาล The Medical Officer of Health

เจ้าพนักงานช่างใหญ่ The Sanitary Engineer

หน้าที่ของกรมสุขาภิบาล The Sanitary Service

กระทรวงนครบาล The Ministry of the Local Government

(12) พระราชกำหนดสุขาภิบาล กรุงเทพฯ ร.. 116 : พฤศจิกายน พ.. 2440

วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.. 2440 สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ มีพระราชเสาวนีย์ให้ประกาศพระราชกำหนดสุขาภิบาล ร.. 116สำหรับกรุงเทพฯ ในบังคับบัญชาของเสนาบดีกระทรวงนครบาล ในการจัดการรักษาความสะอาดของเมืองหลวงเพื่อป้องกันโรคภัยอันตราย และให้สืบสวนสาเหตุโรคของมหาชนทั่วไป รวมทั้งการแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ให้เหมาะสม โดยมีการกำหนดให้มีเจ้าพนักงาน 2 ประเภท คือ เจ้าพนักงานแพทย์สำหรับตรวจโรค เรียกว่า เจ้าพนักงานแพทย์สุขาภิบาล และช่างใหญ่ (วิศวกร) เรียกว่า เจ้าพนักงานช่างใหญ่ เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบร่วมกัน ให้มีเจ้าพนักงานผู้ช่วย เรียกว่า สารวัด ช่างรอง (ผู้ช่วยวิศวกร) คนทำแผนที่ คนเขียนแบบตัวอย่าง

 

106  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

(แบบร่าง) คนแปลหนังสือ ล่าม เสมียน และคนงานต่าง ๆ ทั้งหมดอยู่ใต้บังคับบัญชาของเสนาบดีกระทรวงนครบาล นายแพทย์ปี เอช ไนติงเกล เป็นแพทย์สุขาภิบาล และกัปตันเย คาตอง เป็นช่างใหญ่ (วิศวกร) สุขาภิบาล(69)

(13) จัดให้มีแพทย์ผ่าตัดที่จบจากโรงเรียนราชแพทย์ไปรับราชการตามหัวเมือง : .. 2442

เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยมีนโยบายจัดให้มีแพทย์ผ่าตัดที่จบจากโรงเรียนราชแพทยาลัยไปรับราชการตามหัวเมือง หัวเมืองละ 1 คน ดังรายงานราชการกระทรวงมหาดไทย แผนกกรมพยาบาล ของพระยามหาอำมาตย์ (เส็ง วิริยศิริ) รองเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 5 เดือนกุมภาพันธ์ พ.. 2457 ความว่า

...ราวพุทธศักราช 2442 กระทรวงมหาดไทยเห็นว่าตามหัวเมืองมีแพทย์ไทยที่ใช้ยาไทย หาได้ตามหัวเมืองอยู่บ้างแล้ว แต่จะหาแพทย์ตามหัวเมืองที่รู้การแพทย์ทางรักษาบาดแผลหามิได้ จึงได้อุดหนุนขอแพทย์ชำนาญการบาดแผลจากโรงเรียนราชแพทย์ให้รับราชการตามหัวเมือง ๆ ละคน แลมีกำหนดว่าถ้าเปนแพทย์ที่สอบไล่ได้ประกาศนิยบัตร์จากโรงเรียนราชแพทย์แล้ว กระทรวงมหาดไทยจึงจะให้รับตำแหน่งรับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ 80 บาท แต่แพทย์เมืองใดมิใช่แพทย์ประกาศนิยบัตร์ชำนาญในการบาดแผลด้วยแล้ว คงจะได้รับตำแหน่งพระราชทานเงินเดือนละ 30 บาทถึง 60 บาท เป็นอย่างสูง

...การที่ส่งแพทย์ประกาศนิยบัตร์เหล่านี้ไปรับราชการหัวเมือง กระทรวงมหาดไทย ยังไม่ได้เอาใจใส่ในเรื่องแพทย์เหล่านี้มากนักเปนแต่ว่า ถ้าเมืองใดต้องการแพทย์ประกาศนิยบัตร์มีบอกขอเข้ามากระทรวงมหาดไทย ๆ ก็มีหนังสือขอไปยังกระทรวงธรรมการ ๆ ส่งแพทย์มาให้กระทรวงมหาดไทย ๆ ก็ส่งไปให้หัวเมือง...

2...การเกิดโรคภัยตามหัวเมือง เมื่อมีโรคสิ่งใดเกิดขึ้น หัวเมืองมีบอกเข้ามากระทรวงมหาดไทยก็รวมไว้อยู่ในหน้าที่กรมพลำภัง(70) คือหน้าที่ปกครองท้องที่ การที่ทำนั้น เพียงแต่จดบัญชีไว้ให้ทราบเรื่อง และสั่งไปว่าให้จัดการรักษาพยาบาลกันไปเท่าที่จะทำกันได้...(71)

(14) โรงเรียนราชแพทยาลัย : กันยายน พ.. 2443

วันที่ 1 กันยายน ร.. 119 พ.. 2443 เจ้าพระยาภาสกรวงศ์กราบทูลกรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ เรื่องโรงเรียนแพทยากร โดยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปลูกโรงเรียนขึ้นใหม่ แทนที่โรงยาฝิ่นติดกับโรงพยาบาล ให้โรงเรียนแพทยากรที่สอนอยู่นั้นเป็น โรงเรียนแพทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีกำหนดเปิดในพระราชพิธีฉัตรมงคล

 

107  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

เมื่อได้ตั้งโรงเรียนแพทยาลัยลงเป็นหลักฐาน เห็นการที่จะตั้งมั่นเจริญได้แล้ว จะได้ดำริการแพทย์ต่อไปที่จะให้มีการสอบไล่และรวมการให้ลงระเบียบกำหนดเวลาเรียนแก้ใหม่เป็น 5 ปี(72)

วันที่ 3 มกราคม ร.. 119 พ.. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโรงเรียนแพทยาลัย

(15) ตั้งโอสถสภา (โรงผลิตยา) : พฤษภาคม พ.. 2445

วันที่ 17 พฤษภาคม พ.. 2445 ประกาศตั้งโอสถสภา(73) มีความสำคัญบางตอนว่า

...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว...ได้ทรงสังเกตตามใบบอกจดหมายเหตุความไข้เจ็บ ซึ่งเกิดขึ้นตามหัวเมืองในบางคาบบางคราว มีจำนวนราษฎรตามบ้านป่าเมืองไกล เปนอันตรายเสียด้วยความไข้อันพึงเยียวยารักษาได้ เช่น ไข้จับ เป็นต้น คราวละมาก ๆ ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า ทุกวันนี้ยารักษาโรคที่เปนยาดีมีคุณก็มีมากหลายขนาน แต่หากว่ายาเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายออกไปถึงราษฎรที่อยู่ตามบ้านป่าเมืองไกล ความเจ็บไข้ในท้องที่เหล่านั้น จึงเปนเหตุให้ถึงอันตรายได้มาก ทรงพระราชดำริห์ฉนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโอสถสภา แลโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตร์วัฒโนดมเปนประธานจัดการประกอบโอสถ ซึ่งเปนของเคยเห็นคุณปรากฏในการระงับโรคต่าง ๆ ส่งออกไปจำหน่ายตามหัวเมืองโดยราคาอย่างถูก แต่พอคุ้มทุนที่ได้จำหน่ายไป โดยพระราชประสงค์จะให้ยาโอสถ-สภานี้แพร่หลายเปนประโยชน์ระงับความไข้เจ็บของอาณาประชาราษฎรทั่วไปในพระราชอาณาจักร์...

ต่อมาภายหลังโอสถสภาในส่วนกลางรวมกับโอสถศาลาสถานที่จำหน่ายยา ตั้งเป็นองค์การเภสัชกรรม มีหน้าที่ผลิตยาจำหน่ายในราคาถูก

(16) กำเนิดสุขาภิบาลหัวเมืองที่ตลาดท่าฉลอม เมืองสมุทรสาคร : มีนาคม พ.. 2449

วันที่ 18 มีนาคม พ.. 2449 มีประกาศแก้ภาษีโรงร้านจัดสุขาภิบาลตลาดท่าฉลอม เมืองสมุทรสาคร คือ ประกาศกฎหมายโอนภาษีโรงร้าน คือภาษีโรงเรือนที่เก็บจากร้านค้าในตลาด ให้กับการสุขาภิบาลท้องที่ตลาดท่าฉลอม เป็นการปฏิรูปการปกครองท้องที่ เกิดเป็นรูปแบบการปกครองท้องที่ แบบที่ 3 คือ การปกครองแบบสุขาภิบาลหัวเมือง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวคือ การจัดการสุขาภิบาลให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัดการกันเอง โดยคณะกรรมการประกอบด้วยกำนันและผู้ใหญ่บ้าน(74)

(17) เลิกกรมพยาบาลในกระทรวงธรรมการ จัดการเปลี่ยนแปลงใหม่ และรวมโรงพยาบาลศิริราชเข้ากับโรงเรียนราชแพทยาลัย : มีนาคม พ.. 2449

 

108  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

วันที่ 24 มีนาคม พ.. 2449 เจ้าพระยาวิชิตวงษ์วุฒิไกร เสนาบดีกระทรวงธรรมการ มีหนังสือกราบบังคมทูลที่ 332/9411 ความว่า

ด้วยการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการประชุมหารือในเรื่องที่จะเลิกกรมพยาบาลในกระทรวงธรรมการ อย่างเป็นอยู่ทุกวันนี้ และคิดจัดการเปลี่ยนรูปใหม่ให้การพยาบาลทั้งหลายจัดอยู่ในเทศาภิบาล และให้กระทรวงธรรมการจัดให้มีพนักงานในการพยาบาลเป็น 3 พนักงาน คือ

1) ให้มีพนักงานตรวจ สำหรับตรวจการไข้เจ็บและช่วยบำบัดการไข้เจ็บ พนักงาน 1

2) พนักงานสำหรับทำยาจำหน่าย พนักงาน 1

3) พนักงานทำหนองฝีและซีรัม พนักงาน 1 และให้จัดการวางรูปตามนี้นั้น พระเดชพระคุณล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้ ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายสังเขปรูปการพยาบาล ซึ่งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพได้ทรงร่างประทานนั้น มาพร้อมหนังสือนี้

เมื่อได้จัดการพยาบาลตามรูปที่วางใหม่ดังนี้แล้ว ก็มีการที่จะต้องเปลี่ยนแปลง คือ

1) เลิกกรมพยาบาลเดิม ตัดเงินออกได้ 24,508 บาท

2) ส่งโรงพยาบาลและเงินอุดหนุนการพยาบาลไปกระทรวงนครบาลรวม 5 ราย เป็นเงินลดยอดกระทรวงธรรมการอีก 43,942 บาท

3) เปลี่ยนรูปโรงศิริราชพยาบาล เข้ารวมกับโรงเรียนราชแพทยาลัย ตัดเงินน้อยลงได้อีก 9,576 บาท

4) เปลี่ยนรูปโอสถสภา ไปบวกเข้ากับโอสถศาลารัฐบาล ตัดเงินน้อยลงได้อีก 26,656 บาท

รวมเปลี่ยนการ 4 ราย เป็นเงินลดลง 104,682 บาท

ส่วนการจะตั้งขึ้นใหม่ คือ

1) พนักงานตรวจการพยาบาล รวมทั้งเงินเดือนและค่าใช้สรอย เป็นเงินขึ้นใหม่ 30,000 บาท

2) พนักงานทำหนองฝีและพันธุ์ซีรัมป้องกันโรคระบาทว์ ขึ้นเงินกว่าเก่า 20,340 บาท

รวมเป็นเงินส่วนขึ้น 50,340 บาท...คงลดเงินลงกว่ารูปเดิม 54,340 บาท...

ส่วนตัวคนที่จะประจำการตามรูปที่จะจัดใหม่นี้ ในหน้าที่พนักงานผู้ตรวจการนั้น เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า ควรจัดให้หมอแบรกดอกเข้าประจำการ

 

109  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

เงินเดือน ๆ ละ 100 บาท ในหน้าที่พนักงานทำหนองฝีและซีรัมนั้น ได้ปฤกษากันตกลง เรียกหมอวูลีจากเมืองมะนิลาเข้ามาทำการ เงินเดือนปีละ 3,000 เหรียญทอง หรือ 10,200 บาท...ในหน้าที่พนักงานทำยานั้น หมอฮูโกวิลเลมส์เป็นพนักงานอยู่ และพนักงานรองทั้งปวงก็คงตามที่ตกลงกันไว้เดิม...

สังเขปรูปแบบกรมพยาบาลตามที่โปรดเกล้าฯ ให้จัดใหม่

(พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ได้ทรงร่างประทาน)

1. เลิกกรมพยาบาลทั้งหมด ให้โอนโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ไปรวมอยู่ในกรมสุขาภิบาลของกระทรวงนครบาล ยกเว้นโรงศิริราชพยาบาล ให้โอนไปสังกัดกรมศึกษาธิการเพื่อจัดเป็นโรงเรียนแพทย์ โดยทรงโปรดให้โรงศิริราชพยาบาลมีการพยาบาลไว้ในนั้นเพียงสำหรับฝึกหัดนักเรียนแพทย์

2. การพยาบาลต่อไปภายหน้าคือ การรักษาไข้เจ็บและการป้องกันคนไม่ให้ตายมากในมณฑลไหน ให้เป็นหน้าที่ของมณฑลนั้นจัดการ เช่น มณฑลกรุงเทพมหานครเป็นหน้าที่กระทรวงนครบาล มณฑลนครไชยศรีก็เป็นหน้าที่เทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรีจัดการ

3. ให้กระทรวงธรรมการในการพยาบาล ใช้กองตรวจการพยาบาลในกรมธรรมการกลาง กระทรวงธรรมการที่ยังคงอยู่ แบ่งเจ้าหน้าที่ออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. พนักงานตรวจ คือ แพทย์ผู้ชำนาญ จำนวนตามความเหมาะสม มีหน้าที่ตรวจทุกมณฑลดูโรคระบาด สาเหตุ การป้องกัน การรักษา รวมทั้งไปประจำการชั่วคราว ถ้าปัญหาใหญ่เกินความสามารถของมณฑล 2. พนักงานยา คือ โอสถศาลาของรัฐบาล ให้ทำยาขายบรรจุในกล่องเล็ก ๆ ในราคาถูกทั่วประเทศ เช่น ยาควินิน บรรจุในกลัก ๆ ละ 1 เฟื้อง เป็นต้น 3. พนักงานหนองฝี ใช้วัคซีนหนองฝีจากโรงงานทำหนองฝี ที่พระปฐมเจดีย์ การจัดการให้ทำคล้ายกับโอสถศาลา...(75)

(18) ทำพันธุ์บุพโพสำหรับปลูกทรพิษสำเร็จที่พระปฐมเจดีย์ : พฤศจิกายน พ.. 2449

วันที่ 20 พฤศจิกายน ร.. 125 เจ้าพระยาวิชิตวงษ์วุฒิไกร เสนาบดีกระทรวงธรรมการ มีหนังสือกราบบังคมทูลที่ 279/6865 ความว่า

...ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งที่ทำพันธุ์ซีรัมที่พระปถมเจดีย์นั้นบัดนี้ หมอปอล อี. วูลลี ผู้จัดการได้ทำพันธุ์บุพโพสำหรับปลูกทรพิษสำเร็จแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้กราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรง-ราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เห็นด้วยเกล้าฯ พร้อมกันว่า ควรจะขายโดยราคาย่อมเยา พอช่วยคืนทุนบ้างตามสมควร จึงตั้งราคาเป็น

 

110  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

2 อย่าง คือ หลอดใหญ่ ปลูกได้หลอดละ 10 คน ราคาหลอดละ 40 อัฐ หลอดเล็ก ปลูกได้หลอดละ 5 คน ราคาหลอดละ 20 อัฐ และให้จำหน่ายที่ทำการพระปฐมเจดีย์แห่งหนึ่ง กับที่โอสถศาลารัฐบาลแห่งหนึ่ง...(76)

(19) พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.. 127 : กันยายน พ.. 2451

วันที่ 5 กันยายน พ.. 2451 ประกาศพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.. 127(77) ทรงมีพระราชปรารภว่า การจัดการสุขาภิบาลที่ตำบลท่าฉลอมเป็นประโยชน์ดีและประชาชนในตำบลนั้นนิยมมาก จึงสมควรจะขยายไปที่อื่น ๆ ในประเทศ แต่เมืองสงขลาเป็นชุมชนขนาดใหญ่ จะจัดการสุขาภิบาลแบบตำบลท่าฉลอมซึ่งเป็นชุมชนขนาดเล็กไม่ได้ จึงทรงปรับปรุงวิธีการจัดการสุขาภิบาลหัวเมือง สรุปใจความสำคัญดังนี้

1) หน้าที่การสุขาภิบาลหัวเมือง คือ 1. ให้ดูแลรักษาความสะอาด 2. การป้องกันและรักษาผู้ป่วยในท้องที่ และ 3. บำรุงรักษาถนนหนทางในชุมชน

2) ตามมาตรา 5 แบ่งวิธีจัดการสุขาภิบาลออกเป็น 2 อย่าง คือ 1. สุขาภิบาลสำหรับเมือง จัดในท้องที่ที่ตั้งเมือง 2. สุขาภิบาลสำหรับตำบล สำหรับจัดเฉพาะในท้องที่คนอยู่หนาแน่นของตำบล

3) การเลือกพื้นที่ชุมชนใดว่าควรจะจัดให้มีการสุขาภิบาลขึ้นนั้น ให้ข้าหลวงเทศาภิบาลปรึกษากับกำนันผู้ใหญ่ในท้องที่นั้น แล้วให้มีใบบอก (หนังสือ) ขอพระราชทานจัดตั้งการสุขาภิบาลในท้องที่ และจะพระราชทานภาษีโรงร้านให้เป็นงบประมาณของเขตสุขาภิบาลนั้น

4) รูปแบบคณะกรรมการจัดการสุขาภิบาลประจำเมืองประกอบด้วย ผู้ว่าราชการเมืองเป็นประธาน ปลัดเมือง ฝ่ายสุขาภิบาล เป็นเลขานุการ นายอำเภอท้องที่นั้น 1 นายแพทย์สุขาภิบาล 1 นายช่างสุขาภิบาล 1 กำนันประจำตำบลในเขตสุขาภิบาลนั้น 4 คน

คณะกรรมการจัดการสุขาภิบาลประจำตำบล ประกอบด้วย กำนันนายตำบลเป็นประธาน และผู้ใหญ่บ้านในเขตท้องที่เป็นกรรมการ

โดยคณะกรรมการสุขาภิบาลสำหรับหัวเมืองและคณะกรรมการสุขาภิบาลสำหรับตำบล อาจมีการแต่งตั้งพ่อค้าในท้องถิ่นเข้ามาร่วมบริหารงานได้

5) มาตรา 14 ได้กำหนดหน้าที่ในการป้องกันและรักษาผู้ป่วยว่า 1. ให้รักษาความสะอาดบ้านเรือนป้องกันโรค 2. ให้จัดการปลูกฝี และให้มีที่จำหน่ายยารักษาโรคให้แก่ประชาชนในท้องที่นั้น 3. จัดให้มีน้ำสะอาดสำหรับการบริโภค

(20) รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยและศิริราชพยาบาล

ในปีนี้โรงเรียนราชแพทยาลัยและโรงศิริราชพยาบาลได้ควบรวมเป็นโครงสร้างเดียวชื่อโรงเรียนราชแพทยาลัยและศิริราชพยาบาลขึ้นกับแผนกศึกษาธิการ มีพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ (...เปีย มาลากุล) เป็นอธิบดีแผนกฯ

 

111  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

(21) เพิ่มศักยภาพของกระทรวงมหาดไทยด้านโรงพยาบาลและสุขาภิบาลหัวเมือง : พฤศจิกายน พ.. 2453

วันที่ 6 พฤศจิกายน ร.. 129 (.. 2453) มีการยุบกองจัดการพยาบาลในกรมธรรมการกลาง รวมทั้งแผนกโอสถศาลา ย้ายไปกระทรวงมหาดไทย กองจัดการพยาบาลเป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพสำคัญหลายประการ ได้แก่ หน่วยงานตรวจราชการแพทย์และสุขาภิบาลหัวเมือง หน่วยงานผลิตวัคซีน และหน่วยงานผลิตยา จึงสนับสนุนการแพทย์และสุขาภิบาลหัวเมืองของกระทรวงมหาดไทยให้แข็งแรงขึ้นมาก(78)

กองจัดการพยาบาล กระทรวงธรรมการ พ.. 2451 มีโครงสร้างดังนี้

. กองตรวจการพยาบาลหัวเมือง แพทย์ตรวจการ หมอปอล ยี วูลลี (ว่าที่)

. กองทำหนองฝีและซีรั่ม แพทย์ผู้จัดการ หมอร๊าฟ ดี เอดวารดส

หัวหน้าแพทย์ทำหนองฝี มิสเตอร์อาร์ เรดฟลิด์

. โอสถศาลารัฐบาล แพทย์ผสมยา มิสเตอร์ฮูโกวิลเลมส์

ผู้ช่วยแพทย์ผสมยา มิสเตอร์เรกเฮาเซ็น

ผู้ช่วยฝ่ายฝรั่ง นายพองกีม

ผู้ช่วยฝ่ายไทย ขุนอุดมวิทยา/นายเวรบัญชี นายซุ่นใช้

. โอสถศาลาสะพานมอญ ผู้จัดการ ขุนอาจวิทยาคม

แพทย์ทำยา นายกลิ่น

(22) ตั้งกรมพยาบาล กระทรวงมหาดไทย” : ธันวาคม พ.. 2455

วันที่ 24 ธันวาคม พ.. 2455 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มีหนังสือกระทรวงมหาดไทย เลขที่ 163/8989 กราบบังคมทูล ความว่า

ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท

ด้วยราชการในกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ในการจัดการพยาบาลและป้องกันโรคภัยไข้เจ็บราษฎรตามหัวเมืองเป็นหน้าที่สำคัญอย่าง 1 การเหล่านี้ตามที่เป็นมาแล้ว ยังแยกกันเป็นหลายกอง คือ กองแพทย์ประจำหัวเมือง 1 กองป้องกันโรคร้ายแรง ดังเช่น กาฬโรค อหิวาตกโรค ไข้ทรพิศม์และไข้พิศม์กอง 1 ทำพรรณหนองฝีกอง 1 โรงพยาบาลตามหัวเมือง ดังเช่น โรงพยาบาลมณฑลภูเก็ต มณฑลนครราชสีมา มณฑลกรุงเก่า กอง 1 และบัดนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองปาสตัวอินสติจูด กอง 1 การเหล่านี้เจริญขึ้นมาตามลำดับ มีการงานที่ต้องทำเป็นอันมาก ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าว่า ถึงเวลาแล้วที่จำเป็นต้องจัดรวบรวมกองเหล่านี้ขึ้นเป็นกรม 1 ในกระทรวงมหาดไทย และการที่จะตั้งเป็นกรมขึ้นนี้

 

112  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

มีเงินสำหรับใช้จ่ายในงบประมาณพออยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตรวบรวมกองเหล่านี้ตั้งขึ้นเป็นกรม ๆ หนึ่ง เรียกว่ากรมพยาบาล

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบ ในเดือนมกราคม พ.. 2466 ความว่าท่านขออนุญาตรวบรวมกองเหล่านี้ตั้งขึ้นเป็นกรม ๆ หนึ่ง เรียกว่า กรมพยาบาล นั้นทราบแล้ว ที่จะจัดตั้งขึ้นเป็นกรมนั้น เปนการสมควรแล้ว(79)

กรมพยาบาล กระทรวงมหาดไทย รายงานเรื่องกรมพยาบาล แบ่งเป็น 6 แผนก(80) คือ

1) แผนกบัญชาการ

2) แผนกการแพทย์

3) แผนกป้องกันโรคระบาด

4) แผนกปาสตุรสภา (สถานเสาวภา)

5) แผนกโอสถศาลา

6) แผนกสุขาภิบาล

การจัดตั้งกรมพยาบาลในกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่การจัดตั้งงานรักษาพยาบาลในหัวเมืองขึ้นใหม่ แต่เป็นการแยกงานรักษาพยาบาลในหัวเมืองที่มีอยู่เดิมในกรมพลำภัง แยกออกมาตั้งเป็นกรมกรมหนึ่ง ในรายงานของพระยามหาอำมาตย์ ได้รายงานข้อมูลจำนวนแพทย์ที่มีอยู่ในกระทรวงมหาดไทยทั้งในปี พ.. 2457 ดังต่อไปนี้

() แผนกการแพทย์ แพทย์ที่รับราชการในกรมพยาบาลมี

1) แพทย์ฝรั่ง 5 คน (อังกฤษ 3 คน ฝรั่งเศส 1 คน เงินเดือนคนละ 800 - 1,200 บาท) เป็นแพทย์ที่ปรึกษามณฑลและทำหน้าที่สอนแพทย์เพิ่มเติมด้วย

2) แพทย์ประจำมณฑล 7 คน เป็นแพทย์มณฑล

3) แพทย์รับราชการในกรุงเทพฯ และประจำตามหัวเมืองเป็นแพทย์ประจำเมือง82 คน

4) แพทย์ปลูกฝีตามหัวเมือง 24 คน รวมแพทย์ไทย 113 คน

5) แพทย์ประจำตำบลใน 17 มณฑล 3,935 คน

() แผนกป้องกันโรคระบาด

มีหน้าที่ 2 อย่าง คือ การปลูกฝี และการป้องกันโรคระบาดอื่น ๆ เช่น กาฬโรค อหิวาตกโรค ไข้มาลาเรีย ซึ่งในส่วนการป้องกันกาฬโรคนั้นจะต้องรักษาความสะอาดบ้านเรือนเกี่ยวพันกับการขยายสุขาภิบาลตามตำบล

() แผนกสุขาภิบาล

รวมประกาศจัดตั้งการสุขาภิบาลจนถึง พ.. 2457 ได้จัดตั้งรวม 9 เมือง ได้แก่ นครราชสีมา จันทบุรี สงขลา ชลบุรี นครปฐม นครศรีธรรมราช พิไชย ภูเก็ต และเชียงใหม่ แต่ต่อมาเกิดปัญหาที่เชียงใหม่ เพราะคนในบังคับอังกฤษไม่ยอมจ่ายภาษีโรงร้านได้เลิกไป จึงเหลือ

 

113 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

8 เมือง แบ่งเป็นสุขาภิบาลเมือง 7 เมือง และสุขาภิบาลตำบล 1 ตำบล (คือ ท่าฉลอม)

มีการจัดตั้งโรงพยาบาลสุขาภิบาลเพียง 4 แห่งสำหรับรับรักษาคนไข้และปลูกฝี คือ ที่เขตสุขาภิบาลเมือง ภูเก็ต กรุงเก่า (อยุธยา) นครราชสีมา และสุโขทัย ดังนี้

1) โรงพยาบาลเมืองภูเก็ต พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้) พร้อมกับชาวเมืองภูเก็ตเรี่ยไรเงินสร้างขึ้นเมื่อ พ.. 2449 ภายหลังยกให้เป็นของสุขาภิบาลเมืองภูเก็ต โรงนี้มีคนไข้ประจำระหว่าง 30 - 40 คน ส่วนมากเป็นคนจีน

3) โรงพยาบาลเมืองนครราชสีมา พระยาราชนุกูล (อวบ เปาโรหิตย์) จัดตั้งเมื่อ พ.. 2451 ใช้เงินสุขาภิบาล มีคนไข้ประจำราว 20 คน

3) โรงพยาบาลเมืองสุโขทัย พระยาราชภักดี (ใหญ่) ผู้ว่าราชการเมืองพร้อมด้วยกรมการและราษฎรออกเงิน 2,981 บาท เมื่อ พ.. 2455 ถวายเป็นที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินประพาสสุโขทัย พ.. 2450 และพระราชทานนามว่าศุโขทัยศุขสถานเป็นโรงพยาบาลเล็ก ไม่มีคนไข้อยู่ประจำ (ผู้ป่วยค้างคืน)

4) โรงพยาบาลกรุงเก่า พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาล พร้อมด้วยกรมการและราษฎรพร้อมออกเงิน 65,757 บาท สร้างเป็นอนุสาวรีย์ที่ระลึกในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สมเด็จพระพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.. 2455 และพระราชทานชื่อว่า โรงพยาบาลเบ็ญจมาธิราชอุทิศ

(23) กรมพยาบาล กระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนชื่อเป็นกรมประชาภิบาล กระทรวงมหาดไทย : มกราคม พ.. 2459

วันที่ 31 มกราคม พ.. 2459 คำสั่ง 63/120 เปลี่ยนแปลงระเบียบการในกรมพยาบาล และเปลี่ยนนามกรมพยาบาลเป็นกรมประชาภิบาล(81)

(24) “กรมรักษาความสุขของราษฎรในกระทรวงนครบาลที่มาของคำว่าสาธารณสุข” : สิงหาคม พ.. 2459

รายงานระเบียบและการปกครองของกองแพทย์กรมสุขาภิบาล ในกระทรวงนครบาล ตามการข้าราชการ วันที่ 14 สิงหาคม พ.. 2459 มีความสำคัญดังนี้

กองแพทย์กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล ตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ร.. 123 พ.. 2447 มีหมอเอ๊ช. แคมเบล ไฮเอ๊ต และหมอไนติงเกล เป็นนายแพทย์สุขาภิบาล กระทรวงนครบาล

- มีการตั้งกรมป้องกันโรคร้ายในกระทรวงนครบาล เพื่อป้องกันโรคระบาดทั้งทางบกทางทะเล เพราะมีกาฬโรคระบาด มีหมอไฮเอ๊ตเป็นผู้บัญชาการกรมฯ ได้รับงบประมาณ 60,000 บาท แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่ชำนาญงาน

 

114  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

- ให้โรงพยาบาลกรมกองตระเวน (โรงพยาบาลตำรวจ) มาขึ้นกับกรมสุขาภิบาล

- เสนอเปลี่ยนชื่อกองแพทย์สุขาภิบาลเป็นกรมรักษาความสุขของราษฎรในกระทรวงนครบาล

- เสนอให้จัดระเบียบหน้าที่ของแพทย์สุขาภิบาล กระทรวงนครบาลใหม่ ในหัวข้อดังนี้

1) การจัดการป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ (ทางบก/ทางทะเล/การปลูกฝี/โรคสุนัขบ้า/กาฬโรค เป็นต้น)

2) การสะอาด

3) การงานในกรมตำรวจที่เกี่ยวกับแพทย์

4) การแยกธาตุและตรวจเชื้อโรคต่าง ๆ

5) การงานโรงพยาบาลต่าง ๆ

6) ทำการตรวจสายตาให้แก่กรมเจ้าท่า สำหรับพวกที่จะสอบนายท้ายเรือ

7) เป็นเจ้าหน้าที่สำหรับรักษาพระราชบัญญัติโม่หิน

8) การวัดปรอทอากาศร้อนเย็น เมเตโอโลยีกัล (meteorological อุตุนิยม-วิทยา)81

(25) ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัวเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้ากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : มีนาคม พ.. 2460

วันที่ 26 มีนาคม พ.. 2459 (นับอย่างปัจจุบันคือ พ.. 2460) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการประกาศให้ทราบทั่วกันว่า

...โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัวซึ่งได้ทรงพระราชดำริห์ให้ทรงจัดตั้งและได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินที่เหลือจากการเรี่ยรายสร้างอนุสาวรีย์ปิยะมหาราช เปนเงินทุนของโรงเรียน...บัดนี้ทรงพระราชดำริห์เห็นสมควรจะขยายการศึกษาในโรงเรียนนี้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น ผู้ใดที่มีความประสงค์จะศึกษาวิชาชั้นสูงก็ให้เข้าเรียนในโรงเรียนนี้ได้ทั่วกัน เหตุฉะนั้นควรประดิษฐานขึ้นเปนชั้นมหาวิทยาลัย ให้เหมาะแก่ความต้องการแห่งสมัยเสียทีเดียว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปนมหาวิทยาลัย พระราชทานนามว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อเปนอนุสาวรีย์สมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง และให้มหาวิทยาลัยนี้ขึ้นอยู่ในกระทรวงธรรมการ...(83)

 

115  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

วันที่ 6 เมษายน พ.. 2460 จางวางเอก พระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ดำรัสสั่งว่า

...บัดนี้โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัว ได้ประดิษฐานขึ้นเปนมหาวิทยาลัย พระราชทานนามว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโอนมาอยู่ในกระทรวงธรรมการแล้ว โรงเรียนราชแพทยาลัยของกระทรวงธรรมการ ควรจะเปนพแนกหนึ่งของมหาวิทยาลัยนี้ด้วย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้าในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่บัดนี้ไป(84)

(26) ตั้งกรมสาธารณสุข : มีนาคม พ.. 2461

วันที่ 11 มีนาคม พ.. 2461 กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือเลขที่ 182/6220 กราบทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี ราชเลขาธิการ เรื่องเกิดกาฬโรคระบาดขึ้นตามจังหวัดต่าง ๆ คือ มณฑลนครราชสีมา ตาย 45 คน มณฑลพิษณุโลก ตาย 7 คน มณฑลนครไชยศรี ตาย 36 คน มณฑลอุดร จังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร ป่วยรวม 4 คน

วันที่ 30 มีนาคม พ.. 2461 รายงานกระทรวงนครบาล เรื่องกาฬโรคระบาดในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 17 - 23 มีนาคม พ.. 2461 ตาย 6 ราย ไข้ทรพิษตาย 3 ราย

วันที่ 3 กรกฎาคม พ.. 2461 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร(85) มีหนังสือกระทรวงนครบาล กราบทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี ราชเลขาธิการ เรื่องการประชุมกรรมการกาฬโรค ครั้งที่ 2 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความว่า

...ในการประชุมครั้งที่ 2 นี้ กรรมการได้หารือกันในข้อว่า พระราช-กำหนดกฎหมายซึ่งมีอยู่ในเวลานี้ จะนับว่าเพียงพอที่จะให้เจ้าหน้าที่จัดการระงับโรคในคราวที่เกิดขึ้นชุกชุมหรือไม่ กรรมการเห็นพร้อมกันว่า เพียงพอแล้ว ทั้งได้ลงความเห็นต่อไปว่า กรรมการเชื่อว่า การใช้พระราชบัญญัติทั้งในกรุงและหัวเมือง ยังหละหลวม ไม่เป็นไปตามความประสงค์ของพระราช-บัญญัตินั้น ๆ กรรมการเชื่อว่า ข้อนี้แหละเป็นต้นเหตุให้การปราบปรามกาฬโรคยังไม่เป็นผลสำเร็จ...

(รายงาน) ที่ 47/61 ย่อเรื่องการป้องกันกาฬโรค

...ก่อนที่ได้ประชุม กรมหมื่นไชยนาทถวายความเห็นส่วนพระองค์ในเรื่องนี้ว่า การแก้ไขและระงับกาฬโรคเปนการลำบากเพราะคนยังไม่มีความรู้ในเรื่องกาฬโรค จึงขัดขืนและต่อสู้เจ้าพนักงาน ด้วยความเข้าใจผิดต่าง ๆ การที่จะแก้ไขก็ลำบาก จะต้องใช้เวลานาน...ส่วนการที่จะจัดทำขึ้นนี้ มีปัญหาอยู่ว่าใครจะเปนผู้ทำ การสุขาภิบาลในเวลานี้ยังแยกกันอยู่ กระทรวงนครบาล

 

116  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ก็มี กระทรวงมหาดไทยก็มี ถ้ารวมกันได้เสียจะสะดวกขึ้นอีกมาก การเช่นนี้ต้องรวมกันทำ ต้องมีศูนย์กลางแต่แห่งเดียวจึงจะสำเร็จได้ดี...

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสรับสั่งลงในรายงานฉบับนี้ว่า

...การสุขาภิบาลถ้าจัดการรวมได้เป็นดี และถ้าจะรวมเห็นว่ารวมที่มหาดไทยจะสะดวก ข้อนี้ให้นำเสนอที่ประชุมเสนาบดีที่ว่า สุขาภิบาล ในที่นี้หมายความโดยตรงว่า Public Health ส่วนการ Municipality ของกรุงเทพฯ เช่น ทำถนน สะพาน ฯลฯ ควรให้คงไว้ในกระทรวงพระนครบาล ส่วนเงินให้เบิกจ่ายสำหรับการป้องกันกาฬโรค...(86)

วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.. 2461 ทรงมีพระราชดำรัสให้แก้ไขนามใหม่ ดังนี้

กรมสาธารณสุข

ชื่อกรมสุขาภิบาล ที่โปรดเกล้าฯ พระราชทานออกมาเมื่อวันจันทร์นั้น

บัดนี้ โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อว่า กรมสาธารณสุข(87)

(27) Rockefeller Foundation กับการปฏิรูปโรงเรียนแพทย์ : สิงหาคม พ.. 2464

วันที่ 24 สิงหาคม พ.. 2464 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ ราชเลขาธิการ กราบบังคมทูลถวายรายงานที่ 273/64(88) โดยย่อ มีความสำคัญบางตอนดังนี้

...หมอเปียร์สได้ให้ความเห็นไว้พอเปนเลา ๆ ว่า การฝึกหัดแพทย์ควรจะจัดเปน 2 ชั้น คือ

(1) นักเรียนแพทย์ชั้นสูง ควรรับแต่นักเรียนที่สอบไล่ได้มัธยมบริบูรณ์(ปีที่ 3) ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการแล้ว เข้าเล่าเรียนวิชาตามหลักสูตรมีกำหนด 6 ปี ให้เรียนภาควิทยาศาสตร์ล้วน 2 ปี เรียนวิชาแพทย์ 4 ปี เมื่อเรียนสำเร็จแล้วให้เปนแพทย์ปริญญาซึ่งมีทางที่จะขอให้มหาวิทยาลัยต่างประเทศรับรองว่า เสมอการเรียนในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ทำนองเดียวกันกับที่มหาวิทยาลัยต่างประเทศรับรองว่า มัธยมปีที่ 8 ของเราเสมอการสอบไล่ Matriculation ของเขา นักเรียนแพทย์ที่สอบไล่ได้ชั้นสูงเช่นนี้ เมื่อจะไปเรียนวิชาเพิ่มเติมอีก ณ ต่างประเทศ ก็เรียนชั้น Post Graduate ทีเดียวเพียง 1 หรือ 2 ปีก็สำเร็จ

(2) นักเรียนแพทย์ชั้นสามัญ ควรรับนักเรียนที่สอบไล่ได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการแล้ว ดังรับอยู่เดี๋ยวนี้ มีกำหนดเรียน 3 หรือ 4 ปี (เดี๋ยวนี้เรียน 6 ปี) แล้วออกทำการเปนสารวัด

 

117  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

แพทย์สำหรับการสาธารณสุข หรือทำการรักษาพยาบาลทั่ว ๆ ไป ให้ทันกับความต้องการของบ้านเมือง...

วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.. 2464 หมอเปียร์สชี้แจงกับเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ว่า

...ในการที่รอคคีเฟลเลอร์เฟาวน์เดชั่นจะช่วยนี้เป็นส่วนทางวิชา เขามีความเห็นว่า ชั้นต้นบางทีจะส่งศาสตราจารย์มาให้ 6 คน พอครบวิชาที่ต้องการ เขาจะขอให้ศาสตราจารย์ที่มีชื่อเสียงของเขาในการจัดสอนวิชาและการสอบไล่ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฝึกหัด มีสถานที่และเครื่องใช้ก็จะช่วยได้บ้างเหมือนกัน เขาเห็นว่า ควรมีความตกลงกันระหว่างรัฐบาลสยามกับรอคคีเฟลเลอร์เฟาวน์เดชั่น กำหนด 5 ปี ในการที่จะฝึกสอนวิชาแพทย์ เมื่อครบ 5 ปีแล้ว ถ้ารัฐบาลสยามยังต้องการให้ช่วยต่อไปอีก ก็จะรับช่วยต่อไปอีก 5 ปี รวมเป็น 10 ปี แต่ทั้งนี้เป็นความเห็นเขา ซึ่งจะได้รายงานต่อรอคคีเฟลเลอร์เฟาวน์เดชั่น เมื่อตกลงอย่างไรคงจะบอกมาให้ทราบภายหลัง...

วันที่ 19 มกราคม พ.. 2465 ราชเลขาธิการกราบบังคมทูล ย่อเรื่องแผนกต่างประเทศที่ 8/65 ว่า รอคคีเฟลเลอร์เฟาวน์เดชั่นรับช่วยเหลือการศึกษาในแผนกนี้

วันที่ 23 มกราคม พ.. 2465 (January 23, 1922) Dr. Richard M. Pearce, The Rockefeller Foundation, 61 Broadway, New York มีจดหมายถึงเจ้าพระยาธรรมศักดิ์-มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ อธิบายพร้อมแนบเอกสารข้อเสนอการพัฒนาแพทยศาสตร์-ศึกษา 6 แผ่น

...The Result of the discussion of the material I collected in Siam, the following plan for the development of Medical Education in the Royal Medical School of Bangkok is proposed : ...

วันที่ 17 เมษายน พ.. 2465 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการมีหนังสือที่ 2/111 เรียนแจ้งมหาเสวกเอก พระยาจักรปาณีศรีศิลวิสุทธิ ราชเลขาธิการ เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาฯ ทรงทราบเรื่องงบประมาณสร้างสถานปาโถโลยี 1 หลัง ราคา 80,000 บาท โดยใช้เงินทุนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตึกพยาบาล 1 หลัง ราคา 80,000 บาท ด้วยเงินของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ พระราชทาน และกราบบังคมทูลว่า

...สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงเอาเป็นธุระในเรื่องนี้อยู่มาก ทรงเข้าพระไทยทางการได้ถ้วนถี่ ได้ทรงพบปะ

 

118  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

สนทนากับหมอวินเซนต์ นายกแห่งฟาวน์เดชั่น และได้ทรงรับกับเขาไว้ว่าจะมาฟังความและรับสั่งแก่เขาเมื่อเสด็จกลับออกไป พระองค์ท่านได้ทรงตรัสแนะนำว่า เพื่อให้ทันในเวลาอันน้อย ควรมีกรรมการสำหรับพิจารณาเรื่องนี้ เพื่อให้มีผู้แทนของกระทรวงที่ใช้แพทย์เข้าเปนกรรมการด้วย กระทรวงศึกษาธิการเปนเจ้าหน้าที่ พระองค์ท่านก็ทรงยินดีจะช่วยเหลือ ข้าพเจ้าเห็นชอบด้วยพระดำริห์ และเห็นว่าถ้าได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีกรรมการ และได้พระองค์ท่านเปนประธานกับมอบการจัดเรื่องกรรมการนี้ไว้ในพระองค์ท่านจะเปนการดีมาก...

วันที่ 21 เมษายน พ.. 2465 หนังสือที่ 4/198 นามเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ได้ไปทูลหารือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์-วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศแล้ว รับสั่งว่า เหนควรให้จัดการตามที่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์ได้ตกลงกับเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์

วันที่ 19 มกราคม พ.. 2469 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ มีหนังสือที่ 34/7360 เรียนมหาเสวกเอก เจ้าพระยามหิธร ราชเลขาธิการ ความว่า

...หมอคาร์เตอร์ รองผู้อำนวยการแผนกการศึกษาทางแพทย์แห่งรอคคิเฟลเลอร์มูลนิธิ เข้ามากรุงเทพฯ มาดูการคณะแพทยศาสตร์กับคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์...ทางคณะแพทยศาสตร์ หมอคาร์เตอร์ชมเชยว่า ดำเนินการเรียบร้อยตามที่ตกลงกัน...ส่วนคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้แนะนำบางอย่างเกี่ยวด้วยดำเนินการ ซึ่งจะได้ดำริจัดการต่อไป...

(28) ดำเนินโครงการจัดตั้งกรมสาธารณสุข เฉพาะส่วนกระทรวงมหาดไทย : มกราคม พ.. 2465

วันที่ 28 มกราคม พ.. 2465 ราชเลขาธิการมีหนังสือที่ 7/435, 52/437, 10/436, 51/438 ถึงเสนาบดีที่เกี่ยวข้อง 3 กระทรวง และกรมหมื่นไชยนาทนเรนทร แจ้งพระราชกระแสรับสั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยกับเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ดำเนินการสำหรับหัวเมืองในปกครองของกระทรวงมหาดไทยไปก่อน เว้นส่วนกรุงเทพฯ ค่อยดำเนินการภายหลัง โดยพระราชกระแสรับสั่งถึงกรมหมื่นไชยนาทนเรนทร ความดังนี้

...ได้รับหนังสือลงวันที่ 31 เดือนก่อนบรรยายความเห็นเรื่องรวมหน้าที่สาธารณสุขนั้นแล้ว เรื่องนี้เห็นใจอยู่ว่าเปนการลำบาก และฉันทราบอยู่แล้วเหมือนกันว่า จะทำความตกลงกับนครบาลไม่ง่ายนัก เพราะนครบาล

 

119  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

เคยระแวงมานานแล้วว่า จะถูกตัดทอนอำนาจไปทีละน้อย ๆ จนในที่สุดยุบนครบาลไปสมทบมหาดไทย การที่นครบาลสงสัยเช่นนี้ จะว่าไม่มีมูลก็ไม่ได้ เพราะเปนที่น่าเสียใจที่มีผู้ใหญ่ในราชการของกระทรวงมหาดไทยเคยกล่าวเปนเชิงโอ้อวดเช่นนั้นเสียด้วย

ส่วนเรื่องสาธารณสุข เห็นว่าไม่ควรรอจนกว่าจะได้รับความตกลงยินยอมของนครบาล เห็นควรจัดไปในหัวเมืองในการปกครองของมหาดไทยก่อน ฉันเชื่อว่า เมื่อนครบาลได้แลเห็นผลดีของการจัดวางการใหม่นั้นแล้ว ต่อไปคงจะว่าง่ายขึ้น ฉันจะได้สั่งไปทางราชการถึงกระทรวงการคลังด้วย...(89)

(29) ยุบกระทรวงนครบาลรวมไว้ในกระทรวงมหาดไทย : สิงหาคม พ.. 2465

วันที่ 1 สิงหาคม พ.. 2465 มีประกาศรวมการปกครองท้องที่และแบ่งปันหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงยุติธรรม ความว่า

มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า แต่เดิมมา การปกครองท้องที่แยกย้ายกันอยู่เปนหลายกระทรวง คือ การปกครองพระนครเปนน่าที่กระทรวงนครบาล การปกครองหัวเมืองเปนน่าที่กระทรวงต่าง ๆ ซึ่งเมื่อพุทธศักราช 2435 (.. 111) ได้โปรดเกล้าฯ ให้มารวมไว้เปนน่าที่กระทรวงมหาดไทยแต่แห่งเดียว บัดนี้ทรงพระราชดำริห์ว่า ราชการได้ดำเนินมาถึงขีดคั่นอันสมควรแล้ว ที่จะรวมน่าที่ปกครองนี้ไว้ในกระทรวงเดียวได้ เพราะฉนั้นจึ่งทรงให้รวมน่าที่ราชการในกระทรวงนครบาลนอกจากที่จะได้กล่าวถึงต่อไปนี้ข้างล่างนี้ เข้าไว้ในกระทรวงมหาดไทย

ส่วนการปกครองท้องที่ พร้อมทั้งงานประชาภิบาล นคราภิบาล ฯลฯ อันเปนน่าที่เฉภาะกรุงเทพพระมหานครนั้น ให้มีสมุหพระนครบาลเปนหัวน่ารับผิดชอบอย่างสมุหเทศาภิบาลแห่งมณฑลต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร...ให้โอนกรมราชทัณฑ์จากกระทรวงนครบาลมาขึ้นกระทรวงยุติธรรม และโอนกรมอัยการจากกระทรวงยุติธรรมมาขึ้นในกระทรวงมหาดไทย...(90)

(30) พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2466 : พฤศจิกายน พ.. 2466

วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.. 2466 ประกาศใช้พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2466(91) เพื่อคุ้มครองประชาชนจากอันตรายที่เกิดจากผู้ไร้ความรู้ ไม่รับการฝึกหัด ในการประกอบโรคศิลปะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ กำหนดให้มีสภาการแพทย์ เพื่ออนุญาตและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะ

(31) รายงานกรมสาธารณสุข ประจำพุทธศักราช 2465, 2466 และ 2467(92):มีนาคม พ.. 2468

 

120  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

วันที่ 1 มีนาคม พ.. 2468 หม่อมเจ้าสกลวรรณากร อธิบดีกรมสาธารณสุข เสนอรายงานกรมสาธารณสุขต่อเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายรายงานฉบับนี้ มีจำนวน 166 หน้า แบ่งเป็น 22 บท พร้อมแสดงตารางสถิติต่าง ๆ จำนวนมากจากทั่วประเทศ เป็นรายงานฉบับแสดงข้อมูลอย่างสมบูรณ์เท่าที่เคยมีมา เริ่มจากบทที่ 1 คำปรารภ การปกครองประเภทเงินถือจ่ายและรายจ่ายต่าง ๆ การออกกฎหมายทางสาธารณสุข การเกี่ยวข้องกับนานาชาติเรื่องสุขภาพ สุขศึกษา สถิติพยากรณ์ โรคติดต่อ การสุขาภิบาล การจัดบำรุงบุราภิบาล การบำบัดโรค การสงเคราะห์ทารกและมารดา เรือนจำ กองบุราภิบาล กองโอสถาศาลารัฐบาล กองยาเสพติดให้โทษ กองส่งเสริมสุขาภิบาล (โอนมาจากกองสุขาภิบาล สภากาชาดสยาม) รายงานของผู้ตรวจการสาธารณสุขประจำภาค การสาธารณสุขในมณฑลต่าง ๆ และกองแพทย์สุขาภิบาลแห่งพระนคร

(32) โอนงาน Public Health ของกรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล ไปรวมในกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย : เมษายน พ.. 2468

วันที่ 21 เมษายน พ.. 2468

ด้วยตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.. 2461 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกการสุขาภิบาลแพนกป้องกันความป่วยไข้ให้ความสุขแก่ประชาชน (Public Health) จากกรมสุขาภิบาลไปรวมขึ้นอยู่ในกรมสาธารณสุข แต่ในเวลานั้นมีเหตุไม่สดวกกับทางการบางอย่าง การจึงได้รอต่อมา บัดนี้ถึงเวลาอันสมควรที่จะรวมการสุขาภิบาลแพนกนี้ให้อยู่ในความบังคับบัญชาของกรมสาธารณสุขได้ เพื่อให้การงานได้ดำเนินไปโดยเรียบร้อยสดวกดียิ่งขึ้น

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนการในกรมสุขาภิบาล แพนกป้องกันความป่วยไข้ให้ความสุขแก่ประชาชน ไปรวมขึ้นกรมสาธารณสุข

(33) การตั้งสภาการสาธารณสุขประจำชาติ : เมษายน พ.. 2470

วันที่ 15 เมษายน พ.. 2470 ร่างพระราชบัญญัติสภาการสาธารณสุขประจำชาติ พ.. 2469(93) นิยามคำว่า สาธารณสุข ดังนี้การสาธารณสุข หมายความว่า งานหรือกิจการประเภทหนึ่งประเภทใดซึ่งต้องอาศัยวิชาความรู้ในทางสาธารณสุขโดยเฉพาะ ซึ่งกระทำด้วยความประสงค์ที่จะป้องกันอันตรายและบำรุงชีวิตให้ยืนนานและในร่างกฎหมายฉบับภาษาอังกฤษบัญญัติว่า

“Public Health Activity” as mentioned in this law shall mean “any work or activities involving special technical knowledge and experience in public health, undertaken with the purpose of preventing sickness and decay and to save and to prolong life...” แต่ผู้แทนสภากาชาดสยามแย้งว่า นิยามไม่ชัดเจน ไม่ควรบัญญัติไว้ จึงถอด

 

121  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ออกไป อย่างไรก็ตาม จากการนิยามคำว่าการสาธารณสุขทำให้เห็นเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการในเวลานั้น โดยทางคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลโต้แย้งว่าไม่ควรรวม Medical Education ไว้ใน Medical Service ที่เป็นวัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้

วันที่ 15 สิงหาคม พ.. 2470 ที่ประชุมเสนาบดี ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม มีการหารือเรื่องการตั้งสภาการสาธารณสุขมีพระดำรัสเรื่องตามมาตรา 2 ของร่างฯ สภาการสาธารณสุข มีฐานะเป็นเหมือนกรมหนึ่งซึ่งมีหน้าที่บังคับบัญชากรมสาธารณสุข แต่ทรงเข้าพระราชหฤทัยว่าไม่ได้หมายความว่า กรมสาธารณสุขอยู่ใต้บังคับของสภานี้ และเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยกราบบังคมทูลว่า ตั้งใจจะให้เป็นสภาที่ปรึกษาในการสาธารณสุขเท่านั้น และไม่ใช่นิติบุคคล ไม่ใช่กรม

หลวงนรราชฯ ให้ความเห็นโดยรวมของร่างฯ ฉบับนี้ว่า

...สรุปความ - สภานี้แทบไม่มีประโยชน์อะไรเปนพิเศษ แม้ว่าไม่มีสภา เสนาบดีมหาดไทยในหน้าที่ผู้บังคับบัญชากรมสาธารณสุข ก็อาจเชิญคณะแพทย์ให้แต่งผู้แทนมาประชุมปรึกษาการงานได้เสมอ หน้าที่สภานายกดูเหมือนจะเปนประโยชน์เฉพาะ secretarial work เท่านั้น

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ

หลวงนรราช

(34) การให้ปริญญาแพทย์ - ปริญญาแรกในประวัติศาสตร์การศึกษาไทย : พฤษภาคม พ.. 2472

วันที่ 25 พฤษภาคม พ.. 2472 มหาอำมาตย์เอก พระองค์เจ้าธานีนิวัต เสนาบดีกระทรวงธรรมการ มีหนังสือที่ 53/1777 เรียนมหาเสวกเอก เจ้าพระยามหิธร ราชเลขาธิการ ความว่า

จำเดิมแต่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.. 2459 และต่อมาโดยโปรดเกล้าฯ ให้ยกโรงเรียนราชแพทยาลัยมาขึ้นอยู่ในจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยเปนคณะแพทยศาสตร์นั้น การศึกษาในทางแพทย์ได้เจริญขึ้นโดยลำดับ ครั้นเมื่อมีการร่วมมือกับรอคคะเฟลเลอร์มูลนิธิ กระทรวงธรรมการจึงได้แก้ไขหลักสูตรใหม่ให้มีแพทย์ปริญญาชั้น Medicine Baccalaureus(94) และยังจะมีชั้น Medicine Doctor ต่อไปข้างหน้าโดยความตกลงเห็นชอบแห่งมูลนิธิที่กล่าวนามมาแล้วนั้น ถึงศก 2471 นักเรียนชั้นปริญญาได้เรียนจบลง 18 คน สอบไล่ได้ 18 คน ถึงเวลาแล้วที่จะมีการให้ปริญญาแก่นักเรียนเหล่านี้...(95)

 

122  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

วันที่ 4 มิถุนายน พ.. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราช-หัตถเลขาที่ 3/158 ความว่า

ตามหนังสือที่ 53/1777 ลงวันที่ 25 เดือนก่อน ขออนุญาตให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ปริญญาแพทย์ชั้น Medicine Baccalaureus แก่นักเรียนคณะแพทยศาสตร์ 18 คน ซึ่งสอบไล่ได้ใน พ.. 2471 คราวหนึ่ง เปนพิเศษ ดังเหตุผลที่ชี้แจงมากนั้นทราบแล้ว อนุญาต

ประชาธิปก ป..

(35) โรงพยาบาลตำรวจ : มิถุนายน พ.. 2472

วันที่ 28 มิถุนายน พ.. 2472 จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อสร้างโรงพยาบาลกลางใหม่ เป็นตึก 3 ชั้น สร้างเป็นตอน ๆ ไป กำหนด 4 คราวเสร็จ งบประมาณ 500,000 บาท โดยโรงพยาบาลกลางมีหน้าที่รักษาทั่วไปและมีหน้าที่เพิ่มเติมพิเศษเฉพาะคือ รักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บหรือภัยอันตรายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคดีซึ่งตำรวจส่งมาให้ตรวจรักษาและลงความเห็นในทางนิติเวชวิทยา(96)

วันที่ 3 ตุลาคม พ.. 2472 รายงานประชุมสภาการคลังกล่าวถึงว่า โรงพยาบาลกลางเป็น Police Hospital หากคิดจะรักษาคนไข้ทั่วไปแบบ General Hospital จะแข่งกับโรงพยาบาลอื่น ๆ ในชั้นนี้ควรจัดเป็น Police Hospital อย่างเดียว ที่ประชุมเห็นชอบ โครงการจึงระงับไป เหลือแต่การซ่อมแซมตึกเก่า

(36) การปกครองลักษณะเทศบาล : พฤศจิกายน พ.. 2472

วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.. 2472 มหาอำมาตย์ตรี หม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณอธิบดีกรมสาธารณสุข ทรงแสดงการปกครองลักษณะเทศบาลในที่ประชุมสมุหเทศาภิบาล สรุปใจความสำคัญว่า(97)

- คำปรารภ : เมื่อสัก 20 ปีมานี้ (ราว พ.. 2452) สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง พระราชทานพระราชกระแสฉบับหนึ่ง มายังกระทรวงมหาดไทย ในลายพระราช-หัตถเลขาฉบับหนึ่งทรงทำนายไว้ว่า รูปแบบการปกครองท้องที่ ซึ่งเรียกตามภาษาอังกฤษว่ามยูศิยาลิตี้” (Municipality) จำต้องเข้าสยามในไม่ช้า(98) ทรงพระราช-ดำริว่า เป็นปัญหาจักคิดเตรียมการเผื่อไว้แต่ในขณะนี้ พระราชกระแสนี้เกี่ยวด้วยกับการจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ซึ่งนับว่าเป็นการดำเนินก้าวที่หนึ่งไปสู่ ลักษณะปกครอง ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าเทศบาล

- “เทศบาลคืออะไร คำว่าเทศบาลประกอบขึ้นด้วยคำสันสกฤตสองคำ คือเทศแปลว่า ถิ่น และบาลแปลว่า ปกครอง แต่ในที่นี้จะจำกัดความให้แคบกว่าการปกครองท้องที่โดยเบ็ดเสร็จ คือ หมายเฉพาะถึงการปกครองชุมนุมชน

 

123  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

- ในทางกฎหมาย เทศบาล คือ การปรุงแต่งราษฎรในท้องที่แห่งหนึ่งแห่งใด ขึ้นเป็นนิติบุคคลโดยอำนาจรัฐบาล และในฐานะนิติบุคคลดั่งว่านี้ รัฐบาลอนุญาตให้ใช้อำนาจซึ่งระบุไว้โดยกฎหมาย ในอันที่จะออกอนุบัญญัติ (ระเบียบข้อบังคับอันเป็นกฎหมายลูก) เกี่ยวด้วยกิจการภายในเขตท้องที่คนในทางปกครองเทศบาล

หนังสือพิมพ์ The New York Times ฉบับประจำวันที่ 28 เมษายน พ.. 2474 ได้ตีพิมพ์พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการให้ประเทศไทยมีการปกครองท้องถิ่น เพื่อทำการปกครองตนเองขึ้นตามแบบอย่างประเทศตะวันตกที่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ซึ่งมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า

เรากำลังเตรียมออกพระราชบัญญัติเทศบาลขึ้นมาใหม่ เพื่อทดลองเกี่ยวกับสิทธิเลือกตั้งภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายนี้ ประชาชนจะมีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล...ข้าพเจ้าเห็นว่าสิทธิการเลือกตั้งของประชาชนควรจะเริ่มต้นที่การปกครองท้องที่ในรูปเทศบาล ข้าพเจ้าเชื่อว่าประชาชนควรจะมีสิทธิมีเสียงในกิจการของท้องถิ่น เรากำลังพยายามให้การศึกษาเรื่องนี้แก่เขา ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นการผิดพลาด ถ้าเราจะมีการปกครองระบอบรัฐสภาก่อนที่ประชาชนจะมีโอกาสเรียนรู้ และมีประสบการณ์อย่างดีเกี่ยวกับการใช้สิทธิเลือกตั้งในกิจการปกครองท้องถิ่น(99)

สิ้นสุดการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

(37) คณะราษฎรปฏิวัติยึดอำนาจการปกครอง ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.. 2475

(38) อนุกรรมการวางโครงการสาธารณสุข คณะกรรมการราษฎร : กรกฎาคม พ.. 2475

วันที่ 16 กรกฎาคม พ.. 2475 กรรมการคณะกรรมการราษฎรมีหนังสือเรียนประธานคณะกรรมการราษฎร ความว่า

...ด้วยโครงการสาธารณสุขในเวลานี้ยังไม่ลงระเบียบและยังบกพร่องอยู่เป็นส่วนมาก ข้าพเจ้าขอประทานเสนออนุกรรมการคณะหนึ่ง เพื่อวางโครงการสาธารณสุข คือ 1. พระชาญวิธีเวทย์ 2. พระเชษฐ์วิธีการ 3. หลวงเฉลิมคัมภรีเวชช์ 4. นายพันตรี หลวงสนิทรักษสัตว์ 5. หลวงประพันธ์ไพรัชพากย์ 6. นายประยูร ภมรมนตรี...(100)

 

124  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

(39) ปรับปรุงโครงสร้างกรมสาธารณสุข : มกราคม พ.. 2476

วันที่ 29 มกราคม พ.. 2476 กรมสาธารณสุขแบ่งส่วนราชการดังนี้(101)

(1) สำนักงานเลขานุการกรม แบ่งเป็น 3 แผนก คือ แผนกสารบรรณ/แผนกห้องสมุด/แผนกเบ็ดเตล็ด

(2) สำนักงานคณะกรรมการแพทย์ (Medical Council ปัจจุบันคือ แพทยสภา)

(3) กองคลัง (แผนกการเงิน/แผนกบัญชี/แผนกพัสดุ)

(4) กองสถิติพยากรณ์ชีพ (แผนกกลาง/แผนกเอกสารสาธารณสุข/แผนกหน่วยสุขศึกษา)

(5) กองสุขศึกษา (แผนกกลาง/แผนกเอกสารสาธารณสุข/แผนกหน่วยสุขศึกษา)

(6) กองโรคติดต่อ (แผนกกลาง/แผนกโรคติดต่อ/แผนกด่านกักโรค/แผนกตรวจคนเข้าเมือง)

(7) กองชันสูตร (แผนกกลาง/แผนกตรวจวัตถุ/แผนกตรวจน้ำ)

(8) กองสาธารณสุขท้องที่ (แผนกกลาง/แผนกสุขาภิบาล/แผนกสงเคราะห์มารดาและทารก/แผนกบำบัดโรค/แผนกอาหารและยา/แผนกเชื้อโรค)

(9) กองสาธารณสุขพระนคร (แผนกกลาง/แผนกโรคติดต่อ/แผนกสุขาภิบาล/แผนกสุขศาลา/แผนกสงเคราะห์มารดาและเด็ก/แผนกอาหารและยา/โรงพยาบาลโรคติดต่อ)

(10) กองโอสถศาลา (แผนกกลาง/แผนกคลังเวชภัณฑ์/แผนกจัดเวชภัณฑ์)

(11) วชิรพยาบาล

(12) โรงพยาบาลกลาง

(13) โรงพยาบาลโรคจิต

(14) กองอนาถาพยาบาล

(15) โรงพยาบาลโรคเรื้อน

(40) หลักสูตรแพทย์ประกาศนียบัตร (เพิ่มเติมจากหลักสูตรแพทย์ปริญญาบัตร) : พฤษภาคม พ.. 2477

วันที่ 22 พฤษภาคม พ.. 2477 หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีหนังสือเรียนรัฐมนตรีว่ากระทรวงธรรมการ ความว่า

...นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เสนอว่า ตามกระทรวงบางกระทรวงเวลานี้ปรากฏว่ายังขาดนายแพทย์อยู่ เช่น กระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้เพราะการเพาะนายแพทย์ในปีหนึ่ง ๆ น้อยไป มีแพทย์ที่สำเร็จการเรียนในปีหนึ่งมีจำนวนน้อยและเป็นแพทย์ชั้นปริญญา ความจำเป็นที่จะต้องใช้นายแพทย์ปริญญาทุกคนในเวลานี้ เห็นว่ายังไม่สู้จำเป็นนัก...เช่น แพทย์หลวงประจำท้องที่ แพทย์ประจำสถานีอนามัย ผู้บังคับหมู่เสนารักษ์ เป็นต้น ควรจะให้แต่แพทย์ประกาศนียบัตรก็พอ ส่วนแพทย์ปริญญาควรประจำรักษาพยาบาลที่สำคัญ ๆ หรือในแผนกค้นคว้าวิทยาการ หรือในโรงเรียนแพทย์ ด้วยเหตุผลดั่งกล่าวนี้ เห็นว่า กระทรวงธรรมการควร

 

125  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

จะหาวิธีเพาะนายแพทย์โดยเปิดการเรียนขึ้นอีกแผนกหนึ่ง คือ แพทย์ประกาศนียบัตร เมื่อเรียนสำเร็จแล้วให้ออกรับราชการในตำแหน่งข้าราชการชั้นสัญญาบัตร และท่านได้เสนอว่า เรื่องนี้กระทรวงธรรมการได้ดำริอยู่เหมือนกัน เวลานี้กำลังปรึกษาหารืออยู่กับสภากาชาด และกรมสาธารณสุข(102)

(41) โครงการสร้างโรงพยาบาลจังหวัดทั่วประเทศ : กรกฎาคม พ.. 2477

วันที่ 18 กรกฎาคม พ.. 2477 กรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย จัดทำโครงการสร้างโรงพยาบาลหัวเมืองเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการ โดยมีความมุ่งหมายจะสร้างโรงพยาบาลขึ้นในจังหวัดต่าง ๆ เพื่อให้มีทั่วถึงกันทุกจังหวัด ภายใน 4 ปี นับตั้งแต่ พ.. 2477 เป็นต้นไป(103) การสร้างเฉลี่ยเป็นภาค ๆ และเริ่มจากชายเขตแดนเข้ามาก่อน เพราะเกี่ยวกับ Prestige (ศักดิ์ศรี) ของชาติ โรงพยาบาลที่จะสร้างขึ้นนั้นมี 2 ขนาด คือ

1. ขนาดกลาง - ให้มีเตียงรับคนไข้ได้ตั้งแต่ประมาณ 35 - 150 เตียง ประมาณค่าก่อสร้างและเครื่องใช้เครื่องมือ แห่งละ 95,800 บาท

2. ขนาดเล็ก - กำหนดให้มีเตียงรับคนไข้ได้ตั้งแต่ 25 - 50 เตียง ประมาณค่าก่อสร้างและเครื่องใช้เครื่องมือ แห่งละ 56,200 บาท

แผนงานตามโครงการโรงพยาบาลหัวเมือง

- .. 2477 สร้างโรงพยาบาลขนาดกลาง 2 แห่ง (อุบลราชธานี/นครพนม) ขนาดเล็ก 8 แห่ง (หนองคาย/นราธิวาส/สกลนคร/ปัตตานี/ยะลา/จันทบุรี/ตาก/สตูล)

- .. 2478 สร้างโรงพยาบาลขนาดกลาง 3 แห่ง (อุดรธานี/เชียงราย/มหาสารคาม)ขนาดเล็ก 13 แห่ง (น่าน/ชัยภูมิ/แม่ฮ่องสอน/บุรีรัมย์/กระบี่/พังงา/ปราจีนบุรี/ตรัง/สุรินทร์/กำแพงเพชร/เพชรบูรณ์/พัทลุง/เลย)

- .. 2479 สร้างโรงพยาบาลขนาดกลาง 3 แห่ง (ขอนแก่น/นครศรีธรรมราช/ร้อยเอ็ด) ขนาดเล็ก 13 แห่ง (ลำปาง/ตราด/ระยอง/ชุมพร/สุราษฎร์ธานี/อุทัยธานี/ชัยนาท/ขุขันธ์/อุตรดิตถ์/นครนายก/พิจิตร/สวรรคโลก/ลำพูน)

- .. 2480 สร้างโรงพยาบาลขนาดกลาง 4 แห่ง (พิษณุโลก/ฉะเชิงเทรา/แพร่/ราชบุรี) ขนาดเล็ก 13 แห่ง (ลพบุรี/ประจวบคีรีขันธ์/สมุทรสงคราม/สมุทรสาคร/นครปฐม/สิงห์บุรี/สระบุรี/ปทุมธานี/อ่างทอง/เพชรบุรี/กาญจนบุรี/นนทบุรี/สมุทรปราการ) รวมเป็นเงินที่ต้องจ่ายทั้งหมด 4,051,000 บาท

(42) มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์แถลงขอบคุณและยุติข้อตกลงร่วมมือ : พฤษภาคม พ.. 2478

วันที่ 23 พฤษภาคม พ.. 2478 Mr. Max Mason ประธานมูลนิธิฯ มีจดหมายแสดงความขอบคุณรัฐบาลสยามที่ได้พยุงกิจการให้ดำเนินไปตามข้อตกลงร่วมมือมาโดยตลอด มีความสำคัญบางตอนว่า

 

126 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

...From Dr. Aller G. Ellis, The Rockefeller Foundation requested and has received a final report upon the collaboration between the Government of Siam and The Rockefeller Foundation in reorganization of the Medical School of the Chulalongkorn University...fulfilled the spirit of the undertaking and surpassed the actual terms of the agreements has given us great satisfaction and is rightfully an occasion of pride and hope in the future of medical education in Siam...(104)

(43) คณะกรรมการพิจารณาการสาธารณสุขและการแพทย์ : ธันวาคม พ.. 2478

วันที่ 6 ธันวาคม พ.. 2478 ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาการสาธารณสุขและการแพทย์ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.. 2477 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการ มีหน้าที่พิจารณาปัญหาเรื่องการแพทย์และการสาธารณสุขนั้น คณะกรรมการได้เสนอโครงการต่อรัฐบาลดังนี้

1) การอนามัยในหัวเมือง

2) การควบคุมไข้จับสั่น

3) การควบคุมวัณโรค

4) การควบคุมโรคเรื้อน

5) การควบคุมโรคจิต

6) การควบคุมกามโรค

7) การควบคุมอาหารและยา

8) การสงเคราะห์มารดาและเด็ก

9) การอนามัยโรงเรียน(105)

(44) พันเอก พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จัดทำธรรมระวางประเทศ หนังสือรวบรวมอนุสัญญาระหว่างประเทศเผยแพร่

ในหน้าคำสั่งชี้แจงระบุไว้ว่า

เนื่องด้วยประเทศเราได้เข้าเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาต่าง ๆ อันเป็นธรรมระวางประเทศ ประกอบกับเราเป็นประเทศเล็ก จำจักต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด ดุจเป็นกฎหมายในบ้านเมืองของเราเอง ฉะนั้นเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้ปฏิบัติหน้าที่ได้เหมาะกับเหตุการณ์ จึ่งทหารทุกคนพึงศึกษาทราบไว้ โดยสมควรแก่ตำแหน่งหน้าที่

(ลงนาม) ..พิบูลสงคราม 

127 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

อนุสัญญาระหว่างประเทศทางด้านการทหารในช่วงเวลาดังกล่าวมีดังนี้

1) คำปฏิญาณว่าด้วยการห้ามมิให้ใช้กะสุนบางอย่างในเวลาสงครามระหว่างประเทศ ทำที่กรุงเศนต์ปีเตอร์สเบอร์ก วันที่ 11 ธันวาคม พ.. 2511(106)

2) คำปฏิญาณว่าด้วยการห้ามใช้ลูกกะสุนซึ่งขยายตัวออก หรือแบนตัวได้ง่าย เมื่อเข้าไปในร่างกายมนุษย์ ฯลฯ ฉบับกรุงเฮก ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.. 2442

3) อนุสัญญาว่าด้วยการเริ่มการสู้รบ ฉบับกรุงเฮก ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.. 2450

4) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ และหน้าที่ของประเทศและบุคคลอันเป็นกลาง ในเมื่อมีการสงครามทางบก ฉบับกรุงเฮก ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.. 2450

5) อนุสัญญาว่าด้วยกฎและธรรมเนียมการสงครามทางบก ฉบับกรุงเฮก ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.. 2450

6) บทบัญญัติต่อท้ายอนุสัญญา ข้อบังคับ ว่าด้วยกฎและธรรมเนียมการสงครามทางบก

7) โปโตคลว่าด้วยการห้ามใช้ก๊าสมึนเมาเป็นพิษ หรือก๊าสอื่น ๆ ในการสงคราม และห้ามวิธียุทธโดยใช้เชื้อโรคฉะบับกรุงเยเนวา ลงวันที่ 17 มิถุนายน พ.. 2468

8) อนุสัญญาเยเนวา เพื่อยังการเป็นไปของผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ในกองทัพในสนามรบให้ดีขึ้น ลงวันที่ 27 กรกฎาคม ค.. 1929

9) อนุสัญญาการปฏิบัติต่อชะเลยศึก ลงวันที่ 27 กรกฎาคม ค.. 1929

10) ภาคผนวกอนุสัญญาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อชะเลยศึก ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.. 2472 (1829)(107)

(45) โอนสิทธิกิจการบางส่วนในกรมสาธารณสุขให้เทศบาลนครกรุงเทพฯ

วันที่ 20 สิงหาคม พ.. 2480 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกาศพระราชกฤษฎีกา มอบสิทธิกิจการบางส่วนในกรมสาธารณสุข กรมตำรวจ และกรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทย ให้เทศบาลนครกรุงเทพฯ จัดทำ พุทธศักราช 2480 ดังนี้

มาตรา 3 ให้มอบสิทธิกิจการต่อไปนี้ในเทศบาลนครกรุงเทพฯ จัดทำต่อไป คือ

(1) กองสาธารณสุขพระนคร กรมสาธารณสุข นอกจากกิจการอันเกี่ยวกับกองลหุโทษ

(2) โรงพยาบาลกลาง กรมสาธารณสุข

(3) วชิรพยาบาล กรมสาธารณสุข

(4) กองตำรวจเทศบาล กรมตำรวจ นอกจากแผนกยานพาหนะพระนครและธนบุรี และแผนกยานพาหนะหัวเมือง

(5) แผนกกำจัดอุจจาระ กรมโยธาเทศบาล

(6) แผนกโรงฆ่าสัตว์ กรมโยธาเทศบาล(108)

128 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

(46) กระทรวงกลาโหมตั้งโรงเรียนนายทหารเสนารักษ์ : มิถุนายน พ.. 2482

วันที่ 12 มิถุนายน พ.. 2482 นายพันเอก หลวงพรหมโยธี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม มีหนังสือที่ น. 4112/2442 ถึงนายกรัฐมนตรี เรื่องขอตั้งงบประมาณสำหรับตั้งโรงเรียนฝึกและอบรมแพทย์ประกาศนียบัตร มีความสำคัญบางตอนดังนี้

เนื่องจากกระทรวงกลาโหมมีความประสงค์จะส่งเสริมสุขภาพของประชาชนพลเมืองในประเทศให้ดียิ่งขึ้น โดยจะจัดหาเจ้าหน้าที่แพทย์ให้มีจำนวนเพียงพอ หากแต่เวลานี้เจ้าหน้าที่แพทย์ยังมีน้อยเกินไป...ซึ่งจะต้องรอเวลาอีกหลายสิบปีจึ่งจะมีแพทย์เป็นจำนวนมากพอ...โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามชนบทให้ทั่วถึงทุกอำเภอได้ เพื่อแก้ความขัดข้องในเรื่องนี้ เห็นควรให้มีการเพาะแพทย์ประกาศนียบัตรขึ้นในวงการทหาร โดยให้มีหลักสูตรกำหนดการศึกษาสั้นกว่าหลักสูตรแพทย์ปริญญาพอสมควร จึ่งได้วางโครงการที่จะเปิดรับนักเรียนเข้ามารับการฝึกและอบรมในโรงเรียนแพทย์ทหาร โดยมีหลักสูตร 4 ปี แต่ก็ได้พยายามรักษามาตรฐานขั้นต่ำสุดแห่งวิทยฐานะแพทย์ไว้มิให้ต่ำต้อยลงไปจนเกินสมควร กับได้กะประมาณการใช้จ่ายในการตั้งโรงเรียน โดยกำหนดเวลาสำหรับการดำรงของโรงเรียนและอบรมแพทย์ประกาศนียบัตร เพียง 7 ปีเท่านั้น คือ จะเพาะแพทย์ประกาศนียบัตรขึ้น 4 รุ่น ๆ ละ 120 คน และในรุ่นหนึ่ง ๆ มีกำหนดการศึกษา 4 ปี เมื่อครบ 7 ปีบริบูรณ์จะเพาะแพทย์ได้ประมาณ 480 คน ซึ่งเพียงพอที่จะจ่ายไปประจำทั่วประเทศ...1. โรงเรียนฝึกและอบรมแพทย์ประกาศนียบัตรจะตั้งขึ้นที่โรงพยาบาลอานันทมหิดล จังหวัดลพบุรี...109

วันที่ 29 ธันวาคม พ.. 2482 กระทรวงกลาโหมได้เรียกชื่อโรงเรียนฝึกและอบรมแพทย์ประกาศนียบัตรว่า โรงเรียนนายทหารเสนารักษ์

(47) กำเนิดกระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ : กุมภาพันธ์ พ.. 2485

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.. 2485 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งที่ 4/2485 เรื่องตั้งกรรมการพิจารณาการปรับปรุงการแพทย์ความสำคัญบางตอนว่า

...ด้วยปรากฏมานานแล้วว่า ประชากรของชาติมีอนามัยไม่ดีกับได้รับการรักษาพยาบาลก็ไม่ทั่วถึงและสมบูรณ์เพียงพอ จึงทำให้มีผู้ถึงแก่กรรมลงในเยาว์วัยมาก ทำให้การเพิ่มพลเมืองไม่เป็นไปตามสัดส่วนอันพึงประสงค์ จึงเห็นเป็นการสมควรที่จะปรับปรุงกิจการของชาติในส่วนนี้ให้รัดกุมยิ่งขึ้นและเหมาะสมแก่กลาสมัย โดยมีความประสงค์จะรวมกิจการแพทย์ทั้งสิ้นขึ้นเป็น129 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

หน่วยเดียว เพื่อให้รับผิดชอบร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว ซึ่งจะทำให้การทำงานร่วมแรงและประสานกันดีขึ้น ฉะนั้นจึงตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณาจัดการปรับปรุงการแพทย์ให้สมความประสงค์ดังกล่าวแล้วข้างต้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

1. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นประธานกรรมการ

2. นายพลโท มังกร พรหมโยธี เป็นรองประธานกรรมการ

3. นายพันตรี ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม เป็นกรรมการ

4. นายพลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ เป็นกรรมการ

5. นายเตือน บุนนาค เป็นกรรมการ

6. นายพันตรี นิตย์ เวชชวิศิษฏ์ เป็นกรรมการ

7. นายพลตรี พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต เป็นกรรมการ

8. นายพูลสวัสดิ์ บุศยศิริ เป็นกรรมการ

9. พระอัพภันตราพาธพิศาล เป็นกรรมการ

10. เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นกรรมการ

11. นายเถียร วิเชียรแพทยาคุณ เป็นกรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการนี้ให้มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

1. รวมโรงพยาบาลและสถานที่พยาบาลต่าง ๆ ที่เป็นของรัฐบาลและเทศบาลมาตั้งเป็นหน่วยการแพทย์ขึ้น จะเป็นกระทรวง หรือทบวง หรือกรม ก็แล้วแต่จะพิจารณาเห็นสมควร โดยให้สังกัดในสำนักนายกรัฐมนตรี และถ้าจำเป็นจะแบ่งเป็นกองต่าง ๆ ด้วยก็ได้

2. ให้ยุบเลิกสภากาชาดไทย และให้โอนโรงพยาบาลและสถานที่พยาบาลของสภากาชาดไทยมารวมกับหน่วยการแพทย์ในข้อ 1 แต่คงให้มีกองอำนวยการไว้ เผื่อจะมีติดต่อกับองค์กรสากลกาชาด

3. เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องการแพทย์นี้ตามที่คณะกรรมการนี้จะพิจารณาเห็นควรพิจารณาเสียให้เสร็จในคราวเดียวกัน

ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการนี้เริ่มดำเนินการประชุมปรึกษากันโดยด่วน และให้พิจารณาวางโครงการให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน สั่ง ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2485(110)

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.. 2485 คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงการแพทย์ ครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุม กระทรวงกลาโหม

...ที่ประชุมพิจารณาว่า งานไหนบ้างที่จะมารวม ที่ประชุมช่วยกันคิดมีดังต่อไปนี้

 

130 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

1) งานของกรมสาธารณสุขทั้งหมด

2) งานของเทศบาล ในแผนกโรงพยาบาลและสุขศาลาทั้งหมด

3) โรงพยาบาลศิริราช

4) สภากาชาดไทย

5) กรมประชาสงเคราะห์

6) กองสุขาภิบาลและอนามัยโรงเรียน กรมพลศึกษา

7) งานของแผนกแพทย์และอนามัยของกรมราชทัณฑ์

8) งานของกองเภสัชกรรมและเคมีบางส่วนที่เกี่ยวกับการแพทย์ ของกรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงการเศรษฐกิจ

9) กองแพทย์ กรมรถไฟ

10) งานทางเทศบาลทั้งหมด

ส่วนงานของกองพยาบาลต่าง ๆ ในเสนารักษ์ กระทรวงกลาโหมและงานของหน่วยแพทย์กรมตำรวจนั้นไม่ต้องมารวม ด้วยเหตุว่าเป็นงานที่เกี่ยวกับทางทหารและตำรวจโดยเฉพาะ ไม่ได้เกี่ยวกับประชาชน...

ที่ประชุมพิจารณาในส่วนต่าง ๆ ของราชการที่จะมารวมกันนี้ เห็นว่าเป็นงานที่ใหญ่โตและกว้างขวางมาก เห็นสมควรจะต้องจัดรูปขึ้นเป็นกระทรวง ความเห็นนี้กรรมการทุกคนเห็นเป็นเอกฉันท์

ส่วนชื่อของกระทรวงนั้น ในขั้นแรกเห็นว่าเป็นกระทรวงที่จัดขึ้นจากการรวมระหว่างการแพทย์และการสาธารณสุข จึงเห็นสมควรเรียกนามกระทรวงนี้ว่ากระทรวงการสาธารณสุขและการแพทย์แต่เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นชื่อที่ยาวมาก ทั้งในต่างประเทศก็ได้จัดงานรูปนี้ขึ้นแล้วและให้ชื่อโดยย่อว่ากระทรวงการสาธารณสุข” (Ministry of Health) คณะกรรมการจึงตกลงเห็นควรว่ากระทรวงนี้ควรเรียกว่ากระทรวงการสาธารณสุข

สำหรับสภากาชาดไทยนั้น ผู้แทนขององค์กรนี้คือ พระยาดำรง-แพทยาคุณ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า ไม่ควรจะมารวมกับกระทรวงที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ เพราะเหตุว่ากาชาดทุก ๆ ประเทศถือเป็นองค์กรเอกชน ซึ่งจะมีหน้าที่เกี่ยวกับการพยาบาลและช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยในยามสงครามกับในยามปกติ ก็เป็นสถานที่สำหรับเพาะและอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีจำนวนมาก เพื่อช่วยเหลือในการสงคราม กับส่วนมากเงินทุนกับการอุดหนุนก็ได้รับมาจากส่วนบุคคล อันได้ทำเป็นอนุสาวรีย์และมูลนิธิไว้เป็นส่วน ๆ ไปแล้ว เห็นว่าควรจะปล่อยไว้ให้เป็นองค์การอิสระ หรือถ้าพูดถึงการเกี่ยวข้องที่จะต้องขึ้นอาศัยเงินอุดหนุนของรัฐบาล สภากาชาดไทยก็ขึ้นอยู่กระทรวงกลาโหมแล้ว ทั้งการที่กระทรวงใดจะเป็นผู้อนุญาตให้สถานที่ใดใช้กาชาดเพื่อสถานที่เอกชนได้ เวลานี้กระทรวงกลาโหมเป็นเจ้าหน้าที่ผู้อนุญาตอยู่แล้ว จึ่งเห็นว่า ไม่ควรล้มกาชาด และเอามา

 

 

131 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ขึ้นกับกระทรวงใหม่นี้

สำหรับโรงพยาบาลศิริราช พระอัพภันตราพาธพิศาลได้กล่าวว่า รู้สึกขัดข้องใจที่จะให้โรงพยาบาลศิริราชมาขึ้นกับกระทรวงใหม่นี้ ด้วยเหตุว่า โรงพยาบาลศิริราชเป็นส่วนของมหาวิทยาลัย เป็นความสำคัญก็คือให้แพทย์ได้ทำการศึกษา ซึ่งถ้าเป็นการสมควรก็อยากให้สถานที่พยาบาลเช่นนี้ได้อยู่กับสถานศึกษาต่อไป

เมื่อกรรมการได้รับความเห็นของสองท่านนี้ จึงได้พิจารณาแล้วยังให้ความเห็นเด็ดขาดในวันนี้ไม่ได้ ซึ่งรองประธานจะต้องนำไปหารือกับท่านนายก-รัฐมนตรี ประธานกรรมการคณะนี้ก่อน

กรรมการจึงพิจารณาว่า งานที่จะรวมขึ้นเป็นกระทรวงใหม่นี้ควรจะมีกรมอะไรบ้าง เมื่อได้พิจารณากันแล้ว เห็นว่า กรมที่จัดตั้งในกระทรวงควรมีดังต่อไปนี้ คือ

1) กรมสาธารณสุข

2) กรมการแพทย์

3) กรมประชาสงเคราะห์

4) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

5) กรมควบคุมเทศบาล

คณะกรรมการตกลงเห็นชอบ ประธานจึงปิดประชุมและนัดประชุมในวันรุ่งขึ้น

เปิดประชุมเวลา 9.30 น. - ปิดประชุมเวลา 12.30 น.

นายแพทย์เถียร วิเชียรแพทยาคุณ ผู้จดบันทึก

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.. 2485 ประชุมคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงการแพทย์ครั้งที่ 2 ณ ห้องประชุม กระทรวงกลาโหม

ประธานที่ประชุมกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีมีความเห็นว่า งานทางส่วนเทศบาลซึ่งได้จัดขึ้นเป็นกรมควบคุมเทศบาลนั้น ยังไม่ควรนำมารวมกับกระทรวงใหม่นี้ ควรให้เป็นตามรูปเดิมก่อน ที่ประชุมได้ตัดกรมควบคุมเทศบาลออก คงเหลืออยู่ 4 กรม ส่วนเรื่องสภากาชาดไทยนั้น ที่ประชุมเห็นว่า ไม่ต้องยุบ แต่ย้ายการควบคุมจากกระทรวงกลาโหมมาขึ้นกับกระทรวงใหม่ แต่การงานและสถานที่ให้คงอยู่ตามเดิม

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.. 2485 ประชุมคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงการแพทย์ครั้งที่ 3 ณ ห้องประชุม กระทรวงกลาโหม ในรายงานการประชุม มีความสำคัญบางตอนดังนี้

เรื่องการประกอบโรคศิลปะ

...คณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ให้อยู่ในสำนักงานปลัดกระทรวงนั้นดีแล้ว แต่คณะกรรมการแพทย์สำหรับตั้งขึ้นเพื่อควบคุมแพทย์ เช่นเดียวกับคณะกรรมการตุลาการของกระทรวงยุติธรรมนั้น ที่

 

132  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ประชุมเห็นว่ายังไม่เป็นความจำเป็น เพราะมีคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะแล้ว และ แพทยสภา หรือที่มีความหมายว่าสมาคมแพทย์เหมือนกับเนติบัณฑิตยสภานั้น ทางการแพทย์เห็นว่าสมาคมนี้นับเป็นส่วนบุคคล ทั้งไม่เป็นการสมควรจะเอามาอยู่ในส่วนบริหารของรัฐบาล ซึ่งควรจะปล่อยให้เขาจัดไปตามเดิม แต่กระทรวงสาธารณสุขซึ่งตั้งขึ้นใหม่นี้จะช่วยสนับสนุนในความประสงค์เมื่อขอร้องมา เป็นต้นว่าจะได้ออกพระราชบัญญัติสนับสนุนให้แพทย์ทุกคนเป็นสมาชิกของสมาคม และให้ แพทยสมาคม(111) มีสิทธิที่จะส่งผู้แทนเข้าร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ...

เรื่องโรงพยาบาลศิริราช

...กองโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งยังเป็นปัญหาอยู่ พระอัพภันตราพาธ-พิศาลได้ชี้แจงเหตุขัดข้องที่ไม่สามารถจะเสนอรูปงานและงบประมาณได้ ก็โดยเหตุที่ยังมีความเห็นอยู่ว่า โรงพยาบาลศิริราชจำเป็นที่จะต้องขอให้อยู่กับโรงเรียนแพทย์อันเป็นสถานที่จะให้นักเรียนทำการฝึกหัด และทั้งไม่สามารถที่จะแยกออกจากหน่วยศึกษานี้ได้ ถ้าแยกมาแล้วจะเป็นเรื่องไม่สะดวกและขลุกขลักมาก แม้ว่าจะได้พิจารณากันวันก่อนแล้ว ถึงว่าจะให้นักเรียนไปทำการฝึกหัดได้ในโรงพยาบาลทั่ว ๆ ไป แต่ก็ออกจะเป็นการที่ไม่อำนวยความสะดวกให้ ทั้งยากแก่การปกครองที่จะแบ่งแยกมาแต่เฉพาะโรงพยาบาล ในมหาวิทยาลัยที่ดี เขากลับพยายามที่จะสร้างโรงพยาบาลเช่นนี้ไว้เป็นส่วนหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ ทั้งความมุ่งหมายและเจตจำนงเดิมก็ได้ให้โรงพยาบาลศิริราชนี้อยู่กับโรงเรียนแพทย์เรื่อยมา คณะกรรมการได้พิจารณาอย่างละเอียดแล้วมีความเห็นไปใน 2 แง่ คือ...ด้านรูปการก็น่าจะมาขึ้นกับกระทรวงที่ตั้งใหม่นี้ แต่ถ้ามองไปในแง่การศึกษาแพทย์อันเป็นการจำเป็นที่จะต้องมีสถานพยาบาลเช่นนี้ไว้ เพื่อเป็นที่ฝึกหัดและที่เรียนของนักเรียนแพทย์และนางพยาบาล ก็ยังเห็นว่าเป็นการไม่สมควรจะเอามารวมในกระทรวงใหม่นี้ กรรมการจึงได้ตกลงให้ โรงพยาบาลศิริราช อยู่ในมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ไปตามเดิม...

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.. 2485 ประชุมคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงการแพทย์ ครั้งที่ 4(112) ณ ห้องประชุม กระทรวงกลาโหม นอกจากมีคณะกรรมการมา 9 คน แล้วยังมีผู้แทนของหน่วยราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการที่จะรวมเป็นกระทรวงการสาธารณสุขนี้มาประชุม 3 คน ดังนี้

1) หลวงชัยอัศวรักษ์ ผู้แทนคณะสัตวแพทยศาสตร์

2) นายพันเอก หลวงวาจวิทยาวิทยาวัฒน์

3) นายแพทย์กำธร สุวรรณกิจ ผู้แทนกรมวิทยาศาสตร์

133  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

รองประธานได้กล่าวเปิดประชุมว่า ตามที่ท่านนายกฯ ได้อ่านรายงานการประชุมของคณะกรรมการปรับปรุงการแพทย์ที่ประชุมมาแล้วถึง 3 ครั้งนั้น มีความเห็นชอบในการที่ได้พิจารณาไปแล้วทุกอย่างแต่มีข้อทักท้วงดังนี้

...ให้ตั้งมหาวิทยาลัยแพทย์ขึ้นในกระทรวงนี้ โอนกิจการโรงเรียนแพทย์ทั้งหมดรวมศิริราชพยาบาลด้วย และนอกจากนั้นให้คิดเอาแพทย์สัตว์มาไว้ในกระทรวงนี้ด้วย เอามารวมให้หมด...

คณะกรรมการได้พิจารณากันแล้วว่า ก็เป็นการสมควรอย่างยิ่งตามที่ท่านได้ทักท้วงมานั้น จึ่งได้ตกลงกันเป็นเอกฉันท์...ในที่สุดตกลงกันให้นามว่า มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และคณะต่าง ๆ กับกิจการงานที่จะมารวมในมหาวิทยาลัยใหม่นี้มีโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลศิริราชและโรงเรียนพยาบาลและผดุงครรภ์ คณะเภสัชกรรมศาสตร์ สัตวแพทย์ ทันตแพทย์ ส่วนการศึกษาตอนที่จะเอารวมในมหาวิทยาลัยใหม่นั้น ไม่นับชั้นเตรียม ซึ่งมีอยู่ในมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์คงให้อยู่ไปตามเดิม จะรวมแต่ในสี่ปีหลังของแพทยศาสตร์ ในสี่ปีหลังของทันตแพทย์ ในสามปีหลังของสัตวแพทย์ และในสี่ปีหลังของเภสัชกรรมศาสตร์

...จึ่งได้จัดรูปกระทรวงสาธารณสุขเป็นรูปดั่งนี้

1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี

2) สำนักงานปลัดกระทรวง

3) กรมการแพทย์

4) กรมประชาสงเคราะห์

5) กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

6) กรมวิทยาศาสตร์

7) กรมสาธารณสุข

...ได้พิจารณาการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์...ดั่งนี้

1. คณะแพทยศาสตร์

1) แผนกสารบรรณ

2) แผนกปรุงยา

3) แผนกกายวิภาควิทยา

4) แผนกสรีระวิทยา

5) แผนกพยาธิวิทยา

6) แผนกอายุรศาสตร์วิทยา

7) แผนกศัลยกรรม

8) แผนกสูติกรรมและนรีเวชวิทยา

9) แผนกรัศมีวิทยา

 

134 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

10) แผนกพยาบาลผดุงครรภ์

2. คณะเภสัชกรรมศาสตร์

3. คณะทันตแพทยศาสตร์

4. คณะสัตวแพทยศาสตร์

สามคณะหลังนี้ยังไม่มีเวลาแบ่งส่วนราชการ อาศัยอยู่ในมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ...เมื่อกรรมการได้พิจารณาจัดรูปของมหาวิทยาลัยและกรมวิทยา-ศาสตร์ที่จะมารวมใหม่เรียบร้อยแล้วดั่งนี้...คณะกรรมการทุกคนไม่มีข้อขัดข้อง จึ่งให้เลขานุการไปจัดพิมพ์รายงานการประชุม บันทึกจัดตั้งกระทรวงการสาธารณสุข และบันทึกองค์การกระทรวงการสาธารณสุข กับร่างพระราช-บัญญัติและกฤษฎีกา พร้อมด้วยหนังสือนำเสนอนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จในวันรุ่งขึ้น...

วันที่ 10 มีนาคม พ.. 2485 ประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีและสำนักงานปลัดกระทรวง ในกระทรวงสาธารณสุข พุทธศักราช 2485(113) (จัดตั้งกระทรวงสาธารณสุข)

วันที่ 10 มีนาคม พ.. 2485 ประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการ กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในกระทรวงสาธารณสุข พุทธศักราช 2485(114) (จัดตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์)

(48) ตั้งโรงเรียนแพทย์เพิ่ม พ.. 2489 : สิงหาคม พ.. 2489

วันที่ 27 สิงหาคม พ.. 2489 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีหนังสือด่วนมากถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี อธิบายที่มาข้อจำกัดของการฝึกอบรมนักศึกษาแพทย์ของโรงพยาบาลศิริราชว่า มีที่พอสำหรับนักเรียนแพทย์ 60 - 100 คนเท่านั้น แต่ปัจจุบันรับไว้ถึง 200 คน ทางราชการต้องการแพทย์จำนวนมาก และประชาชนนิยมการศึกษาแพทย์มาก จึงเห็นว่า สถานศึกษาแพทยศาสตร์เท่าที่มีอยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศไม่เพียงพอ สมควรต้องเร่งรัดจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นอีกแห่งหนึ่งก่อน โดยให้สามารถรับนักศึกษาได้ทำการฝึกฝนอบรมอีก 100 คน ในการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้คำนึงแล้วเห็นว่า ถ้าจะสร้างโรงเรียนแพทย์ขึ้นใหม่จะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายอย่างมากมาย จึงเห็นควรดำเนินการจัดสร้างเพิ่มเติมเฉพาะสถานศึกษาแพทยศาสตร์เบื้องต้น (Pre-Clinic) สถานที่ที่จะให้นักศึกษาภาคปลาย (Clinic) ฝึกฝนหาความชำนาญก่อนออกเป็นนั้น ควรร่วมมือกับองค์กรสถานที่รักษาพยาบาลที่มีการปฏิบัติการรักษาอันทันสมัย เช่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นต้น จึงเรียนมาให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในหลักการ เพื่อดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ดังกล่าวขึ้นต่อไป(115)

วันที่ 17 กันยายน พ.. 2489 เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือแจ้งกระทรวงสาธารณสุขว่า คณะรัฐมนตรีพิจารณารับหลักการและให้กระทรวงสาธารณสุขติดต่อกับกระทรวงการคลังพิจารณาเรื่องการเงินต่อไป

 

135  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

(49) โอนโรงพยาบาลของเทศบาลไปสังกัดกระทรวงสาธารณสุข : ธันวาคม พ.. 2490

วันที่ 8 ธันวาคม พ.. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ขอโอนโรงพยาบาลซึ่งอยู่ในความควบคุมของเทศบาลทุกแห่งมาอยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวงสาธารณสุข(116)

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.. 2491 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้เหตุผลว่า โรงพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของเทศบาลทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองได้ชำรุดทรุดโทรมและเสื่อมสภาพลงโดยทั่วไป

วันที่ 28 พฤษภาคม พ.. 2491 เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือแจ้งรัฐมนตรีว่า ควรดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย พร้อมแนบร่างพระราชบัญญัติโอนสิทธิกิจการโรงพยาบาลและสุขศาลาต่าง ๆ ของเทศบาลให้กระทรวงสาธารณสุขจัดทำ พ.. 2491 และให้ยกสุขศาลาขึ้นเป็นโรงพยาบาล ดังนี้

1) โรงพยาบาลเทศบาลเมืองสงขลา

2) โรงพยาบาลเทศบาลเมืองนครราชสีมา

3) โรงพยาบาลเทศบาลเมืองพระนครศรีอยุธยา

4) โรงพยาบาลเทศบาลเมืองนครสวรรค์

5) โรงพยาบาลเทศบาลเมืองภูเก็ต

6) โรงพยาบาลเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา

7) โรงพยาบาลเทศบาลเมืองราชบุรี

8) โรงพยาบาลเทศบาลเมืองลำปาง

9) โรงพยาบาลเทศบาลเมืองนครปฐม

10) โรงพยาบาลเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี

11) โรงพยาบาลเทศบาลเมืองเชียงใหม่

12) โรงพยาบาลเทศบาลเมือง (โรคติดต่อ ธนบุรี) ของเทศบาลนครกรุงเทพฯ

13) โรงพยาบาลชาติสงเคราะห์ของเทศบาลนครกรุงเทพฯ

14) โรงพยาบาลกลางของเทศบาลนครกรุงเทพฯ

15) โรงพยาบาลวชิระของเทศบาลนครกรุงเทพฯ

16) สุขศาลาเมืองกาฬสินธุ์

17) สุขศาลาเมืองชัยภูมิ

18) สุขศาลาเมืองอุทัยธานี

19) สุขศาลาเมืองลำพูน

20) สุขศาลาเมืองแม่ฮ่องสอน

21) สุขศาลาเมืองสมุทรปราการ

 

136  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

สรุป 3.2 ระบบการแพทย์และสาธารณสุขแบบตะวันตกสำหรับพลเรือน

ระบบราชการด้านการแพทย์และสาธารณสุขพลเรือนมีที่มาเริ่มต้นจากแผนกโรงเรียนในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดให้มีการสอนวิชาแพทย์แบบตะวันตกขึ้นในประเทศ (Modern Medicine and Surgical Science) เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.. 2428 และควรจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นก่อนเพื่อใช้สอนวิชาแพทย์ ต่อมาในวันที่ 7 เมษายน พ.. 2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกอมมิตตีจัดการตั้งโรงพยาบาลให้มีขึ้นสำหรับพระนคร จนกระทั่งวันที่ 22 มีนาคม พ.. 2430 จึงได้ดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลหลวงแห่งแรกสำหรับราษฎร คือ โรงพยาบาลวังหลัง หรือโรงศิริราชพยาบาล ที่ต่อมาคือโรงพยาบาลศิริราช คณะกรรมการฯ ยังได้ดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลหลวงอื่น ๆ เพิ่มเติมเป็นลำดับ เพื่อให้บริการรักษาความป่วยไข้แก่ราษฎรตามพื้นที่ต่าง ๆ รอบพระนคร เมื่อมั่นคงแล้ว จึงยุบคณะกรรมการจัดการโรงพยาบาลและจัดตั้งกรมพยาบาลขึ้นแทน เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.. 2431 เพื่อปฏิบัติราชการควบคุมดูแลกิจการของโรงพยาบาลต่าง ๆ ในพระนคร ท้ายที่สุด มีการรวมกรมทั้ง 3 แห่ง คือ กรมพยาบาล กรมศึกษาธิการ และกรมธรรมการ จัดตั้งขึ้นเป็นกระทรวงธรรมการซึ่งต่อมาคือกระทรวงศึกษาธิการ

สำหรับการจัดตั้งโรงพยาบาลในหัวเมืองต่างจังหวัด เริ่มขึ้นที่โรงพยาบาลเมืองอินทรบุรีเป็นแห่งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.. 2431 มีพระอินทรประสิทธิ์ศร ผู้ว่าราชการเมือง เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้ง ภายหลังโรงพยาบาลหัวเมืองแห่งอื่น ๆ จึงเกิดขึ้นตามมา แต่ยังคงมีจำนวนไม่มากนัก การดำเนินการจัดตั้งส่วนใหญ่อยู่ภายใต้ผู้ว่าราชการเมือง โรงพยาบาลเหล่านี้จึงอยู่ในความปกครองของกระทรวงมหาดไทย

.. 2437 เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ (โรลังยัคมินส์) ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วไป กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องการจัดตั้ง “Municipality” หรืองานเทศบาลขึ้นในประเทศสยาม แต่พระองค์มีพระราชดำริเกรงว่าจะกระทบคนในบังคับต่างประเทศ ที่ต้องขอความเห็นจากรัฐบาลนานาประเทศก่อน ยากจะจัดการให้สำเร็จ แต่ถ้าหากปรับรูปแบบเป็น Sanitary จะไม่กระทบคนในบังคับต่างประเทศ สามารถจัดได้เลย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศเป็นพระราชกำหนดสุขาภิบาล ร.. 116 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.. 2440 จัดตั้งกรมสุขาภิบาล” (Local Sanitary Department) ขึ้นในกระทรวงนครบาล มีตำแหน่งในกรมสุขาภิบาล คือ เจ้าพนักงานช่างใหญ่ (The Sanitary Engineer) ทำหน้าที่จัดระเบียบชุมชนให้เกิดความสะอาดปราศจากโรค นับเป็นการจัดการสุขาภิบาลของชุมชน (Engineer for Sanitary) ต่อมาพัฒนาเป็นการบุราภิบาลและการเทศบาลตามลำดับ

นอกจากนี้จัดให้มีตำแหน่งเจ้าพนักงานแพทย์สุขาภิบาล (The Medical Officer of Health) เป็นการจัดตั้งงานสาธารณสุขยุคแรกตามระบบสาธารณสุขแบบเก่าของประเทศตะวันตก (Sanitary for Health) ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้พัฒนาระบบสาธารณสุขแบบปัจจุบัน (Modern Public Health) เป็นกรมสาธารณสุข” (Department of Public Health) ดำเนินการ

 

137  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

เจริญก้าวหน้าจนเป็นกระทรวงสาธารณสุขในทุกวันนี้

ข้าราชการ พ่อค้า และราษฎรที่ตลาดท่าฉลอม เมืองสมุทรสาคร ได้พร้อมใจกันบริจาคเงินทำถนนและสะพานในหมู่บ้านตลาดท่าฉลอมได้เรียบร้อยงดงามดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศแก้ภาษีโรงร้าน จัดสุขาภิบาลตลาดท่าฉลอมเมืองสมุทรสาคร เพื่อจัดตั้งการสุขาภิบาลของตลาดท่าฉลอม เมืองสมุทรสาคร ถือกำเนิดเป็นสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรกของสยาม เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.. 2449 กฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้โอนภาษีโรงร้าน (ภาษีโรงเรือน) ที่เก็บได้และหักต้นทุนออก มอบให้ใช้สำหรับการสุขาภิบาลท่าฉลอม และให้ตั้งคณะกรรมการจัดการสุขาภิบาลในเขตตลาดที่เป็นชุมชนหนาแน่น ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการมีอำนาจจัดการสุขาภิบาลในเขตทุกอย่าง รวมทั้งใช้จ่ายเงินภาษีโรงร้านที่จัดเก็บไว้ มีเทศาภิบาลเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบหรือยับยั้ง

เมื่อการสุขาภิบาลท่าฉลอมประสบผลสำเร็จดีแล้ว จึงขยายให้มีสุขาภิบาลในหัวเมืองอื่น ๆโดยประกาศพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.. 127ลงวันที่ 5 กันยายน พ.. 2451 เพื่อจัดการสุขาภิบาลในหัวเมืองทั่วประเทศอยู่ในกระทรวงมหาดไทย รูปแบบคณะกรรมการสุขาภิบาลมีตัวแทนประชาชนร่วมเป็นคณะกรรมการ ถือเป็นการกระจายอำนาจปกครองไปสู่ประชาชนครั้งแรกในประวัติศาสตร์สยาม และเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตยในเวลาต่อมาจนกระทั่งในรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ก็ได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็นการบุราภิบาลและในปี พ.. 2476 จัดตั้งเป็นการปกครองแบบเทศบาล” (Municipality Administration) ทั้งนี้ คำว่าเทศบาลได้บัญญัติไว้ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ในร่างพระราชบัญญัติกำหนดชื่อกฎหมายลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.. 2440 ว่า Municipal แปลว่า เทศบาร หรือประชุมชน

ต่อมาเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบกรมพยาบาลในกระทรวงธรรมการ และจัดรวมไว้ในอำนาจปกครองเทศาภิบาล กิจการของกรมพยาบาลเดิมแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ไปรวมกับงานสุขาภิบาลพระนครในกระทรวงนครบาล ส่วนที่ 2 ไปรวมกับงานสุขาภิบาลหัวเมืองในกระทรวงมหาดไทย ส่วนที่ 3 คือโรงเรียนราชแพทยาลัยและโรงศิริราชพยาบาลคงไว้ในกระทรวงธรรมการตามเดิม

ครั้นวันที่ 11 มีนาคม พ.. 2461 กระทรวงมหาดไทยรายงานว่าเกิดกาฬโรคระบาดตามหัวเมือง และวันที่ 30 มีนาคม พ.. 2461 กระทรวงนครบาลรายงานว่าเกิดกาฬโรคระบาดในพระนคร วันที่ 5 เมษายน พ.. 2461 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช จึงจัดตั้งคณะกรรมการกาฬโรคมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร เป็นหัวหน้า เพื่อระงับกาฬโรคที่ระบาดทั้งในพระนครและหัวเมือง การดำเนินการมีอุปสรรคมาก เพราะระบบการแพทย์สาธารณสุขแบ่งเป็น 2 ระบบ คือ ระบบที่อยู่ในกระทรวงนครบาลระบบหนึ่ง และระบบที่อยู่ในกระทรวงมหาดไทยอีกระบบหนึ่ง ลุถึงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.. 2461 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร กราบบังคมทูลถวายความเห็นเรื่องการรวมกิจการแพทย์ในกระทรวงมหาดไทยและในกระทรวงนครบาลเป็นหนึ่งเดียว

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราช-หัตถเลขาแจ้งไปยังเสนาบดีกระทรวงต่าง ๆ ว่า ด้วยเห็นว่า การสุขาภิบาล (คือ Public Health)

 

138  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ซึ่งเวลานี้ยังแยกย้ายกันอยู่หลายกระทรวง ควรรวมทำเสียเป็นพแนกเดียวกันและให้เปนน่าที่กระทรวงมหาดไทย ส่วนการ Municipality ของกรุงเทพฯ เช่น ทำถนน สะพาน ฯลฯ ควรให้คงไว้ในกระทรวงพระนครบาลเช่นเดิมและรวมงานด้านแพทย์พยาบาลของทั้ง 2 กระทรวงตั้งเป็นกรมใหม่ในกระทรวงมหาดไทย พระราชทานนามว่ากรมสาธารณสุข” (Department of Public Health) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.. 2461 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสาธารณสุขพระองค์แรก มีหน้าที่จัดทำโครงการจัดตั้งกรมสาธารณสุข

เนื่องจากการยุบรวมงานแพทย์และสาธารณสุขของ 2 กระทรวงในปี พ.. 2461 เกิดปัญหาล่าช้า กระทบต่อโครงการจัดตั้งกรมสาธารณสุข พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ดำเนินโครงการจัดตั้งกรมสาธารณสุขในส่วนของกระทรวงมหาดไทยไปก่อนเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.. 2465 อีก 7 เดือนต่อมา ตรงกับวันที่ 1 สิงหาคม พ.. 2465 ให้ยุบกระทรวงนครบาลรวมไว้ในกระทรวงมหาดไทย เพื่อปรับปรุงระบบราชการปกครองฝ่ายพลเรือนที่แยกเป็น 2 ส่วนให้เป็นหนึ่งเดียว แต่ก็ล่าช้าจนกระทั่งวันที่ 21 เมษายน พ.. 2468 จึงสามารถรวมงานการแพทย์ของ 2 กระทรวงได้สำเร็จ

กิจการของกรมสาธารณสุขจึงเริ่มดำเนินการได้แท้จริง นับตั้งแต่โครงการจัดตั้งกรมสาธารณสุขได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.. 2465 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร ทรงลาราชการเนื่องจากประชวร หม่อมเจ้าสกลวรรณากรรักษาการอธิบดีกรมสาธารณสุขในขณะนั้น จึงดำเนินการจัดตั้งระบบงานแบบใหม่ขึ้นในกรมสาธารณสุข นำวิชาสถิติมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำรายงานและระบบข้อมูลสาธารณสุข นับเป็นการเปลี่ยนระบบจาก Sanitary-based for Health เป็น Statistics-based for Public Health ทำให้การจัดการระบบสาธารณสุขเจริญขึ้นเป็นระบบขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง ครอบคลุมงานทั่วทั้งประเทศตามแบบระบบสาธารณสุขสากล

ในส่วนกิจการด้านโรงเรียนแพทย์แผนปัจจุบันนั้น เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.. 2433 ภายใต้โรงเรียนราชแพทยาลัยที่โรงพยาบาลศิริราชมาโดยตลอด ต่อมาเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยที่มีโรงพยาบาลศิริราชรวมอยู่ด้วย เข้าเป็นแผนกหนึ่งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สถาปนาขึ้นจากโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งเป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อมาเปลี่ยนนามเป็นคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นับได้ว่ากิจการโรงเรียนแพทย์แผนปัจจุบันซึ่งมีอยู่เพียงแห่งเดียวพัฒนาก้าวสู่ยุคใหม่ เพราะในระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยมีคณะวิชาความรู้พื้นฐานต่าง ๆ และบุคลากรทางวิชาการต่าง ๆ คอยสนับสนุน เมื่อได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ในการปฏิรูปหลักสูตรแพทยศาสตร์ โดยตกลงกันจัดทำบันทึกข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ โดยได้รับพระบรมราชานุญาตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.. 2465 การปฏิรูปหลักสูตรแพทยศาสตร์จึงเริ่มต้นดำเนินการ ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง โดยสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร

 

139  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ พระราชทานความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ และทรงแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นเป็นระยะ จนนำไปสู่การปฏิรูปแพทยศาสตร์ศึกษาของคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้มีมาตรฐานเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จใน พ.. 2469 ดังคำสรรเสริญของนายแพทย์คาร์เตอร์ รองผู้อำนวยการ แผนกการศึกษาทางแพทย์แห่งร็อคกี้เฟลเลอร์มูลนิธิ เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.. 2469 ว่าดำเนินการเรียบร้อยตามที่ตกลงกันมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์เรียกภารกิจนี้ว่า “Reorganization of the Medical School of the Chulalongkorn University”

ความสำเร็จครั้งนี้ถือเป็นการปฏิรูปแพทยศาสตร์ศึกษาครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การศึกษาวิชาแพทย์แผนปัจจุบันของประเทศไทย ทำให้สามารถผลิตแพทย์แผนปัจจุบันรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถเทียบเท่าประเทศตะวันตก เป็นแบบแผนการจัดการศึกษาวิชาแพทย์ให้แก่โรงเรียนแพทย์ที่จัดตั้งตามมาในภายหลัง แพทย์ที่จบจากโรงเรียนแพทย์อื่น ๆ จึงมีความรู้ความสามารถได้มาตรฐานสากลเช่นเดียวกัน สร้างความเจริญยั่งยืนแก่กิจการโรงเรียนแพทย์และวงการแพทย์ไทยมาจนถึงปัจจุบัน

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ปรับปรุงครั้งนี้ คือ การศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตหลักสูตรแรกและปริญญาแรกของประเทศไทย ถือเป็นต้นแบบนำร่องการจัดการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตให้แก่คณะอื่น ๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในประเทศไทยสืบต่อมา มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ได้ช่วยพัฒนาการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ของคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะเป็นการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานของชั้นเตรียมแพทย์ด้วยเช่นกัน

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ยุคการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ “Municipality” ยังรวมอยู่ในกรมสาธารณสุขและเรียกว่าบุราภิบาลสันนิษฐานว่ามีรากศัพท์มาจากคำว่าบุระ” (บุรี) แปลว่า เมือง และคำว่าอภิบาลแปลว่า บำรุงรักษา คุ้มครองปกครอง จึงหมายความถึงการปกครองบำรุงรักษาเมือง แต่ในรัชสมัยของพระองค์เริ่มมีแนวคิดที่จะยกร่างกฎหมายแยกกิจการออกไปต่างหาก โดยรวมกับการปกครองถิ่น เพื่อเป็นพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย จึงเปลี่ยนชื่อบุราภิบาลเป็นเทศบาลแทน ม..สกลวรรณากร วรวรรณ ทรงอธิบายว่าเทศหมายถึง ท้องที่ และบาลหมายถึง การปกครอง เทศบาลจึงหมายความว่า การปกครองท้องที่ประเภทหนึ่ง แต่ยังไม่ทันได้ดำเนินการ ก็เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.. 2475

ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ยุคการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลคณะราษฎรประกาศพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.. 2476ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.. 2476 เพื่อแยกงานเทศบาลออกจากกรมสาธารณสุข นำไปรวมกับการปกครองท้องถิ่นของกระทรวงมหาดไทย และแบ่งอำนาจการปกครองบางส่วนให้กับประชาชน โดยสามารถออกกฎหมายเทศบาลได้อย่างรวดเร็ว เพราะปรับปรุงจากร่างกฎหมายเดิมที่จัดทำไว้แล้วตั้งแต่รัชกาลที่ 7 ยุคการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

 

140  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

มีการประกาศกฎหมายจัดตั้งสภาการสาธารณสุขประจำชาติเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.. 2471 เพื่อบูรณาการงานแพทย์และสาธารณสุขที่กระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ แต่การบูรณาการวิธีนี้ยังไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากสภาการสาธารณสุขประจำชาติมีหน้าที่เป็นเพียงสภาที่ปรึกษาที่ไม่มีอำนาจบังคับบัญชา ต่อมาในรัชกาลที่ 8 รัฐบาลได้จัดตั้งอนุกรรมการ วางโครงการสาธารณสุข คณะกรรมการราษฎรเมื่อวันที่ 16 เดือนกรกฎาคม พ.. 2475 โดยให้เหตุผลว่าโครงการสาธารณสุขในเวลานี้ยังไม่ลงระเบียบและยังบกพร่องอยู่เป็นส่วนมากแต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.. 2478 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาการสาธารณสุขและการแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาการแพทย์และสาธารณสุขด้านต่าง ๆ ทำให้สามารถปรับปรุงหมวดงานแผนกต่าง ๆ เป็นรากฐานการจัดตั้งกระทรวงใหม่

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งแต่งตั้งกรรมการพิจารณาการปรับปรุงการแพทย์เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.. 2485 เป็นผลให้มีการประกาศพระราช-กฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีและสำนักงานปลัดกระทรวง ในกระทรวงการสาธารณสุข พุทธศักราช 2485ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.. 2485 เพื่อจัดตั้งกระทรวงการสาธารณสุข และประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการ กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในกระทรวงการสาธารณสุข พุทธศักราช 2485เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.. 2485 เพื่อจัดตั้งกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในกระทรวงการสาธารณสุข

เนื่องจากรัฐบาลในเวลานั้นต้องการให้รวมโรงพยาบาลศิริราชเข้าไว้ในกระทรวงการสาธารณสุขด้วย แต่พระอัพภันตราพาธพิศาล ผู้แทนโรงพยาบาลศิริราช กล่าวว่า

...สำหรับโรงพยาบาลศิริราช รู้สึกขัดข้องใจที่จะให้โรงพยาบาลศิริราชมาขึ้นกับกระทรวงใหม่นี้ ด้วยเหตุว่า โรงพยาบาลศิริราชเป็นส่วนของมหาวิทยาลัย เป็นความสำคัญก็คือให้แพทย์ได้ทำการศึกษา ซึ่งถ้าสมควรก็อยากให้สถานที่พยาบาลเช่นนี้ได้อยู่กับสถานศึกษาต่อไป...โรงพยาบาลศิริราชจำเป็นที่จะต้องขอให้อยู่กับโรงเรียนแพทย์อันเป็นสถานที่จะให้นักเรียนทำการฝึกหัด และทั้งไม่สามารถที่จะแยกออกจากหน่วยศึกษานี้ได้ ถ้าแยกมาแล้วจะเป็นเรื่องไม่สะดวกและขลุกขลักมาก แม้ว่าจะได้พิจารณากันวันก่อนแล้ว ถึงว่าจะให้นักเรียนไปทำการฝึกหัดได้ในโรงพยาบาลทั่ว ๆ ไป แต่ก็ออกจะเป็นการที่ไม่อำนวยความสะดวก ทั้งยากแก่การปกครองที่จะแบ่งแยกมาแต่เฉพาะโรงพยาบาล ในมหาวิทยาลัยที่ดี เขากลับพยายามที่จะสร้างโรงพยาบาลเช่นนี้ไว้เป็นส่วนหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ ทั้งความมุ่งหมายและเจตจำนงเดิมก็ได้ให้โรงพยาบาลศิริราชนี้อยู่กับโรงเรียนแพทย์เรื่อยมา...

141  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

เมื่อกรรมการพิจารณาการปรับปรุงการแพทย์ได้รับความเห็น จึงพิจารณาและเห็นควรหารือนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานกรรมการคณะนี้ก่อน จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายก-รัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาการปรับปรุงการแพทย์พิจารณาเรื่องนี้ และมีข้อทักท้วงว่า ให้ตั้งมหาวิทยาลัยแพทย์ขึ้นในกระทรวงนี้ โอนกิจการโรงเรียนแพทย์ทั้งหมดรวมศิริราชพยาบาลด้วย และนอกจากนั้น ให้คิดเอาแพทย์สัตว์มาไว้ในกระทรวงนี้ด้วย เอามารวมให้หมด...” คณะกรรมการจึงมีมติว่า ก็เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ท่านได้ทักท้วงมา จึ่งได้ตกลงกันเป็นเอกฉันท์...ในที่สุดตกลงกันให้นามว่า มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และคณะต่าง ๆ กับกิจการที่จะมารวมในมหาวิทยาลัยใหม่นี้ มีโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลศิริราช และโรงเรียนพยาบาลและผดุงครรภ์ คณะเภสัชกรรมศาสตร์ สัตวแพทย์ ทันตแพทย์ ส่วนการศึกษาตอนที่จะเอารวมในมหาวิทยาลัยใหม่นั้น ไม่นับชั้นเตรียม ซึ่งมีอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คงให้อยู่ไปตามเดิม จะรวมแต่ในสี่ปีหลังของแพทยศาสตร์ ในสี่ปีหลังของทันตแพทย์ ในสามปีหลังของสัตวแพทย์ และในสี่ปีหลังของเภสัชกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ถือกำเนิดขึ้น โดยสนับสนุนการเรียนการสอนชั้นเตรียมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีความมั่นคงก้าวหน้าเจริญขึ้นตามลำดับ ต่อมามหาวิทยาลัยแพทย-ศาสตร์ขยายการผลิตแพทย์ เพิ่มจำนวนนักเรียนแพทย์ และจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งใหม่ ๆ เพิ่มเติม รวมทั้งริเริ่มขยายการจัดโรงเรียนแพทย์ไปตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย กลายเป็นรากฐานกิจการโรงเรียนแพทย์ของประเทศไทย

หลังจากจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ต่าง ๆ เพิ่มเติมให้กับประเทศไทยสำเร็จแล้ว มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้พัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์เต็มรูปแบบ เช่นเดียวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามใหม่ว่ามหาวิทยาลัยมหิดลประกาศเป็นพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.. 2512เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.. 2512

การแพทย์ตำรวจถือกำเนิดขึ้นในกรมกองตระเวน กระทรวงนครบาล เริ่มจัดตั้งเป็น Police Hospital ที่โรงพยาบาลหญิงหาเงินหลังวัดพลับพลาไชย (โรงพยาบาลวัดโคก) เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.. 2441 ปัจจุบันคือโรงพยาบาลกลาง จนกระทั่งวันที่ 28 มิถุนายน พ.. 2472 จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อสร้างโรงพยาบาลกลางใหม่ ทรงตรัสถึงหน้าที่ของโรงพยาบาลกลาง (Police Hospital) ว่าควรมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ หรือภัยอันตรายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคดีซึ่งตำรวจส่งมาให้ตรวจรักษาและลงความเห็นในทางนิติเวชวิทยาต่อมาในปี พ.. 2495 โรงพยาบาลตำรวจจึงแยกออกจากโรงพยาบาลกลาง ย้ายไปจัดตั้งในที่แห่งใหม่บริเวณสี่แยกราชประสงค์จนถึงปัจจุบัน

 

142  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

3.3 สภากาชาดไทย

สภากาชาดไทยถือกำเนิดจากการดำเนินการของรัฐบาลสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหัตถเลขาตอบหนังสือกราบบังคมทูลของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ เรื่องจัดตั้งสภาอุณาโลมแดง เมื่อวันที่ 13 เมษายน ร.. 112 ความตอนหนึ่งว่า “...เห็นว่าเป็นความคิดอันดี ซึ่งต้องด้วยแบบอย่างประเทศทั้งปวงอันรุ่งเรือง...ให้กรมหมื่นพิทยฯ นำหนังสือนี้ขึ้นเสนอในที่ประชุมเสนาบดีจะเห็นการควรประการใด...” และในที่ประชุมเสนาบดี (คณะรัฐมนตรี) ณ มุขกระสันพระวิมานรัฐยา วันที่ 17 เมษายน ร.. 112 ได้มีมติว่า “...ในที่สุดที่ประชุมมีความเห็นพร้อมกันว่า การที่ท่านผู้หญิงเปลี่ยนคิดนี้ เปนการดี ควรทรงพระมหากรุณาพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ให้จัดการให้สำเร็จดังที่คิดนั้น...” การดำเนินการจัดตั้งสภาอุณาโลมแดงจึงเป็นหน้าที่รับผิดชอบของรัฐบาล อันมีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระประมุข และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งสภานี้ขึ้นเป็นทานสถานเพื่อจัดการรักษาพยาบาลกำลังพลทหารทั้งบกแลเรือ ในเวลาที่รับราชการหน้าที่ป้องกันพระราชอาณาเขต เมื่อวันที่ 26 เมษายน ร.. 112

การจัดตั้งสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม นับเป็นกิจการต่างประเทศที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ (Rolin-Jacquemyns) เป็นผู้แทนประเทศไทยเดินทางไปลงนามให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 ค.. 1864 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.. 2438 ณ กรุงเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

กาชาดสากลมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ International Committee of the Red Cross ชื่อย่อว่า ICRC เป็นองค์กรระหว่างประเทศแห่งแรกในประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่ ที่รัฐบาลยุโรปรวมตัวกันจัดตั้งขึ้นในปี ค.. 1863 (.. 2406) โดยนานาประเทศตกลงยอมรับสนธิสัญญาระหว่างประเทศป้องกันและทุเลาผลของสงคราม ที่เป็นก้าวสำคัญแห่งประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่ และมีส่วนช่วยเหลือประเทศไทยให้ทุเลาผลหากเกิดสงครามล่าอาณานิคมจากฝรั่งเศสขึ้น เนื่องจากฝรั่งเศสเป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาเจนีวา ที่ต้องเคารพคู่มือกฎหมายควบคุมวิธีการรบที่ไม่ให้โหดร้าย (กฎการรบ) คือ LES LOIS DE LA GUERRE SUR TERRE (The Laws of War on Land 1880) ซึ่งบังคับผูกพันประเทศภาคีอนุสัญญาเจนีวา

ปัจจุบันคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเป็นองค์กรระหว่างประเทศ ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม (Humanitarian Aid) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นองค์กรที่ใช้อนุสัญญาเจนีวา (Geneva Convention) รวมถึงอนุสัญญากรุงเฮก (Hague Convention) ซึ่งอนุสัญญาทั้งสองเป็นหลักสำคัญของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ - International Humanitarian Law โดยมีศาลอาญาระหว่างประเทศ International Criminal Court ที่จัดตั้งโดยองค์การสหประชาชาติ รวมทั้งการ

 

143  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

จัดตั้งศาลชั่วคราว (Tribunal) ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่พิพากษาลงโทษอาญาแก่ผู้กระทำความต่อกฎหมายดังกล่าว

บทนี้สืบค้นจากเอกสารชั้นต้น 3 แหล่งสำคัญ ดังนี้

1. เอกสารจดหมายเหตุแห่งชาติ และประกาศราชกิจจานุเบกษา

เอกสารจดหมายเหตุแห่งชาติเรื่องสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม สภากาชาดสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ

- เอกสารก่อน พ.. 2457 - ก่อนการจัดตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในระยะนี้ยังไม่มีการประกาศกฎหมายจัดตั้งสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามหรือสภากาชาดสยาม และยังไม่มีสถานที่ตั้งทำการถาวร การดำเนินการของสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามหรือสภากาชาดสยาม เป็นเรื่องของรัฐและภายในราชสำนัก เอกสารในระยะนี้จึงเป็นเอกสารของกระทรวงต่าง ๆ เช่น กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงนครบาล เสนาบดีสภา พระราชหัตถเลขาและอื่น ๆ โดยพบว่าเอกสารสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามสมัยรัชกาลที่ 5 เกือบทั้งหมด จัดเก็บไว้ในหมวดเอกสารกระทรวงต่างประเทศ หมวดกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงนครบาล รองลงมาตามลำดับ ส่วนเอกสารสภากาชาดสยาม สมัยรัชกาลที่ 6 จัดเก็บไว้ในหมวดเบ็ดเตล็ดมากที่สุด รองลงมาอยู่ในหมวดกระทรวงต่างประเทศ

- เอกสารหลัง พ.. 2457 - หลังการจัดตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในระยะนี้เป็นการฟื้นฟูกิจการสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามขึ้นใหม่ และเปลี่ยนชื่อเป็นสภากาชาดสยาม เริ่มจากการจัดสร้างสถานที่ตั้งทำการถาวร คือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดสยาม ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.. 2457 สภากาชาดสยามจึงใช้ตึกอำนวยการของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นที่ทำการในระยะแรก เอกสารโต้ตอบของสภากาชาดสยามจึงย้ายมาเก็บไว้ที่นี่ ปัจจุบันคือ เอกสารจดหมายเหตุของสภากาชาดไทย

ในส่วนการดำเนินการระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสภากาชาดสยาม ยังคงเป็นการดำเนินการของรัฐบาลสยามกับรัฐบาลต่างประเทศ รวมทั้งเรื่องกฎหมายสนธิสัญญาระหว่างประเทศ อนุสัญญาต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม พบว่า หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.. 2475 แล้ว ความเชื่อมโยงระหว่างรัฐบาลและสภากาชาดไทยลดลงมาก และรัฐบาลคณะราษฎรขาดความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างอนุสัญญาเจนีวา อนุสัญญากรุงเฮก รัฐบาลไทย รัฐบาลสวิส สภากาชาดไทย คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ขบวนการกาชาด และสันนิบาตกาชาด (ปัจจุบันคือ สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ)

ระหว่าง พ.. 2475 - 2495 รัฐบาลคณะราษฎรไม่ทราบข้อมูลความเป็นมาของสภากาชาดไทยที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ เพราะเอกสารราชการต้นเรื่องสภากาชาดไทยเป็นเอกสารรัฐบาลสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ 7 ที่เก็บเป็นเอกสารปกปิดจนถึง พ.. 2495 จึงนำไปมอบให้เป็นเอกสารจดหมายเหตุของกรมศิลปากร

 

144 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

144_แผนผังโครงสร้างสภากาชาดสยาม พ.ศ. 2463

แผนผังโครงสร้างสภากาชาดสยาม พ.. 2463 ถอดแบบจากแผนผังเดิม

(นายแพทย์กวิรัช ตันติวงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ค้นพบแผนผังเดิมจากห้องใต้หลังคาของตึกอำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พ.. 2561)

 

145  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

สภากาชาดสยาม

THE RED CROSS SOCIETY OF SIAM

พระบรมราชูปถัมภก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สภานายิกา สมเด็จพระมาตุฉาเจ้า สว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี

อุปนายกผู้อำนวยการ จอมพล สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต

กรรมการเจ้าน่าที่ ในกองบัญชาการ

กรรมการที่ปฤกษา ที่อยู่ 20 ท่าน

อุปนายกผู้อำนวยการ (ประธานกรรมการ) กรรมการเจ้าน่าที่โดยตำแหน่ง

เลขาธิการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ผู้ช่วยเลขาธิการ ผู้อำนวยการสถานเสาวภา (กองวิทยาศาสตร์)

เหรัญญิก ผู้อำนวยการกองสุขาภิบาล

ผู้ช่วยเหรัญญิก ผู้อำนวยการกองบันเทาทุกข์

สภากาชาดสยามมี 4 กองแยก

1. กองพยาบาล 2. กองวิทยาศาสตร์ 3. กองสุขาภิบาล และ 4. กองบรรเทาทุกข์

1. กองพยาบาล ประกอบด้วย โรงพยาบาลสาขาหัวเมือง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงเลี้ยงเด็ก

1.1 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แบ่งเป็น 5 แผนก ได้แก่ 1) แผนกตรวจโรค : กองรับตรวจ กองตรวจทางยา กองตรวจทางผ่าตัด กองตรวจพิเศษ 2) แผนกพยาบาล : กองนางพยาบาล กองบุรุษพยาบาล 3) แผนกผ่าตัด : กองประจำห้องผ่าตัด กองประจำห้องแสงรอนต์เกน กองประจำห้องแสงรัศมี 4) แผนกพยาธิ : กองตรวจบัคเตรี่ กองตรวจศพ กองสุขาภิบาล 5) แผนกคลังยา : กองคลังเวชพัศดุ กองผสมยา กองแยกธาตุ

2. กองวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย

2.1 สถานปาสเตอร์ ก) แผนกมนุษย์ : กองทำยาป้องกันโรคกลัวน้ำ กองทำพันธุ์หนองฝี กองทำยาปลูกป้องกันโรค กองทำยาฉีดป้องกันโรค กองตรวจบัคเตรี่ กองตรวจค้น กองตรวจบัคเตรี่หัวเมือง ข) แผนกสัตว์ : กองทำยาปลูกป้องกันโรค กองทำยาฉีดป้องกันโรค กองตรวจบัคเตรี่ กองตรวจค้น กองตรวจบัคเตรี่หัวเมือง ค) แผนกชีวิต : กองประมาณศาสตร์ กองพฤกษ์ศาสตร์ กองสัตว์ศาสตร์ กองอากาศศาสตร์ กองชาติ์ศาสตร์ 2.2 โรงเรียนบัคเตรี่ แบ่งเป็นชั้นบัคเตรี่วิทยา ชั้นพาราสิตวิทยา ชั้นอิปิเดบิกวิทยา

3. กองสุขาภิบาล ประกอบด้วย

3.1 แผนกกำจัดพยาธิ์ปากขอ : กองกำจัดพยาธิ์ปากขอ กองจัดการสุขาภิบาล 3.2 โรงพยาบาลโรคเรื้อน 3.3 แผนกสำรวจโรคพยาธิ์ปากขอ

4. กองบรรเทาทุกข์ ประกอบด้วย

4.1 แผนกฝึกหัดเจ้าหน้าที่ : โรงเรียนนางพยาบาล โรงเรียนบุรุษพยาบาล 4.2 แผนกบรรเทาทุกข์ในยามสงบศึก : หมวดพยาบาล หมวดยานพาหนะ หมวดพยาบาลหนุน 4.3 แผนกบรรเทาทุกข์ในเวลาสงคราม : กองพยาบาล กองยานพาหนะ กองพยาบาลหนุน    

 

146   ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

2. เอกสารจดหมายเหตุสภากาชาดไทย

การสืบค้นเอกสารในหมวดนี้ พบว่าส่วนใหญ่เป็นเอกสารดำเนินการ จึงนำมาใช้น้อยที่สุด

3. เอกสารจดหมายเหตุของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สำนักงานใหญ่ และเอกสารองค์การสหประชาชาติ สำนักงานใหญ่ ณ นครเจนีวา

เอกสารชุดนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สำนักภูมิภาคกรุงเทพฯ สนับสนุนค่าใช้จ่ายและการดูงานที่ทำการคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สำนักงานใหญ่ นครเจนีวา รวมทั้งประสานให้ไปดูงานที่ห้องสมุดและเอกสารจดหมายเหตุขององค์การสหประชาชาติ สำนักงานใหญ่ ในอาคารพระราชวังประชาชาติ (Palais des Nations) ระหว่างวันที่ 4 - 8 ธันวาคม พ.. 2561

การมาเยือนในครั้งนี้ พบเอกสารจดหมายเหตุสำคัญระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสวิส และคำอธิบายชี้แจงพร้อมหลักฐานต่าง ๆ จากเจ้าหน้าที่จดหมายเหตุของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สำนักงานใหญ่ เช่น Brigitte Troyon - Head of Division Archrives and Information Management, Guy Thomas - Head of Library and Public Archrive Unit, Stephane J. Hannkins - Legal Adviser Cooperation and Coordination within Movement, Fabrizio Bensi - Archiviste, Collin Wells, Pro Manager Total Digital Access to the League of Nation Archrive Projects, United Nation Library at Geneva ช่วยให้เข้าใจ และเชื่อมโยงเรื่องราวต่าง ๆ ได้สมบูรณ์ขึ้น

กำเนิดคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สภากาชาดไทย

และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

จากประมวลเอกสารต่าง ๆ สามารถลำดับเหตุการณ์ที่มาของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สภากาชาดไทย ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องตามลำดับ ดังนี้

(1) ประวัติศาสตร์โลกยุคใหม่ ค.. 1453 - .. 1945, .. 1996 - .. 2488

ประวัติศาสตร์โลกแบ่งออกเป็น 2 ยุคสำคัญ คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และยุคประวัติศาสตร์ โดยยุคประวัติศาสตร์แบ่งเป็น 4 ยุคสำคัญ คือ 1. ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ (Ancient History) 2. ประวัติศาสตร์สมัยกลาง (Medieval History) 3. ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (Modern History) .. 1996 - .. 2488 สิ้นสุดเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2

ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ระหว่าง ค.. 1453 - 1945 (.. 1996 - 2488) เริ่มต้นขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในปี ค.. 1453 (.. 1996) และจบลงหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.. 1945 (.. 2488) เหตุการณ์สำคัญของประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่ ล้วนเกิดขึ้นในทวีปยุโรปเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการจัดระเบียบของโลก เพื่อสร้างกลไกป้องกันและระงับสงคราม จึงกำเนิดกลไกระหว่างประเทศ ได้แก่ สนธิสัญญาต่าง ๆ ศาลโลก และองค์กรระหว่างประเทศที่สำคัญ เช่น คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ องค์การสันนิบาตชาติ

 

147  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

องค์การสหประชาชาติ หลังจากนี้โลกจึงเข้าสู่ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบันหรือสมัยโลกาภิวัตน์ ซึ่งเกิดเป็นสงครามเย็นต่อมา และยุติเปลี่ยนเป็นสงครามการค้าและสงครามในรูปแบบอื่น ๆ

ในช่วงเวลาของประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่ ค.. 1453 ถึง ค.. 1945 ถือว่าเป็นยุคแห่งสงคราม ในช่วงแรก คือ ช่วงก่อนจัดทำอนุสัญญากรุงเฮก ค.. 1899 (.. 2442) มีสงครามในยุโรประหว่างจักรวรรดิต่าง ๆ ที่มีกษัตริย์ปกครองภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) มาโดยตลอดตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 ถึงศตวรรษที่ 19 เป็นสงครามที่ใช้อาวุธปืนแบบเก่า อานุภาพต่ำ การปฏิวัติรบพุ่งภายในประเทศตนเอง สงครามประกาศอิสรภาพ (Wars of Independence) เพื่อให้ประเทศตนเองพ้นจากการปกครองของจักรวรรดิ โดยสงครามสำคัญที่มีผลเปลี่ยนแปลงเกือบทุกด้านของประเทศฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศยุโรป คือ สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส ระหว่าง ค.. 1792 - 1802 เพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบกษัตริย์ปกครองเป็นระบบการปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดี โดยประธานาธิบดีใช้อำนาจบริหารร่วมกับนายกรัฐมนตรี สงครามปฏิวัติฝรั่งเศสถือเป็น จุดเริ่มต้นของสงครามสมัยใหม่ที่มีการใช้อาวุธรุ่นใหม่ที่อำนาจการทำลายล้างระดับสูง

เมื่อประเทศต่าง ๆ ในยุโรปได้สะสมกำลังอาวุธแบบใหม่ที่มีอำนาจทำลายล้างมากกว่าอาวุธแบบเก่าที่เคยใช้ในสงครามจักรวรรดิ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียจึงริเริ่มให้จัดทำอนุสัญญากรุงเฮก ค.. 1899 (.. 2442) ชะลอการเกิดสงคราม สามารถระงับไว้ได้ระยะหนึ่ง แต่ในที่สุดความขัดแย้งก็ปะทุ กลไกอนุสัญญากรุงเฮกไม่สามารถยับยั้งได้ จึงเกิดมหาสงครามโลกขึ้น คือ สงครามโลกครั้งที่ 1 ค.. 1914 (.. 2457) และสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.. 1939 (.. 2482) เกิดการทำลายล้างมนุษยชาติที่ใหญ่หลวง ผู้คนล้มตายหลายสิบล้านคน กลไกการจัดระเบียบโลกสมัยใหม่ เหลือเพียงกลไกเดียวที่ยังคงทำงานได้ในระหว่างสงคราม คือ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ซึ่งได้ช่วยเหลือมนุษยชาติไว้หลายสิบล้านคน จึงได้รับการยกย่องและได้รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ทั้ง 2 ครั้ง

สงครามจำนวนมากในยุโรปที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่ ทำให้ชาวยุโรปพยายามสร้างกลไกสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ป้องกันการเกิดสงคราม ควบคุมรูปแบบการทำสงครามไม่ให้ร้ายแรงต่อมนุษยชาติ ทุเลาผลของสงครามต่อมนุษยชาติ แนวคิดการใช้กฎหมายป้องกันหรือควบคุมวิธีทำสงครามเพื่อสันติภาพมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ในปี ค.. 1863 จึงกำเนิดองค์กรระหว่างประเทศองค์กรแรกในประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่ คือ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และเป็นแนวทางให้มีการจัดตั้งศาลโลกทั้ง 3 ศาล องค์การสันนิบาตชาติ และองค์กรสหประชาชาติตามมา

ประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่อาจแบ่งได้ 2 ช่วง คือ

ช่วงแรก ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1

ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ย้อนขึ้นไปถึงราวอยุธยาตอนปลายหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นระยะที่เกิดสงครามการรบของจักรวรรดิต่าง ๆ ในยุโรป รวมทั้งการปฏิวัติรบพุ่งภายในประเทศตนเอง สงครามอิสรภาพจากระบบปกครองประเทศแบบเก่า ในช่วงแรกนี้เกิดกลไกระหว่างประเทศที่สำคัญ 2 กลไก คือ

 

148  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

1) คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ The International Committee of the Red Cross (ICRC) ในปี ค.. 1863 ณ นครเจนีวา ผู้ริเริ่มคือ นายอังรี ดูนังต์

2) ศาลโลกศาลที่ 1 - ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร - The Permanent Court of Arbitration ในปี ค.. 1863 ณ กรุงเฮก ผู้ริเริ่มคือ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย การจัดตั้งศาลเกิดจากอำนาจกฎหมายระหว่างประเทศของอนุสัญญากรุงเฮก ค.. 1899 ฉบับที่ 1 “Convention for the Pacific Settlement of Inter National Disputes” ปัจจุบันยังคงมีอยู่

ช่วงที่สอง สงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2

ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 จนถึงรัชกาลที่ 8 ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปได้สะสมกำลังอาวุธแบบใหม่ที่มีอำนาจทำลายล้างมากกว่าอาวุธแบบเก่าที่ใช้ในสงครามขยายจักรวรรดิ มหาสงครามที่เกิดขึ้นคือ สงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกแต่ละครั้ง จะเกิดกลไกระหว่างประเทศเพื่อสันติภาพหรือกลไกต่อต้านการเกิดสงครามที่สำคัญ 4 กลไก คือ

สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการจัดตั้ง

1) องค์การสันนิบาตชาติ League of Nations ผู้ริเริ่มคือ ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา จัดตั้ง 10 มกราคม พ.. 2463 เลิกกิจการ 20 เมษายน พ.. 2489

2) ศาลโลกศาลที่ 2 - ศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศ The Permanent Court ofInternational Justice - PCIJ เกิดจากอำนาจกฎหมายระหว่างประเทศ Article 14 of the Covenant of the League of Nations จัดตั้ง 30 มกราคม พ.. 2465 เลิกกิจการ 31 มกราคม พ.. 2489

สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการจัดตั้ง

1) องค์การสหประชาชาติ United Nations ผู้ริเริ่มคือ ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกา และนายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์ แห่งอังกฤษ

2) ศาลโลกศาลที่ 3 - ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ The International Court of Justice (ICJ) เกิดจากอำนาจกฎหมายระหว่างประเทศ Article 33 of the United Nations Charter จัดตั้งแทนที่ศาลโลกศาลที่ 2 ศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศซึ่งยกเลิกไปพร้อมกับองค์การสันนิบาตชาติ ผู้พิพากษาศาลโลกศาลที่ 2 - ศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศ ลาออกทั้งหมดพร้อมวันที่ 31 มกราคม พ.. 2489 เพื่อเลิกศาลนี้ และแทนที่ด้วยศาลโลกศาลที่ 3 เริ่มรับผู้พิพากษาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.. 2489

(2) สนธิสัญญาระหว่างประเทศในประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่

การจัดทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศมีมาตั้งแต่สมัยโรมัน สนธิสัญญาโบราณเป็นสนธิสัญญาแบบทวิภาคี Bilateral Treaty คือ ข้อตกลงระหว่าง 2 ประเทศ ส่วนการจัดทำอนุสัญญาเจนีวา ในปี ค.. 1864 เป็นอนุสัญญาแบบทวิภาคี Bilateral Treaty เช่นกัน แต่มี

 

149  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ข้อแตกต่างกับสนธิสัญญาโบราณทั่วไปที่มีเพียงคู่สัญญา 2 ประเทศเท่านั้น แต่อนุสัญญาเจนีวามีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมเป็นคู่สัญญากับรัฐบาลสวิสจำนวนมาก แต่ละประเทศจะต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาเจนีวากับประเทศสวิส แยกเป็นแต่ละประเทศ ต่อมาเมื่อมีการจัดทำอนุสัญญากรุงเฮก ค.. 1899 จึงคิดวิธีใหม่คือทำเป็นอนุสัญญาพหุภาคี Multilateral Treaty เป็นครั้งแรกของโลก ที่ทุกประเทศร่วมลงนามในอนุสัญญาฉบับเดียวกันพร้อมกัน จึงเกิดความสะดวกขึ้นมากและกลายเป็นมาตรฐานของการให้สัตยาบันสนธิสัญญาแบบพหุภาคี Multilateral Treaty ในปัจจุบัน

สนธิสัญญา (Treaty) หมายถึง ข้อตกลงภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศที่ทำขึ้นระหว่างรัฐอธิปไตยหรือองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ สนธิสัญญาอาจมีชื่อต่าง ๆ ดังนี้ 1. ความตกลง (International) Agreement 2. โปรโตคอล Protocol 3. พันธสัญญา Covenant 4. อนุสัญญาConvention 5. ข้อตกลง Pact 6. การแลกเปลี่ยนตัวอักษร Exchange of Letters 7. ปฏิญญาหรือคำปฏิญาณ Declaration หรือ 8. ข้อกำหนดอื่น ๆ แม้ว่าสนธิสัญญาจะเรียกชื่อหรือใช้ศัพท์นิยามแตกต่างกัน แต่ถือว่ามีฐานะเท่าเทียมกันและมีกฎระเบียบก็เหมือนกัน

(3) แนวคิดสงบศึกรักษาสันติภาพ ในประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่

คำว่า สันติภาพ (Peace) หมายถึง การสงบศึก หรือการต่อต้านการเกิดสงคราม (Anti - War) เนื่องจากเกิดสงครามขึ้นมากมายในทวีปยุโรปในช่วงเวลาของประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่ สร้างความทุกข์ทรมานเดือดร้อนแก่ชาวยุโรปอย่างมาก ชาวยุโรปจึงต้องการสันติภาพ มีนักกฎหมายพยายามเสนอแนวคิดเพื่อใช้กลไกกฎหมายคุ้มครองมนุษยชาติเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian) ในยามสงครามที่เรียกว่า Law Protect in War กลไกไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศเพื่อป้องสงครามที่เรียกว่า Arbitration ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า อนุญาโตตุลาการ เป็นต้น

ลำดับการเสนอแนวคิดกฎหมายเพื่อสันติภาพ (Peace) และมนุษยธรรม (Humanitarian)แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้

1) ช่วงที่ 1 ก่อนอนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 ค.. 1864

2) ช่วงที่ 2 อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 ค.. 1864

3) ช่วงที่ 3 หลังอนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 ค.. 1864

ช่วงที่ 1 ก่อนอนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 ค.. 1864

.. 1625 - หนังสือ De Jure Belli ac Pacis (On the Law of War and Peace)

ในปี ค.. 1625 (.. 2168) Hugo Grotius นักกฎหมายระหว่างประเทศชาวยิวในเนเธอร์แลนด์ได้เขียนหนังสือกฎหมายว่าด้วยสงครามและสันติภาพเผยแพร่ ชื่อว่า “De Jure Belli ac Pacis (On the Law of War and Peace)” เป็นการนำเสนอแนวคิดการควบคุมสงครามด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมสงคราม ทำให้เกิดสันติภาพ แรงบันดาลใจที่ทำให้ Hugo Grotius เขียนหนังสือกฎหมายว่าด้วยสงครามและสันติภาพเป็นเพราะต้องตกอยู่ในยุคสงครามระหว่างสเปนกับเนเธอร์แลนด์ยาวนานถึง 80 ปี และสงครามศาสนาระหว่างประเทศคาทอลิกกับประเทศโปรเตสแตนต์ในทวีปยุโรปยาวนานถึง 30 ปี De Jure Belli ac Pacis (On

 

150  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

the Law of War and Peace) โดย Hugo Grotius ได้รับการยอมรับว่าเป็นจุดกำเนิดแห่งแรกของกฎหมายระหว่างประเทศ ว่าด้วยสงครามและสันติภาพของโลก และกรุงเฮกจึงเป็นที่ตั้งของศาลโลก

.. 1795 - หนังสือ Perpetual Peace: A Philosophical Sketch, Immanuel Kant

ในปี ค.. 1795 (.. 2338 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1) อิมมานูเอล คานต์ นักปรัชญาชาวเยอรมัน เขียนหนังสือเผยแพร่เล่มหนึ่งชื่อว่า Perpetual Peace: A Philosophical Sketch เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรที่จะไกล่เกลี่ยของพิพาทและรักษาสันติภาพระหว่างประเทศ โดยเขาย้ำว่าแนวทางนี้ไม่ใช่การให้มีรัฐบาลปกครองโลก แต่ให้รัฐบาลของแต่ละประเทศเคารพพลเมืองของตน และต้อนรับชาวต่างประเทศในลักษณะที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน สันติภาพระหว่างประเทศก็จะเกิดขึ้น แนวคิดนี้ประสบความสำเร็จครั้งแรก คือ การจัดตั้งองค์การสันนิบาตชาติ และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นองค์การสหประชาชาติ

.. 1856 - ปฏิญญา Declaration Respecting Maritime Law, Paris

เป็นปฏิญญาระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสหลังสิ้นสุดสงครามไครเมีย (The Crimean War) จัดทำขึ้น ณ กรุงปารีส วันที่ 16 เมษายน ค.. 1856 (.. 2399) ว่าจะไม่ยึดสินค้าของศัตรูบนเรือที่เป็นกลาง และสินค้าที่เป็นกลางในเรือของศัตรู ถือเป็นการริเริ่มจัดทำกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับการควบคุมวิธีทำสงครามครั้งแรก

.. 1862 - หนังสือความทรงจำแห่ง Solferino: Book of A Memory of Solferino by Henry Dunant published in 1862

Henry Dunant อังรี ดูนังต์ ได้เขียนหนังสือความทรงจำแห่ง Solferino ตีพิมพ์ในปี ค.. 1862 (.. 2405) เผยแพร่ทั่วยุโรปเพื่ออธิบายความทุกข์ทรมานของทหารที่ได้รับบาดเจ็บและถูกทอดทิ้งในพื้นที่สู้รบจำนวนกว่าสองหมื่นคนที่เขาได้ไปพบหลังสิ้นสุดการสู้รบ ระหว่างจักรวรรดิฝรั่งเศสและจักรวรรดิออสเตรียที่เมือง Solferino ประเทศอิตาลี

การสู้รบที่ Solferino นับเป็นการรบครั้งใหญ่ที่สุดครั้งสุดท้ายของยุโรปที่บัญชาการโดยระบบกษัตริย์ ในปี ค.. 1859 มีทหารเข้าร่วมรบราว 300,000 นาย และฝรั่งเศสเป็นฝ่ายชนะ การต่อสู้ครั้งนี้มีความโหดร้ายและยาวนานกว่า 9 ชั่วโมง ส่งผลให้กองทัพออสเตรียเสียชีวิตกว่า 2,386 ราย บาดเจ็บ 10,807 ราย อีก 8,638 ราย สูญหายหรือถูกจับกุม ส่วนกองทัพพันธมิตรออสเตรียเสียชีวิต 2,492 ราย บาดเจ็บ 12,512 ราย สูญหายหรือถูกจับกุมจำนวน 2,922 ราย รายงานของทหารบาดเจ็บและตาย ที่ถูกยิงหรือถูกดาบปลายปืนทั้งสองฝ่ายยิ่งเพิ่มความน่ากลัวของสงคราม

ในหนังสือความทรงจำแห่ง Solferino เล่มนี้ ดูนังต์อธิบายถึงการสู้รบอันโหดร้าย ความทุกข์ทรมานของทหารบาดเจ็บที่ถูกทอดทิ้งในสนามรบโดยปราศจากมนุษยธรรม การให้ความช่วยเหลือพยาบาลทหารในสนามรบ และตั้งคำถามแก่ผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ทั่วทั้งยุโรปว่า :

- จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า ในช่วงเวลาที่สงบสันติปราศจากสงคราม เราควรจะจัดตั้งสมาคมสงเคราะห์ขึ้น เพื่อจุดประสงค์ในการดูแลผู้บาดเจ็บ

 

151  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ในยามสงครามโดยอาสาสมัครที่กระตือรือร้นทุ่มเทและมีคุณสมบัติครบถ้วน

- น่าจะจัดทำกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อลงโทษผู้ละเมิดอนุสัญญา ซึ่งใช้จัดตั้งสมาคมช่วยเหลือทหารบาดเจ็บในสงครามยุโรป

หนังสือความทรงจำแห่ง Solferino ได้กระตุ้นให้เกิดการอภิปรายทั่วยุโรป และสร้างแรงบันดาลใจจากความทุกข์ทรมานอันน่ากลัวของทหารบาดเจ็บที่ถูกทิ้งไว้ในสนามรบ นำไปสู่การจัดทำอนุสัญญาเจนีวา ที่ต่อมาพัฒนาเป็นกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในปัจจุบัน สงครามสู้รบที่ Solferino ครั้งนี้จึงส่งผลให้เกิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศของโลก และส่งผลให้มีการควบคุมจำกัดรูปแบบวิธีการทำสงครามทุกประเภทที่สร้างความทุกข์ทรมานแก่มนุษยชาติบนโลกไม่ให้ไร้มนุษยธรรมเกินกว่าจะยอมรับได้

.. 1863 กฎหมาย Lieber Code สหรัฐอเมริกา : Instructions for the Government of Armies of the United States in the Field 24 April 1863

“Lieber Code” ถือเป็นกฎหมายเกี่ยวกับสงครามที่มีความสมบูรณ์ฉบับแรกของโลก เป็นกฎหมายภายในของประเทศสหรัฐอเมริกา ประกาศรับรองโดยประธานาธิบดีลินคอล์นแห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อสงบศึกสงครามกลางเมืองของประเทศสหรัฐอเมริการะหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ ผู้ร่างกฎหมายคือ ศาสตราจารย์ Francis Lieber แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในนิวยอร์ก

แม้ว่ากฎหมาย “Lieber Code” นี้จะมีผลเฉพาะภายในสหรัฐอเมริกา แต่ก็สอดคล้องสถานการณ์สงครามที่มีอยู่ในทวีปยุโรปเวลานั้น จึงเป็นแบบอย่างในการสร้างแรงบันดาลใจให้ประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ร่วมกันริเริ่มเสนอโครงการจัดทำอนุสัญญาระหว่างประเทศ นำเสนอต่อที่ประชุมบรัสเซลส์ในปี ค.. 1874 (.. 2417) นำไปสู่การจัดทำอนุสัญญากรุงเฮก ค.. 1899 (.. 2442) เพื่อควบคุมรูปแบบวิธีการทำสงครามและกลไกไกล่เกลี่ยระหว่างประเทศ ป้องกันสงครามด้วยการจัดตั้งศาลโลกศาลที่ 1 คือ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (Permanent Court of Arbitration) ซึ่งช่วยชะลอการเกิดสงครามใหญ่ในยุโรปไปได้ระยะหนึ่ง

ช่วงที่ 2 อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 ค.. 1864 (.. 2407)

.. 1863 แต่งตั้งคณะกรรมการทั้งห้า : “Committee of Five” กำเนิดคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ

Gustave Moynier คือผู้ทรงอิทธิพลในประเทศสวิส เป็นนักกฎหมายระหว่างประเทศระดับปริญญาเอกจากฝรั่งเศส มาจากตระกูลพ่อค้าและนายธนาคารเจนีวาที่ร่ำรวยและมั่นคง เป็นผู้สนใจในงานช่วยเหลือการกุศลสาธารณะมาแต่เดิม และเป็นประธานสมาคมสวัสดิการสังคมเจนีวา (The Geneva Society for Public Welfare) ตั้งแต่ปี ค.. 1859 ในปี ค.. 1862 อังรี ดูนังต์ ได้มอบหนังสือความทรงจำแห่ง Solferino ให้แก่ Gustave Moynier จึงสร้างแรงบันดาลใจให้กับ Gustave Moynier อย่างมาก

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.. 1863 Gustave Moynier ในฐานะประธานแห่ง The Geneva Society for Public Welfare ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการทั้งห้า “Committee of Five” แนวคิดแรกคือการรวบรวมอาสาสมัครพยาบาลที่เป็นผู้ชายเข้าช่วยเหลือ

 

152  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ทหารบาดเจ็บในสนามรบ (Recruiting Voluntary Male Nurses to Serve the Armed Forces in the Field) อีก 8 วันต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการบรรเทาทุกข์ระหว่างการต่อสู้เพื่อผู้บาดเจ็บ (International Committee for Relief to the Wounded หรือ International Relief Committee for Injured Combatants) ซึ่งมีฐานะเป็นองค์กรเอกชน ในปี ค.. 1864 รัฐบาลสวิสยอมรับเป็นผู้รับสัญญา หรือผู้รักษาอนุสัญญา (Depositary) ของอนุสัญญาเจนีวา คณะกรรมการจึงเปลี่ยนไปเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐบาลสวิส และใน ค.. 1875 เปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ International Committee of the Red Cross - ICRC” ตามผลการประชุม 29 ตุลาคม ค.. 1863 (.. 2406) มาจนถึงปัจจุบัน

คณะกรรมการทั้งห้า “Committee of Five”

1) Gustave Moynier, Lawyer

2) Henry Dunant, Swiss Businessman

3) Guillaume-Henri Dufour, a Swiss Army General of Great Renown

4) Louis Appia, Physician Who Had Significant Experience Working As a Field Surgeon

5) Théodore Maunoir (Appia’s Friend and Colleague), from the Geneva Hygiene and Health Commission

ในปี ค.. 1867 อังรี ดูนังต์ ถูกประกาศให้เป็นผู้ล้มละลาย เนื่องจากธุรกิจในแอลจีเรียล้มเหลว เพราะไม่ได้ดูแลธุรกิจในระหว่างการทำงานให้กับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และเขาเกิดข้อขัดแย้งด้านแนวคิดการทำงานกับ Gustave Moynier จึงได้ออกจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศไปตั้งแต่ปี ค.. 1867 (.. 2410) อีกทั้งปัญหาล้มละลายที่เป็นคดีความส่งผลให้ดูนังต์จำเป็นต้องย้ายออกจากจากนครเจนีวาและไม่ได้กลับไปอีกเลย

.. 2444 คณะกรรมการโนเบลแห่งนอร์เวย์ตัดสินมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพให้กับอังรี ดูนังต์ ร่วมกับ Frèdèric Passy นับเป็นเกียรติยศอันสูงสุดของเขาที่ให้โลกได้รับรู้ว่าเขาคือจุดกำเนิดของกาชาด อีก 9 ปีต่อมา อังรี ดูนังต์ ได้ถึงแก่อสัญกรรมในรีสอร์ทสุขภาพเล็ก ๆในเมือง Heiden ของสวิส ส่วน Gustave Moynier ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ผู้ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์และเป็นผู้วางรากฐานองค์กรกาชาดของโลกถึงแก่กรรมก่อนหน้าอังรีดูนังต์เพียง 2 เดือน

.. 1864 ผลการประชุมเจนีวา ครั้งที่ 1 : Resolutions of the Geneva Inter-national Conference. Geneva, 26 - 29 October 1863

คณะกรรมการทั้งห้า “Committee of Five” ได้จัดประชุมครั้งแรกที่นครเจนีวา The Geneva International Conference ระหว่างวันที่ 26 - 29 ตุลาคม ค.. 1863 (.. 2406)มีตัวแทนจาก 16 ประเทศ 4 สถาบันการกุศลเข้าร่วมประชุม ที่ประชุมมีมติรับรองแนวคิดของอังรี ดูนังต์ และคณะกรรมการทั้งห้าว่า จะควรจัดตั้งเป็นคณะกรรมการระดับชาติ (The Creationof National Committees) และมีข้อตกลงว่าจะใช้สัญลักษณ์กากบาทสีแดงบนพื้นสีขาว A Red Cross on a White Ground” ของบุคลากรทางการแพทย์ และเสนอให้รัฐบาล

 

153  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ของแต่ละประเทศอุปถัมภ์คณะกรรมการบรรเทาทุกข์ - Relief Committees ซึ่งหมายถึงสภากาชาดของแต่ละประเทศ รวมทั้งแพทย์และโรงพยาบาลทหาร

กำเนิดเครื่องหมายกาชาดกากบาทแดงบนพื้นสีขาว

154  ธงชาติสวิส

ธงชาติสวิส คือ ธงไม้กางเขนสีขาว ลักษณะและพื้นหลังสีแดง ไม้กางเขนสีขาวยื่นไปไม่ถึงขอบธง มีต้นกำเนิดในประวัติศาสตร์ยุโรปยุคกลาง ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของ Old Swiss Confederacy ในราวปลายศตวรรษที่ 13 หรือต้นศตวรรษที่ 14 ยุคจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ สัญลักษณ์ไม้กางเขนสีขาวนำมาจากศาสนาคริสต์ในยุคกลางของยุโรป

ตอนปลายหลังสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.. 1830 นักการเมืองฝ่ายเสรีนิยมในประเทศสวิสเรียกร้องให้สมาพันธรัฐสวิสรวมตัวให้เป็นเอกภาพ รวมถึงธงสัญลักษณ์ของประเทศสวิสและเครื่องแบบทหารสวิส จนได้ข้อยุติในปี ค.. 1840 ธงกางเขนสวิสถูกนำเสนอต่อกองทัพสวิส นายพล Guillaume-Henri Dufour เป็นผู้สนับสนุนสำคัญ และประกาศเป็นธงประจำชาติสวิสโดยรัฐธรรมนูญแห่งสมาพันธรัฐสวิสในปี ค.. 1848

1542   ธงกาชาด กากบาทแดงบนพื้นสีขาว

ธงกาชาด กากบาทแดงบนพื้นสีขาว กากบาทสีแดงอยู่ตรงกลาง ไม่ยาวถึงขอบธง สร้างขึ้นในปี ค.. 1864 เมื่อนายพล Guillaume-Henri Dufour จากคณะกรรมการทั้งห้าได้เสนอ การพลิกกลับของธงสวิส คือ กากบาทสีแดงบนพื้นสีขาว ให้เป็นสัญลักษณ์กาชาด เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ในสงครามต้องสวมปลอกแขนสีขาวที่มีกากบาทสีแดงตามอนุสัญญาเจนีวา จึงถือว่าไม่ได้นำมาจากสัญลักษณ์ไม้กางเขนของศาสนาคริสต์

1543  ธงกาชาด เสี้ยววงเดือนแดงบนพื้นสีขาว

ต่อมาในปี ค.. 1876 - 1878 สงครามความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิออตโตมัน (ตุรกี) และจักรวรรดิรัสเซีย อาณาจักรออตโตมันประกาศใช้เครื่องหมายเสี้ยววงเดือนแดงแทนกากบาทแดงบนพื้นสีขาว เป็นการพลิกกลับของธงชาติของจักรวรรดิออตโตมัน (ตุรกี)

 

154  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

.. 1864 - อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 : Convention for the Amelioration of the Condition of the Wounded in Armies in the Field. Geneva, 22 August 1864

หลังจากการประชุม The Geneva International Conference ระหว่างวันที่ 26 - 29 ตุลาคม ค.. 1863 (.. 2406) ประสบความสำเร็จ รัฐบาลสวิสได้เชิญรัฐบาลของประเทศยุโรปต่าง ๆ และอเมริกา รวมทั้งหมด 16 ประเทศเข้าร่วมการประชุมทางการทูต เพื่อจุดประสงค์ในการรับรองอนุสัญญาว่าด้วยสภาพของผู้บาดเจ็บในสงคราม ระหว่างวันที่ 8 - 22 สิงหาคม ค.. 1864 จัดทำเป็นอนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 สำเร็จเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.. 1864 หลักการสำคัญของอนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 มีดังนี้

- บรรเทาผู้บาดเจ็บโดยไม่แยกความแตกต่างด้านสัญชาติ

- บุคลากรทางการแพทย์และสถานประกอบการและหน่วยแพทย์จะต้องมีความเป็นกลาง

- ใช้สัญลักษณ์ที่โดดเด่นเห็นได้ชัดเจนในสนามรบ คือ กากบาทสีแดงบนพื้นสีขาว

อนุสัญญาเจนีวาเป็นอนุสัญญาทวิภาคีระหว่าง 2 ประเทศ ได้แก่ ประเทศต่าง ๆ กับประเทศสวิส รัฐบาลของประเทศสวิสเป็นผู้รับฝากสัญญา (Depositary State) มีหน้าที่ดำเนินการขับเคลื่อนอนุสัญญาประเทศภาคีสมาชิกผู้ให้สัตยาบัน (Ratifying State) มีหน้าที่ปฏิบัติตามอนุสัญญา ประเทศผู้เข้าร่วมในอนุสัญญาเจนีวาโดยวิธีลงนามและให้สัตยาบัน (Signed + Ratified) คือประเทศผู้ร่วมประชุมในปี ค.. 1864 ประเทศผู้เข้าร่วมในอนุสัญญาเจนีวาโดยวิธี Accession คือประเทศผู้เข้าร่วมอนุสัญญาเจนีวาภายหลัง

ช่วงที่ 3 หลังอนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 ค.. 1864

.. 1872 - ข้อเสนอจัดตั้งศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ : A proposal for the creation of an International Arbitration Court

ในปี ค.. 1872 Gustave Moynier ได้เสนอข้อเสนอจัดตั้งศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ (A Proposal for the Creation of an International Arbitration Court) เพื่อลงโทษอาญาต่อผู้ฝ่าฝืนกระทำความผิดต่อมนุษยชาติในสงครามการสู้รบตามอนุสัญญาเจนีวา หลังจากเกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศส - เยอรมัน (The Franco - Prussian War) โดยข้อเสนอนี้ได้นำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ICRC - International Red Cross Committee และตีพิมพ์ในวารสารคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ International Review of the Red Cross ในปี ค.. 1872

Gustave Moynier พัฒนารูปแบบของข้อเสนอนี้จาก The Treaty of Washington [ข้อเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายจากอังกฤษจากการทำลายเรือของสหรัฐฯ โดยฝ่ายใต้ (Confederate Raider)] แต่รัฐบาลประเทศส่วนใหญ่มีความกังวลเรื่องอำนาจอธิปไตยของรัฐ จึงไม่ได้นำมาตรการนี้มาใช้

.. 1899 พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ทรงริเริ่มการจัดประชุมสันติภาพโลกครั้งแรกที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ (Hague Peace Conference 1899) นำไปสู่การจัดทำอนุสัญญากรุงเฮกและการจัดตั้งศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศศาลที่ 1 - ศาลอนุญา-โตตุลาการถาวร - The Permanent Court of Arbitration อย่างไรก็ตาม ศาลอนุญาโตตุลาการถาวรยังไม่มีการกำหนดโทษทางอาญาต่อผู้กระทำความผิดอนุสัญญาเจนีวา

 

155  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

หนึ่งร้อยปีให้หลังในปี ค.. 1989 (.. 2532) A. NR Robinson นายกรัฐมนตรีของตรินิแดดและโตเบโก A. NR Robinson ได้รื้อฟื้นแนวคิด A Proposal for the Creation of an International Arbitration Court ของ Gustave Moynier เพื่อจัดตั้งศาลอาญาถาวรระหว่างประเทศและนำเสนอในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ ณ กรุงโรม เมื่อเดือนมิถุนายน พ.. 2541 ต่อมาจึงประกาศสนธิสัญญาจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศขึ้น ชื่อว่าธรรมนูญกรุงโรมของศาลอาญาระหว่างประเทศ - The Rome Statute of the International Criminal Court” เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.. 2541 ได้รับการรับรองด้วยคะแนนเสียง 120 ต่อ 7 และธรรมนูญกรุงโรมได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.. 2545 ศาลอาญาระหว่างประเทศจึงได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ มีประเทศร่วมลงนามให้สัตยาบันจำนวน 123 ประเทศ (ประเทศไทยไม่ได้เข้าร่วม) นับเป็นศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศศาลสุดท้ายที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อตรวจสอบและดำเนินคดีกับบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมและการรุกรานต่อมนุษยชาติ

ศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นการบรรจบรวมกันระหว่างแนวคิดที่มาจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและการดำเนินการขององค์การสหประชาชาติทำให้กลไกกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองมนุษยชาติในยามสงครามมีความสมบูรณ์ แต่มีจุดอ่อนสำคัญคือ ประเทศมหาอำนาจของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน ไม่ได้เข้าร่วมการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ

.. 1874 - ปฏิญญา Brussels Declaration 1874 : Project of an International Declaration concerning the Laws and Customs of War. Brussels, 27 August 1874.

พระเจ้าซาร์อะเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย (พระราชบิดาของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2) ได้เชิญผู้แทนจาก 15 ประเทศในยุโรปประชุมที่กรุงบรัสเซลส์เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.. 2417 เพื่อหารือร่างสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายและประเพณีสงครามที่รัฐบาลรัสเซียเสนอ ที่ประชุมได้ยอมรับร่างฉบับดังกล่าวโดยมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรัฐบาลต่าง ๆ ไม่ยอมรับว่าเป็นข้อตกลงที่มีผลผูกพันจึงไม่ได้ให้สัตยาบัน ปฏิญญา Brussels Declaration 1874 จึงไม่มีผลบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม ความพยายามนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อกำหนดกฎแห่งสงครามของทวีปยุโรป

เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.. 1873 (.. 2416) Gustave Moynier และ Gustave Rolin-Jacquemyns ร่วมกับนักกฎหมายระหว่างประเทศอีก 9 ท่าน ก่อตั้งสถาบันกฎหมายระหว่างประเทศ The Institute of International Law (Institut de Droit International) the Salle de l’Arsenal of the Ghent Town Hall ประเทศเบลเยียม

ต่อมาคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศได้รับรองสถาบันกฎหมายระหว่างประเทศดังกล่าว คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศจึงให้สถาบันกฎหมายระหว่างประเทศนำ Brussels Declaration 1874 ไปศึกษาปรับปรุงให้เป็นที่ยอมรับของประเทศต่าง ๆ จึงกลายเป็น Oxford Manual 1880 - The Laws of War on Land. Oxford, 9 September 1880 ทั้ง Brussels Declaration 1874 และ Oxford Manual 1880 เป็นพื้นฐานสำคัญของอนุสัญญา

 

156  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

กรุงเฮก (Hague Convention 1899) ซึ่งอนุสัญญากรุงเฮกถือเป็นอนุสัญญาควบคุมวิธีการทำสงครามและป้องกันการเกิดสงครามระหว่างประเทศครั้งแรกในโลก

.. 1880 - กฎหมายว่าด้วยสงครามทางบก : LES LOIS DE LA GUERRE SUR TERRE (The Laws of War on Land. Oxford, 9 September 1880)

LES LOIS DE LA GUERRE SUR TERRE คือ กฎหมายสงคราม ที่ระบุในพระราชสาส์นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีถึงประธานาธิบดีสวิสเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.. 2438 ค.. 1895 เพื่อเข้าร่วมอนุสัญญาเจนีวาโดยวิธี Accession(117)

Institute of International Law ได้ปรับปรุง Brussels Declaration 1874 ให้เป็น Oxford Manual 1880 - The Laws of War on Land ในการประชุมที่เมือง Oxford ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.. 1880 พ.. 2423 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อควบคุมการทำสงครามให้อยู่ในกติกาสากล ลดความโหดร้ายและพลังทำลายล้างของสงครามให้เบาบางลง และ Oxford Manual 1880 เป็นคู่มือควบคุมวิธีการทำสงครามไม่ให้โหดร้ายมากเกินไป เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชสาส์นเข้าร่วมอนุสัญญาเจนีวา โดยจะให้ทหารของประเทศสยามเคารพกฎหมายสงคราม Law of War คือ Oxford Manual 1880 ที่ระบุในอนุสัญญาเจนีวา สันนิษฐานว่าทรงมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ ให้ทหารสยามอยู่ภายใต้ Oxford Manual 1880 เช่นเดียวกับทหารฝรั่งเศสซึ่งอยู่ในอนุสัญญาเจนีวาเช่นเดียวกัน หากฝรั่งเศสบุกยึดครองสยามจะต้องทำสงครามภายใต้รูปแบบที่กำหนดใน Oxford Manual 1880 จะได้ลดความโหดร้ายของสงครามลง

.. 1899 - การประชุม ณ กรุงเฮก : Final Act of the International Peace Conference. The Hague, 29 July 1899

พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย สืบสานพระราชปณิธานพระราชบิดาของพระองค์คือ พระเจ้าซาร์อะเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย ที่ทรงเริ่มไว้ตั้งแต่ปฏิญญา Brussels Declaration 1874 ซึ่งยังไม่สำเร็จ ทรงเชิญรัฐบาล 26 ประเทศร่วมประชุมสงบศึก (หรือสันติภาพ) ณ กรุงเฮก ระหว่างวันที่ 18 -19 กรกฎาคม ค.. 1899 นำไปสู่การจัดทำกฎหมายระหว่างประเทศ 7 ฉบับ ได้แก่

...1 สัญญารวมความที่ได้ทำเปนที่สุดในการประชุมสงบศึก น่า 284

Final Act of Internatinal Peace Conference.

2 สัญญาระงับวิวาทระหว่างประเทศโดยเรียบร้อยแลโดยดี คือ สัญญาตั้งศาลคนกลาง น่า 301

Convention for the Pacific Settlement of International Disputes, or the Arbitration Covention

3 สัญญาว่าด้วยกฎหมายแลธรรมเนียมศึกสงครามบนบก น่า 315Covention Respecting the Laws & Custom for War on Land

 

157  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ข้อบังคับว่าด้วยกฎหมายแลธรรมเนียมศึกสงครามบนบก น่า 327

Regulation Respecting the Laws & Custom of War on Land

4 สัญญาที่จะใช้ในการศึกบนทะเลตามข้อความสำคัญในสัญญาซึ่งได้ทำที่เมืองเยนีวา วันที่ 22 สิงหาคม รัตนโกสินทรศก 83 น่า 349

Convention Adopting to Maritime Warfare the Principles of the Geneva Convention of August 22, 1864

5 คำปฏิญญานที่จะไม่ใช้เครื่องระเบิดทิ้งลงมาจากบาลูน น่า 337

Declaration Against launching explosives from balloons

6 คำปฏิญญานที่จะไม่ใช้กระสุนซึ่งจะแตกได้ในปืนเลก น่า 340

Declaration against expanding bullets

7 คำปฏิญญานที่จะไม่ใช้ดินระเบิดที่ไม่มีควันเปนพิศม์

Declaration against diffusing asphyxisting gases

รวมสัญญาทั้งหมด 7 ฉบับด้วยกัน...(118)

.. 1895 - 1910 อนุสัญญาสงครามทั้งหมดที่ประเทศไทยเข้าร่วมในสมัยรัชกาลที่ 5

อนุสัญญาหมวดผู้ประสบภัยจากสงคราม

VICTIMS OF ARMED CONFLICTS

- Geneva Convention, 1864 Ratification/Accession : 29/06/1895

- Geneva Convention on Wounded and Sick, 1906 Ratification/Accession: 29/01/1907

อนุสัญญาหมวดควบคุมสงคราม

METHODS AND MEANS OF WARFARE

- Final Act of the Hague Peace Conference, 1899 Signature: 29/07/1899

- Hague Declaration (IV,1) prohibiting Projectiles from Balloons, 1899 Ratification/Accession: 04/09/1900

- Final Act of the Hague Peace Conference, 1907 Signature: 18/10/1907

อนุสัญญาหมวดสงครามทางทะเลและทางอากาศ

NAVAL AND AIRWARFARE

- Hague Convention (III) on Maritime Warfare, 1899 Ratification/Accession:04/09/1900

 

158  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

- Hague Convention (X) on Maritime Warfare, 1907 Ratification/Accession: 12/03/1910

- Hague Convention (XII) on the International Prize Court, 1907 Signature: 18/10/1907

- Additional Protocol to the Convention on the International Prize Court, 1910

Signature: 19/09/1910

(4) การจัดตั้งสมาคมการกุศลญี่ปุ่น Hakuaisha .. 1877

ยกขึ้นเป็นสภากาชาดญี่ปุ่น ค.. 1887 และเจ้าพระยาภาสกรวงศ์

ซาโนะ ซึเนทามิ (28 ธันวาคม พ.. 2365 - 12 ธันวาคม พ.. 2445) เป็นรัฐบุรุษของญี่ปุ่นและเป็นผู้ก่อตั้งสภากาชาดญี่ปุ่น สังคมเมื่อครั้งซาโนะเดินทางไปประชุม The International Exposition of 1867 ณ กรุงปารีส ในปี พ.. 2410 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ” (The International Committee of the Red Cross)

ต่อมา พ.. 2420 ซาโนะก่อตั้งสมาคมการกุศล Hakuaisha (The Philanthropic Society) เป็นองค์กรบรรเทาทุกข์ที่ให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์แก่ทหารที่บาดเจ็บจากสงครามขัดแย้งของสองฝ่าย การก่อตั้งสมาคมการกุศล Hakuaisha ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพราะมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ต่อมาเขาได้รับการสนับสนุนจากเจ้าชาย Arisugawa Taruhito ผู้บัญชาการกองทัพจักรพรรดิญี่ปุ่น จึงดำเนินการได้สำเร็จ กิจการสมาคมการกุศล Hakuaisha เจริญก้าวหน้า

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.. 2429 รัฐบาลญี่ปุ่นให้สัตยาบัน (Ratification) เข้าร่วมอนุสัญญาเจนีวา ค.. 1864 (อนุสัญญาเจนีวา ร.. 83) โดยวิธี Accession ในปีต่อมา พ.. 2430 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ยกองค์กรการกุศล” Hakuaisha (The Philanthropic Society) ขึ้นเป็น National Red Cross Society ของประเทศญี่ปุ่นและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นสภากาชาดญี่ปุ่น” (The Japanese Red Cross Society) ซึ่งเป็นปีเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระยาภาสกรวงศ์เป็นราชทูต อัญเชิญพระราชสาส์นเจริญพระราชไมตรีและพระราชทานเครื่องราชอิสริยยศมหาวราภรณ์แห่งเครื่องราชอิสริยยศอย่างสูงสุดช้างเผือกสยาม ไปยังพระเจ้ามุตสุหิโต เมกาโดราชาธิราช ณ ประเทศญี่ปุ่น วันที่ 14 เดือนสิงหาคม พ.. 2430(119) พร้อมทั้งมีขุนนางติดตามดูงานด้านการทหาร คือ พระวรเดชศักดาวุธ - คอลอแนล และหลวงฤทธิณรงรอน - เมเยอ(120) ส่วนขุนนางที่ดูงานการจัดการศึกษาและโรงเรียนแพทย์ คือ ขุนวรการโกศล(121) สันนิษฐานว่า การดูงานของพระยาภาสกรวงศ์ทางด้านการทหาร ได้มีโอกาสดูงานสภากาชาดญี่ปุ่นรวมไปด้วยเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงกัน ประกอบกับบุคคลสำคัญผู้สนับสนุนสภากาชาดญี่ปุ่นคือ เจ้าชาย Arisugawa Taruhito ผู้บัญชาการกองทัพจักรพรรดิญี่ปุ่น การมีโอกาสได้ศึกษารับทราบข้อมูลของสภากาชาดญี่ปุ่นที่กำลังโด่งดังและเพิ่งจัดตั้งขึ้นสำเร็จในปี พ.. 2430 กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์

 

159  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ริเริ่มจัดตั้งสภาอุณาโลมแดงเพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ทหารจากภัยสงครามจากฝรั่งเศสในภายหลัง

สภากาชาดญี่ปุ่นได้รับการสนับสนุนเต็มที่จากสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น โดยเฉพาะสมเด็จพระจักรพรรดินีโชเค่นได้ให้การสนับสนุนกิจกรรมสภากาชาดอย่างแข็งขัน การเข้าร่วมสนับสนุนสภากาชาดญี่ปุ่นของราชวงศ์ญี่ปุ่นทำให้สภากาชาดญี่ปุ่นมีอิทธิพลต่อสังคมญี่ปุ่น ขุนนาง Kazoku และชนชั้นนำของสังคม และในสงครามรัสเซีย - ญี่ปุ่น เมื่อ พ.. 2447 - 2448 สภากาชาดญี่ปุ่นเติบโตจนมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกโดยมีสมาชิกกว่าล้านคน การจัดตั้งสภากาชาดไทยจึงลักษณะคล้ายกับการจัดตั้งสภากาชาดญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รับการพระบรมราชูปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์อย่างเข้มแข็งของทั้งสองประเทศ กลายเป็นเอกลักษณ์ของสภากาชาด (National Red Cross Society) ที่แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ

(5) ทัพฮ่อ - รูปแบบดำเนินการสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามระยะแรก

รูปแบบ

วันที่ 1 สิงหาคม พ.. 2429 พระราชทานสิ่งของแก่กองทัพที่นำโดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม และกองทัพจมื่นไวยวรนารถ (เจิม แสง-ชูโต) ในการไปปราบฮ่อ โดยมีแนบบาญชีรายสิ่งของและยาที่พระราชทาน จำนวน 3 แผ่น

ด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้รับพระราชทานลายพระราชหัตถเลขา ฉบับ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ข้าพระพุทธเจ้าปฤกษาพร้อมกันด้วยสิ่งของ คือ เสื้อผ้าแลยาสำหรับรักษาไข้เจ็บเปนต้น ซึ่งจะส่งขึ้นไปพระราชทานกองทัพพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม และกองทัพเจ้าหมื่นไวยวรนารถ

(1) ว่าของที่ตระเตรียมขึ้นไปจะพออยู่เพียงเท่าใด จะควรต้องส่งเพิ่มเติมขึ้นไปอีกบ้างฤๅอย่างไร

(2) จะควรส่งเมื่อใด พาหนะที่จะขนส่งอย่างใด ให้ข้าพระพุทธเจ้าปฤกษากันคิดกะการให้ตลอดนั้น พระเดชพระคุณล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้าได้รับใส่เกล้าฯ ประชุมปฤกษาพร้อมกัน เหนด้วยเกล้าฯ ว่า

...เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มของออฟฟิเซอร์...

ยารักษาไข้เจ็บ นั้นเปนของที่ต้องใช้เปนอันมากอยู่เสมอ แลได้ทราบเกล้าฯ ว่า ดูเหมือนที่ตระเตรียมขึ้นไปจะไม่ใคร่พอทั้ง 2 กอง จึงเหนด้วยเกล้าฯ ว่า ยาบางอย่าง คือ ยาควินินอย่าง 1 ยาคลอรอดินอย่าง 1 ยาเมล็ดบันจุแก้ไข้ของหมอกาแวนอย่าง 1 ดีเกลืออย่าง 1 เหล่านี้เปนของสำคัญควรจะต้องส่งขึ้นไป แต่ประมาณยาที่จะต้องส่งอย่างละมากน้อยเท่าใดนั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้ให้หมอเกาแวนคิดกะที่จะใช้ให้พอในคน 4000 คน ตลอด 6 เดือน แจ้งอยู่ในบัญชีที่กะนั้นแล้ว เกลือนั้นข้าพระพุทธเจ้าพระยาศรีสิงหเทพทราบเกล้าฯ ว่ายังมีอยู่ที่เมืองพิไชย เมืองพิศณุโลกย์มาก เหนพอจะจ่ายใช้ในราชการได้

 

160  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

...ข้าพระพุทธเจ้าเหนด้วยเกล้าฯ พร้อมกันว่า ถ้าจัดการเช่นนี้ พระ-ราชประสงค์ที่จะโปรดเกล้าฯ พระราชทานสิ่งของแลยารักษาไข้ให้เปนกำลังราชการแก่ผู้ไปราชการทัพในทางกันดานทั้ง 2 กอง คงจะสำเร็จตลอดไปได้ทุกประการ

ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า

อดิศรอุดมเดช

ดำรงราชานุภาพ

นริศรานุวัตติวงศ์

พระยาศรีสิงหเทพ

หลวงนายสิทธิ(122)

พระราชดำริ

วันที่ 13 เมษายน ร.. 112 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราช-หัตถเลขาตอบหนังสือกราบบังคมทูลของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ เรื่องการจัดตั้งสภาอุณาโลมแดง ความว่าเป็นความคิดอันดี ที่ต้องด้วยแบบอย่างประเทศทั้งปวงอันรุ่งเรือง โดยทรงมีพระราชดำริว่า หากยังไม่มีสงคราม ยังไม่จำเป็นต้องจ้างคน เพียงแต่ส่งยาและผ้าเครื่องนุ่งห่มเหมือนเมื่อครั้งสงครามปราบฮ่อเห็นจะพอ(123)

(6) วิกฤตการณ์ ร.. 112 (สงครามฝรั่งเศส - สยาม : Franco - Siamese War 1893)

.. 2434 - กรณีนายบางเบียน (Affaire de Bang-Bien)

คูร์นิโยง (Cournillon) สมาชิกคณะผู้จัดทำแผนที่ปักปันเขตแดนได้แต่งตั้งให้นายบางเบียน ผู้อพยพชาวลาวเป็นเจ้าหน้าที่ปกครองฝรั่งเศสที่ทุ่งเชียงคำ (Thoung Xieng Kham ทุ่งไหหินในประเทศลาวปัจจุบัน) ทำให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษ์วโรประการ (Prince Dewavongs) เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ทรงโต้ตอบทันทีด้วยการส่งจดหมายถึงโลร์โซง (Lorgeon) ซึ่งรักษาการแทนกงสุลใหญ่ฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ

อะเล็กซองเดรอะ ริโบต์ (Alexendre Ribot) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสในขณะนั้น จึงเรียกตัวนายบางเบียนกลับจากทุ่งเชียงคำ เช่นเดียวกับผู้แทนฝรั่งเศสที่แหลมเสม็ด (Pointe Samit) ภายใต้เงื่อนไขว่าสยามจะไม่ส่งผู้แทนเข้าไปปกครองดินแดนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ เพื่อรักษาสัมพันธภาพอันดีของทั้งสองประเทศเอาไว้ แต่ผู้แทนฝรั่งเศสไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จึงทำให้เกิดการปะทะกันขึ้นที่ทุ่งเชียงคำ เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.. 2434 ฝ่ายสยามสามารถควบคุมตัวนายบางเบียนไว้ได้ และตั้งข้อหาว่าบางเบียนเป็นกบฏต่อประเทศ โลร์โซงพยายามที่จะเข้าแทรกแซงเช่นกัน แต่ไม่เป็นผล เพราะรัฐบาลสยามยืนกรานว่านายบางเบียนเป็นคนสยามคนหนึ่ง (เกิดในดินแดนที่สยามถือว่าอยู่ในพระราชอาณาเขต) ที่ต้องอพยพไปอยู่เวียดนามภายหลังจากที่ได้กระทำผิดราชการ

 

161  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

161_กำลังทหารสยามเข้าไปในพื้นที่ลาว

กำลังทหารสยามเข้าไปในพื้นที่ลาว ช่วงวิกฤตการณ์ ร.. 112

วันที่ 9 มิถุนายน พ.. 2435 ส่งนาย Auguste Pavie มาเจรจาขอปกครองลาว

นายพล Jean de Lanessan ผู้ว่าราชการแหลมอินโดจีนของประเทศฝรั่งเศส (French Indochina’s Governor) ส่งนายโอกุสต์ ปาวี เดินทางถึงกรุงเทพฯ ในฐานะผู้แทนกงสุลฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.. 2435 เพื่อเจรจาขอให้ลาวอยู่ภายใต้การปกครองของกฎหมายฝรั่งเศสแต่รัฐบาลสยามปฏิเสธคำขอปกครองลาวของนาย Auguste Pavie ผู้แทนกงสุลฝรั่งเศส พร้อมกับเสริมกำลังทหารสยามเข้าไปในพื้นที่ลาวเพิ่มเติม เพราะเข้าใจผิดว่าจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอังกฤษ รวมทั้งขอให้รัฐบาลสยามปล่อยตัวนายบางเบียน แต่สยามยังคงยืนยันเหตุผลเดิม(124)

เดือนกันยายน พ.. 2435 - การตายของมาสสี่ (Affaire de Massie) กงสุลฝรั่งเศส

สถานการณ์เริ่มเลวร้ายลง เมื่อพันตรี พระยอดเมืองขวาง ผู้ว่าราชการเมืองคำม่วน และผู้ว่าราชการเมืองหนองคาย จับพ่อค้าชาวฝรั่งเศส 3 คนบนเรือในแม่น้ำโขง 2 คนถูกตั้งข้อกล่าวหาค้าฝิ่นเมื่อเดือนกันยายน พ.. 2435 ทำให้ M. Massie กงสุลฝรั่งเศส (The French Consul) ขณะนั้นอยู่ในหลวงพระบางและกำลังป่วยอยู่ เกิดความกดดันและฆ่าตัวตายระหว่างเดินทางกลับไปเมืองไซง่อน

เดือนกุมภาพันธ์ พ.. 2436 - กรณีเมืองท่าอุเทน (Affaire d’Outhene) : กดดันผ่านสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

เมืองท่าอุเทนเป็นเมืองชายแดน ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม มีแนวชายแดนติดกับประเทศลาวทางทิศเหนือ และทิศตะวันออกติดกับแขวงคำม่วน (ประเทศลาว) โดยมีแม่น้ำโขงคั่น จึงเป็นเมืองด่านการค้าและผ่านเข้าออกสยาม

 

162  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

นายช็องเปอนัวส์ (Champenois) และนายเอสกิลาต์ (Esquilat) ค้าของเถื่อนและเดินทางในราชอาณาจักรสยามโดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่สยามตักเตือนแล้วก็ไม่ยอมจ่ายค่าภาษีนำเข้า อีกทั้งยังคงเดินทางต่อไปโดยไม่มีตราประทับบนหนังสือเดินทาง รัฐบาลสยามจึงจับกุม เนรเทศบุคคลทั้งสองและยึดสินค้าไว้ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทำให้ฝรั่งเศสกดดันให้พิจารณาทบทวนสนธิสัญญาฝรั่งเศส - สยามที่ลงนามกันเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.. 2410 จนเป็นผลให้สยามเสียดินแดนเขมรและเกาะ 6 เกาะให้กับฝรั่งเศส รวมพื้นที่ 124,000 ตร.กม. หลังจากนั้นได้ดำเนินการทางการทูตกับสยาม ขอให้มีการปักปันเขตแดนเขมรกับญวน ซึ่งเกี่ยวพันมาถึงกรณีนายบางเบียน (Affaire de Bang-Bien) สมาชิกคณะผู้จัดทำแผนที่ปักปันเขตแดน

เดือนมีนาคม พ.. 2436 Auguste Pavie กงสุลฝรั่งเศสคนใหม่

Auguste Pavie ได้รับแต่งตั้งเป็นกงสุลฝรั่งเศสคนใหม่ Pavie ต้องการให้สยามถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากดินแดนลาวใต้เมืองคำม่วน ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เพราะถือว่าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของเวียดนามที่อยู่ในการปกครองของฝรั่งเศส พร้อมทั้งส่งเรือปืนชื่อ Lutin มากรุงเทพฯ จอดอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้กับสถานกงสุลฝรั่งเศสในกรุงเทพฯ เพื่อเป็นการข่มขู่

เดือนเมษายน พ.. 2436

นายพล Jean de Lanessan ผู้ว่าราชการแหลมอินโดจีนของประเทศฝรั่งเศส ส่งกำลังทหาร 3 กองเข้ามาควบคุมดินแดนลาว เกิดการปะทะกับทหารสยาม กลิ่นอายสงครามใหญ่จึงคุกรุ่นไปทั่ว

13 เมษายน พ.. 2436 - หนังสือกราบบังคมทูลขอตั้งสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม(125)วันที่ 13 เมษายน พ.. 2436 ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ มีหนังสือกราบทูลสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชเทวี พระนางเจ้าพระวรราชเทวี พระนางเจ้าพระราชเทวี และพระอรรคชายาเธอเพื่อก่อตั้งสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม (สภากาชาดไทย) โดยกล่าวว่า...บัดนี้ได้ทราบเกล้าฯ ว่ามี

162_เรือปืนฝรั่งเศส

เรือปืนฝรั่งเศส

ชื่อ Lutin

 

163  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ดัษกรภายนอกที่มีอำนาจปราศจากธรรมะ ทำการข่มขู่ด้วยอุบายต่าง ๆ จะแย่งชิงเอาส่วนพระราชอาณาเขตร...

มิถุนายน พ.. 2436 - การตายของสารวัตร Grosgurin คือ ชนวนสงคราม : The Pretext for strong French intervention

เดือนมิถุนายน พ.. 2436 มีการปะทะกันของทหารทั้ง 2 ฝ่ายที่หมู่บ้าน Kien Ket ฝ่ายสยามมีพระยอดเมืองขวางเป็นหัวหน้า ทำให้สารวัตรโกรสกูแรง (Inspector Grosgurin) ชาวฝรั่งเศสผู้เป็นหัวหน้าทหารเวียดนาม 1 นาย และลูกน้องทหารเวียดนาม 17 นาย เสียชีวิตรวม 18 นาย สถานการณ์จึงเข้าสู่ภาวะวิกฤต เพราะการตายของสารวัตร Grosgurin ชาวฝรั่งเศส เรียกว่า “Affair of Kham Muon (Kien Chek)” ถูกฝรั่งเศสใช้เป็นข้ออ้างในปฏิบัติการรุกรานสยามอย่างชอบธรรม (Pretext for strong French intervention)

เดือนกรกฎาคม พ.. 2436 อังกฤษส่งเรือทหาร 3 ลำมาที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อรออพยพเฉพาะชาวอังกฤษหากจำเป็น และฝรั่งเศสส่งเรือ 2 ลำ คือ เรือใบ Inconstant และเรือปืน Comète มาที่กรุงเทพฯ โดยต้องการเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา แต่สยามไม่อนุญาตให้ผ่าน จึงเกิดการสู้รบกัน

13 กรกฎาคม พ.. 2436 การสู้รบกันที่ปากน้ำเจ้าพระยา

163_1_สารวัตรโกรสกูแรง   สารวัตรโกรสกูแรง

เกิดการสู้รบกันที่ปากน้ำเจ้าพระยา เกิดความเสียหาย บาดเจ็บล้มตายทั้ง 2 ฝ่าย สภาอุณาโลมแดงตั้งโรงพยาบาลชั่วคราว 2 แห่งเป็นการฉุกเฉินเพื่อรักษาทหารบกและทหารเรือ

163_2_เรือปืนฝรั่งเศส       เรือปืนฝรั่งเศสชื่อ Comète

 

164 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

17 กรกฎาคม พ.. 2436 - ตั้งโรงพยาบาลสภาอุณาโลมแดง

โรงพยาบาลของสภาอุณาโลมแดงมี 2 ส่วน ส่วนแรกจัดตั้งโดยอาศัยอยู่ในโรงศิริราช-พยาบาลสำหรับรักษาทหารเรือเป็นอันดับแรก ส่วนที่สองจัดตั้งขึ้นในวัดมหาธาตุสำหรับรักษาทหารบก ทั้ง 2 โรงพยาบาลรวมกันมีขนาด 400 เตียง

20 กรกฎาคม พ.. 2436 - ฝรั่งเศสยื่นคำขาด

วันที่ 20 กรกฎาคม พ.. 2436 ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้สยามยกดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง พร้อมชดใช้ค่าเสียหายจากการสู้รบที่ปากน้ำจำนวน 3 ล้านฟรังก์ มิฉะนั้นจะปิดอ่าวไทย สยามยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขของฝรั่งเศสหลังจากที่ร้องขอให้รัฐบาลอังกฤษช่วยเหลือแต่ถูกปฏิเสธ เมื่อฝรั่งเศสเป็นฝ่ายชนะจึงเพิ่มเงื่อนไขยึดครองเมืองจันทบุรี เมืองพระตะบอง เมืองเสียมเรียบ และพื้นที่กว้าง 25 กิโลเมตรทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง สยามจำเป็นต้องลงนามในสนธิสัญญา The Franco-Siamese Treaty เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.. 2436 เพื่อปฏิบัติเงื่อนไขที่ฝรั่งเศสต้องการ

เดือนมิถุนายน พ.. 2437 ศาลผสมสยาม - ฝรั่งเศส “Franco-Siamese Mixed Court” พิพากษาโทษพระยอดเมืองขวางให้จำคุก 20 ปี

วันที่ 3 ตุลาคม พ.. 2436 - The Franco-Siamese Treaty, 1893

สยามยอมชดใช้ 3 ล้านฟรังก์และยอมให้ฝรั่งเศสยึดครองจันทบุรี พระตะบอง เสียมเรียบ และฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง สงครามยุติ

(7) กำเนิดสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม

วันที่ 13 เมษายน ร.. 112 ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ มีหนังสือกราบทูลสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชเทวี พระนางเจ้าพระวรราชเทวี พระนางเจ้าพระราชเทวี และพระอรรค-ชายาเธอ ความสำคัญตอนหนึ่งว่า

...บัดนี้ได้ทราบเกล้าฯ ว่ามีดัษกรภายนอกที่มีอำนาจปราศจากธรรมะ ทำการข่มขู่ด้วยอุบายต่าง ๆ จะแย่งชิงเอาส่วนพระราชอาณาเขตร เปนเหตุให้พระมหาเศวตรฉัตรสดุ้งสะเทือนทั้งพระเกียรติยศแลอิศรภาพของพระราช-อาณาจักรจะเสื่อมทรามไปแก่ตาโลกย์ เปนการจำเปนโดยแท้ที่ราชาธิปตัยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องจัดการต่อสู้ป้องกันรักษาอิศรภาพแลพระราชอาณาเขตรอยู่นี้ ในสิ่งที่เพศหญิงซึ่งเปนชาติชาวสยามจะช่วยอุดหนุนในการป้องกันรักษาพระนครได้มีอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งคิดด้วยเกล้าฯ เห็นว่าการนั้น จะเปนไปได้โดยทางชักนำวงศญาติบุตรหลานแลมิศสหายทั้งเพื่อนหญิงที่ร่วมเพศรักชาติไทยสมัคเปนข้าพระเจ้าอยู่หัว จะชวนลงชื่อเรี่ยไรออกทรัพย์ตามแต่สัทธา ตั้งขึ้นเปน สภาอุณาโลมแดง ของชาติหญิงชาวสยามที่เปนไทยขึ้น เพื่อที่จะได้จัดการรักษาพยาบาลบำรุงกำลังพลทั้งทหารบกทหารเรือของพระเจ้าอยู่หัวในเวลาที่รับราชการอยู่...

 

165 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหัตถเลขาตอบ ความว่า

...เห็นว่าเป็นความคิดอันดี ซึ่งต้องด้วยแบบอย่างประเทศทั้งปวงอันรุ่งเรือง(126) แล้วมีอยู่ ถ้าจะเรี่ยราย ก็คงจะได้เงินมาก แต่เมื่อยังไม่ถึงการสงคราม จะยังไม่เปนการจำเปนต้องออกเงินจ้างคน ส่งแต่เพียงยาแลผ้าซึ่งเคยได้ทำมาครั้งทัพฮ่อแต่ก่อนก็เห็นจะพอ ให้กรมหมื่นพิทยฯ นำหนังสือนี้ขึ้นเสนอในที่ประชุมเสนาบดีจะเห็นการควรประการใด...

วันที่ 17 เมษายน ร.. 112 ประชุมเสนาบดี ณ มุขกระสันพระวิมานรัฐยา

...กรมหมื่นพิทยฯ อ่านหนังสือท่านผู้หญิงเปลี่ยน เรื่องสภาอุณาโลมแดง...แล้วอ่านพระบรมราชกระแสว่า

เห็นว่าเป็นความคิดอันดี ซึ่งต้องด้วยแบบอย่างประเทศทั้งปวงอันรุ่งเรืองแล้วมีอยู่ ถ้าจะเรี่ยราย ก็คงจะได้เงินมาก แต่เมื่อยังไม่ถึงการสงคราม จะยังไม่เปนการจำเปนต้องออกเงินจ้างคน ส่งแต่เพียงยาแลผ้าซึ่งเคยได้ทำมาครั้งทัพฮ่อ แต่ก่อนก็เห็นจะพอ ให้กรมหมื่นพิทยฯ นำหนังสือนี้ขึ้นเสนอในที่ประชุมเสนาบดีจะเห็นการควรประการใด...

กรมหลวงเทวะวงษกล่าวว่า การที่คิดดังนี้ก็เป็นการดีแล้วไม่มีที่เสียอันใด ควรจะให้คิดให้สำเร็จแล้วทรงชี้แจงถึงการที่พวกไม้กางเกนเขนแดงที่มีในยุโรป(127) ซึ่งมองซิเออร์เยโคมินเห็นควรจะให้เนื่องมาถึงเมืองไทย์ด้วย...

ในที่สุดที่ประชุมมีความเห็นพร้อมกันว่า การที่ท่านผู้หญิงเปลี่ยนคิดนี้เปนการดี ควรทรงพระมหากรุณาพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ให้จัดการให้สำเร็จดังที่คิดนั้น...

วันที่ 26 เมษายน ร.. 112 จัดตั้งสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม กรมราช-เลขานุการ มีหนังสือแจ้งท่านผู้หญิงเปลี่ยน ความว่า

...ด้วยท่านมีหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าพระบรม-ราชเทวี เปนความเหนว่าด้วยจะจัดตั้งสภาอุณาโลมแดงขึ้น เพื่อจะช่วยอุดหนุนในการป้องกันรักษาพระนคร...ในเวลาที่มีราชการทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือจะจัดจ้างผู้พยาบาล แลจัดซื้อยาแลสิ่งของส่งไปทุกกองทัพแลที่ในพระมหานครนี้ สภานี้จะจัดการตั้งโรงพยาบาลขึ้นเอง แลกราบทูลเชิญสมเดจพระนางเจ้าพระบรมราชเทวีเปนชนนีผู้บำรุงการ พระนางเจ้าพระวรราชเทวีเปนสภานายิกา พระนางเจ้าพระราชเทวี พระอรรคชายาเธอ ทั้งท่านราชวงศ์อื่นที่สมควร...สมเดจพระนางเจ้าพระบรมราชเทวีได้นำความ

166 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

กราบบังคมทูลทรงทราบฝ่าลอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระราชดำริห์ว่าเปนความคิดอันดี...

และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งสภานี้ขึ้นเป็นทานสถานเพื่อจัดการรักษาพยาบาลกำลังพลทหารทั้งบกแลเรือในเวลาที่รับราชการหน้าที่ป้องกันพระราชอาณาเขต

วันที่ 20 พฤษภาคม ร.. 112 สภานายิกาและกรรมการินีมีหนังสือกราบบังคมทูลว่าได้จัดตั้งขึ้นเป็นสภาฯ ในพระราชินูปถัมภ์ในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชเทวีเพื่อจะได้จัดการเป็นทานสถานสำหรับชาติสยามตามประสงค์ที่ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาแล้ว

จึงได้ประชุมปฤกษาตกลงกันในวันนี้ ขออัญเชิญเสด็จใต้ฝ่าลอองธุลี-พระบาทดำรงที่ผู้บำรุงการอย่างสูงสุด เปนทานะมยูปถัมภ์ของสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามสืบไป

วันที่ 22 พฤษภาคม ร.. 112 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาที่ 3/3218 ความว่า

ถึงกรรมการินีสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม

ด้วยได้รับหนังสือลงวันที่ 20 พฤศภาคม แสดงการที่ได้ตั้งสภาขึ้นแล้ว โดยทุนทรัพย์ที่เรี่ยไรกัน แลจัดการที่จะส่งยากับเครื่องพยาบาลไปยังกองทหารในมณฑลต่าง ๆ และขอเชิญให้ฉันเปนทานมยูปถัมภ์นั้นได้ทราบแล้ว ขอแสดงความยินดีที่สภานี้ได้ตั้งขึ้นเพื่อจะได้เปนการอุดหนุนแก่เหล่าทหารบกทหารเรือ ซึ่งเอาชีวิตร่างกายรักษาพระราชอาณาเขตร แลขอบใจที่เชิญให้เปนทานมยูปถัมภ์ ขอรับไว้ตามคำเชิญนั้น โดยความยินดีอย่างยิ่ง

ในชั้นต้น จะขอบอกยอมให้ที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งสภานี้จะได้เลือกเปนที่โรงไว้เก็บยา โดยไม่ต้องเสียเงินในเรี่ยรายนี้ แลการที่จะจัดในเวลานี้ เข้าใจว่าจะเปนแต่ส่งยาแลส่งผ้าห่มให้กองทหาร ถ้าจะรออยู่ได้ยังไม่ต้องลงเงิน ก็จะขอผัดรออยู่ไว้ลงต่อภายหลัง เพราะจะได้ใช้การอื่น ด้วยเห็นว่าเงินในมือสภานี้จะพอใช้การไปพลางอยู่แล้ว แต่ถ้าเห็นว่าจะเปนตัวอย่างไม่ดี คือจะพาให้ผู้อื่นพลอยอึ้งเอาอย่างไปตาม ก็จะบอกลงเงินโดยทันที ในจำนวนครั้งแรกนี้เปนเงินแปดหมื่นบาท ส่วนเงินพระคลังข้างที่ทั้งนั้น

ซึ่งว่าขยักขย่อนอยู่ดังนี้ มิใช่จะเปนโดยความไม่แน่นอนใจอย่างใด เปนเหตุเพราะได้ลงไปแล้วก็มากแลยังจะใช้ต่อไปอีกก็มี ในราชการแผ่นดิน กลังจะไปเกิดชักหน้าไม่ถึงหลังขึ้น แต่ขอแสดงน้ำใจให้เชื่อไว้ว่า ชีวิตรแล

 

167 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ทรัพย์สมบัติของฉันกับกรุงสยามนี้ นับเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน มิได้มีความหวงแหนเลย...(128)

วันที่ 16 มิถุนายน ร.. 112 สภานายิกา เลขานุการินี และกรรมการินีแห่งสภาอุณาโลมแดงฯ มีหนังสือกราบบังคมทูลแสดงความปีติยินดีในการที่ได้รับพระบรมราชูปถัมภก มีผู้บริจาคทรัพย์ทำบุญเป็นเงินถึง 444,728 บาท ซึ่งจะแบ่งเป็นสามส่วน ฝากเงินทุนของสภานี้ในเงินทุนสร้างทางรถไฟนครราชสีมา และจัดซื้อยาควินิน โคลโรดิน ยาเม็ดแก้อหิวาตกโรค ยาแดงจีนแก้จุกเสียด ยาจีนแก้ตาแดง เป็นต้น ส่วนยาไทยนั้นให้กรรมการินีรับหน้าที่ไปทำคนละขนานสองขนาน

วันที่ 19 มิถุนายน ร.. 112 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราช-กระแสรับสั่งที่ 3/4919 ความว่า

...ด้วยได้รับหนังสือลงชื่อพนักงานแลกรรมการินีทั้งปวง ลงวันที่ 16 แสดงความขอบใจที่ฉันได้รับเป็นทานมยูปถัมภก์...ได้อ่านตลอดโดยความยินดีอย่างยิ่ง

ขอให้สภานี้ได้รับคำอนุโมทนาแลความยกย่องสรรเสริญว่าได้ทำคุณความดีต่อแผ่นดิน อันฉันได้คิดอยู่เพื่อจะให้ความพะยายามแลความซื่อตรงของท่านทั้งหลายเหล่านี้ ได้ปรากฏสืบไปภายน่าแล้ว...ขอให้นำข้อความอันเป็นที่ยินดีพอใจของฉันในความอุสาหของชาติเราใช่แต่ผู้ชาย ตลอดจนถึงผู้หญิงที่จะป้องกันพระบรมราชวงษ์และพระราชอาณาจักร กับทั้งมีความเมตตากรุณาต่อไพร่พลทหาร แสดงต่อกรรมการินีทั้งปวงทราบแลได้รับความขอบใจอันลึกซึ้งของฉันด้วย...

วันที่ 14 มิถุนายน ร.. 112 หม่อมเจ้าต่าง ๆ ในกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศกราบทูลกรมหมื่นนเรศรวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาล เรื่องพระบรมราชประสงค์ที่วังกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศเป็นสถานสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม(129)

วันที่ 28 สิงหาคม ร.. 112 สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี สภานายิกา กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาหลังวัดมหาธาตุ แทนที่วังกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ เนื่องจากได้จัดตั้งโรงพยาบาลสภาอุณาโลมแดงขึ้นเป็นการฉุกละหุก โดยยืมเรือนมหาธาตุวิทยาลัย กับซ่อมระเบียงวัดครึ่งหนึ่งตั้งเป็นโรงพยาบาลส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งได้อาศัยอยู่ที่โรงศิริราชพยาบาล และใช้แพทย์จากกรมพยาบาลในกระทรวงธรรมการ

วันที่ 22 ตุลาคม ร.. 112 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศรวรฤทธิ์ ทูลพระเจ้า-น้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธ์ ราชเลขานุการ ว่าได้ให้เจ้าพนักงานไปทำแผนที่ทั้งสองแห่งมาแล้ว จะได้ทำความเห็นทูลเกล้าฯ ต่อไป

 

168 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

(8) กำเนิดโรงพยาบาลสภาอุณาโลมแดง

โรงพยาบาลของสภาอุณาโลมแดงจัดตั้งขึ้นราววันที่ 17 กรกฎาคม พ.. 2436 เป็นการฉุกเฉิน เพื่อรักษาพยาบาลทหารบาดเจ็บ หลังจากสงครามไทย - ฝรั่งเศสที่ปากน้ำเจ้าพระยา วันที่ 13 กรกฎาคม พ.. 2436 โรงพยาบาลของสภาอุณาโลมแดงมี 2 ส่วน ส่วนแรกจัดตั้งโดยอาศัยอยู่ในโรงศิริราชพยาบาลสำหรับรักษาทหารเรือเป็นอันดับแรก ส่วนที่สองจัดตั้งขึ้นในวัดมหาธาตุสำหรับรักษาทหารบก ทั้ง 2 โรงพยาบาลรวมกันมีขนาด 400 เตียง ดังประกาศแจ้งความสภาอุณาโลมแดงในราชกิจจานุเบกษา ความสำคัญบางตอนดังนี้

...เวลานี้ ในกรุงเทพฯ มีการที่จะต้องเรียกทหารประจำรักษาราชการมากคนขึ้นกว่าแต่ก่อน ๆ การป่วยไข้ก็ย่อมจะมีมากขึ้น...พลทหารซึ่งป่วยไข้ในกองทหารต่าง ๆ ทั่วไป ทั้งทหารบกทหารเรือ...เปนจำนวนที่ได้ตรวจตามบาญชี แลได้ให้ยา ตั้งแต่วันที่ 17 ถึง 26 กรกฎาคม 112 เปนจำนวน 803 คน

อนึ่งกรรมการิณีนี้ มีความเสียใจที่มีเหตุปัตยุบันเกิดขึ้นที่ปากน้ำเจ้าพระยาเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม รัตนโกสินทร์ศก26112 อันกรรมการิณีมิได้คิดเห็นว่า จะมีเหตุการณ์ขึ้น ดังนั้นจึ่ง มิได้ตระเตรียม ที่ทางซึ่งจะรับพยาบาลและตระเตรียมที่จะช่วยให้ทันท่วงที บรรดาคนที่ป่วยเจ็บบาดแผลในเหตุนั้น กรมทหารเรือได้ส่งไปไว้ ณ โรงพยาบาลบางรัก ซึ่งเป็นโรงพยาบาลของราชาธิปไตย แลสภานี้ก็ได้จัดคนพยาบาลไปอยู่ประจำช่วยดูแลพิทักษ์รักษาด้วย แลได้จัดเครื่องที่นอนหมอนแลเครื่องพยาบาลต่าง ๆ ไปให้แก่คนป่วยเหล่านี้ได้อาไศรย เปนศุข แต่ที่โรงพยาบาลบางรักที่คับแคบ ไม่ใคร่จะพอกันอยู่ สภาได้จัดที่อาไศรยโรงศิริราชพยาบาลบริบูรณแล้ว ก็ได้ไปรับคนเจ็บเหล่านี้มาจ้างแพทย์แลคนพยาบาลอยู่ที่โรงศิริราชพยาบาล 6 คน แลคนพวกนี้ที่มีอาการที่ถึงทุพลภาพจะมาหากินไม่ได้ คือ ต้องตัดขา เปนต้น สภานี้ก็จะรับเลี้ยงดูไปจนตลอดชีวิตร ชีวิตรกองทหารที่ประจำกรุงเทพฯ ทุก ๆ กองนั้น สภานี้เห็นว่าเปนฤดูฝน เมื่อคนจะต้องทนความหนาวมาก ก็จะบังเกิดโรคไภยไข้เจ็บมาก จึ่งได้จำหน่ายทุนของสภาออกซื้อผ้าขนนุ่นห่มนอน จ่ายแก่ทหารทั้งบกทั้งเรือ เปนจำนวนผ้าห่มนอน 6,940 ผืน

อนึ่งกรรมการิณีสภาได้จัดที่เปนโรงพยาบาล สำหรับรับทหารที่ป่วยไข้ขึ้น 2 แห่ง ที่โรงศิริราชพยาบาลสำหรับรับกรมทหารเรือแห่ง 1 ที่ มหาธาตุวิทยาลัยสำหรับกรมทหารบกแห่ง 1 ที่ทั้ง 2 แห่งนี้มีที่นอน มุ้ง แลเครื่องพยาบาล แลอาหารสำหรับคนไข้พร้อมทุกอย่าง พอที่จะรับพลทหารที่ป่วยไข้ได้ 400 คน แลได้ลงมือรักษาแล้ว...

อนึ่งกรรมการิณีแลผู้มีศรัทธาให้ของแก่โรงพยาบาลแลสภาอุณาโลมแดงนี้ก็มีคือ ของสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชเทวี สภาชนนี พระราชทานใบชา ถ่าน น้ำมันสำหรับใช้ในโรงพยาบาลของสภา...(130)

 

169 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

(9) การเข้าร่วมอนุสัญญาเจนีวา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติเข้าร่วมคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ปรากฏเป็นหลักฐานตามลำดับ ดังนี้

วันที่ 17 เมษายน ร.. 112 ประชุมเสนาบดี ณ มุขกระสันพระวิมานรัฐยา ทรงมีพระบรมราชกระแสว่า

...กรมหมื่นพิทยฯ อ่านหนังสือท่านผู้หญิงเปลี่ยน เรื่องสภาอุณาโลมแดง...แล้วอ่านพระบรมราชกระแสว่า

เห็นว่าเป็นความคิดอันดี ซึ่งต้องด้วยแบบอย่างประเทศทั้งปวงอันรุ่งเรืองแล้วมีอยู่ ถ้าจะเรี่ยราย ก็คงจะได้เงินมาก แต่เมื่อยังไม่ถึงการสงคราม จะยังไม่เปนการจำเปนต้องออกเงินจ้างคน ส่งแต่เพียงยาแลผ้าซึ่งเคยได้ทำมาครั้งทัพฮ่อแต่ก่อนก็เห็นจะพอ ให้กรมหมื่นพิทยฯ นำหนังสือนี้ขึ้นเสนอในที่ประชุมเสนาบดีจะเห็นการควรประการใด...

กรมหลวงเทวะวงษกล่าวว่า การที่คิดดังนี้ก็เป็นการดีแล้วไม่มีที่เสียอันใด ควรจะให้คิดให้สำเร็จแล้วทรงชี้แจงถึงการที่พวกไม้กางเกนเขนแดงที่มีในยุโรป(131) ซึ่งมองซิเออร์เยโคมินเห็นควรจะให้เนื่องมาถึงเมืองไทย์ด้วย...(132)

เดือนตุลาคม พ.. 2436 วารสาร The International Review of the Red Cross เล่มที่ 24 เรื่องที่ 96 หน้า 199 - 201 ตีพิมพ์พระราชสาสน์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงประธานาธิบดีสวิส เรื่องมูลเหตุการจัดตั้ง Societe Siamoise de la Croix-Rouge หรือสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม มีความสรุปโดยย่อ ดังนี้

...ก่อนเกิดเหตุการณ์ วิกฤตการณ์ ร.. 112 (สงครามฝรั่งเศส - สยาม) ภริยาของเจ้าพระยาภาสกรวงษ์ เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ได้ริเริ่มก่อตั้ง Societe Siamoise de la Croix-Rouge (Siamese Society of The Red Cross) โดยได้รับเงินทุนจากการบริจาค 413,314 บาท และระหว่างวันที่ 21 พฤษภาคม ถึง 28 มิถุนายน ได้ใช้จ่ายเงินค่าหมอที่ไปกับกองทัพสยาม 19,817 บาท

เมื่อเกิดการพิพาทกับฝรั่งเศสวันที่ 13 กรกฎาคม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 30 คน และบาดเจ็บราว 50 คน และการตั้งค่ายทหารในโคลนตม (เนื่องจากฝนตกมาก) ทำให้มีผู้ป่วยมาก จนถึงวันที่ 21 กรกฎาคม Societe Siamoise de la Croix-Rouge (Siamese Society of The Red Cross สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม) ได้ช่วยเหลือทหารจำนวน 803 คน

170 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

Societe Siamoise de la Croix-Rouge ได้จัดตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวขึ้น 2 โรง ในวัด สำหรับรักษาทหารเรือ 1 โรง และสำหรับรักษาทหารบกอีก 1 โรง รวมทั้งหมด 400 เตียง และได้แจกผ้าห่มจำนวน 6,940 ผืน ให้แก่ทหารและช่วยดูแลทหารที่พิการไม่สามารถทำงานได้ โดย Societe Siamoise de la Croix-Rouge (สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม) พร้อมจะได้สถานภาพทางการและถาวร”...(133)

วันที่ 29 มีนาคม พ.. 2438 (.. 113) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหัตถเลขาที่ 1/4256 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ความว่า

...ด้วยเมื่อรัตนโกสินทร์ศก 112 พระบรมนุวงษ์และข้าราชการฝ่ายในแลสตรีผู้มีบันดาศักดิ์แลราษฎร ได้มีความพร้อมเพรียงกันบริจาคทรัพย์ตั้งสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามขึ้นเพื่อจะรักษาพยาบาลทหารที่เจ็บไข้ได้รับความลำบาก สภาอุณาโลมแดงนั้นได้ตั้งมาจนบัดนี้ เหนว่าเปนการมีคุณแก่บ้านเมืองแลเปนคุณแก่หมู่มหาชนเปนอันมาก แต่สภานี้ยังหาได้แผ่ไพศาลไม่ บัดนี้จึ่งได้คิดเห็นว่าสมควรจะให้สภานี้เข้าในสากลสัญญา จึ่งได้มีพระราชสาส์นถึงประธานาธิบดีกรุงสวิตเซอร์แลนด์ ขอให้สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม เข้าในสากลสัญญา(134) เพื่อให้เปนประโยชน์แผ่ไพศาลยิ่งขึ้น แต่สภาอุณาโลมแดงที่ตั้งอยู่บัดนี้ ยังไม่เปนการเรียบร้อยเปนแบบแผนที่มั่นคงได้ จะต้องจัดการให้ดีขึ้น เพราะฉะนั้น ให้ท่านเล็กภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระภาณุพันธุวงษ์วรเดช กรมหมื่นสมมตอมรพันธ์ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัตติวงษ์ พระองค์ไชยยันต์มงคล เจ้าพระยาภาสกรวงษ์ พร้อมกันปฤกษาหาฤๅที่จะจัดการสภาอุณาโลมแดงนี้อย่างไร ซึ่งจะให้เปนแบบแผนอันเรียบร้อย เปนหลักฐานมั่นคงสืบไป...

วันที่ 30 มีนาคม พ.. 2438 (.. 113) คณะผู้จัดการสภาอุณาโลมแดง มีหนังสือกราบบังคมทูล ความว่า

ขอเดชะ ฝ่าลอองธุลีพระบาทปกเกล้าฯ

ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชหัตถเลขาที่ 1/4256 เรื่องสภาอุณาโลมแดง เพื่อที่จะเข้าในสากลสัญญานั้น แต่สภาอุณาโลมแดงที่ตั้งอยู่บัดนี้ ยังไม่เปนการเรียบร้อยเปนแบบแผนที่มั่นคงได้ เมื่อจะเข้าในสากลสัญญาแล้วจะต้องจัดการให้ดีขึ้น ให้ข้าพระพุทธเจ้าพร้อมกันปฤกษาหาฤๅที่จัดการสภาอุณาโลมแดงให้เปนแบบแผนเปนหลักถานมั่นคงนั้น พระเดชพระคุณเปนล้นเกล้าฯ

 

171 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ข้าพระพุทธเจ้าปฤกษาด้วยเกล้าฯ เห็นพร้อมกันว่า

1. ในสิ่งสำคัญขั้นแรกนั้น จะต้องมีที่ให้เปนของสภาที่จะได้จัดเปนโรงพยาบาลแลจัดการต่าง ๆ ซึ่งเปนน่าที่ของสภาจะต้องจัดให้มีขึ้นไว้ ข้า-พระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า ที่วัดพรหมสุรินทร์เปนที่กว้างขวางรกร้างอยู่ ถ้าจะยกเปนที่ของสภาก็ไม่เปนที่ขัดขวาง เพราะเปนทานสถานการกุศลอยู่แล้ว แต่ยังมีพระสงฆ์อยู่ประมาณสักสามสิบรูป จะให้ผ่อนผันมาอยู่เสียวัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา ก็ได้

2. การจัดต่าง ๆ สำหรับสภาแลโรงพยาบาลนั้นเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า ในขั้นแรกนี้ควรเรียกแพทย์ผู้ที่ชำนาญเข้ามาจัดการสักคนหนึ่ง มอบให้มองซิเออยัคคะมินส์เลือกหาฤๅขอต่อสภากากบาทแดงกลางที่เมืองเยนิวา(135) ส่งเข้ามาให้เปนธุระแนะนำจัดการที่ได้ตั้งอยู่เดี๋ยวนี้ ให้เปนแบบแผนตามตัวอย่างที่เขาใช้อยู่ให้เปนหลักถานไว้ สภาอุณาโลมแดงจึ่งจัดการรักษาสืบไป...

วันที่ 11 เมษายน พ.. 2438 (.. 114) พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ มีหนังสือกราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษวโรประการ ความว่า

...ด้วยพระราชสาส์นที่จะมีไปยังกรุงสวิตเซอร์แลนด์นั้น เกล้ากระหม่อมได้แก้ไขบ้างเล็กน้อยแลได้เขียนถวาย ทรงเซนพระราชหัตถเลขาแล้ว เกล้าฯ ได้ถวายพร้อมกับหนังสือฉบับนี้ด้วยแล้ว กับได้ถวายร่างคำแปลแลกระดาษสำหรับเขียนมาด้วย ขอประทานสำเนาด้วยฉบับหนึ่ง

หนังสือพระราชสาส์นอยู่ ณ วันที่ 8 เมษายน 114...

คำแปลพระราชสาส์นเป็นภาษาอังกฤษ (ฉบับจริงเป็นภาษาฝรั่งเศส)(136)

Somdetch Phra Paramindr Maha Chulalongkorn Phar Chula Chom Klom King of Siam both Northern and all its Dependencies of Loas Chieng, Laos Kao, Malaya, Kareans, etc., etc., etc.,

To His Excellency Monsieur Froy, President of the federal Council of the Republic of Switzerland.

Since a long time it has been our desire to accede to the international Convention signed at Geneva on the 22nd of December 1864 for the Amelioration of the Condition of Soldiers wounded in Armies in the field. The Principles of charity and of respect of human life, excluding all sacrifice of it which is not imposed and justifiedby absolute necessity, are in perfect accordance with the rules of

 

172 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

our Buddhist faith and friendship with all other states, and although We sincerely hope and with that this peace and friendship will be everlasting, We have resolved to accede to the Convention aforesaid and so to facilitate the international recognition of our Siamese Society of the Red Cross(137) established in 1893, Our intention being moreover that the instruction given to the officers of our Army shall include the respect of the Convention aforesaid and of the Rules of War as drafted by the Institute of International Law

Consequently we have given and give hereby full power and authorization to our Minister Plenipotentiary and General Advisor M. Rolin-Jacquemyns, to sign the Act of Accession thereto, with the same effect as if we had signed it Ourselves.

In witness where of we have appended to the present Our Royal Seal, Written at Maha Chakrakri, Bangkok the 2nd April 1895, being the 23th year of our Reign, and we sign.

Your Excellency’s most affectionate friend

วันที่ 29 มิถุนายน พ.. 2438 (.. 1895) มิสเตอร์โรลังยัคมินส์ (Rolin-Jacquemyns) ผู้แทนรัฐบาลสยามเดินทางไปลงนามให้สัตยาบัน (Ratified) อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 ร.. 83 (.. 1864) ณ กรุงเบิร์น ประเทศไทยจึงเข้าร่วมในอนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 โดยสมบูรณ์

วันที่ 22 พฤษภาคม พ.. 2440 ในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือนเมืองเยนิวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ข้าหลวงเทศาภิบาลของเมืองและกรรมการเมืองถวายพระเกียรติยศ ถวายงานเลี้ยงพระกระยาหารกลางวัน ณ วังเอนา พระยาสฤษดิพจนกรบันทึกไว้ว่า มองสิเออริชาด(138) ข้าหลวงเทศาภิบาล กล่าวด้วยถ้อยคำเป็นภาษาฝรั่งเศส แปลได้ว่า

...กรุงสยามนั้นตั้งอยู่ข้างฝ่ายตวันออก ทวีปเอเซีย ในหมู่ประเทศซึ่งเรารู้สึกเปน เมืองมีของวิเศษต่าง ๆ แต่ฝ่ายเมืองริบับลิกสวิตเซอร์แลนด์นั้น แลเขตรแขวงยินิวานี้ ตั้งอยู่ข้างฝ่ายตวันตกทวีปยุโรป แต่ถึงจะห่างไกลกันอย่างใดก็ดี ก็ได้มาถึงกัน เพราะเจ้าผู้มีปรีชาแลเปนสหายของความเจริญ ซึ่งได้มีความกรุณาประทับที่ ณ โต๊ะของเรา ได้ทรงเข้าด้วยในหนังสือสัญญานานาประเทศของสภาอุณาโลมแดง การที่ตั้งขึ้นเปนที่ประเสริฐนี้ ซึ่งเปนแรกเริ่มเมืองยินิวา...ข้าพเจ้าขออนุญาตที่จะยกย่องพระกระแสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามได้ทรงไว้โดยความไพเราะอ่อนหวานในเวลาที่พระองค์ทรงแสดงการ ซึ่งได้เข้าในสัญญาด้วยนั้น

 

173 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

พระกระแสในพระราชสาสน์นั้น มีว่านานมาแล้ว ซึ่งได้ทรงมีความพระราชประสงค์ของเรา ที่จะยอมเข้าในสากลสัญญานานาประเทศ ที่ได้ลงนามกันไว้ ณ เมืองยินิวา เมื่อ ณ วันที่ 22 สิงหาคม รัตนโกสินทรศก 85เพื่อกระทำให้การเคราะห์ร้ายซึ่งทหารในกองทำต้องถูกบาดแผลเจ็บไปในที่รบ ให้เปนที่เบาบาง...เปนความต้องกันกับพระพุทธศาสนาของเรา แลความรู้สึกส่วนตัวของเราด้วย...เราก็ได้ตั้งใจจะไม่ให้เนิ่นช้าต่อไป ในการที่จะเข้าด้วยในสัญญาสากลนั้น แลที่เราทำดังนี้ก็เพื่อให้นานาประเทศรับจำพวกสภาอุณาโลมแดงสยามของเรา ซึ่งได้ตั้งขึ้นไว้ในปี ร.. 112 ความมุ่งหมายของเรา ยังมีนอกจากนี้ว่า คำสั่งที่จะมีแก่นายทหารในกองทัพของเรานั้น ให้จะมีความนับถือในสัญญาที่กล่าวมาข้างบนนี้ แลในกฎหมายของสงครามซึ่งอินสติตุตแห่งกฎหมายนานาประเทศได้ตั้งขึ้นไว้

ในวันนั้น ได้เกิดเปนการสัญญาในระหว่างเราอันแขงแรงที่สุด ซึ่งสามารถรวมน้ำใจมนุษย์เข้าด้วยกัน สำหรับการเมตตาปรานีกับชาติมนุษย์...

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีกระแสพระราชดำรัสตอบเป็นภาษาอังกฤษ แปลเป็นภาษาไทยในราชกิจจานุเบกษา มีใจความตอนหนึ่งว่า

ท่านสภานายกแห่งที่ประชุม แลท่านผู้ดีทั้งปวง ด้วยข้าพเจ้ามีความยินดีเปนอันมากมาอยู่ในหมู่ท่านวันนี้ แลข้าพเจ้ารู้สึกมาก โดยอัธยาไศรยไมตรีซึ่งท่านได้กล่าวถึงข้าพเจ้า แลถึงส่วนที่ข้าพเจ้าได้ทำในเรื่องยินิวาคอนเวนชันแห่งสภาอุณาโลมแดงของนานาประเทศนั้น ความจริงข้าพเจ้าเห็นด้วยกับความเห็นของท่านในเวลาที่กล่าวว่า ความประพฤตินี้เปนข้อใกล้ยิ่งขึ้นในระหว่างริปัปลิกอันสุจริตนี้ แลพระราชอาณาจักรของข้าพเจ้า ๆ ได้รู้สึกความกรุณาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เมื่อข้าพเจ้าแจ้งว่าจะเข้าด้วยในหนังสือสัญญาของท่าน เพราะการสงครามนี้บางทียังจะเปนความจำเปนที่ต้องมี แต่ที่ต้องมีสงครามอันดุร้ายในเวลาหนึ่งเวลาใด ก็ไม่จำเปนในสมัยนี้ที่เรามีชีวิตรอยู่นี้เปนแน่...

วันที่ 9 มิถุนายน พ..2442 เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ (โรลังยัคมินส์) จัดทำร่างกฎหมายจัดตั้งสภาอุณาโลมแดง ชื่อร่างกฎข้อบังคับสำหรับสภาอุณาโลมแดงในกรุงสยาม Draft Rules of Red Cross Society in Siam จำนวน 18 หมวด จำนวน 12 หน้า ทูลเกล้าฯ ถวาย แต่การระงับไป

ร่างกฎข้อบังคับสำหรับสภาอุณาโลมแดงในกรุงสยามมีทั้งฉบับภาษาอังกฤษและภาษาไทยและมีข้อความสำคัญดังนี้

 

174 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

Draft rule of Red Cross Society in Siam

ร่างกฎข้อบังคับสำหรับสภาอณาโลมแดงในกรุงสยาม

I. Object Name and Head Quarters of Society

ว่าด้วยกิจชื่อแลที่สำนักนิ์กลางของสภา

The object of the society is to succor and nurse the victims of accidents or of an extraordinary calamity in time of peace and the wounded and sick in time war, as to alleviate their sufferings as much as possible.

It has assumed the name of “The Red Cross Society in Siam” and has its headquarters in Bangkok.

กิจของสภานั้น สำหรับที่จะให้ความช่วยอนุกูล แลความพยาบาล แก่บรรดาคนที่จะได้รับอันตรายจากพยันตรายอันป้องกันล่วงน่าไม่ได้ ฤๅป่วยไข้ในเวลาที่มีสงคราม เพื่อให้คนเหล่านั้นได้รับความทุเลาจากความทรมาณโดยอย่างที่สุดที่จะเป็นได้

สภานั้นได้ตั้งนามเรียกว่าสภาอุณาโลมแดงในกรุงสยามและได้ตั้งที่ทำการเปนสำนักนิ์กลางในกรุงเทพฯ

II. Their Royal Majesties’ Patronage

ว่าด้วยความปกครองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์

The Society is placed under the exalted patronage of His Majesty the King and Her Majesty the Queen

สภานี้ตั้งอยู่ในใต้ความปกครองอันสูงสุดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแลสมเด็จพระบรมราชินีนารถ

III. Geneva Convention

ว่าด้วยความเกี่ยวด้วยหนังสือสัญญาซึ่งทำที่เมืองเยนีวา

The society adheres to the decision of the international conference held in Geneva in October 1863, and to the principle of the Convention conclude between most of the governments of Europe in the same city in August 1864

สภานี้มีความยอมรับที่จะปฏิบัติตามข้อความที่ได้ตกลงในที่ประชุมของนา ๆ ประเทศที่ได้ประชุมกัน ณ เมืองเยนีวาเมื่อเดือนตุลาคมกฤศต์ศักราช 1863 แลตามความเพ่งเลงของหนังสือสัญญาที่รัฐบาลนา ๆ ประเทศในยุโรปเป็นอันมากได้ทำกันที่เมืองเยนีวาเมื่อสิงหาคมกฤศต์ศักราช 1864 นั้นด้วย...

175 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

วันที่ 10 กันยายน ร.. 125 นายพลโท พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช มีหนังสือกรมทหารบกที่ 10/8595 กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายรายงานการเรียบเรียงคำชี้แจงถึงวิธีการจัดราชการทหารบกในประเทศสยามและการพยาบาล รวมทั้งเรื่องสภาอุณาโลมแดง เพื่อส่งไปลงตีพิมพ์ในหนังสือสภากาชาดสเปน โดยคำชี้แจงเรื่องสภาอุณาโลมแดง มีดังนี้

Organization of Red Cross Society

A Red Cross Society was founded in 1893, at the time when Siam joined the Geneva Convention and this society was recognized by the powers. A committee was formed under the immediate patronage of His Majesty the King, Her Majesty the Queen, herself talking the duty of lady - president, while the persons of committee consists of Princesses of Royal Blood and wives of noblilities. The committee has its chief duty in collecting and keeping a Red Cross fund, raised by subscription, the list of which was headed by big sum from His Majesty the King. From this fund the committee took a portion in order to raise store of medicine and others necessary objects in the way of helping the ill and wounded. These stores supply all articles mentioned to the army and navy according to need, while the rest of the fund remains as capital to be used in case of great emergencies.

วันที่ 1 มิถุนายน ร.. 125 พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งผู้แทนประเทศสยามเข้าร่วมประชุมที่เมืองเยนีวา(139) ดังนี้

ร่างพระราชหัตถ์ตั้งผู้แทนไปประชุมเมืองเยนีวา ใช้กระดาษหนังตามวิธีใหม่

...............................................................................

สมเดจพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์...

ขอประกาศแก่ท่านทั้งหลายทั้งปวง ผู้ที่จะได้พบคำประกาศนี้ให้ทราบ

ด้วยสภาของรัฐบาลสวิสอันรวมกันได้เชิญให้รัฐบาลของเราแต่งผู้แทนไปยังการชุมนุม ซึ่งจะได้ประชุมที่เมืองเยนีวา ประสงค์จะได้ตรวจแก้ไขข้อความที่ได้ตกลงกันแล้วเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ร.. 83 ให้ดีขึ้น เพื่อเปนความสดวกแก่ทหารซึ่งถูกบาดเจบในสนามรบนั้น

เราจึงได้ตั้งผู้แทนของเราไปยังที่ประชุมนั้นดังนี้

หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์กฤษฎากร อุปทูตรักษาราชการสถานทูตของเรา ผู้ได้รับเครื่องราชอิศริยาภรณ์สำหรับราชตระกูลชั้นที่ 3 ชื่อตติยจุลจอมเกล้า

 

176 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

มองซิเออร์ คอเรยิโอนิ ดอเรลลี ที่ปฤกษาแห่งสถานราชทูตของเรา ผู้ได้รับเครื่องราชอิศริยาภรณ์อันเปนที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกชั้นที่ 3 ชื่อนิภาภรณ์

ให้มีอำนาจเต็มในการที่จะไปประชุมในที่ชุมนุมอันกล่าวมาแล้วนั้น แลให้วินิจฉัยให้เดจขาดแทนกรุงสยามในข้อความเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซี่งได้เสนอต่อที่ชุมนุม อันเปนการที่เกี่ยวกับความประสงค์ของที่ชุมนุม แลถ้าเห็นว่าเปนธรรมแลสมควรแล้วก็ให้เข้าชื่อลงชื่อด้วยกับคำปฤกษา ซึ่งได้ตกลงโดยจำนวนความเห็นมากในที่ชุมนุมนั้น แต่ว่าต้องอยู่ในความตรวจแก้ของเราตามการที่คำปฤกษาตกลงนั้น จะเกี่ยวข้องกับการที่ส่วนเราจะต้องทำฤๅกำหนดกีดกันอำนาจอันชอบธรรมแลอำนาจอันพิเศษของเราโดยมากแลน้อย

แต่ว่าถ้าตามข้อบังคับของที่ชุมนุม มีไว้ว่ากรุงสยามจะควรมีอำนาจที่จะวินิฉัยเด็ดขาดได้แต่เฉพาะเสียงเดียวเท่านั้นแล้ว แลถ้าหม่อมเจ้าจรูญศักดิ์กฤษฎากรอยู่ในที่ชุมนุม ก็ให้เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด แต่ถ้าหม่อมเจ้าจรูญศักดิ์กฤษฎากรไม่อยู่ ก็ให้ความเห็นของมองซิเออร์ คอเรยิโอนิ ดอเรลลี เป็นเหมือนผู้แทนกรุงสยาม

ประกาศมาแต่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวังกรุงเทพฯ

ณ วันที่ 1 มิถุนายน รัตนโกสินทรศก 39 125 ตรงกับคฤสตศักราช1906

วันที่ 15 มิถุนายน ร.. 125 หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์(140) อุปทูตว่าการแทนอัครราชทูตสยาม ณ กรุงปารีส โทรเลขกราบทูลถามกรมหลวงเทวะวงษวโรประการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศว่า ประเทศที่จะลงนามในหนังสือสัญญาใหม่ว่าด้วยเครื่องหมายกากบาทแดง” (The New Red Cross Convention) ต้องใช้เครื่องหมายกากบาทแดงบนพื้นขาว รัฐบาลจะยอมรับหรือไม่ (ประเทศที่ยังไม่ได้ลงนาม คือ สยาม เปอร์เซีย และจีน)

วันที่ 16 มิถุนายน ร.. 125 เวลาบ่าย กรมหลวงเทวะวงษวโรประการ ได้รับลายพระหัตถ์ของกรมขุนสมมตอมรพันธ์ ราชเลขานุการที่ 97/509 ว่าร่างโทรเลขที่จะมีถึงหม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ชอบด้วยพระราชกระแสแล้ว

วันที่ 16 มิถุนายน ร.. 125 กรมหลวงเทวะวงษวโรประการมีหนังสือกราบทูลตอบ กรมขุนสมมตอมรพันธ์ ราชเลขานุการที่ 131/2766 เรื่องได้ สั่งโทรเลขไปให้หม่อมเจ้าจรูญยอมรับใช้เครื่องหมายกากบาทแดงแล้วความว่า

ด้วยวันนี้ได้รับโทรเลขหม่อมเจ้าจรูญศักดิ์กฤษฎากร มีมาแต่เมืองเยอนีวาลงวันวานนี้ว่า ยกเสียแต่กรุงสยาม กรุงเปอรเซีย แลกรุงจีนซึ่งยังไม่ได้โวตนั้น กอมมิตตีครั้งที่ 4 ได้ตกลงเหนพร้อมกันว่า ประเทศซึ่งจะลงชื่อในหนังสือสัญญาใหม่ว่าด้วยเครื่องหมายนั้น จะต้องใช้กากะบาทแดงบนพื้นขาวเปนเครื่องหมายสำหรับนานาประเทศ แลกอมมิตตีได้แสดงว่า การ

 

177 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ที่จะใช้กากะบาทแดงนั้นใช่ว่าจะเปนเครื่องหมายของชาวคฤสเตียนนั้นหามีไม่ เพื่อให้เปนเกียรติยศแก่สวิตเซอร์แลนด์ซึ่งเป็นผู้แนะนำขึ้นเท่านั้น แลภายหลังได้ตกลงกันว่า จะต้องมีธงสำหรับชาติกำกับกากะบาทไปด้วยเสมอ หม่อมเจ้าจรูญได้รับไว้ว่าจะแจ้งความให้ทราบโดยเร็วว่า รัฐบาลจะยอมรับเครื่องหมายกากะบาทแดงหรือไม่ ความแจ้งอยู่ในสำเนาโทรเลขหม่อมเจ้าจรูญซึ่งถวายมาด้วยแล้ว

ครั้นเมื่อ เวลาบ่าย วันนี้ หม่อมฉันได้รับลายพระหัตถ์ที่ 97/509 ลงวันวานนี้ ว่า ร่างโทรเลขที่จะมีถึงหม่อมเจ้าจรูญชอบด้วยพระราชกระแสแล้วนั้น หม่อมฉันได้ส่งโทรเลขตอบไปทีเดียว

ขอได้โปรดกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาท สุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

เทวะวงษวโรประการ

วันที่ 18 มิถุนายน ร.. 125 กรมราชเลขานุการมีหนังสือที่ 104/532 กราบทูลกรมหลวงเทวะวงษวโรประการว่า เรื่องโทรเลขให้หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ยอมรับใช้เครื่องหมายกากบาทแดงนั้น ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว

วันที่ 24 มิถุนายน ร.. 125 กรมหลวงเทวะวงษวโรประการมีหนังสือที่ 145/2944ทูล กรมขุนสมมตอมรพันธ์ ราชเลขานุการ ความว่า หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์...ตอบรับโทรเลขหม่อมฉันมีไปลงวันที่ 16 เดือนนี้ อนุญาตให้รับเครื่องหมายกากบาทแดงว่า ได้นำเสนอต่อที่ประชุม แล้ว

วันที่ 13 สิงหาคม ร.. 125 หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ อุปทูตว่าการแทนอัครราชทูตสยาม ณ กรุงปารีส กราบทูลกรมหลวงเทวะวงษวโรประการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศว่า ได้ประชุมแก้ไขข้อสัญญาอุณาโลมแดงที่เมืองเยนิวา เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ร.. 125 แบ่งการประชุมเป็น 4 commissions และฝ่ายไทยมีผู้แทนประชุม 2 คน คือ หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ ประชุมคณะที่ 1 และ 4 มิสเตอร์ดอเรลลี ประชุมคณะที่ 2 และ 3 และในวันที่ 6 กรกฎาคม ร.. 125 ได้ตกลงพร้อมกันลงชื่อในสัญญา “The New Convention”

วันที่ 2 พฤศจิกายน ร.. 125 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศดังนี้(141)

สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์

พระจุลจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม

ทั้งฝ่ายเหนือฝ่ายใต้แลดินแดนที่ใกล้เคียง

คือ ลาวเฉียง ลาวกาว มลายู กะเหรี่ยง ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ

ขอประกาศแก่ท่านทั้งหลายทั้งปวง

ซึ่งจะได้พบประกาศนี้ให้ทราบว่า หนังสือสัญญาฉบับหนึ่ง

 

178 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ซึ่งได้แก้ไขหนังสือสัญญาเมืองเยนิวาลงวันที่ 22 สิงหาคม

รัตนโกสินทรศก 83 ให้ดีขึ้น

เพื่อเปนความสดวกแก่ทหารที่ถูกบาดเจ็บในสนามรบ

ซึ่งได้ตกลงประชุมกันใหม่ที่เมืองเยนิวา

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก 125

ในระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลนานาประเทศที่รวมกันในสัญญานี้

หนังสือสัญญานั้น มีข้อความต่อไปดังนี้...

เราได้เห็นแลได้ตรวจหนังสือสัญญาที่ว่ามาแล้วนั้น

เราเห็นชอบด้วยทุกข้อทั้งหมดแล้ว

แลเราสำแดงว่าผู้ปกครองฝ่ายสยาม

จะได้ถือตามสัญญานั้น

เราได้ลงลายพระราชหัตถเลขาแลประทับ

พระราชลัญจกรของเราในหนังสือนี้ไว้เปนสำคัญ

กรุงเทพฯ

วันที่ 2 พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก 125

วันที่ 29 มกราคม พ.. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สัตยาบัน (Ratifying) อนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 อนุสัญญาเจนีวาจึงมีผลบังคับต่อประเทศไทย

(10) การดำเนินงานของสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม ระหว่าง พ.. 2436 - 2453

การดำเนินงานของสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามแบ่งได้ 2 ส่วน คือ ส่วนบริหารและส่วนดำเนินการ

- ส่วนบริหาร ประกอบด้วย สภานายิกา กรรมการิณี และเลขานุการินี

- ส่วนดำเนินการ ประกอบด้วย งานโรงพยาบาลสภาอุณาโลมแดง และงานบริจาคสนับสนุนยา สิ่งของเครื่องใช้ ผ้าห่ม หรือ สิ่งอื่น ๆ ให้แก่ทหารในกองทัพ

เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมาย เพื่อจัดตั้งสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามให้เป็นการมั่นคงจำนวน 2 ครั้ง ได้แก่

1. ร่างกฎข้อบังคับสำหรับสภาอุณาโลมแดงในกรุงสยาม Draft rules of Red Cross Society in Siam โดยเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ (โรลังยัคมินส์) ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วไป เป็นผู้จัดทำวันที่ 9 มิถุนายน พ.. 2442(142)

2. ร่างกฎข้อบังคับสภาอุณาโลมแดงแห่งกรุงสยาม ร.. 126 โดยพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นนครไชยศรี ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ทรงจัดทำวันที่ 30 พฤษภาคม พ.. 2450(143)

แต่ร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับไม่ได้ประกาศเป็นกฎหมาย กิจการของสภาอุณาโลมแดง

 

179 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

จึงยังไม่มั่นคง ในด้านการดำเนินการของส่วนบริหาร ได้แก่ สภานายิกา กรรมการิณี และเลขานุการินี และงานบริจาคสนับสนุนยา สิ่งของเครื่องใช้ ผ้าห่ม หรือสิ่งอื่น ๆ ให้แก่ทหารในกองทัพ ยังคงดำเนินการอยู่เป็นระยะ ๆ ตลอดสมัยรัชกาลที่ 5 ยกเว้นโรงพยาบาลสภาอุณาโลมแดง ซึ่งจัดตั้งแบบฉุกเฉินเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.. 2436(144) เพราะเกิดสงครามปะทะระหว่างทหารไทยกับทหารฝรั่งเศสที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.. 2436 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 30 คน และบาดเจ็บราว 50 คน และการตั้งค่ายทหารในโคลนตม (เนื่องจากฝนตกมาก) ทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมาก จนถึงวันที่ 21 กรกฎาคม สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามได้ช่วยเหลือทหารจำนวน 803 คน

ต่อมาฝ่ายสยามได้ใช้วิธีการเจรจาทางการทูตเพื่อสงบศึก โดยยอมชดใช้ 3 ล้านฟรังก์และยอมให้ฝรั่งเศสยึดครองจันทบุรี พระตะบอง เสียมเรียบ และฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง โดยจัดทำเป็นสนธิสัญญา The Franco-Siamese Treaty, 1893 สงครามฝรั่งเศส - สยามจึงยุติลงเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.. 2436

วันที่ 26 มีนาคม พ.. 2437 ท่านผู้หญิงเปลี่ยน เลขานุการินีสภาอุณาโลมแดง แจ้งความมายังพระยาวุฒิการบดี ราชปลัดทูลฉลอง กระทรวงธรรมการว่า สภานายิกาทรงพระดำริว่าควรจะมอบโรงพยาบาลของสภาฯ ฝากไว้ในกรมพยาบาล ให้ช่วยเป็นธุระดูแลจัดการแทนกรรมการินีนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ร.. 113 (.. 2437) สืบไป พร้อมแนบรายการงบประมาณ 2 แผ่น ระบุงบประมาณสำหรับแพทย์และผู้ดูการ 6 คน พนักงาน 30 คน คนไข้วันละ 80 คน มีรายชื่อแพทย์ ได้แก่ หมอ - มิสเตอร์ซิลดอน ผู้ดูการ - นายถิน แพทย์รอง - นายชื่นและนายแพ แพทย์รองฝรั่ง - หม่อมหลวงโต๊ะ เป็นต้น

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.. 2437 พระยาวุฒิการบดี ราชปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ กราบทูลพระองค์เจ้าจันทรทัตจุธาธาร อธิบดีกรมพยาบาลว่า จะต้องรื้อศาลาบริเวณวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ที่สภาอุณาโลมแดงใช้เป็นโรงพยาบาลพลทหารทั้งหมด เพื่อใช้สร้างอาคารประกอบพระเมรุสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารถาวรขึ้น เรียกว่าตึกถาวรวัตถุ ตรงบริเวณด้านหน้าวัดมหาธาตุฯ (145)

เดือนตุลาคม พ.. 2443 โรงพยาบาลสภาอุณาโลมแดงได้รายงานจำนวนผู้ป่วยเป็นครั้งสุดท้าย และได้เลิกกิจการไปนับแต่ราวปี พ.. 2444 เป็นต้นไป รวมเวลาเปิดทำการได้ราว 8 ปี ส่วนเตียงคนไข้ของโรงพยาบาลสภาอุณาโลมแดงมีจำนวน 225 เตียง ได้ให้โรงพยาบาลต่าง ๆ ในกรมพยาบาลยืมเตียงใช้ในปี พ.. 2444 - 2445 ได้แก่ โรงศิริราชพยาบาลยืม 135 เตียง โรงเรียนราชแพทยาลัยยืม 30 เตียง โรงบุรพาพยาบาลยืม 40 เตียง โรงพยาบาลสามเสนยืม 20 เตียง ต่อมาจึงจำหน่ายเตียงที่เหลือทั้งหมดให้กับกรมพยาบาลและเลิกกิจการไปทั้งหมดราวเดือนกุมภาพันธ์ พ.. 2445(146)

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ร.. 125 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราช-หัตถเลขาที่ 40/1656 ถึงพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดช กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการทหาร ให้กรมยุทธนาธิการมีหน้าที่ฟื้นฟูกิจการของสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามให้มีความมั่นคง(147)

 

180 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ร.. 125 (.. 2450) พระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดชมีหนังสือศาลายุทธนาธิการที่ 51/17291 กราบบังคมทูลรับสนองพระบรมโองการฟื้นฟูกิจการสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม และในปีเดียวกันนั้น วันที่ 23 พฤษภาคม ร.. 126 (.. 2450) กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดชทรงนำเรื่องการจัดการสภาอุณาโลมแดงเสนอในรายงานวาระที่ 1 ประชุมเสนาบดีสภา โดยทรงเสนอวิธีการฟื้นฟูดังนี้

...ในที่จะจัดสภาอุณาโลมนี้ต่อไปภายน่านั้น มีทางที่จะทำได้ให้เป็นการถาวรมั่นคง คือ

1. หาที่ตั้งขึ้นเป็นโรงพยาบาลของสภาอุณาโลมแดงนี้เสียก่อน...

2. การปกครองสภาอุณาโลมนี้ก็คงอยู่ในความอำนวยการของสภานายิกาและกรรมการินีนั้นทุกประการ แต่มีเจ้าน่าที่ซึ่งฝ่ายรัฐบาลเสียเงินเดือนให้ไปทำการดูแลการในโรงพยาบาลนี้ตลอดทั้งพนักงานแพทย์ต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในที่นี้ ก็ให้เป็นส่วนของรัฐบาลเหมือนกัน ซึ่งจะได้เบิกเงินเดือนจากกรมยุทธนาธิการนั้น...(148)

ในบันทึกการประชุมเสนาบดีสภา มีการแสดงความคิดเห็นดังนี้

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ รับสั่งว่า...ปัญหาในเรื่องสภาอุณาโลมแดงที่จะต้องคิดกันคราวนี้ ตามพระราชประสงค์ไม่ใช่จะให้จัดแต่มีเพียงโรงพยาบาลอย่างเดียว มีพระราชประสงค์จะให้จัดขึ้นไว้ให้มั่นคงสำหรับบ้านเมืองตามธรรมเนียม ที่บ้านเมือนเปนศิวิไลซ์มีทหารสำหรับบ้านเมืองแล้ว ก็ต้องมีสภานี้ขึ้นสำหรับกัน ตามที่กรมหมื่นนครไชยศรีทรงพระดำริห์มานี้เปนการดีแล้ว แต่เปนแต่ตอนปลายหาครอบทั่วไปได้ไม่ จึงเห็นควรคืนให้กรมหมื่นนครไชยศรีทรงคิดมาใหม่ให้ตลอด

...การจัดสภาอุณาโลมแดงนี้ เราก็เอาอย่างของต่างประเทศเขามา แลเหตุที่จะให้มีพระกระแสในเรื่องนี้ก็เนื่องมาจากต่างประเทศที่เขาถามมา เพราะชนั้นข้อที่เราจะคิดจัดนี้ คือการของเรายังไม่เหมือนกับของต่างประเทศ ควรจะจัดให้เหมือนต่างประเทศทั้งกฎหมายแลข้อบังคับทั้งปวง ข้อที่ปฤกษากันนี้ ต้องปฤกษาตั้งแต่กฎหมายแลข้อบังคับเป็นต้นไป

กรมหมื่นนครไชยศรีรับสั่งว่า กฎหมายแลข้อบังคับนั้นก็ได้ร่างไว้แล้วแต่ยังไม่ควรจัดเปลี่ยนแปลง เปนแต่จะคิดอุดหนุนการเดิมให้ดีขึ้น เพราะในเวลานี้ ถึงจะจัดเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็คงต้องบกพร่อง...จึงคิดจะจัดแต่เพียงให้มีที่สำนักแลมีเจ้าพนักงานขึ้น ส่วนวิธีนั้นควรคงไปตามเดิมก่อน เมื่อเปนรูปขึ้นแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าวิธีเดิมจะใช้ได้ฤๅไม่ การเปลี่ยนแปลงจะมาในภายหลัง ถ้าจะเปลี่ยนแปลงไปในทันทีแล้ว เกรงจะเปนที่กระทบกระเทือนบ้าง

 

181 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

กรมหลวงดำรงรับสั่งว่า ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงแล้วไม่เห็นด้วย เพราะวิธีเดิมนั้นเห็นว่าจัดไม่ได้แล้ว จึงต้องคิดจัดให้การเดินได้ ที่กรมหมื่นนครไชยศรีรับสั่งว่ากฎหมายแลข้อบังคับได้ร่างไว้แล้วนั้น ขอให้นำเข้ามาปฤกษา เพราะที่ว่าการเปลี่ยนแปลงจะมาภายน่านั้น เปนแต่กรมหมื่นนครไชยศรีรู้อยู่ผู้เดียวว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ที่ประชุมนี้ไม่มีผู้ใดทราบ จะปฤกษาอย่างไรได้ เมื่อได้ทราบวิธีที่จะจัดต่อไปอย่างไรแล้วจึงจะได้ปฤกษาได้ว่าอย่างใดจะดี แลเมื่อตกลงตลอดแล้วจึงปฤกษาว่าจะทำดังนี้ ๆ ก่อน ที่ประชุมเห็นชอบด้วย

กรมหมื่นนครไชยศรีรับสั่งว่า ถ้าที่ประชุมขอให้เอาร่างกฎหมายแลข้อบังคับมาปฤกษาแล้ว ก็นำมาได้ เรื่องเป็นอันตกลงว่า กรมหมื่นนครไชยศรีจะได้นำร่างกฎหมายแลข้อบังคับมาปฤกษาต่อไป...(149)

วันที่ 30 พฤษภาคม ร.. 126 ประชุมเสนาบดีสภา

...กรมหมื่นนครไชยศรีรับสั่งว่า ร่างกฎหมายสภาอุณาโลมแดงได้ส่งมาทูลเกล้าฯ ถวายตามที่ที่ประชุมขอให้ส่งนั้นแล้ว แต่ตามร่างนี้ยังมีทางที่จะพิจารณาอีกหลายทาง เพราะเปนทางของความมุ่งหมายในภายน่า ส่วนที่กราบบังคมทูลมาในหนังสือฉบับก่อนนั้น เป็นหนทางที่จะให้ดำเนินเปนไปฉเพาะสมัยนี้ ต่อเมื่อมีโอกาศที่จะดำเนินการให้สมความมุ่งหมายเมื่อใด จึงจะได้ดำเนินการต่อไปเมื่อนั้น ส่วนเจ้าน่าที่นั้นจำเป็นต้องปฤกษาอีกคราวหนึ่งก่อนที่จะได้กำหนดเรื่องนี้ ยังจะต้องปฤกษากันต่อไป...

ร่างกฎข้อบังคับสภาอุณาโลมแดงแห่งกรุงสยามทรงเสนอที่ประชุมพิจารณา ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้

(ย่อ) ร่างกฎข้อบังคับสภาอุณาโลมแดงแห่งกรุงสยาม ร.. 126

คำนำ

พระราชปรารภ

หมวดที่ 1 ข้อบังคับการทั่วไป (ข้อ 1 - 5)

หมวดที่ 2 ความมุ่งหมายและน่าที่ของสภาอุณาโลมแดงแห่งกรุงสยาม (ข้อ 6 - 9)

หมวดที่ 3 ตำแหน่งที่ตั้งและวิธีจัดการสภาอุณาโลมแดงแห่งกรุงสยาม (ข้อ 10 - 12)

หมวดที่ 4 ทุนและสมบัติของสภาอุณาโลมแดงแห่งกรุงสยาม (ข้อ 13 - 14)

หมวดที่ 5 สมาชิกของสภาอุณาโลมแดงแห่งกรุงสยาม (ข้อ 15)

หมวดที่ 6 การประชุมสมาชิกและเครื่องหมายชั้นสมาชิก (ข้อ 16 - 20)

 

182 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

วันที่ 11 มิถุนายน ร.. 126 ประชุมผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร(150) วาระ 2 มิสเตอร์ลอต์ซขอให้เงินแก่อินสติตูชัน (Institution) อันใดอันหนึ่ง

...พระราชหัตถเลขามาแต่ซานเมโร ลงวันที่ 13 พฤษภาคม ตอบรับพระราชหัตถ์แลรายงาน กับว่าด้วยเรื่องสัญญาฝรั่งเศส แลเรื่องมิสเตอลอตซ์ ห้างบีกริม ขอให้เงินแปดพันบาทแก่อินสติตูชันอันใดอันหนึ่ง ซึ่งเปนประโยชน์แก่บ้านเมือง ทรงพระราชดำริห์ก็เห็นว่า ควรรับ จึงได้โปรดให้ตอบรับ แต่เงินนี้ควรจะใช้การอันใดนั้น โปรดมอบให้ที่ประชุมวินิจฉัยในกรุงเทพฯ

กรมหมื่นนครไชยศรีเห็นว่า ควรใช้ในการสภาอุณาโลมแดง ผู้ให้คงจะมีความยินดี เพราะชาวเยอรมันเข้าใจประโยชน์ของสภานี้ได้ดี

กรมหลวงดำรงเห็นว่า เรื่องนี้ไม่ใช่การร้อนอันใด ควรคิดกันไว้หลาย ๆ อย่าง แล้วทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระราชทานวินิจฉัยต่อไป...

ข้อเสนอการฟื้นฟูสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดช กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ สนองพระราช-กระแสรับสั่งในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าหัว เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ร.. 125 จึงไม่ได้รับการรับรองจากที่ประชุมเสนาบดีสภาในปี ร.. 126 กิจการของสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามจึงเงียบไปชั่วคราว พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดช กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ทรงรับสั่งว่า ต่อเมื่อมีโอกาศที่จะดำนินการให้สมความมุ่งหมายเมื่อใด จึงจะได้ดำเนินการต่อไปเมื่อนั้น

(11) เริ่มต้นการฟื้นฟูสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม

: สร้างโรงพยาบาลสภาอุณาโลมแดงขึ้นใหม่ พระราชทานนามใหม่ว่าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ถวายเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ต่อเมื่อมีโอกาศที่จะดำเนินการให้สมความมุ่งหมายเมื่อใด

จึงจะได้ดำเนินการต่อไปเมื่อนั้น

23 พฤษภาคม ร.. 126

“...ในที่จะจัดสภาอุณาโลมนี้ต่อไปภายน่านั้น มีทางที่จะทำได้ให้เป็นการถาวรมั่นคง คือ

1. หาที่ตั้งขึ้นเป็นโรงพยาบาลของสภาอุณาโลมแดงนี้เสียก่อน...” 30 พฤษภาคม ร.. 126

 

183 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดช กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช

ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ

(พระดำรัสเมื่อ พ.. 2450 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.. 2453 เวลา 02.45 นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระ-จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต สิริพระชนมายุได้ 57 พรรษา

วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.. 2453 เป็นเวลาครบ 1 เดือนหลังเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเงินส่วนพระองค์จำนวน 5,800 บาท เพื่อใช้จัดตั้งโรงพยาบาลสภาอุณาโลมแดง และพระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัวทุกพระองค์จึงพร้อมพระทัยกันร่วมสมทบ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 122,910 บาท

วันที่ 15 มกราคม พ.. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราช-หัตถเลขา ความว่า

...ด้วยได้สั่งให้กรมหลวงนครไชยศรีจัดการตั้งโรงพยาบาลอุณาโลมแดง ด้วยเงินของพระราชโอรสแลพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง แต่จำนวนเงินไม่พอที่จะสร้างขึ้น จึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กรมพระคลังข้างที่จ่ายเงินของสภาอุณาโลมแดงที่มีอยู่ในชั้นเดิมอยู่สามแสนกว่าบาท จ่ายให้กรมหลวงนครไชยศรีรับไปจัดการก่อสร้างโรงพยาบาลต่อไป...(151)

วันที่ 4 มีนาคม พ.. 2455 พระยาศุภกรบรรณสาร อธิบดีกรมพระคลังข้างที่ กราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบ ความว่า ได้จ่ายเงินสภาอุณาโลมแดง จำนวน 391,259 บาท 98 สตางค์ ให้กระทรวงกลาโหมรับไปจัดการแล้ว

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จอมพล พระเจ้า-บรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม รับหน้าที่ดำเนินการจัดสร้างโรงพยาบาลสภาอุณาโลมแดงจนแล้วเสร็จ และพระราชทานนามใหม่ว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ถวายเป็นราชานุสาวรีย์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(152) นับเป็นโรงพยาบาลใหญ่และทันสมัยที่สุดของประเทศในเวลานั้น

วันที่ 30 พฤษภาคม พ.. 2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดสยาม ทรงมีพระราชดำรัสตอบเนื่องในการเปิดโรงพยาบาล ความตอนหนึ่งว่า

...ในการบำเพ็ญกุศลถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถนั้น ย่อมต้องระลึกดูว่า จะทำการอย่างใด จึงจะเป็นที่พอพระราชหฤทัย เราและพี่น้องจะฉลองพระเดชพระคุณได้ในทางใด หรือถึงแม้เสด็จสวรรคตล่วงลับไปแล้ว ถ้ามีวิธีใด

 

184 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ที่จะทำให้ทราบถึงพระองค์ได้นั้นการอย่างใดจะเป็นที่พอพระราชหฤทัย เมื่อระลึกดูดังนี้ก็เห็นได้ว่า ตลอดเวลารัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถย่อมพอพระราชหฤทัยในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินที่ทรงปกครอง สิ่งไรทำขึ้นให้นำมาซึ่งความสุขความสำราญแก่ประชาชน สิ่งนั้นย่อมพอพระราชหฤทัยยิ่งนัก...จึงตกลงกันว่าถ้าสร้างโรงพยาบาลขึ้นเป็นราชานุสาวรีย์ คงจะเป็นที่พอพระราชหฤทัยเป็นแน่แท้...153

(12) ต่ออายุสัญญาอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 ออกไปอีก 5 ปี - เร่งประกาศ

พระราชบัญญัติห้ามใช้เครื่องหมายกากะบาดแดง ร.. 130

วันที่ 19 ธันวาคม พ.. 2454 พระยากัลยาณไมตรีมีจดหมายเลขที่ 8622 จาก Office of the General Adviser ถึงพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทวะวงษวโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ ว่า The Ninth International Conference of the Red Cross จะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม ณ กรุงวอชิงตัน ว่าด้วยเรื่อง การออกกฎหมายภายใต้สัญญากากะบาดแดง ร.. 125 (The Subject of Legislation under the Geneva Convention of 1906) ซึ่งผู้แทนสภาอุณาโลมแดงของไทยจะต้องนำเสนอความก้าวหน้า และพระยากัลยาณไมตรีได้แนบบันทึกข้อเสนอเพื่อปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว (Geneva Convention of 1906 - Note and Enclosures on Legislation in fulfillment of Articles 23, 27, 28) ดังความย่อดังนี้

1. ผู้แทนรัฐบาลสยามจะต้องนำเสนอการดำเนินการตามภาระผูกพันภายใต้สัญญากากะบาดแดง ร.. 125 ข้อ 23 ข้อ 27 และข้อ 28

...It would be advisable to instruct our delegate as to what Siamese Government has done to carry out certain obligations which it under took in 1906 under Article 23, 27 and 28 of the Geneva Convention of that year...

2. รัฐบาลสยามต้องออกกฎหมายผูกพันตามข้อบังคับที่ 28 เพื่อกำหนดบทลงโทษทางทหาร โดยความเห็นชอบของสภาเสนาบดี ในการคุ้มครองเชลยศึกของกองทัพ ผู้เจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ หรือการกระทำที่ผิดกฎหมาย ต่อชีวิตมนุษย์ ร่างกายมนุษย์ หรือทรัพย์สิน ตามคำอธิบายในสัญญาข้อ 249 ถึง 259 และบทกำหนดโทษในสัญญาข้อ 268 ถึง 303

...The Government proposes to fulfill its obligation under Article 28 by making adequate provision in the new Military Penal Code which has been drafted and is under consideration by the Cabinet. Speaking in a very General way, commits on any wounded or sick person belonging to the military forces any of the offences

 

185 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

against life, body, or property, described by § 249 to 259, and § 268 to 303 of the Penal Code, shall be liable to the punishment provided by such sections increased by one-half...

3. การใช้ธงกาชาดหรือสัญลักษณ์กาชาดในระหว่างสงครามไม่ถูกต้อง ตามบทบัญญัติสัญญากากะบาดแดง ร.. 125 ถือเป็นความผิดตามข้อ 128 ของบทกำหนดโทษ

...Also, whoever in time of war uses the Red Cross flag or the Red Cross Badge contrary to the provisions of the Geneva Convention of July 6, 1906 shall be guilty of the offence describedin § 128 of the Penal code...

4. ต้องออกกฎหมายเพื่อไม่ให้มีการใช้กาชาดในเชิงพาณิชย์

...In Regard to legislation against the misuse of the Red Cross for commercial purposes...

วันที่ 7 มกราคม พ.. 2455 มีพระบรมราชโองการประกาศพระราชบัญญัติห้ามใช้เครื่องหมายกากะบาดแดง ร.. 130และมีคำปรารภแห่งพระราชบัญญัติว่า

...มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรามหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศทราบทั่วกันว่า ด้วยนานาประเทศทั้งหลายได้ชุมนุมปรึกษากันครั้งที่ 2 ณ เมืองเยเนฟวา ทำหนังสือสัญญาไว้ ซึ่งกันและกันฉะบับ 1 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก 125 ว่าด้วยการรักษาพยาบาลคนที่ป่วย เจ็บ กองทัพทั้งหลายในสนามให้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนแล้ว และหนังสือสัญญาฉะบับนี้ได้ทรงพระราชดำริเห็นชอบ มีพระบรมราชานุญาตไว้แต่วันที่ 29 มกราคม รัตนโกสินทรศก 125 แล้วนั้น และมีพระราชประสงค์จะกระทำตามความข้อ 23 และข้อ 27 ในหนังสือสัญญานั้นให้สำเร็จในส่วนกรุงสยาม ด้วยให้มีความไว้ในกฎหมายดังกล่าวไว้ในพระราชบัญญัตินี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราเป็นข้อพระราชบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้...

วันที่ 27 มกราคม ร.. 130 พ.. 2455 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทวะวงษ์-วโรประการ เสนาบดีว่าการต่างประเทศ มีหนังสือที่ 363/9977 กราบทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี ความว่า

 

186 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ด้วยหนังสือสัญญาระหว่างนานาประเทศ ซึ่งได้ประชุมกันครั้งที่ 2 พร้อมกันทำที่เมืองเยเนฟวา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ร.. 125 (..1906) เพื่อรักษาทหารซึ่งป่วยเจบในสนามนั้น มีความในข้อ 23 ว่า เครื่องหมายกากะบาดแดงบนพื้นขาว แลคำว่ากากะบาทแดงฤๅกากบาทแดงเมืองเยเนฟวานั้นพึงใช้ได้ในเวลาสงบศึก ฤๅในเวลามีศึกสงครามเพื่อเฉพาะจะป้องกัน ฤๅจะทำสำคัญให้เหนปรากฏชัดว่า เปนพวกฤๅเปน กองศุขาภิบาล ทั้งบุคคลแลสิ่งของเครื่องมือ ที่ใช้ในการนั้นอยู่ในความป้องกันไม่ให้ใครทำอันตรายได้ตามหนังสือสัญญานี้

แลมีความต่อไปในข้อ 27 อีกว่า รัฐบาลที่ได้ลงชื่อในหนังสือสัญญานี้ประเทศใดที่พึงยังไม่มีข้อกฎหมายพอเพียงที่จะบังคับตามสัญญาในเวลานั้น กระทำสัญญาไว้ในข้อนี้ว่า จะเอาเปนกิจธุระที่จะให้ผู้ทำกฎหมายของรัฐบาลประเทศนั้นทำกฎหมายที่จำเปนจะต้องใช้ เพื่อจะป้องกันไม่ให้บุคคลฤๅบริษัทอื่น นอกจากผู้ซึ่งสมควรจะใช้ได้ตามสัญญานี้ ใช้เครื่องหมายกากะบาทแดงฤๅกากะบาทเมืองเยเนฟวา มีข้อสำคัญคือที่ใช้เครื่องหมายนี้ในการค้าขาย โดยการที่ทำของเช่นนี้ขึ้น ฤๅทำเปนยี่ห้อการค้าขาย เปนต้น อนึ่งการที่จะห้ามไม่ให้ใช้เครื่องหมายที่ว่านี้ จะต้องทำให้สำเรจเปนกฎหมายทุกประเทศไป มีกำหนดเวลาอย่างช้าไม่เกินห้าปี นับตั้งแต่เวลาที่ใช้ (คือแรติไฟ) สัญญานี้ ตั้งแต่เวลานั้นสืบไป จะไม่ได้มีการทำเครื่องหมายเช่นนี้ ฤๅมียี่ห้อในการค้าขาย ผิดกฎหมายที่ห้ามไว้ได้

...กรุงสยามได้ลงชื่อในหนังสือสัญญาเยเฟวานี้ แลได้เรติไฟเมื่อวันที่ 29 มกราคม ร.. 125 แล้ว หม่อมฉันเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า ยังไม่มีกฎหมายห้ามตามที่สัญญาไว้ แลมีความวิตกว่า ถ้าพ้นวันที่ 29 มกราคม ศกนี้ ซึ่งเปนการครบ 5 ปีที่รับไว้ในสัญญาว่าจะทำกฎหมายขึ้นนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายไปบอกออฟฟิศกลางว่า ได้มีกฎหมายในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง เหมือนอย่างประเทศอื่นได้ทำ แลออฟฟิศกลางได้แจ้งความให้ทราบอยู่เนือง ๆ นั้นแล้ว ก็จะปรากฏเปนความเสียหายขึ้นแก่นานาประเทศว่า กรุงสยามไม่ได้กระทำตามข้อสัญญาที่ลงชื่อรับไว้ หม่อมฉันจึงได้ตักเตือนพระยากัลยาณไมตรี คิดร่างกฎหมายสำหรับจัดการตามสัญญามาแต่ก่อนกว่าหนึ่งปีแล้ว

พระยากัลยาณไมตรีก็ได้คิดร่างกฎหมายนี้ขึ้น แลได้ทูลหารือพระเจ้า-พี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ทรงเหนชอบด้วยข้อความในร่างกฎหมายนี้แล้วตั้งแต่เดือนกันยายนปีกลายนี้ เวลานั้นหม่อมฉันก็ได้ขอต่อพระยากัลยาณไมตรีให้ออกกฎหมายเสียทีเดียว แต่พระยากัลยาณไมตรีเหนว่า จะออกไปก่อนไม่ดี เกรงว่าจะใช้ไม่ได้ในคนต่างประเทศ ซึ่งยังมีศาลกงศุลอยู่ในกรุงสยาม พระยากัลยาณไมตรีจะขอไปหารือความเหนผู้แทนรัฐบาล

 

187 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ต่างประเทศเสียก่อนให้จงได้ หม่อมฉันเหนว่ายังพอมีเวลาจะพอรออยู่ได้อีกปีเศษ จึงได้ยอมตกลงให้ไปพูดจาว่ากล่าวถามกันดู

ครั้นในเดือนธันวาคมที่ล่วงมา พระยากัลยาณไมตรีทำรายงานมายื่นในเรื่องนี้ สำหรับที่จะได้ไปบอกให้ผู้แทนฝ่ายสยามในที่ประชุมนานาประเทศ ซึ่งนัดกันว่าจะประชุมที่กรุงวอชิงตันในคฤสตศักราช 1912 นี้ ว่าด้วยที่เกี่ยวกับสภากากะบาทแดงนั้น ทราบความตามที่กรุงสยามยังไม่ได้ทำกฎหมายนี้ เพราะมีข้อขัดข้องอยู่ด้วยรัฐบาลต่างประเทศบางเมืองยังไม่ยอมรับกฎหมายที่ร่างขึ้นไว้สำหรับให้ผู้แทนฝ่ายสยามจะได้ชี้แจงในที่ชุมนุมในเวลาที่จะมีคำถามในข้อนี้ขึ้นในที่นั่น...

แต่หม่อมฉันเหนด้วยเกล้าฯ อยู่ว่า การที่จะแก้ตัวว่ารัฐบาลต่างประเทศบางเมืองยังไม่ยอมรับใช้ตามร่างกฎหมายไทยในเรื่องนี้ ไม่เปนเหตุอันสมควรพอที่จะให้กรุงสยามหลุดพ้นจากการที่ได้รับสัญญาว่าจะทำกฎหมายไทย ด้วยเหตุว่ากฎหมายในที่นี้มีความประสงค์จะบังคับคนไทยเปนสำคัญ คนต่างประเทศนั้นเมื่อรัฐบาลต่างประเทศใดจะไม่บังคับห้ามปราม ความผิดก็จะอยู่กับรัฐบาลต่างประเทศนั้นเอง หม่อมฉันจึงอ้อนวอนขอให้พระยากัลยาณ-ไมตรีรีบคิดอ่านทำกฎหมายให้คล้ายกับอย่างกฎหมายอเมริกันที่ได้ทราบมาจากทูตอเมริกันให้ได้ออกไปภายในกำหนดเวลา ที่จะไม่ให้กรุงสยามเปนผู้กระทำผิดข้อสัญญา คือออกก่อนวันที่ 29 เดือนนี้

พระยากัลยาณไมตรีเหนจริงด้วยแล้ว จึ่งได้คิดเพิ่มเติมร่างกฎหมายให้เหมือนกับกฎหมายอังกฤษซึ่งพึ่งออกเมื่อเดือนสิงหาคมที่ล่วงมาแล้ว ความที่ร่างไว้ตามที่ได้ตกลงพร้อมกันกับกระทรวงกระลาโหม ซึ่งเปนข้อความห้ามเดจขาดทั่วไปนั้นก็คงอยู่หมดแล้ว มีแต่ข้อยกเว้นเพิ่มเติม ก็คงให้ใช้ได้ต่อไปอีกห้าปีเท่านั้น หม่อมฉันมีความยินดีมากที่ตกลงเหนพร้อมกันได้ว่าควรออกกฎหมายนี้ให้ทันเวลาที่กำหนดไว้...

วันที่ 20 ธันวาคม พ.. 2455 เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศมีหนังสือที่ 285/8823 ทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นปราจิณกิตติบดี ราชเลขานุการว่า อุปทูตอังกฤษมีหนังสือแจ้งว่า ตามข้อสัญญาเยนิวา ลงวันที่ 6 กรกฎาคม ร.. 125 ข้อ 10ซึ่งว่าประเทศใดได้ให้อำนาจแก่สภาอาสาใด ๆ ที่จะช่วยกองพยาบาลทหารบกแล้ว ต้องบอกนามสภานั้น ๆ ให้ประเทศซึ่งเข้าสัญญาร่วมกันทราบนั้น บัดนี้รัฐบาลอังกฤษได้ให้อำนาจแก่สภากากะบาดแดง อังกฤษ (รวมทั้งสาขาสกอตด้วย) 1 สภาพยาบาล เซนต์ยอน 1 และสภาพยาบาล เซนต์ แอนดรู 1 เป็นสภาช่วยกองพยาบาลทหารบกอังกฤษ กระทรวงต่างประเทศได้มีหนังสือตอบรับไปแล้ว154

 

188 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

ข้อสัญญาเยนิวา ร.. 125 - ข้อ 10

Geneva Convention, 1906 - Article 10

ข้อสัญญาเยนิวา ร.. 125 - ข้อ 10 คือ ข้อกฎหมายผูกพันของอนุสัญญาเจนีวา ทำให้มีการจัดตั้งสภากาชาดที่เป็นหน่วยงานกาชาดเพียงแห่งเดียวในแต่ละประเทศ (National Red Cross Society) ที่มาของสภากาชาดสยาม ทำให้สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามกลายเป็น National Red Cross Society ที่ถูกต้องตามอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 ลักษณะแบบเดียวกับกำเนิดสภากาชาดญี่ปุ่น ซึ่งได้ยกสมาคมการกุศล (Hakuaisha) องค์กรบรรเทาทุกข์สำหรับผู้ได้รับบาดเจ็บจากการประท้วง Satsuma ที่จัดตั้งขึ้นใน พ.. 2420 เป็นสภากาชาดญี่ปุ่น เมื่อ พ.. 2430 หลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้สัตยาบันอนุสัญญาเจนีวา พ.. 2429

และเป็นผลให้สภากาชาดสยามจะต้องเข้าร่วมเป็นสมาชิกของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศหลังจากจัดตั้งเสร็จแล้ว และต้องเข้าร่วมขบวนการกาชาด (Red Cross Movement) เพื่อดำเนินการพัฒนาองค์กรกาชาดทั่วโลกที่มีการประชุมขับเคลื่อนทุก ๆ 4 ปี ตามการขับเคลื่อนของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ในฐานะผู้แทนของรัฐบาลสวิสซึ่งมีหน้าที่ขับเคลื่อนที่อนุสัญญาเจนีวาเพราะเป็นรัฐบาลประเทศผู้รับสัญญา หรือผู้รักษาอนุสัญญา (Depositary State) และรัฐบาลสยามเป็นผู้ให้สัญญา (Ratifying State) มีหน้าที่ปฏิบัติตามอนุสัญญา ที่ถูกขับเคลื่อนโดยประเทศผู้รับสัญญาหรือประเทศผู้รักษาอนุสัญญา

Article 10 of the Geneva Red Cross Convention of the 6th July 1906 provides that each contracting State shall notify to the others the names of the Voluntary Aid Societies which it has authorized, under its own responsibilities, to render assistance to the regular Medical Service of its Armies.

“The Voluntary Aid Societies which it has authorized, under its own responsibilities” หมายถึง National Red Cross society (สภากาชาด) ของแต่ละประเทศที่จัดตั้งตามกฎหมายของประเทศตนเอง และให้ National Red Cross society เป็นองค์กรอิสระ มีอำนาจตามกฎหมาย มีหน้าที่ความรับผิดชอบช่วยเหลือกองแพทย์พยาบาลทหารของกองทัพ

(13) ตั้งผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม เตรียมการจัดตั้งสภากาชาดสยาม

วันที่ 3 เมษายน พ..2457 มีกระแสพระบรมราชโองการ เรื่องตั้งนายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม ความตอนหนึ่งว่า

...บัดนี้ทรงพระราชดำริห์ว่า สภากาชาดนั้น ย่อมเปนสโมสรอันอาจนำมาซึ่งประโยชน์แก่มวลมหาชนโดยอเนกประการ ดังปรากฏตัวอย่างในนานาประเทศโดยมาก ย่อมมีสภาเช่นนี้ตั้งทำการอยู่ เพราะฉนั้นไม่สมควรจะปล่อยให้สภากาชาดสยามนั้นเสื่อมทรามไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

 

189 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

189_เจ้าฟ้ากรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ 

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ

ให้นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ทรงรับตำแหน่งเปนผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม รับพระราโชวาทในสมเด็จพระบรมราชินีนารถพระบรมราชชนนีองค์สภานายิกา จัดการวางกฎข้อบังคับและระเบียบสำหรับสภานี้ขึ้นใหม่ ตลอดจนจัดตั้งกรรมการต่อไป เพื่อให้สภากาชาดสยามนี้ดำเนินไปสู่ความเจริญ...(155)

(14) จัดตั้งสภากาชาดสยาม ประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยาม

พุทธศักราช 2461

วันที่ 12 มิถุนายน พ.. 2461 มีพระบรมราชโองการประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยาม พุทธศักราช 2461 เพื่อจัดวางระเบียบการสำหรับสภากาชาดสยามให้เป็นหลักฐานมั่นคงบริบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังคำปรารภอันงดงามแห่งพระราชบัญญัติว่า

...พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้า-เจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการมา ณ พระสุรสีหนาทให้ประกาศทราบทั่วกันว่า

 

190  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

เมื่อปีพุทธศักราช 2436 พระราชวงศานุวงศ์และข้าราชการ ประชาชนชายหญิงมากหลาย ได้มีน้ำใจปรีดีพร้อมเพรียงกันออกเงินเป็นทุนตั้งสมาคมขึ้นอย่างหนึ่ง สำหรับจัดหาเครื่องยาเครื่องพยาบาลให้แก่ทหารซึ่งต้องไปราชการในสนาม กระทำกิจทั้งนี้ด้วยความเมตตาการุณเป็นการเชิดชูเกียรติคุณของชาติบ้านเมือง จึงสมเด็จพระบรมชนกนารถพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสมาคมนั้นเข้าไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และพระราชทานนามว่า สภาอุนาโลมแดงแต่ภายหลังเปลี่ยนนามเป็นสภากาชาดสยามและสมเด็จพระบรมราชินีนารถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงได้ทรงรับตำแหน่งสภานายิกา มีกรรมการรินีจัดดำเนินการของสภาตลอดมาเป็นลำดับ สภาได้ทำประโยชน์ให้แก่มหาชนเป็นเอนกประการ เช่น สร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ขึ้นเป็นที่รักษาพยาบาลคนเจ็บไข้ทั่วไป ทั้งตั้งโรงเรียนนางพยาบาลเพื่อฝึกหัดสั่งสอนกุลสตรีให้มีความรู้ในเชิงการพยาบาลไข้และช่วยการคลอดบุตร สำหรับทำคุณประโยชน์ให้แก่เพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น

บัดนี้ ทรงพระราชดำริว่าสมควรจะวางระเบียบการสำหรับสภากาชาดสยามนี้ให้เป็นหลักฐานมั่นคงบริบูรณ์ดียิ่งขึ้น จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้ตราพระราชบัญญัติไว้สืบไปดังนี้ ว่า...

(15) สภากาชาดสยามเข้าเป็นสมาชิกคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ

และสมาชิกสันนิบาตกาชาด

วันที่ 12 มิถุนายน พ.. 2462 พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากรมีหนังสือถึงสภานายกกรรมการกลางถามถึงวิธีสำหรับที่จะเข้าในกรรมการกลางสภากาชาด(156)

วันที่ 21 มิถุนายน พ.. 2462 นาย ปี. เดอ กูต มีหนังสือตอบพระองค์เจ้าจรูญศักดิ์-กฤดากรว่า

...ทราบว่าสภากาชาดสยามอยู่ชั้นต้น ส่งแบบแจ้งความมาให้ว่า

ด้วยการที่จะเข้าได้โดยมีความสำคัญ 2 ข้อ ๆ

1. เข้าในสัญญาเจนีวา

2. สภากาชาดนั้นรัฐบาลของตนรับแล้ว...

วันที่ 27 พฤษภาคม พ.. 2463 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (InternationalCommittee of the Red Cross - ICRC) ได้ให้การรับรองสภากาชาดไทยเข้าเป็นสมาชิก

วันที่ 8 เมษายน พ.. 2464 สันนิบาตกาชาด (League of Red Cross Societies) รับรองสภากาชาดสยาม และรับสภากาชาดสยามเข้าเป็นสมาชิก สันนิบาตกาชาด (League of 

 

191  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

Red Cross Societies) ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ” (International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies) เมื่อปี พ.. 2534

(16) พระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยามเพิ่มเติม พุทธศักราช 2463

วันที่ 16 ตุลาคม พ.. 2463 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม มีหนังสือสภากาชาดสยามที่ 1754 กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(157) ความว่า

ด้วยในระหว่างที่อรรคราชทูตสยามได้เจรจากับกรรมการกาชาดระหว่างประเทศที่เจเนวา (Inter-national Red Cross Committee of Geneva) เพื่อให้รับรองสภากาชาดสยามเข้าในสมาคมกาชาดระหว่างประเทศ แลเมื่อได้ส่งพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยาม พ.. 2461 ให้ตรวจดู เพื่อทราบฐานะของสภากาชาดสยามแล้ว กรรมการที่เจเนวาได้ไต่ถามทักท้วงถึงการบางอย่างซึ่งมิได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินั้น แลซึ่งเปนนิยมระหว่างประเทศว่าจำต้องยึดถือเปนหลักสำหรับทางปฏิบัติการของสภากาชาดทั้งปวงที่จักร่วมสมาคมกัน จึงจำต้องแก้ไขข้อบัญญัติสำหรับสภากาชาดสยามเข้าหา จึงจักสามารถได้รับความรับรองที่ปรารถนานั้น

คณะกรรมการสภากาชาดสยามในชั้นนั้น เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าพระราช-บัญญัติ พ.. 2461 ได้ประกาศออกไปยังมิช้ามินาน จะแก้ไขอีกโดยพลันเช่นนั้น จักไม่เปนการงดงาม จึงได้ร่างเปนข้อบังคับสำหรับใช้ประกอบกับพระราช-บัญญัติส่งให้กรรมการกาชาดระหว่างประเทศตรวจก่อน เมื่อเห็นชอบด้วยแล้ว จึงจะประกาศใช้ กรรมการกาชาดระหว่างประเทศทักท้วงว่าข้อบังคับนั้นมีข้อความบางข้อที่ยังขัดกับพระราชบัญญัติเดิม แต่ผลที่สุดก็ได้ยอมตกลงให้ความรับรอง เปนอันเสร็จกันไปแล้ว

บัดนี้ ได้ปฤกษากัน เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า เพื่อบำบัดข้อขัดข้องทั้งปวง ควรมีพระราชบัญญัติเพิ่มเติม เพื่อพระราชทานอำนาจแก่สภานายก (สภานายิกา) ในอันที่จะวางข้อบังคับว่าด้วยระเบียบการปกครอง แลวิธีดำเนินการของสภาได้ แลยกเลิกข้อความในพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยาม พ.. 2461 เฉพาะที่เปนปฏิปักษ์ต่อบทพระราชบัญญัติใหม่นี้ ฤๅต่อข้อบังคับ ซึ่งสภานายก (สภานายิกา) ได้วางไว้โดยอาศรัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัตินี้ เพื่อบำบัดข้อที่ขัดกันเล็กน้อย อันกรรมการกาชาดระหว่างประเทศได้ทักท้วงนั้นให้พ้นไป เมื่อต้องตราพระราชบัญญัติเพิ่มเติมฉนี้แล้ว น่าจะนึกว่าเหตุไฉนจึงไม่ตราพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติเดิมเสียทีเดียวเล่า ทั้งนี้เนื่องมาแต่ความคิดว่า ข้อกำหนดอันได้วางลงโดยข้อบังคับนี้

 

192  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

เปนข้อความเลอียดจุกจิกหลายอย่าง อาจมีการที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมอีกต่อไปได้เนือง ๆ หากตราเปนพระราชบัญญัติแล้ว การแก้ไขพระราชบัญญัติย่อมเป็นการใหญ่มาก ไม่น่านิยมให้ต้องแก้เนือง ๆ จึงได้รับพระราชทานวางลง เปนข้อบังคับเพื่อแก้ไขได้สดวก โดยฐานะที่ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ

ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายร่างพระราชบัญญัติเพิ่มเติมแลข้อบังคับ ซึ่งได้กราบบังคมทูลนี้ เพื่อได้รับพระราชทานพระบรม-ราชวินิจฉัยแลขอพระราชทานกราบบังคมทูลให้ทราบใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทด้วยว่าร่างนี้ มหาอำมาตย์ตรี พระยาจินดาภิรมย์ กรรมการที่ปฤกษาของสภากาชาดสยาม เปนผู้ได้ช่วยตรวจแลเรียบเรียง กับพระยาจินดาภิรมย์ ได้นำไปหารือ นายอาร์ คี ยอง หัวน่ากรรมการร่างประมวลกฎหมาย ตรวจออกความเห็น แลได้ช่วยแก้ไขด้วยตลอดแล้ว ถ้าชอบด้วยพระราชดำริ ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประกาศใช้สืบไป

ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ข้าพระพุทธเจ้า บริพัตร ขอเดชะ

อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม

(17) การดำเนินการของสภากาชาดสยามระหว่าง พ.. 2453 - 2500

เมื่อ พ.. 2450 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดช กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ทรงตรัสเสนอไว้ในที่ประชุมสภาเสนาบดี ความตอนหนึ่งว่า

...ในที่จะจัดสภาอุณาโลมนี้ต่อไปภายน่านั้น มีทางที่จะทำได้ให้เป็นการถาวรมั่นคง คือ...

2. การปกครองสภาอุณาโลมนี้ก็คงอยู่ในความอำนวยการของสภานายิกาและกรรมการินีนั้นทุกประการ แต่มีเจ้าน่าที่ซึ่งฝ่ายรัฐบาลเสียเงินเดือนให้ไปทำการดูแลการในโรงพยาบาลนี้ตลอดทั้งพนักงานแพทย์ต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในที่นี้ ก็ให้เป็นส่วนของรัฐบาลเหมือนกัน ซึ่งจะได้เบิกเงินเดือนจากกรมยุทธนาธิการนั้น...

การดำเนินการของสภากาชาดสยามหลังจากจัดตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว เป็นไปตามพระดำรัสที่พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดช กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ทรงตรัสเสนอไว้ กล่าวคือ การปกครองสภากาชาดสยามเป็นอำนาจหน้าที่ของสภานายิกา อุปนายิกาผู้อำนวยการ และกรรมการบริหารสภากาชาดสยาม ในส่วนของเจ้าหน้าที่ ได้แก่ แพทย์และพยาบาลให้รัฐบาลรับผิดชอบ โดยผ่านทางกระทรวงกลาโหม คือ กรมแพทย์สุขาภิบาลทหาร ซึ่งมีบุคคลสำคัญ 2 ท่าน รับผิดชอบบุกเบิกกิจการของโรงพยาบาล

 

193  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดสยาม จนเจริญก้าวหน้าอย่างมาก คือ นายแพทย์ใหญ่ทหาร พล.. พระยาวิบุลอายุรเวท และผู้อำนวยการโรงเรียนแพทย์ทหารบก พล.. พระยาดำรงแพทยาคุณ (กิตติมศักดิ์)(158)

ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน พ.. 2475คณะราษฎรปฏิวัติยึดอำนาจและเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) ไปเป็นระบอบประชา-ธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ส่งผลกระทบสำคัญต่อสภากาชาดสยาม เพราะรัฐบาลคณะราษฎรได้ยกเลิกการอุดหนุนของรัฐบาลผ่านทางกระทรวงกลาโหม โดยกระทรวงกลาโหมได้ออกคำสั่งสำหรับทหารที่ 65/5392 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2475(159) มีใจความว่า

...1. พล.. พระยาวิบุลอายุรเวท นายแพทย์ใหญ่ทหารบกกับ พล.. พระยาดำรงแพทยาคุณ ผู้อำนวยการแผนกโรงเรียนแพทย์ทหาร ซึ่งให้ยืมไปทำการทางสภากาชาดสยาม ออกจากประจำการเพื่อรับพระราชทานบำนาญ

2. อำมาตย์โท พระศัลยเวทย์วิศิษฎ์ ซึ่งรับราชการอยู่ในกระทรวงมหาดไทย เป็นนายแพทย์ใหญ่ทหาร ว่าที่พันโทแต่งเครื่องหมายทหารได้ รับเงินเดือนอัตรา พ.. 1 ทั้ง 3 นายนี้ ตั้งแต่สิงหาคม 2475(160)

กระทรวงกลาโหมออกคำสั่งให้ พล.. พระยาวิบุลอายุรเวท นายแพทย์ใหญ่ทหารบก กับพล.. พระยาดำรงแพทยาคุณ ผู้อำนวยการแผนกโรงเรียนแพทย์ทหาร พ้นจากราชการ และให้ย้ายอำมาตย์โท พระศัลยเวทย์วิศิษฎ์ ซึ่งรับราชการอยู่ในกระทรวงมหาดไทย มาเป็นนายแพทย์ใหญ่ทหารแทน นับเป็นการยกเลิกการอุดหนุนสภากาชาดสยามผ่านทางกระทรวงกลาโหมเป็นการถาวร

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.. 2485 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งที่ 4/2485 เรื่องตั้งกรรมการพิจารณาการปรับปรุงการแพทย์คณะกรรมการนี้มีอำนาจหน้าที่พิจารณา ให้ยุบเลิกสภากาชาดไทย และให้โอนโรงพยาบาลและสถานที่พยาบาลของสภากาชาดไทยมารวมกับหน่วยการแพทย์ในข้อ 1 แต่คงให้มีกองอำนวยการไว้ เผื่อจะมีติดต่อกับองค์กรสากลกาชาด

แต่การยุบเลิกสภากาชาดไทยไม่สำเร็จ และคณะกรรมการมีมติล้มเลิกไปในวันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.. 2485 เพราะติดขัดอนุสัญญาเจนีวาซึ่งเป็นเรื่องสากลที่มีประเทศมหาอำนาจทั้งโลกร่วมอยู่ในอนุสัญญาเจนีวา(181)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จพระ-ราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.. 2489 ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า “...พระองค์มีพระราชประสงค์ให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ผลิตแพทย์ผู้ได้สำเร็จหลักสูตรให้มีปริมาณมากขึ้น เพื่อออกมาช่วยเหลือประเทศชาติ...” เพื่อสนองพระราชประสงค์ดังกล่าว รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณจำนวนหนึ่งให้แก่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อให้สามารถผลิตแพทย์เป็นจำนวนมากพอกับความต้องการ

 

194  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ของประเทศชาติ และมีการเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวไว้ 3 แนวทางด้วยกัน ได้แก่

1) ขยายกิจการของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

2) จัดสร้างโรงเรียนแพทย์แห่งใหม่

3) จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นในโรงพยาบาลแห่งใดแห่งหนึ่งที่มีอยู่ในขณะนั้น

และเลือกแนวทางที่ 3 จึงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มีพระราชกฤษฎีกาประกาศตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.. 2490 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.. 2490 แล้ว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จึงเริ่มได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลผ่านทางมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขมากขึ้น บุคคลสำคัญที่เป็นกำลังหลักในการจัดตั้งคือ ศาสตราจารย์อุปการคุณ นายแพทย์เฉลิม พรมมาส และศาสตราจารย์อุปการคุณ พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์)

วันที่ 26 กันยายน พ.. 2495 พระยาบริรักษเวชชการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีหนังสือด่วนมากเสนอคณะรัฐมนตรี โดยอ้างถึงคณะกรรมการคลังเมื่อปี พ.. 2494 ได้ให้คำแนะนำแก่กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ว่า

...สมควรจะดำเนินการ โอนเจ้าหน้าที่สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์มาเป็นข้าราชการ ทำหน้าที่อาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยตั้งงบประมาณเงินเดือนรับไว้ทางกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์...

โดยเรื่องนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขก็ได้ทำความตกลงกับสภากาชาดไทยเรียบร้อยแล้ว จึงขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

วันที่ 21 ตุลาคม พ.. 2495 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ และ ก..เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เห็นสมควรให้ตัดเงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับเจ้าหน้าที่เหล่านี้ ซึ่งจ่ายจากเงินอุดหนุนทางสภากาชาดไทยเสีย พร้อมประกาศรายชื่ออาจารย์ที่จะโอนจากสภากาชาดไทยมาสังกัดคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 36 ท่าน เช่น หลวงประกิตเวชศักดิ์ หลวงประจักษ์เวชสิทธิ์ นายกอบชัย พรหมินทะโรจน์ นายจตุรพร หงส์ประภาส นายชุบ โชติกเสถียร นายพงษ์ ตันสถิต นายเฉลี่ย วัชรพุกก์ หลวงพรหมทัตตเวที ม..เกษตร สนิทวงศ์ น..ตะวัน สุรวงศ์ บุนนาค นายประการ พิศาลบุตร เป็นต้น(182)

การโอนอาจารย์แพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ไปเป็นข้าราชการในมหาวิทยาลัยแพทย-ศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข จึงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของสภากาชาดไทยไปได้มาก กิจการของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และคณะแพทยศาสตร์เริ่มเจริญก้าวหน้าอีกครั้ง

วันที่ 21 มิถุนายน พ.. 2509 หนังสือสำนักนายกรัฐมนตรีที่ สร.0101/3778 วันที่ 11 กรกฎาคม พ.. 2509 คณะรัฐมนตรีลงมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเตรียมการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายหลังจึงมีตัดโอนทรัพย์สินและอำนาจหน้าที่ของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มาสังกัดจุฬาลงกรณ์

 

195  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

มหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ และเปลี่ยนชื่อเป็นคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.. 2510(183)

(18) องค์กรกาชาดโลกและขบวนการกาชาด เพื่อขับเคลื่อนอนุสัญญาเจนีวา

ตามข้อผูกพันอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 ข้อ 10 มีผลให้ประเทศไทยจะต้องแต่งตั้งสมาคมอาสาแห่งเดียวของประเทศนั้นให้ทำหน้าที่เป็น National Red Cross Society ตามอนุสัญญาเจนีวา รัฐบาลสยามมีเจตนารมณ์ที่จะอยู่ในอนุสัญญาเจนีวาต่อไป จึงเร่งออกประกาศ พระราชบัญญัติห้ามใช้เครื่องหมายกากะบาดแดง ร.. 130เพื่อต่ออนุสัญญาเจนีวาออกไปอีก 5 ปีได้สำเร็จ หลังจากนั้นจึงจัดการฟื้นฟูสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามขึ้นมาใหม่ พระราชทานนามใหม่ว่า สภากาชาดสยาม โดยประกาศเป็นกฎหมายจัดตั้งองค์กรคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยาม พุทธศักราช 2461 และได้ปฏิบัติตามอนุสัญญาเจนีวา ข้อ 10 คือ แจ้งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศให้ทราบว่า รัฐบาลสยามได้มอบหมายให้สภากาชาดสยามเป็น National Red Cross Society ตามอนุสัญญาเจนีวา ซึ่งทางคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ มีเงื่อนไขว่า Article 10... “The Voluntary Aid Societies Which It Has Authorized, under Its Own Responsibilities” หมายความว่า สภากาชาดของประเทศต้องมีสิทธิ์และอำนาจหน้าที่เป็นของตนเอง เป็นองค์กรอิสระ ปัจจุบันสภากาชาดไทยยังคงสถานะเป็นสมาชิกคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ตามอนุสัญญาเจนีวา และเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรกาชาดโลกและขบวนการกาชาด ดังข้อมูลต่อไปนี้

องค์กรกาชาดโลก

องค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ประกอบด้วย 3 องค์กร คือ

1) คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (The International Committee of The Red Cross) หรือ ICRC มีบทบาทหน้าที่หลัก คือ การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เมื่อเกิดการขัดแย้งทางทหาร เกิดสงครามกลางเมือง หรือสงครามระหว่างประเทศ และธำรงรักษาหลักการกาชาด

2) สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (The International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies) หรือ IFRC มีบทบาทหน้าที่หลัก คือ ติดต่อประสานงานกับสภากาชาดระหว่างประเทศ เพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยธรรมชาติทั่วไป พัฒนาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนและเยาวชน จัดตั้งและพัฒนาสภากาชาดของประเทศต่าง ๆ โดยปฏิบัติงานตามหลักการของกาชาดและอนุสัญญาเจนีวา

3) สภากาชาดประจำชาติ สภาเสี้ยววงเดือนแดงประจำชาติ (Nation Red Cross and Red Crescent Society) บทบาทหน้าที่หลัก คือ ฝึกอบรมบุคลากร เพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ เช่น แพทย์ พยาบาล อาสาสมัคร ฯลฯ เพื่อปฏิบัติงานในโครงการต่าง ๆ ของสภากาชาด และบรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัยพิบัติ รวมถึงฝึกอบรมเยาวชนเพื่อการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ด้วย

 

196 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ที่มาองค์กร

องค์กรกาชาดทั้ง 3 องค์กร เกิดจากผลของกฎหมายอนุสัญญาเจนีวา กล่าวคือ อนุสัญญาเจนีวาเป็นอนุสัญญาทวิภาคี (Bilateral Treaty) แบบเก่าที่มีใช้ในยุโรปมาตั้งแต่ยุคโรมัน เป็นสัญญาระหว่างประเทศสวิสกับแต่ละประเทศภาคีสมาชิก 196 ประเทศ (ในขณะนั้นยังไม่มีอนุสัญญาแบบพหุภาคี Multilateral Treaty ซึ่งอนุสัญญาแบบพหุภาคี เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรกภายหลัง คือ อนุสัญญากรุงเฮก ค.. 1899)

อนุสัญญาเจนีวา ประกอบด้วยคู่สัญญา 2 ส่วน คือ

1. ประเทศผู้รับสัญญา หรือประเทศผู้รักษาอนุสัญญา (Depositary State) คือ ประเทศสวิส เป็นผู้มีอำนาจใช้อนุสัญญา จึงเป็นผู้ใช้อนุสัญญาเจนีวาขับเคลื่อนปฏิบัติการระหว่างประเทศได้ การขับเคลื่อนปฏิบัติการของกาชาดเรียกว่า Red Cross Movement

รัฐบาลสวิสมอบอำนาจให้กับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (The International Committee of the Red Cross - ICRC) สำนักงานใหญ่ ณ นครเจนีวา เป็นผู้ดำเนินการแทนรัฐบาลสวิส ซึ่งถือเป็นหน่วยงานของรัฐบาลสวิสและได้รับเงินงบประมาณของรัฐบาลสวิสโดยตรง นอกจากนี้ยังมีสาขาของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก สาขาเหล่านี้ได้รับอุดหนุนจากเงินบริจาคของประเทศต่าง ๆ

ภารกิจหลักของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ คือ ปฏิบัติการทางมนุษยธรรมในระดับนานาชาติ International Conflicts/International Disasters/Non - International Conflicts เพราะได้รับความคุ้มครองตามอนุสัญญาเจนีวา ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ - International Humanitarian Law (อนุสัญญาเจนีวาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายชุดนี้)

2. ประเทศผู้ให้สัญญาหรือประเทศภาคีสมาชิก (Ratifying State) คือการที่ประเทศต่าง ๆ ให้สัตยาบันต่อรัฐบาลสวิสทีละประเทศ ประเทศเหล่านี้เรียกว่า ประเทศภาคีสมาชิก ไม่มีอำนาจใช้อนุสัญญาเจนีวาโดยตรง แต่อำนาจทางอ้อมคือต้องเข้าร่วมกับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ จึงสามารถปฏิบัติภารกิจระหว่างประเทศโดยมีอำนาจกฎหมายอนุสัญญาเจนีวาคุ้มครอง ประเทศเหล่านี้ได้จัดตั้ง National Red Cross Society ขึ้น สำหรับประเทศไทยคือ สภากาชาดไทย

ปัจจุบันมี 196 ประเทศเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาเจนีวา และมี 191 ประเทศจัดตั้ง National Red Cross Society จึงมีทั้งหมด 191 National Red Cross Societies แต่ละแห่งมีอำนาจปฏิบัติการภายใต้กฎหมายของประเทศตนเอง มีภารกิจหลักเกี่ยวกับภัยพิบัติใหญ่ภายในประเทศตนเอง Natural and Technological Disasters, Refugees and Those Affected by Health Emergencies

สันนิบาตกาชาด - The League of Red Cross Societies

หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.. 2462 เฮนรี เดวิสัน ประธานคณะกรรมการกาชาดสงครามอเมริกัน (American Red Cross War Committee) ได้เสนอให้รวม

 

197 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

สภากาชาดของแต่ละประเทศ (National Red Cross Societies) จัดตั้งสหพันธ์กาชาดขึ้น เรียกว่าสันนิบาตกาชาด” (League of Red Cross Societies) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International Federation of Red Cross and Red Crescent) ตั้งแต่ปี พ.. 2534

คำว่า สันนิบาต หมายถึง ชุมนุม สันนิบาตกาชาดจึงหมายถึง การรวมตัวของสภากาชาดของแต่ละประเทศ National Red Cross Society เพื่อเป็นหน่วยงานเชื่อมประสานสภากาชาดของแต่ละประเทศเข้าด้วยกันเพื่อเป้าหมาย 4 ประการ ดังนี้

เป้าหมายที่ 1 : ลดจำนวนผู้เสียชีวิตบาดเจ็บและผลกระทบจากภัยพิบัติ

เป้าหมายที่ 2 : ลดจำนวนผู้เสียชีวิตความเจ็บป่วยและผลกระทบจากโรคและภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข

เป้าหมายที่ 3 : เพิ่มขีดความสามารถของสภากาชาดในชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อจัดการกับสถานการณ์ภัยพิบัติที่เร่งด่วน

เป้าหมายที่ 4 : ส่งเสริมการเคารพในความหลากหลายและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และลดการเลือกปฏิบัติและการกีดกันทางสังคม

ทั้งนี้จะเห็นว่าเป้าหมายทั้ง 4 ประการของสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศเกี่ยวกับภัยพิบัติและงานมนุษยธรรมภายใต้กฎหมายของประเทศตนเอง ไม่เกี่ยวกับการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมในสงคราม การสู้รบ หรือความขัดแย้ง ซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศที่มีอำนาจอนุสัญญาเจนีวาคุ้มครองปฏิบัติการ

ขบวนการกาชาด - The Red Cross Movement

The Red Cross Movement แปลเป็นภาษาไทยว่า ขบวนการกาชาด หมายถึง กิจกรรมขับเคลื่อนอนุสัญญาเจนีวาให้มีผลในทางปฏิบัติจริง เป็นหน้าที่ของประเทศผู้รักษาอนุสัญญา (Depositary State) คือ ประเทศสวิส ซึ่งมอบอำนาจให้กับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเป็นผู้ดำเนินการ มีหน้าที่ขับเคลื่อนอนุสัญญาเจนีวาโดยใช้การประชุมองค์กรกาชาดทั่วโลกทุก ๆ 4 ปี คือ The International Conference of the Red Cross and Red Crescent - IRRC ซึ่งจัดประชุมครั้งแรก ณ กรุงปารีส เมื่อ พ.. 2410 (The First Meeting Took Place in Paris in 1867) กำลังจะมีการประชุมครั้งที่ 33 ในปี พ.. 2562 (the 33rd Conference in 2019)

หลักการกาชาด The Fundamental Principles of the Red Cross

จากประสบการณ์ปฏิบัติการกาชาดยาวนานกว่าหนึ่งร้อยปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (The International Committee of the Red Cross) และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (The Inter-national Federation of Red Cross and Red Crescent Societies) ร่วมกันประกาศ The Fundamental Principles of the Red Cross หรือหลักการกาชาด ณ กรุงเวียนนา ในปี พ.. 2508 ค.. 1965 เพื่อเป็นหลักการของปฏิบัติการกาชาดทั่วโลกตลอดไป

 

198 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

หลักการกาชาด - The Fundamental Principles of the Red Cross ประกอบด้วย 1. HUMANITY - มนุษยธรรม/ 2. IMPARTIALITY - ความไม่ลำเอียง/ 3. NEUTRALITY - ความเป็นกลาง/ 4. INDEPENDENCE VOLUNTARY SERVICE - ความเป็นอิสระ/ 5. UNITY - ความเป็นเอกภาพ/ 6. UNIVERSALITY - ความเป็นสากล

(19) คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และเชลยสงคราม Prisoners of War ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 - ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก

สงครามโลกครั้งที่ 1

สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นมหาสงครามขนาดใหญ่ มีศูนย์กลางสงครามอยู่ในทวีปยุโรป เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม ค.. 1914 ถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.. 1918 ทุกประเทศมหาอำนาจของโลกเข้าร่วมรบในสงคราม แบ่งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร (ศูนย์กลาง คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย) และฝ่ายมหาอำนาจกลาง (ศูนย์กลาง คือ เยอรมนี ออสเตรีย - ฮังการี ออตโตมัน และบัลแกเรีย) มีทหารกว่า 70 ล้านคนเข้าร่วมรบ โดยเป็นทหารยุโรป 60 ล้านคน มีทหารเสียชีวิตกว่า 9 ล้านคน สาเหตุหลักเพราะพลังทำลายล้างของอาวุธที่ทวีความร้ายแรงอย่างมหาศาลด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ สงครามโลกครั้งนี้เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหาย รวมกันไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคน และนำไปสู่การจัดระเบียบโลกครั้งใหญ่หลังสิ้นสุดสงคราม

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้น คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศตระหนักว่ามนุษยชาติบนโลกนี้กำลังเผชิญกับความทุกข์ครั้งใหญ่ เป็นความท้าทายที่ยุ่งยากครั้งสำคัญ และมีเพียงวิธีเดียวที่จะช่วยเหลือมนุษยชาติในสงครามได้คือ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศจะต้องทำงานร่วมมือกับสภากาชาดของแต่ละประเทศ (National Red Cross Society) อย่างเข้มแข็ง

ก่อนที่จะเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.. 1914 มีสภากาชาดของแต่ละประเทศจาก 45 ประเทศที่เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาเจนีวา ตั้งขึ้นตามอนุสัญญาเจนีวา ทำให้คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศขับเคลื่อนองค์กรกาชาดทั้งหมดทั่วโลก เป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สามารถช่วยเหลือเชลยศึกจำนวนหลายล้านคน และได้ระดมสรรพกำลังพยาบาลจากสภากาชาดทั่วโลก รวมทั้งจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเข้ามาให้ช่วยเหลือทางการแพทย์ในประเทศยุโรปที่ตกอยู่ในสงครามอีกด้วย

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.. 1914 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศได้จัดตั้งหน่วยงานทางด้านมนุษยธรรมที่สำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติ คือ สำนักงานเชลยศึกระหว่างประเทศ (International Prisoners of War Agency - POW) ซึ่งมีอาสาสมัครเข้าร่วมปฏิบัติการราว 1,200 คน เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 International Prisoners of War Agency (POW) ได้จัดส่งไปรษณียบัตร จดหมาย ระหว่างเชลยสงครามกับครอบครัวกว่า 20 ล้านฉบับ พัสดุกว่า 1.9 ล้านชิ้น ประเทศต่าง ๆ ร่วมบริจาคเงินให้กับหน่วยงาน POW ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศราว 18 ล้านฟรังก์สวิส นอกจากนี้ยังได้ช่วยเหลือให้เกิดการแลกเปลี่ยนนักโทษประมาณ 200,000 คน ระหว่างประเทศที่สู้รบกัน เชลยศึกได้รับการ

 

199 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ปล่อยตัวจากการถูกขังและเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดไปหาครอบครัวของพวกเขา โดยร้องขอให้ประเทศคู่สงครามทั้ง 2 ฝ่ายจัดทำ Index Card หรือบัตรประจำตัวเชลยศึก พร้อมทั้งบัญชีเชลยศึกเพื่อระบุข้อมูลเฉพาะบุคคลและให้ส่งกลับมาให้กับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศที่นครเจนีวา โดยมีบัตรประจำตัวเชลยศึกส่งกลับมากว่า 7 ล้านใบ ระหว่าง ค.. 1914 ถึง 1923 ปัจจุบันข้อมูลเชลยศึกสงครามโลกครั้งที่ 1 ยังเก็บรักษาไว้อย่างสมบูรณ์เพื่อการศึกษา การติดตาม และการเป็นอนุสรณ์ความทรงจำที่เตือนสติมนุษยชาติไม่ให้เกิดมหาสงครามขึ้นอีก

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการใช้อาวุธเคมีทำลายล้างมนุษย์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศประท้วงอย่างรุนแรง และเนื่องจากอนุสัญญาเจนีวา ค.. 1906 ไม่ครอบคลุมอาวุธเคมี จึงใช้อำนาจของอนุสัญญากรุงเฮก - Hague Convention’s “Laws and Customs of War on Land” of 1907 ซึ่งมีอำนาจคุ้มครองพลเรือนผู้ประสบภัยสงครามในดินแดนที่ถูกยึดครอง (The Protection of Civilians and Occupied Territory) ปฏิบัติการสำคัญมากอีกประการหนึ่งของหน่วยงานนักโทษระหว่างสงคราม International Prisoners of War Agency (POW) ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ คือ การตรวจสอบค่ายกักกันเชลยศึกในประเทศคู่สงคราม โดยเชิญผู้แทนจาก 41 ประเทศเข้าร่วมตรวจสอบค่ายกักกันเชลยศึกจำนวน 524 ค่ายในยุโรป จนกระทั่งสิ้นสุดสงคราม

ระหว่างปี ค..1916 ถึง ค.. 1918 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศตีพิมพ์โปสต์การ์ดเป็นภาพฉากจากค่ายกักกันเชลยศึกเพื่อแสดงภาพเชลยศึกในกิจกรรมประจำวัน เช่น การแจกจ่ายจดหมายจากที่บ้าน ความตั้งใจที่จะให้ครอบครัวของนักโทษมีความหวัง ปลอบใจ และทุเลาความกังวลจากความไม่แน่นอนในชะตากรรมของคนที่พวกเขารัก หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างปี ค.. 1920 ถึง 1922 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศได้จัดการส่งคืนนักโทษประมาณ 500,000 คน เดินทางกลับประเทศบ้านเกิดของพวกเขาในปี 1920 หน้าที่การส่งตัวกลับประเทศถูกส่งมอบให้กับองค์การสันนิบาตแห่งชาติ (League of Nations) ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ และแต่งตั้งให้นักการทูตและนักวิทยาศาสตร์ชาวนอร์เวย์ ชื่อนาย Fridtjof Nansen เป็นข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสันนิบาตชาติ - High Commissioner for Refugees” คำสั่งทางกฎหมายของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสันนิบาตชาติถูกขยายออกไปเพื่อสนับสนุนและดูแลผู้ลี้ภัยสงครามและผู้พลัดถิ่น เมื่อสำนักงานของเขากลายเป็นของสันนิบาตแห่งชาติ นาย Nansen ได้คิดค้นหนังสือเดินทางแนนสัน - The Nansen Passport” สำหรับผู้อพยพลี้ภัย เพื่อให้เดินทางกลับบ้านได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศขององค์การสันนิบาตชาติ เพราะสงครามโลกทำให้มนุษยชาติหลายสิบล้านคนอพยพหนีภัย ถูกจับเป็นเชลยศึก จึงพลัดถิ่นฐานเดิมโดยไร้เอกสารแสดงสัญชาติ ทำให้นาย Fridtjof Nansen และผู้แทน 2 คนจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี ค.. 1922

หนึ่งปีก่อนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี ค.. 1917 จากปฏิบัติการมนุษยธรรมในระหว่างสงครามที่โดดเด่นที่สุดในโลก เป็นรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเพียงรางวัลเดียวมอบให้ในช่วงปี ค.. 1914 ถึง ค.. 1918

 

200 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

200_Rath Museum, Geneva

Rath Museum, Geneva.

The International Prisoners of War Agency was Opened in August 1914 under ICRC Management

© ICRC/hist-01816-11

ในปี ค.. 1923 มีการเปลี่ยนแปลงในนโยบายครั้งสำคัญในการแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เพื่อรักษาความเป็นกลางทางการเมืองสมบูรณ์แบบ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด รวมทั้งประเทศมหาอำนาจใด ๆ จึงกำหนดให้กรรมการกาชาดระหว่างประเทศต้องเป็นพลเมืองสวิสเท่านั้น ความเป็นกลางทางการเมืองถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของปฏิบัติการมนุษยธรรมในระหว่างสงครามที่คณะกรรมการกาชาดฯ สามารถเข้าช่วยเหลือมนุษยชาติ เชลยศึกสงครามจากประเทศคู่สงครามทั้ง 2 ฝ่าย เพราะต้องมีความเป็นกลางและไม่ขัดแย้งกับประเทศใด ๆ

ในปี ค.. 1925 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศผลักดันให้มีการจัดทำอาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพสำเร็จ อีก 4 ปีต่อมา ได้แก้ไขอนุสัญญาเจนีวาและเพิ่มเติมเรื่องการปฏิบัติต่อเชลยศึกสงคราม (จากเดิมที่คุ้มครองเฉพาะทหารบาดเจ็บ) เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.. 1929 คือ Convention Relative to the Treatment of Prisoners of War. Geneva, 27 July 1929จึงได้รับการเคารพยกย่องและมีชื่อเสียงทั่วโลกมากกว่าเดิม

ในปี ค.. 1934 คณะกรรมการฯ พยายามแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาเจนีวาเพื่อเพิ่มการคุ้มครองพลเรือน (ที่ไม่ใช่ทหาร) ที่อยู่ในประเทศที่ถูกยึดครอง แต่น่าเสียดายที่รัฐบาลส่วนใหญ่มีความสนใจน้อย จึงยังไม่ทันมีผลบังคับใช้ ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เสียก่อน

 

201 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

201_1_Rath Museum, Geneva. International

Rath Museum, Geneva. International Prisoners-of-War Agency.

Tracing Department, Franco-Belgian Section.

© ICRC/F. Boissonnas/hist-00581-03

201_2_An Unidentified Group of Red Cross

An Unidentified Group of Red Cross Workers Inspect Boxes Destined

for Christmas Overseas Shipment for Troops During the First World War

 

202 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

202_1_Rath Museum, Geneva

Rath Museum, Geneva. International Prisoners-of-War Agency.

Transporting Parcels for Prisoners of War

202_2_Austro-Hungarian Prisoners

Austro-Hungarian Prisoners

in an Italian Concentration Camp Attending a Roman Catholic Mass, 1917

 

 

203 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

203_1927 British Issued Nansen Identity Certificate

1927 British Issued Nansen Identity Certificate,

Used for Traveling to British Palestine, Issued to a Russian Jewish Refugee.



204 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

สงครามโลกครั้งที่ 2

สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสงครามเกิดขึ้นทั่วโลก ระหว่างปี ค.. 1939 ถึง ค.. 1945 เป็นสงครามที่โหดร้าย มีการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุมนุษยชาติชาวยิวหลายล้านคน รวมทั้งการละเมิดมนุษยธรรมร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ส่งผลกระทบต่อโลกมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ประเทศส่วนใหญ่ในโลกล้วนเข้าสู่สงคราม รวมทั้งประเทศมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านคน จากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วม เป็นสงครามเบ็ดเสร็จคือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อทำสงคราม รวมทั้งพลเรือนและทหาร เป็นสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ มีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศประสบปัญหาในการให้ความช่วยเหลือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ซึ่งเป็นพลเรือนโดยเยอรมันนาซี ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะอนุสัญญาเจนีวา ฉบับ ค..1929 คุ้มครองเฉพาะเชลยศึก แต่ยังไม่คุ้มครองพลเรือน เนื่องจากประเทศต่าง ๆ ยังไม่ให้ความสำคัญ ปฏิบัติการของคณะกรรมการกาชาดฯ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเหมือนกับสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ จัดตั้งสำนักงานกลางเชลยศึก (Central Agency of Prisoners of War) เพื่อตรวจสอบค่ายกักกันเชลยศึก ให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่พลเรือนและผู้สูญหาย

เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้ง 2 คณะกรรมการกาชาดฯ ได้ส่งผู้แทน 179 คน ตรวจเยี่ยมค่ายกักกันเชลยศึก 12,750 ครั้งใน 41 ประเทศ สำนักงานกลางเชลยศึก (Central Agency of Prisoners of War) มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ 3,000 คน บัตรจับกุมเชลยศึก (Captured Card) 45 ล้านใบ และส่งจดหมาย 120 ล้านฉบับ อุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ สภากาชาดเยอรมันถูกควบคุมโดยนาซี ปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือตามอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยสงคราม ค.. 1929 และละเมิดอนุสัญญาเจนีวาอย่างชัดเจน เช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในค่ายกักกันนาซี ปัญหาอีกประการ คือ ประเทศคู่สงครามคือสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นไม่ได้เป็นภาคีของอนุสัญญาเจนีวา ค.. 1929 ว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยสงคราม (Convention Relative to the Treatment of Prisoners of War. Geneva, 27 July 1929) ซึ่งมีประเทศเข้าร่วมอนุสัญญาเพียง 53 ประเทศ

คณะกรรมการกาชาดฯ ไม่สามารถทำข้อตกลงกับนาซีเยอรมนีเกี่ยวกับการช่วยเหลือเชลยศึกในค่ายกักกันได้ จึงเลิกใช้แรงกดดันทางการทูต เพื่อลดแรงกดดันต่อการทำงานของสำนักงานกลางเชลยศึก (Central Agency of Prisoners of War) หลังจากนั้นในเดือนพฤศจิกายน ค.. 1943 เยอรมันจึงอนุญาตให้คณะกรรมการกาชาดฯ ส่งจดหมายและพัสดุไปยังเชลยศึกในค่ายกักกันได้ แต่มีปัญหาเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลของเชลยศึกไม่ถูกต้อง การติดต่อสื่อสารระหว่างครอบครัวกับเชลยศึกจึงประสบปัญหาอย่างมาก

แม้ว่าคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศประสบปัญหาในการช่วยชาวยิวจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Holocaust) เพราะสภากาชาดเยอรมันถูกควบคุมโดยนาซี ปฏิเสธความร่วมมือ

 

205 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

กับคณะกรรมการกาชาดฯ เป็นเหตุให้เกิดข้อถกเถียงโต้แย้งกว้างขวาง และคณะกรรมการกาชาดฯ ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากที่ไม่สามารถช่วยชีวิตชาวยิวที่ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุราว 6 ล้านคน เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงปฏิรูปอนุสัญญาเจนีวาทั้งหมด และเน้นความสำคัญขยายการคุ้มครองพลเรือนให้เต็มที่ ซึ่งเดิมอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ 1 - 3 มุ่งเฉพาะการคุ้มครองทหารเท่านั้น ส่วนปัญหาการละเมิดอนุสัญญาเจนีวาโดยไม่มีบทลงโทษ เป็นจุดอ่อนประการสำคัญ เป็นเหตุให้องค์การสหประชาชาติจัดทำ ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ The Rome Statute of the International Criminal Court เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.. 1998 เพื่อจัดตั้ง ศาลอาญาระหว่างประเทศ International Criminal Court เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.. 2002 ลงโทษผู้ฝ่าฝืนกระทำความผิดต่อมนุษยชาติในยามสงครามให้เป็นอาชญากรสงครามของโลก

ปฏิบัติการคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เพื่อหาวิธีช่วยชีวิตชาวยิวจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในสงครามโลกครั้งที่ 2(164)

ในเดือนกรกฎาคม ค.. 1944 ฟรีดริช บอน (Friedrich Born) ผู้แทนของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ได้รับมอบหมายให้มาประจำการที่กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี

สิ่งแรกที่บอนทำคือ เริ่มแผนการปกป้องชาวยิวในเมืองภายใต้ความร่วมมือของรัฐบาลฮังการี บอนเสนอให้มีการขึ้นทะเบียนชาวยิวให้เป็นผู้อพยพที่ได้รับการรับรองจากประเทศในแถบลาตินอเมริกา แม้ว่าเอกสารนี้จะไม่สามารถรับรองความปลอดภัยในระยะยาว เพราะผู้อพยพยังไม่สามารถเดินทางออกจากประเทศได้จริง แต่การมอบสถานะผู้อพยพก็ทำให้ประชาชน

 

205_ภาพถ่ายนักโทษชายชาวยิว

ภาพถ่ายนักโทษชายชาวยิว

ในค่ายกักกันเชลยศึกนาซี

ที่แคมป์ Buchenwald

(ถ่ายขณะฝ่ายสัมพันธมิตร

เข้าไปช่วยเหลือปลดปล่อยอิสระจากนาซีเยอรมัน)

 

206 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

206_1_กลุ่มชาวยิวที่มีเด็กรวมอยู่ด้วย

กลุ่มชาวยิวที่มีเด็กรวมอยู่ด้วย ถูกต้อนออกจากเขตกักกันวอร์ซอโดยทหารเยอรมัน

(ภาพนี้ใช้เป็นหลักฐานในการพิพากษาคดีอาชญากรสงครามที่นูเรมเบิร์กในปี ค.. 1945)

206_2_The Last Jew Vinnitsa

“The Last Jew Vinnitsa”

ทหารเยอรมันกำลังจ่อยิงสังหาร

ชาวยูเครนที่เป็นยิว ระหว่าง

การสังหารหมู่ที่ยูเครน

 

207 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

207_1_พันโท เอ็ด ซีลเลอร์ จากหลุยส์วิลล์

พันโท เอ็ด ซีลเลอร์ จากหลุยส์วิลล์ เคนทักกี ยืนกล่าวท่ามกลางเหยื่อที่เสียชีวิตจากฮอโลคอสต์ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

เขากล่าวกับชาวเยอรมัน 200 คนที่โดนบังคับให้มาดูภาพอันสยองจากฝีมือนาซีเยอรมันว่าเป็นอย่างไร

207_2_The Henry Dunant

The Henry Dunant, Chartered by the ICRC, Delivered Mail and Food Parcels Intended for Prisoners

of War Interned in German Camps During World War II. @ICRC

 

208 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

208_1_การพิจารณาคดีอาชญาสงคราม

การพิจารณาคดีอาชญาสงคราม หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

Prosecuting War Crimes after the Second World War

208_2_เชลยศึกผู้รอดชีวิตในกรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี

เชลยศึกผู้รอดชีวิตในกรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี

 

209 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

หลายพันคนได้รับการคุ้มกันในระดับหนึ่ง ระหว่างนั้นบอนเริ่มแผนการต่อไป เขาตั้งโรงเลี้ยงเด็กกว่า 60 แห่งทั่วเมือง เพื่อรับเด็กกำพร้าจากสงครามมาอยู่ใต้ความคุ้มครอง ในจำนวนนี้มีเด็กจากครอบครัวชาวยิวราว 7 - 8 พันคน เขายังได้ควบรวมเอาโรงพยาบาล ที่หลบภัย และโรงครัวสาธารณะของชาวยิวมาไว้ใต้การดูแลของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ วิธีนี้สามารถช่วยกิจการต่าง ๆ ไม่ให้ตกเป็นของกองกำลังนาซีที่กำลังมีอำนาจอยู่ในขณะนั้น และก็เช่นเดียวกับวิธีของชิลด์เลอร์(165) (Oskar Schindler) ผู้ช่วยชีวิตชาวยิวกว่า 1,200 คนในช่วงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และถูกนำไปเขียนเป็นนวนิยายเรื่อง Schindler’s Ark ซึ่งต่อมาถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์เรื่อง Schindler’s List ในปี พ.. 2536 บอนเปิดรับสมัครอาสาเข้ามาทำงานและออกเอกสารรับรองยิว มีจำนวนราวสามพันคน

มาตรการนี้ได้รับการยินยอมจากรัฐ จนกระทั่งรัฐบาลของจอมพลเรือ มิโคลอส ฮอล ที่ถูกล้มล้างโดย The Arrow Cross Party กลุ่มชาวฮังกาเรียนนิยมนาซี ในวันที่ 15 ตุลาคม ค.. 1944 หลังตั้งรัฐบาลใหม่ได้ไม่กี่วัน ชาวยิวกว่าห้าหมื่นคนถูกส่งตัวจากเมืองหลวงไปยังค่ายกักกันตามชายแดนเยอรมันในทันที

เมื่อไม่สามารถให้ความคุ้มครองได้อีก สิ่งที่บอนพอจะทำได้คือ การแจกจ่ายเสบียงอาหารให้ประชาชนที่กำลังถูกขนย้ายออกจากเมือง เหตุการณ์นี้ดำเนินต่อไปเป็นเวลานาน กระทั่งอำนาจของกลุ่ม Arrow Cross เริ่มสั่นคลอนเพราะเยอรมันเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำในสงคราม บอนสามารถหยุดรถเที่ยวสุดท้ายและช่วยชีวิตชาวยิวไว้ได้กว่าเจ็ดพันคน

วีรกรรมของฟรีดริช บอน เป็นที่กล่าวขวัญและได้รับการยกย่องจาก Yad Vashem - The World Holocaust Remembrance Center ในเมืองเยรูซาเลม ให้เป็นหนึ่งในวีรบุรุษที่อดทน เสียสละ และปฏิบัติภารกิจเพื่อมนุษยธรรมอย่างเต็มกำลังความสามารถ

นอกจากนี้คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศได้ส่งทีมแพทย์ชุดแรกจากเจนีวาไปยังเมืองฮิโรชิมาหลังจากถูกทำลายโดยระเบิดปรมาณูในปี ค.. 1944 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยระเบิดปรมาณู คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศจึงได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเป็นครั้งที่ 2 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ทำงานร่วมกับสภากาชาดของแต่ละประเทศเพื่อจัดระเบียบความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้กับประเทศต่าง ๆ

จากประสบการณ์ปฏิบัติการกาชาดยาวนานกว่าหนึ่งร้อยปี โดยเฉพาะจากสงครามโลกครั้งที่ 2 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (The Inter-national Committee of the Red Cross) และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (The International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies) จึงร่วมกันประกาศ The Fundamental Principles of the

209_ฟรีดริช บอน (Friedrich Born)

ฟรีดริช บอน (Friedrich Born)

 

210 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

210_1_Guerre 1939 - 1945. Hongrie

Guerre 1939 - 1945. Hongrie.

Action de Secours à L’enfance.

WWII. ICRC’s

Children Relief Mission

in Hungary.

210_2_ผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูในโรงพยาบาลที่เมืองฮิโรชิมา

ผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูในโรงพยาบาลที่เมืองฮิโรชิมา สงครามโลกครั้งที่ 2

ICRC - Audiovisual Archives

 

211 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

Red Cross หรือหลักการกาชาด ณ กรุงเวียนนา ในปี ค.. 1965 (.. 2508) เพื่อเป็นหลักการของปฏิบัติการกาชาดทั่วโลกตลอดไป เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดข้อถกเถียงต่อปฏิบัติการกาชาดในยามสงครามอีก

เครื่องหมายกาชาดได้รับการเคารพทั่วโลก เป็นผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2

อนุสัญญาเจนีวา คือ กฎหมายระหว่างประเทศที่ประกาศอำนาจคุ้มครองด้านมนุษยธรรมในยามสงครามทั่วโลกด้วยเครื่องหมายกากบาทแดงบนพื้นขาวอนุสัญญาเจนีวาทุกฉบับที่จัดทำขึ้นตั้งแต่ปี ค.. 1864 จนถึงหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.. 1918 เป็นระยะเวลานานถึง 54 ปี มีประเทศยอมรับเข้าร่วมลงนามให้สัตยาบันอนุสัญญาเจนีวาเพียง 52 - 53 ประเทศเท่านั้น แม้ว่าคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศจะมีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องอย่างมากหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในฐานะเป็นอนุสัญญาที่สามารถปฏิบัติการช่วยเหลือทหารบาดเจ็บและเชลยศึกได้ขณะกำลังทำสงครามกันอยู่ก็ตาม ก็ไม่ได้รับความร่วมมือจากทั่วโลกมากนัก เพราะเมื่อคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศขอขยายอำนาจอนุสัญญาเจนีวาเพื่อคุ้มครองพลเรือนที่ไม่ใช่ทหารตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่ประเทศต่าง ๆ ไม่ให้ความสำคัญจึงไม่ให้สัตยาบัน เพราะคิดว่าการทำสงครามมีผลกระทบต่อทหารมากกว่าพลเรือน

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างความตกตะลึงให้กับคนทั้งโลก เพราะไม่มีใครคาดคิดว่านาซีเยอรมันจะคิดหาวิธีอันโหดร้าย ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์พลเรือนชาวยิวทุกคนแบบไร้มนุษยธรรมและไม่คำนึงถึงกฎหมายใด ๆ ทั้งสิ้น แทบจะไม่มีกลไกกฎหมายระหว่างประเทศใด ๆ ที่ปฏิบัติการได้ แต่อนุสัญญาเจนีวาเป็นกลไกหนึ่งที่ยังคงสามารถปฏิบัติการได้ในระหว่างสงครามแม้มีข้อจำกัด โดยประเทศคู่สงครามยังคงเคารพและละเว้นการโจมตีพื้นที่ที่ติดเครื่องหมายกาชาดไว้ เพื่อเปิดทางให้มีการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม

เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.. 1945 ตรงกับอนุสัญญาเจนีวามีอายุครบ 81 ปี ทุกประเทศทั่วโลกล้วนตระหนักภัยอันตรายของสงครามที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะทหาร แต่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์พลเรือนผู้บริสุทธิ์ด้วย ซึ่งอาจเกิดขึ้นที่ใดก็ได้ในโลก และโลกจำเป็นต้องมีกลไกช่วยเหลือมนุษยชาติในยามสงคราม ทุกประเทศจึงมุ่งเข้ามารวมกันที่คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ มีการจัดทำอนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 2 - 3 - 4 พร้อมกัน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.. 1949 โดยมี 196 ประเทศ (เกือบทั้งโลก) เข้าร่วมลงนามให้สัตยาบันอนุสัญญาเจนีวา (จากเดิมที่มีเพียง 53 ประเทศ) อนุสัญญาเจนีวาจึงเป็นกลไกกฎหมายระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่เป็นกลางและให้การคุ้มครองช่วยเหลือทางมนุษยธรรมทั้งทหารและพลเรือน หากเกิดมหาสงครามหรือสงครามโลก (ครั้งที่ 3) ขึ้นในอนาคต

ดังนั้นเครื่องหมายกาชาด สัญลักษณ์กากบาทสีแดงบนพื้นสีขาวจึงเป็นสัญลักษณ์ที่ทั้งโลกให้ความเคารพและยอมรับว่า เมื่อเห็นธงกาชาดกากบาทสีแดงบนพื้นสีขาวปักลงบนที่ใด แสดงว่าที่นั้น สิ่งนั้น คือ พื้นที่ สิ่งของ หรือบุคลากรขององค์กรกาชาด ที่กำลังปฏิบัติการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่มนุษยชาติของโลก เป็นพื้นที่ปลอดภัยจากการสู้รบ และมีกฎหมายอาญาระหว่างประเทศคุ้มครองธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ

(20) อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 - 4

ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาเจนีวาทุกฉบับ เนื่องจากอนุสัญญาเจนีวาเชื่อมโยงผูกพันกับอนุสัญญากรุงเฮก มีการใช้อำนาจอ้างอิงกันระหว่างอนุสัญญาทั้งสอง อีกทั้งรัฐบาลไทยในแต่ละยุคสมัยเรียกชื่อภาษาไทยของอนุสัญญาเจนีวาหลายชื่อ จึงยากที่จะทำความเข้าใจ จึงได้รวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลจดหมายเหตุของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ประกอบกับเอกสารจดหมายเหตุแห่งชาติของไทยและประกาศราชกิจจานุเบกษา อธิบายดังนี้

อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 - สัญญาเมืองเจนีวา ร.. 83 Geneva Convention, 1864 (Convention for the Amelioration of the Condition of the Wounded in Armies in the Field. Geneva, 22 August 1864)

เป็นอนุสัญญาฉบับแรก ลงวันที่ 22 สิงหาคม ค.. 1864 มีประเทศเข้าร่วมอนุสัญญา 57 ประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกอนุสัญญาฉบับนี้ว่า หนังสือสัญญาเมืองเยนิวา ลงวันที่ 22 สิงหาคม รัตนโกสินทรศก 83 หรือสัญญาเมืองเจนีวา ร.. 83 รัฐบาลไทยเข้าร่วมด้วยวิธีลัดให้สัตยาบันอย่างเดียว (วิธี Accession) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.. 1895

 

212 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

212_The Central Prisoners of War Agency

The Central Prisoners of War Agency

Established by the ICRC in 1939, Registered Prisoners of War and Passed on Around 120 Million

Messages, Carrying News to and from Prisoners of War and Their Families

(20) อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 - 4

ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาเจนีวาทุกฉบับ เนื่องจากอนุสัญญาเจนีวาเชื่อมโยงผูกพันกับอนุสัญญากรุงเฮก มีการใช้อำนาจอ้างอิงกันระหว่างอนุสัญญาทั้งสอง อีกทั้งรัฐบาลไทยในแต่ละยุคสมัยเรียกชื่อภาษาไทยของอนุสัญญาเจนีวาหลายชื่อ จึงยากที่จะทำความเข้าใจ จึงได้รวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลจดหมายเหตุของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ประกอบกับเอกสารจดหมายเหตุแห่งชาติของไทยและประกาศราชกิจจานุเบกษา อธิบายดังนี้

อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 - สัญญาเมืองเจนีวา ร.. 83 Geneva Convention, 1864 (Convention for the Amelioration of the Condition of the Wounded in Armies in the Field. Geneva, 22 August 1864)

เป็นอนุสัญญาฉบับแรก ลงวันที่ 22 สิงหาคม ค.. 1864 มีประเทศเข้าร่วมอนุสัญญา 57 ประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกอนุสัญญาฉบับนี้ว่า หนังสือสัญญาเมืองเยนิวา ลงวันที่ 22 สิงหาคม รัตนโกสินทรศก 83 หรือสัญญาเมืองเจนีวา ร.. 83 รัฐบาลไทยเข้าร่วมด้วยวิธีลัดให้สัตยาบันอย่างเดียว (วิธี Accession) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.. 1895

 

213 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

- การแก้ไขหรือขยายอำนาจอนุสัญญาเจนีวา

- การแก้ไขที่ไม่สำเร็จ : Additional Articles วันที่ 20 ตุลาคม ค.. 1868 ได้ขยายการคุ้มครองไปยังสงครามทางทะเล แต่ไม่มีประเทศใดให้สัตยาบันจึงไม่มีผลบังคับใช้

- การขยายอำนาจด้วยอนุสัญญากรุงเฮก ฉบับที่ 1 ค.. 1899 : วันที่ 4 กันยายน ค.. 1900 อนุสัญญากรุงเฮก ค.. 1899 ฉบับที่ 3 ชื่อ Convention for the Adaptation to Maritime Warfare of the Principles of the Geneva Convention of 22 August 1864 ได้ขยายอำนาจอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ 1 ให้มีผลคุ้มครองทางทะเล ต่อมาในปี ค.. 1949 ได้ย้ายอำนาจอนุสัญญากรุงเฮกมารวมไว้และพัฒนาเป็นอนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 2

- การแก้ไขครั้งที่ 1 : วันที่ 6 กรกฎาคม ค.. 1906 ปรับปรุงแก้ไขอนุสัญญาเจนีวาครั้งใหญ่ เปลี่ยนชื่อเป็น Geneva Convention on Woundedand Sick, 1906 (ชื่อเต็ม Convention for the Amelioration of the Condition of the Wounded and Sick in Armies in the Field. Geneva, 6 July 1906) ในสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกอนุสัญญาฉบับนี้ว่า สัญญากากะบาทแดง ร.. 125 รัฐบาลไทยเข้าร่วมด้วยวิธีปกติ คือ ลงนาม (Signing) วันที่ 6 กรกฎาคม ค.. 1906 ให้สัตยาบัน (Ratifying) เมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.. 1907

- การแก้ไขครั้งที่ 2 : วันที่ 27 กรกฎาคม ค.. 1929 เรียกว่า Geneva Convention Wounded and Sick, 1929 (ชื่อเต็ม Convention for the Amelioration of the Condition of the Wounded and Sick in Armies in the Field. Geneva, 27 July 1929) ในสมัยรัชกาลที่ 8 เรียกว่า อนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อยังการเป็นไปของผู้ต้องบาดเจ็บและป่วยไข้ในสนามรบให้ดีขึ้น รัฐบาลไทยเข้าร่วมด้วยวิธีลัด ให้สัตยาบันอย่างเดียว (วิธี Accession) เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.. 1939

ในการนี้รัฐบาลไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาอีก 1 ฉบับไปพร้อมกัน คือ เรียกว่า อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก -Geneva Convention on Prisoners of War อนุสัญญาฉบับนี้จัดทำโดยคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เป็นผู้นำเสนอต่อที่ประชุมทางการทูต ณ นครเจนีวา เป็นอนุสัญญาที่ขยายอำนาจคุ้มครองเชลยศึกของอนุสัญญากรุงเฮก ค.. 1899 และ ค.. 1907 ให้สมบูรณ์ขึ้น หลังได้รับประสบการณ์จากการช่วยเหลือเชลยศึกในสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาในปี ค.. 1949 ได้ย้ายอำนาจอนุสัญญากรุงเฮกมารวมไว้และพัฒนาเป็นอนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 3

214 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

214

 

215 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

215_อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1

อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1

Convention for the Amelioration of the Condition of the Wounded and Sick in Armed Forces in the Field

 

216 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

- แก้ไขครั้งที่ 3 : วันที่ 12 สิงหาคม ค.. 1949 เป็นการแก้ไขอนุสัญญาเจนีวาครั้งใหญ่ที่สุด หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เรียกว่า Geneva Convention (I) on Wounded and Sick in Armed Forces in the Field, 1949 (ชื่อเต็ม Convention (I) for the Amelioration of the Condition of the Wounded and Sick in Armed Forces in the Field. Geneva, 12 August 1949) เป็นการเปลี่ยนครั้งแรกและถูกเรียกเป็นอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ 1 ครั้งแรก เพราะมีการจัดอนุสัญญาเจนีวาเพิ่มเติมอีก 3 ฉบับ เรียกว่า อนุสัญญาเจนีวาเพื่อให้ผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ในกองทัพในสนามรบมีสภาวะดีขึ้น รัฐบาลไทยเข้าร่วมด้วยวิธีลัด ให้สัตยาบันอย่างเดียว (วิธี Accession) เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.. 1954 (.. 2497)

- การเข้าร่วมอนุสัญญาเจนีวาของประเทศไทย

- สัญญาเมืองเจนีวา ร.. 83 (อนุสัญญาเจนีวา ฉ. 1 วันที่ 22 สิงหาคม ค.. 1864) รัฐบาลไทยเข้าร่วมด้วยวิธีลัดให้สัตยาบันอย่างเดียว (วิธี Accession) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.. 1895

- สัญญากากบาทแดง ร.. 125 (อนุสัญญาเจนีวา ฉ. 1 ฉบับวันที่ 6 กรกฎาคม ค.. 1906) รัฐบาลไทยเข้าร่วมด้วยวิธีปกติ คือ ลงนาม (Signing) วันที่ 6 กรกฎาคม ค.. 1906 ให้สัตยาบัน (Ratifying) เมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.. 1907

- อนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อยังการเป็นไปของผู้ต้องบาดเจ็บและป่วยไข้ในสนามรบให้ดีขึ้น Geneva Convention Wounded and Sick, 1929 รัฐบาลไทยเข้าร่วมด้วยวิธีลัดให้สัตยาบันอย่างเดียว (วิธี Accession) เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.. 1939

- อนุสัญญาเจนีวาเพื่อให้ผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ในกองทัพในสนามรบมีสภาวะดีขึ้น Geneva Convention (I) on Wounded and Sick in Armed Forces in the Field, 1949 รัฐบาลไทยเข้าร่วมด้วยวิธีลัด ให้สัตยาบันอย่างเดียว (วิธี Accession) เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.. 1954 พ.. 2497

หมายเหตุ : อนุสัญญาทั้ง 4 ฉบับ คือ อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 ฉบับปรับปรุงรุ่นต่าง ๆ

อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 2 - อนุสัญญาเจนีวาเพื่อให้ผู้สังกัดในกองทัพขณะอยู่ในทะเลซึ่งบาดเจ็บ ป่วยไข้ และเรืออับปางมีสภาวะดีขึ้น (Convention (II) for the Amelioration of the Condition of Wounded, Sick and Shipwrecked Members of Armed Forces at Sea. Geneva, 12 August 1949.)

217 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

เป็นการย้ายอำนาจคุ้มครองทหารบาดเจ็บในสงครามทางทะเลของอนุสัญญากรุงเฮก มาทำเป็นอนุสัญญาเจนีวาที่คุ้มครองทหารบาดเจ็บในสงครามทางทะเลแทน จัดทำเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.. 1949 ประเทศไทยเข้าร่วมอนุสัญญาฉบับนี้ด้วยวิธีลัด Accession คือ ให้สัตยาบัน (Ratifying) อย่างเดียว เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.. 1954 มีประเทศเข้าร่วมอนุสัญญา 196 ประเทศ

อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 3 - อนุสัญญาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก (Convention (III) relative to the Treatment of Prisoners of War. Geneva, 12 August 1949)

อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 3 จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.. 1949 เพื่อใช้แทนที่อนุสัญญาเจนีวาเรื่องการปฏิบัติต่อเชลยศึกสงคราม ค.. 1929 (Convention Relative to the Treatment of Prisoners of War. Geneva, 27 July 1929.)

การเข้าร่วมอนุสัญญา

- อนุสัญญาเจนีวา เรื่องการปฏิบัติต่อเชลยสงคราม ค.. 1929 Convention Relative to the Treatment of Prisoners of War. Geneva, 27 July 1929. จัดทำเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.. 1929 ประเทศไทยเข้าร่วมด้วยวิธีปกติ คือ ลงนาม (Signing) วันที่ 27 กรกฎาคม ค.. 1929 ให้สัตยาบัน (Ratifying) เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.. 1939 มีประเทศเข้าร่วมอนุสัญญาทั้งหมด 53 ประเทศ

- อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 3 ชื่อ Convention (III) Relative to the Treatment of Prisoners of War. Geneva, 12 August 1949 จัดทำเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.. 1949 ประเทศไทยเข้าร่วมอนุสัญญาฉบับนี้ด้วยวิธีลัด Accession คือ ให้สัตยาบัน (Ratifying) อย่างเดียว เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.. 1954 มีประเทศเข้าร่วมอนุสัญญาทั้งหมด 196 ประเทศ

อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 4 - อนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการคุ้มครองบุคคลพลเรือนในเวลาสงคราม (Convention (IV) Relative to the Protection of Civilian Persons in Time of War. Geneva, 12 August 1949)

อนุสัญญาฉบับที่ 4 ว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองบุคคลพลเรือนในระหว่างสงครามหรือการขัดแย้งสู้รบ และ 196 ประเทศลงนามให้สัตยาบันต่ออนุสัญญานี้ ดังนี้

- การรักษาพยาบาลแก่เพื่อนและศัตรูโดยเท่าเทียมกัน

- เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เกียรติของมนุษย์ สิทธิในครอบครัว ในการนับถือศาสนาและเกียรติของสตรี

- ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ไปเยี่ยมนักโทษสงครามและประชาชนที่อยู่ในค่ายกักกัน โดยพูดกับผู้ถูกกักขังอย่างไม่มีพยานร่วมรับรู้

 

218 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

- ห้ามการกระทำที่ไม่มีมนุษยธรรม การทรมาน การประหารชีวิต การเนรเทศ จับตัวประกัน สอบสวนหมู่การกระทำที่รุนแรงและทำลายทรัพย์สินส่วนตัวอย่างไม่ปรานี

อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 - 3 เป็นอนุสัญญาคุ้มครองเฉพาะทหารบาดเจ็บ เชลยสงคราม ไม่ได้คุ้มครองพลเรือนที่ตกอยู่ในดินแดนที่ถูกยึดครอง อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 4 จึงเป็นครั้งแรกที่ได้ขยายอำนาจกฎหมายคุ้มครองพลเรือนที่ตกอยู่ในดินแดนที่ถูกยึดครองด้วย เนื่องจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศได้รับประสบการณ์จากสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุพลเรือนชาวยิวทุกอายุและไม่ใช่ทหาร อนุสัญญาและสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่โลกมีอยู่ทั้งหมดไม่ได้คุ้มครอง เพราะเป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่ ส่งผลให้คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศปฏิรูปอนุสัญญาเจนีวาครั้งสำคัญที่สุด คือ การให้คุ้มครองมนุษยชาติทั้งหมด รวมทั้งพลเรือนในยามสงครามด้วย

(21) กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ International Humanitarian Law(166)

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ International Humanitarian Law มีชื่อเรียกอื่นว่า กฎหมายความขัดแย้งทางอาวุธ Law of Armed Conflicts หรือกฎหมายสงคราม Law of War ประกอบด้วยอนุสัญญา 2 สาย คือ

- กฎหมายเจนีวา The “Law of Geneva” คือ อนุสัญญาเจนีวา ซึ่งออกแบบมาเพื่อปกป้องทหารและบุคลากรที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการสู้รบทำสงครามและผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทหารบาดเจ็บ ทหารแพทย์พยาบาล พลเรือน เป็นต้น

- กฎหมายกรุงเฮก The “Law of the Hague” คือ อนุสัญญากรุงเฮก ซึ่งกำหนดสิทธิและภาระหน้าที่ของคู่สงครามในการปฏิบัติการทางทหาร (Military Operations) และจำกัดวิธีการทำร้ายศัตรู กำหนดเป็นประเพณีวิธีการทำสงคราม

กฎหมายทั้ง 2 สายได้รวมกันเป็นกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ International Humanitarian Law ในปี ค.. 1977 พ.. 2520 ด้วยอำนาจกฎหมาย Additional Protocols I & II of 1977 ซึ่งจัดทำขึ้นที่ประชุมทางการทูต Diplomatic Conference on the Reaffirmation and Development of International Humanitarian Law Applicable in International Armed Conflicts and Non-International Armed Conflicts ณ นครเจนีวา ระหว่างวันที่ 17 มีนาคม - 10 มิถุนายน ค.. 1977

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเป็นกฎหมายสากลคุ้มครองมนุษยธรรมของมนุษยชาติทุกคนจากสงครามหรือการต่อสู้ เนื่องจากความขัดแย้งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง เมื่อมีความขัดแย้งระหว่างรัฐหรือประเทศจึงใช้กลไกไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งโดยศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (Permanent Court of Arbitration - PCA) ซึ่งจัดตั้งขึ้นด้วยอนุสัญญากรุงเฮก

หากการไกล่เกลี่ยล้มเหลวและเกิดสงครามขึ้น ทหารที่เข้าร่วมรบในสมรภูมิจะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญากรุงเฮกฉบับต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติตามวิธีการรบ (กฎการรบ) ไม่ให้โหดร้ายไร้มนุษยธรรมและผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสู้รบ เช่น พลเรือน ทหารบาดเจ็บ ทหารแพทย์พยาบาล

 

219 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

หรือทหารที่ยกธงขาวยอมแพ้ จะได้ความคุ้มครองจากอนุสัญญาเจนีวา และมีการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ อาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีที่ศาลอาญาระหว่างประเทศในฐานะอาชญากรสงคราม (International Criminal Court - ICC) และได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิต

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเป็นเครือข่ายกฎหมายระหว่างประเทศขนาดใหญ่ มีประเทศและองค์กรที่เป็นผู้รับสัญญาหรือผู้รักษาอนุสัญญา (Depositary) ซึ่งมีหน้าที่ขับเคลื่อนหลายประเทศ เช่น Netherlands, Switzerland, United States of America, United Kingdom, Russia, United Nations, UNESCO เป็นต้น จนถึงปัจจุบันประกอบด้วยสนธิสัญญา อนุสัญญา ปฏิญญา ระหว่างประเทศชนิดต่าง ๆ 76 ฉบับ แบ่งเป็น 5 หมวด

หมวด 1. VICTIMS OF ARMED CONFLICTS

1) Hague Convention on Hospital Ships, 1904

DATE OF ADOPTION 21.12.1904 DEPOSITARY: Netherlands

2) Hague Convention (XI) on Restrictions of the Right of Capture, 1907

DATE OF ADOPTION 18.10.1907 DEPOSITARY: Netherlands

3) Final Act of the Geneva Conference, 1949

DATE OF ADOPTION 12.08.1949

4) Geneva Convention (I) on Wounded and Sick in Armed Forces in the Field, 1949

DATE OF ADOPTION 12.08.1949 DEPOSITARY: Switzerland

5) Geneva Convention (II) on Wounded, Sick and Shipwrecked of Armed Forces at Sea, 1949

DATE OF ADOPTION 12.08.1949 DEPOSITARY: Switzerland

6) Geneva Convention (III) on Prisoners of War, 1949

DATE OF ADOPTION 12.08.1949 DEPOSITARY: Switzerland

7) Geneva Convention (IV) on Civilians, 1949

DATE OF ADOPTION 12.08.1949 DEPOSITARY: Switzerland

8) Resolutions of the Diplomatic Geneva Conference, 1949

DATE OF ADOPTION 12.08.1949

9) Tehran Resolution on Human Rights in Armed Conflict, 1968

DATE OF ADOPTION 12.05.1968

10) United Nations Resolution on Human Rights in Armed Conflicts, 1968

DATE OF ADOPTION 19.12.1968 DEPOSITARY: United Nations

11) Final Act of the Diplomatic Geneva Conference, 1974 - 1977

DATE OF ADOPTION 10.06.1977

12) Additional Protocol (I) to the Geneva Conventions, 1977

DATE OF ADOPTION 08.06.1977 DEPOSITARY: Switzerland

 

220 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

13) Annex (I) AP (I), as Amended in 1993

DATE OF ADOPTION 30.11.1993 DEPOSITARY: Switzerland

14) Annex (I) AP (I), 1977

DATE OF ADOPTION 08.06.1977 DEPOSITARY: Switzerland

15) Annex (II) AP (I), 1977

DATE OF ADOPTION 08.06.1977 DEPOSITARY: Switzerland

16) Additional Protocol (II) to the Geneva Conventions, 1977

DATE OF ADOPTION 08.06.1977 DEPOSITARY: Switzerland

17) Resolutions of the Diplomatic Geneva Conference, 1974 - 1977

DATE OF ADOPTION 10.06.1977

18) Convention on the Rights of the Child, 1989

DATE OF ADOPTION 20.11.1989 DEPOSITARY: UNO

19) Optional Protocol on the Involvement of Children in Armed Conflict, 2000

DATE OF ADOPTION 25.05.2000 DEPOSITARY: UNO

20) Additional Protocol (III) to the Geneva Conventions, 2005

DATE OF ADOPTION 08.12.2005 DEPOSITARY: Switzerland

หมวด 2. METHODS AND MEANS OF WARFARE

21) Hague Convention (II) on the Laws and Customs of War on Land, 1899

DATE OF ADOPTION 29.07.1899 DEPOSITARY: Netherlands

22) Hague Declaration (IV, 2) Concerning Asphyxiating Gases, 1899

DATE OF ADOPTION 29.07.1899 DEPOSITARY: Netherlands

23) Hague Declaration (IV, 3) Concerning Expanding Bullets, 1899

DATE OF ADOPTION 29.07.1899 DEPOSITARY: Netherlands

24) Hague Convention (IV) on War on Land and Its Annexed Regulations, 1907

DATE OF ADOPTION 18.10.1907 DEPOSITARY: Netherlands

25) Hague Declaration (XIV) on Explosives from Balloons, 1907

DATE OF ADOPTION 18.10.1907 DEPOSITARY: Netherlands

26) Geneva Protocol on Asphyxiating or Poisonous Gases, and of Bacterio-logical Methods, 1925

DATE OF ADOPTION 17.06.1925 DEPOSITARY: France

27) Institute of International Law Resolution on Military Objectives, 1969

DATE OF ADOPTION 09.09.1969

28) Convention on the Prohibition of Biological Weapons, 1972

DATE OF ADOPTION 16.12.1971 DEPOSITARY: United States of America, United Kingdom, Russia

 

221 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

29) Resolution on Small-Calibre Weapon Systems, 1979

DATE OF ADOPTION 28.09.1979

30) Final Act on the Conference on Certain Conventional Weapons (CCW), 1980

DATE OF ADOPTION 10.10.1980

31) Convention Prohibiting Certain Conventional Weapons (CCW), 1980

DATE OF ADOPTION 10.10.1980 DEPOSITARY: UNO

32) CCW Protocol (I) on Non-Detectable Fragments, 1980

DATE OF ADOPTION 10.10.1980 DEPOSITARY: UNO

33) CCW Protocol (II) Prohibiting Mines, Booby-Traps and Other Devices, 1980

DATE OF ADOPTION 10.10.1980 DEPOSITARY: UNO

34) CCW Protocol (III) Prohibiting Incendiary Weapons, 1980

DATE OF ADOPTION 10.10.1980 DEPOSITARY: UNO

35) Convention Prohibiting Chemical Weapons, 1993

DATE OF ADOPTION 13.01.1993 DEPOSITARY: United Nations

36) CCW Protocol (IV) on Blinding Laser Weapons, 1995

DATE OF ADOPTION 13.10.1995 DEPOSITARY: United Nations

37) CCW Protocol (II) Prohibiting Mines, Booby-Traps and Other Devices, Amended, 1996

DATE OF ADOPTION 03.05.1996 DEPOSITARY: United Nations

38) Anti-Personnel Mine Ban Convention, 1997

DATE OF ADOPTION 18.09.1997 DEPOSITARY: United Nations

39) Convention Prohibiting Certain Conventional Weapons (CCW), Amended Article 1, 2001

DATE OF ADOPTION 21.12.2001 DEPOSITARY: United Nations

40) CCW Protocol (V) on Explosive Remnants of War, 2003

DATE OF ADOPTION 28.11.2003 DEPOSITARY: United Nations

41) Convention on Cluster Munitions, 2008

DATE OF ADOPTION 30.05.2008 DEPOSITARY: UNO

42) Treaty on the Prohibition of Nuclear Weapons, 2017

DATE OF ADOPTION 07.07.2017 DEPOSITARY: UNO

หมวด 3. NAVAL AND AIRWARFARE

43) Hague Convention (VI) on Enemy Merchant Ships, 1907

DATE OF ADOPTION 18.10.1907 DEPOSITARY: Netherlands

 

222 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

44) Hague Convention (VII) on Conversion of Merchant Ships, 1907

DATE OF ADOPTION 18.10.1907 DEPOSITARY: Netherlands

45) Hague Convention (VIII) on Submarine Mines, 1907

DATE OF ADOPTION 18.10.1907 DEPOSITARY: Netherlands

46) Hague Convention (IX) on Bombardment by Naval Forces, 1907

DATE OF ADOPTION 18.10.1907 DEPOSITARY: Netherlands

47) Hague Convention (XI) on Restrictions of the Right of Capture, 1907

DATE OF ADOPTION 18.10.1907 DEPOSITARY: Netherlands

48) Hague Convention (XIII) on Neutral Powers in Naval War, 1907

DATE OF ADOPTION 18.10.1907 DEPOSITARY: Netherlands

49) Havana Convention on Maritime Neutrality, 1928

DATE OF ADOPTION 20.02.1928 DEPOSITARY: Organization of American States (OAS)

50) London Treaty on Limitation and Reduction of Naval Armaments, 1930

DATE OF ADOPTION 22.04.1930 DEPOSITARY: United Kingdom

51) Procès-verbal on Submarine Warfare of the Treaty of London, 1936

DATE OF ADOPTION 06.11.1936 DEPOSITARY: United Kingdom

52) San Remo Manual on Armed Conflicts at Sea, 1994

DATE OF ADOPTION 12.06.1994

หมวด 4. CULTURAL PROPERTY

53) Roerich Pact for the Protection of Artistic and Scientific Institutions, 1935

DATE OF ADOPTION 15.04.1935 DEPOSITARY: Organization of American States (OAS)

54) Final Act on the Protection of Cultural Property, The Hague, 1954

DATE OF ADOPTION 14.05.1954

55) Hague Convention for the Protection of Cultural Property, 1954

DATE OF ADOPTION 14.05.1954 DEPOSITARY: UNESCO

56) Hague Protocol for the Protection of Cultural Property, 1954

DATE OF ADOPTION 14.05.1954 DEPOSITARY: UNESCO

57) Resolutions on Cultural Property, The Hague, 1954

DATE OF ADOPTION 14.05.1954

58) Second Hague Protocol for the Protection of Cultural Property, 1999

DATE OF ADOPTION 26.03.1999 DEPOSITARY: UNESCO

 

223 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

หมวด 5. CRIMINAL REPRESSION

59) Charter of the Nuremberg Tribunal, 1945

DATE OF ADOPTION 08.08.1945 DEPOSITARY: United Kingdom

60) United Nations Principles for the Nuremberg Tribunal, 1946

DATE OF ADOPTION 11.12.1946

61) Convention Statutory Limitations to War Crimes, 1968

DATE OF ADOPTION 26.11.1968 DEPOSITARY: UNO

62) European Convention on Non-Applicability of Statutory Limitations to War Crimes, 1974

DATE OF ADOPTION 25.01.1974 DEPOSITARY: Council of Europe

63) Statute of the International Criminal Tribunal for the Former Yugoslavia, 1993

DATE OF ADOPTION 25.05.1993

64) Statute of the International Criminal Tribunal for Rwanda, 1994

DATE OF ADOPTION 08.11.1994 DEPOSITARY: United Nations

65) Statute of the International Criminal Court, 1998

DATE OF ADOPTION 17.07.1998 DEPOSITARY: United Nations

66) Statute of the Special Court for Sierra Leone, 2002

DATE OF ADOPTION 16.01.2002 DEPOSITARY: United Nations

67) Amendment to the Statute of the International Criminal Court, Amended Article 8, 2010

DATE OF ADOPTION 10.06.2010 DEPOSITARY: United Nations

68) Amendment to the Statute of the International Criminal Court, Articles 8bis, 15bis and 15ter, 2010

DATE OF ADOPTION 11.06.2010 DEPOSITARY: United Nations

หมวด 6. OTHER TREATIES RELATING TO IHL

69) Hague Convention (III) on the Opening of Hostilites, 1907

DATE OF ADOPTION 18.10.1907 DEPOSITARY: Netherlands

70) Hague Convention (V) on Neutral Powers in case of War on Land, 1907

DATE OF ADOPTION 18.10.1907 DEPOSITARY: Netherlands

71) Convention on the Prevention and Punishment of Genocide, 1948

DATE OF ADOPTION 09.12.1948 DEPOSITARY: United Nations

72) Convention Prohibiting Environmental Modification Techniques (ENMOD), 1976

DATE OF ADOPTION 10.12.1976 DEPOSITARY: UNO

 

224 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

73) OAU Convention on Mercenaries, 1977

DATE OF ADOPTION 03.07.1977 DEPOSITARY: Organization of African Unity (OAU)

74) Convention on Mercenaries, 1989

DATE OF ADOPTION 04.12.1989 DEPOSITARY: UNO

75) Convention for the Protection of all Persons from Enforced Disappearance, 2006

DATE OF ADOPTION 20.12.2006 DEPOSITARY: United Nations

76) Arms Trade Treaty, 2013

DATE OF ADOPTION 02.04.2013 DEPOSITARY: United Nations

เนื่องจากเครือข่ายกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมีขนาดใหญ่และซับซ้อนที่สุดในโลก มีสนธิสัญญา อนุสัญญา ปฏิญญาระหว่างประเทศชนิดต่าง ๆ รวม 76 ฉบับ มีความหลากหลายแตกต่างกันในประเด็นต่าง ๆ เช่น จำนวนประเทศผู้เข้าร่วมให้สัตยาบันในแต่ละฉบับมีจำนวนไม่เท่ากัน ประเทศผู้รับสัญญาหรือผู้รักษาอนุสัญญา (Depositary) ซึ่งมีหน้าที่ขับเคลื่อนการใช้สนธิสัญญา อนุสัญญา เป็นประเทศมหาอำนาจบ้าง ประเทศที่เป็นกลางบ้าง จึงมีพลังอำนาจขับเคลื่อนแตกต่างกัน หากประเทศมหาอำนาจ เช่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย เป็นประเทศผู้รับสัญญาหรือผู้รักษาอนุสัญญา (Depositary) การขับเคลื่อนกฎหมายระหว่างประเทศจะมีประสิทธิภาพสูง หากประเทศที่เป็นกลางแต่เป็นประเทศเล็กเป็นผู้รับสัญญาหรือผู้รักษาอนุสัญญา (Depositary) ต้องใช้วิธีการเจรจาทางการทูตในการขับเคลื่อนอนุสัญญา เนื่องจากความซับซ้อนของเครือข่ายกฎหมายชุดนี้ ทำให้ประชาชนและรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ขาดความรู้และความเข้าใจถึงความสำคัญ จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการขับเคลื่อน

ปัจจุบันกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศว่าด้วยควบคุมวิธีการทำสงคราม หมวด 2 METHODS AND MEANS OF WARFARE และหมวด 3 NAVAL AND AIRWARFARE กำลังเผชิญกับปัญหาเกิดช่องโหว่ เนื่องจากอนุสัญญาส่วนใหญ่ควบคุมวิธีการทำสงครามตามเทคโนโลยีอาวุธรุ่นเก่าที่ล้าสมัย และประเทศมหาอำนาจกำลังปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีสงครามขั้นสูง เช่น ขีปนาวุธความเร็วกว่าเสียงหลายเท่า หรือขีปนาวุธร่อนติดตั้งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ไร้ขีดจำกัดระยะทาง ซึ่งเป็นอาวุธรุ่นใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน และมีศักยภาพในการทำลายล้างมนุษยชาติส่วนใหญ่ของโลกได้ไม่ยาก การจัดทำกฎหมายระหว่างประเทศไม่สามารถตามทันกับเทคโนโลยีอาวุธรุ่นใหม่ ๆ และอนุสัญญาที่มีอยู่ซึ่งควบคุมอาวุธรุ่นเก่าจึงไม่สามารถป้องกันได้

ความโหดร้ายของสงครามและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สิ้นสุดลงเป็นระยะเวลานานราว 80 ปี และความทุกข์ยากของโลกจากสงครามเย็นที่สิ้นสุดลงหลายสิบปีแล้ว ได้ถูกประชาคมโลกส่วนใหญ่ลืมเลือน ประเทศมหาอำนาจเริ่มขยายพลังอำนาจสงครามในมิติต่าง ๆจึงเกิดความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจสะสมเพิ่มขึ้นตามลำดับ มีการพัฒนาเทคโนโลยีอาวุธที่มีขีดความสามารถสูงอย่างไม่เคยมีมาก่อน จึงเป็นการยากที่จะคาดเดาว่าจะเกิดกลไกใหม่ใดที่สามารถ

 

225 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ป้องกันสงครามโลกครั้งใหม่ นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติว่ากฎหมายและกลไกระหว่างประเทศควบคุมสงครามและทุเลาผลของสงครามที่มีอยู่ทุกกลไกจะป้องกันและทำงานได้อย่างไร หากเกิดสงครามนิวเคลียร์ที่มนุษยชาติล้มตายมหาศาลและโลกเต็มไปด้วยสารกัมมันตภาพรังสีแพร่กระจายทำลายล้างเผ่าพันธ์ุมนุษยชาติและสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

 

226 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ขอขอบคุณ

ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์สรรใจ แสงวิเชียร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

คุณวิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ งานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

คุณพงษ์ศิริ สุวรรณเสถียร และคุณธนินทร พูนศรีสวัสดิ์ งานพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ

สภากาชาดไทย

พันเอก อิทธินันท์ โชติช่วง กองวิทยาการ กรมแพทย์ทหารบก

พันโทหญิง พรนภา ทองจีน กองวิทยาการ กรมแพทย์ทหารบก

พันโทหญิง ศศิวาศน์ ศรีเนธิยานันท์ กองวิทยาการ กรมแพทย์ทหารบก

นาวาเอก นายแพทย์พิเชฏฐ์ กรัยวิเชียร กรมแพทย์ทหารเรือ

คุณกัญญารัตน์ พิณสีทอง และคุณอานนท์ เชิงชวโน คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ

นายเตช บุนนาค รองเลขาธิการ สภากาชาดไทย

นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอักษรศาสตร์

กรมศิลปากร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิชญา สุ่มจินดา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

227 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย